เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความกระจ่างในหลักญาณวิทยา

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ความกระจ่างในหลักญาณวิทยา

ประเด็นที่จะศึกษาในบทนี้มี
ปรัชญาต้องพึ่งญาณวิทยาได้อย่างไร
ความเป็นไปได้ในทางญาณ 
วิเคราะห์ทัศนะฝ่ายวิมุตินิยม
หักล้างข้อโต้แย้งวิมุตินิยม

สืบหาสาเหตุที่ปรัชญาต้องอาศัยญาณวิทยา
1.1) หลักการตัดสินในญาณวิทยาและศาตร์ที่บรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้
โดยปกติแล้ว ศาสตร์ต่างๆในความรู้จะมีตำแหน่ง หรือ ขอบเขตสาระ และหลักฐานเป็นพื้นหลังของวิชาก่อนผลิตข้อความความรู้ของศาสตร์นั้นๆ แต่ในญาณวิทยา ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะญาณวิทยาไม่ต้องการหลักการพื้นฐานมารับรองมัน กล่าวในอีกบริบทหนึ่ง ตัวของญาณวิทยา คือ หลักการของวิชาอื่น แต่หากจะหาและสืบถึงรากเหง้าที่พอจะนำมาเป็นฐานได้ ฐานอันนั้นก็คือ สิ่งที่เราเรียกว่า บะดีฮียาตเอาวาลียะฮ์ หรือ สัจพจน์แรกเริ่ม และถือได้ว่า ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องก็อยู่ในตัวของมันเอง
1.2) ระหว่างปรัชญากับญาณวิทยา สิ่งใดเป็นฐานของสิ่งใด ? 
ในข้อเท็จจริง ทั้งสองวิชาเป็นเอกเทศน์และแยกจากกัน เพราะการที่ปรัชญาจะเดินเนื้อเรื่องของตนเองไม่ได้ขึ้นญาณวิทยา และไม่ได้มีญาณวิทยาเป็นฐาน หากปรัชญาจะต้องการญาณวิทยา ก็เป็นความต้องการชั้นสอง ไม่ใช่ชั้นหนึ่ง หมายถึง ความต้องการแบบไม่ใช่หลักแต่เป็นกิ่ง กล่าวคือ 
ก) ปรัชญาไม่ติดเงื่อนไขว่า ถ้าจะดำเนินเนื้อหาและพิสูจน์ข้ออ้างของตน ต้องพิสูจน์ในญาณวิทยาก่อน 
ข) ปรัชญาไม่ติดเงื่อนไขว่า ถ้าจะดำเนินเนื้อหาของตน ต้องใช้ญาณวิทยาเป็นตัวเดือน เพื่อให้หัวใจได้ง่ายขึ้น เปรียบเหมือนทุกวิชาที่ใช้ กฎทางตรรกวิทยา เป็นตัวเดือนเนื้อหาของตน ส่วนปรัชญานั้นกลับไม่เป็นเช่นนี้ปรัชญา เพราะญาณวิทยาก็ไม่ใช่กฎสำหรับปรัชญาเช่นกัน
ค) หากปรัชญาจะต้องการญาณวิทยา ความต้องการนี้ก็เป็นไปในลักษณะความต้องการของความรู้หนึ่งต่ออีกศาสตร์ เพื่อขจัดความคลุมเครือ(شبهة) หรือ ใช้อีกวิชาหนึ่งมาอธิบายบางประเด็นในวิชานี้ไม่ใช่โดยสิ้นเชิง

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม