เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

นิยามของคำว่าตัศดี๊ก(تصدیق)ในทางภาษาและวิชาการ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

นิยามของคำว่าตัศดี๊ก(تصدیق)ในทางภาษาและวิชาการ

 

ทบทวนเนื้อหาก่อนหน้านี้

เพื่อทำความเข้าใจการ ตัสดี๊ก มีความเข้าใจพื้นฐานสี่เรื่องที่รู้ก่อนเป็นอันดับแรก ได้แก่ ภาวะการตัดสินในปรัชญา/ตรรกวิทยา,สภาพปรากฎ,ประพจน์ และความเชื่อของผู้ตัดสิน และการตัสดีก แปลจะถูกแปลอย่างคร่าวๆว่าหมายถึงการตัดสิน แต่การยืนยัน/ปฏิเสธในที่นี้สื่อความหมายถึงความเชื่อว่ามี/ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์หรือสภาพปรากฎนั่นเอง
 นิยามของคำว่า ตัสดี๊ก ในทางภาษาและวิชาการ

ในมันติกมุซัฟฟัร ตัสดี๊ก (تَصدِیق)  หมายถึง การปรากฎรูปของสรรพสิ่ง ณ ปัญญา ควบคู่กับการตัดสินสิ่งนั้นด้วย(มูฮัมมัดริฎอ มุซัฟฟัร,2021,น.27)

เทียบภาษาอังกฤษ ตัสดีก(تصدیق)แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Judgement และ Affirmation , Judgement หรือ Judgment

ในพจนานุกรมอังกฤษไทยปรัชญา ได้ให้ความหมายว่า Judgement หรือ Judgment คือ การตัดสิน,พินิศจัย หมายถึง “การประเมินพยานหลักฐานหรือสิ่งที่เป็นเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง” อาทิ ผู้หญิงคนนี้สวย หรือ เพลงนี้เพราะ หรือ สิ่งนี้คือประติมากรรมของโรแดง ฯลฯ (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์,2014,น.467)ส่วนคำว่า Affirmative ไม่พบในพจนุกรมฉบับนี้แต่พบคำว่า Affirmative Proposition ข้อความเชิงยืนยัน หมายถึง คุณสมบัติของญัตติ/ประพจน์ซึ่งถูกกำหนดโดยการยืนยันที่ว่า สมาชิกบางคนหรือทั้งหมดของสรรพสิ่งชั้นของสิ่งต่างๆยังถูกรวมเข้าเป็นสมาชิกของชั้นอื่น ตัวอย่างเช่น “บางแก้วทุกตัวคือสุนัข” และ “เด็กบางคนคือผู้เล่นโขน” ข้อความเชิงยืนยันประโยคแรกยืนยันว่าบางแก้วทุกตัวยังเป็นชั้นของสุนัข ขณะที่ข้อความเชิงยืนยันประโยคหลังยืนยันว่าอย่างน้อยที่สุดมีสมาชิกคนหนึ่งมีลักษณะร่วม รวมถึง ทั้งเด็กและคนที่เล่นโขน(เจษฎา ทองรุ่งโรจน์,2014,น.15)

นออมูเซช ฟัลซาเฟะฮ์ ตัสดีก ในทางภาษา มาจากคำว่า ซิดก์(صدق)หมายถึง การถือว่าสิ่งหนึ่งถูกต้อง,การยอมรับ และในทางวิชาการปรัชญาและตรรกวิทยา ก็มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน และใช้ในความหมายร่วมกันดังต่อไปนี้
ก)      ตัสดีก ใช้ในความหมายที่หมายถึง ประพจน์เชิงตรรก ประกอบด้วยภาคประธาน,ภาคแสดง,และข้อตัดสิด(เรียกกันว่า ฮุกม์)ที่จะมาทำหน้าที่แสดงความเป็นเอกภาพและความเชื่อมโยง(ระหว่างภาคประธานและภาคแสดง)
ข)      ตัสดีก ใช้ในความหมายที่หมายถึง ตัวของข้อตัดสินๆนั้นๆ มีภาวะบะซีฎ(เป็นเอกภาพไม่อาจแบ่ง) ซึ่งก็คือข้อตัดสินที่เป็นความเชื่อของบุคคลโดยเข้าได้รับมันด้วยความรู้โดยตรง(อิลมุลฮูฎูรีย์)
ค)      อยาตุลลอฮ์มิศบาฮ์ ชี้ว่า นักตรรกวิทยาตะวันตกยุคใหม่ บางกลุ่มมีความเห็นว่า สภาพตัดสิน(ตัสดีก) คือ การย้ายสภาพปรากฎแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบ โดยอาศัยการอ้างอิงความหมายซึ่งกันและกัน ซึ่งท่านชี้ว่ามันเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องเพราะ ทุกที่ที่มีสภาพตัดสิน จำเป็นต้องมีการอ้างอิงความหมายซึ่งกันและกัน แต่ทุกที่ที่มีการอ้างอิงความหมายซึ่งกันและกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นสภาพตัดสินเสมอไป เพราะสภาพตัดสินจะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับ ข้อตัดสิน(ฮุกม์) ด้วยเหตุนี้เอง ระหว่างประพจน์ กับ การนำเอากลุ่มสภาพปรากฎที่ต่อเนื่องกันมารวมกันมาประทับไว้ในจิตโดยไม่มีการอ้างอิงต่อกันจึงแตกต่างกัน (2012,ล.1,น.178)

 สรุปเนื้อหา
ตัสดีก ในทางภาษาหมายถึง การถือว่าสิ่งหนึ่งถูกต้อง,การยอมรับ และในทางวิชาการปรัชญาและตรรกวิทยา ก็มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ ตัสดีก ที่ใช้ในความหมายที่หมายถึง ประพจน์เชิงตรรก ประกอบด้วยภาคประธาน,ภาคแสดง,และข้อตัดสิด(เรียกกันว่า ฮุกม์)ที่จะมาทำหน้าที่แสดงความเป็นเอกภาพและความเชื่อมโยง(ระหว่างภาคประธานและภาคแสดง) และตัสดีก ที่ใช้ในความหมายที่หมายถึง ตัวของข้อตัดสินๆนั้นๆ มีภาวะบะซีฎ(เป็นเอกภาพไม่อาจแบ่ง) ซึ่งก็คือข้อตัดสินที่เป็นความเชื่อของบุคคลโดยเข้าได้รับมันด้วยความรู้โดยตรง(อิลมุลฮูฎูรีย์) นอกจากนี้อ.มิศบาฮ์ ยังมีวิจารณ์ความเห็นที่ระบุว่า ตัสดิก หมายถึง การย้ายสภาพปรากฎแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบ โดยอาศัยการอ้างอิงความหมายซึ่งกันและกัน ซึ่งท่านชี้ว่ามันเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องเพราะ ทุกที่ที่มีสภาพตัดสิน จำเป็นต้องมีการอ้างอิงความหมายซึ่งกันและกัน แต่ทุกที่ที่มีการอ้างอิงความหมายซึ่งกันและกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นสภาพตัดสินเสมอไป
 เอกสารอ้างอิง
เจษฎา ทองร่งโรจน์. (2557) . พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว
มูฮัมมัดริฎอ มุซัฟฟัร. (2021). อัลมันติก(ตรรกวิทยา). กุม-อิหร่าน : ญอมิเอะฮ์มุดัรรีซีน
มิศบาฮยัซดี มูฮัมมัดตะกี. (19882012). ออมูเซชฟัลซาเฟะฮ์(ปรัชญาศึกษา).  เตฮราน-อิหร่าน: ซอเซมอนตับลีฆอตอิสลามี มูออวินัตฟังฮังกีย์

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม