เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 12]อำนาจวิลายะฮ์ของท่านอิมามอะลี อ. ที่ระบุอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานอันทรงเกียรติ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 12]อำนาจวิลายะฮ์ของท่านอิมามอะลี อ. ที่ระบุอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานอันทรงเกียรติ


โดย เชคอันศอร เหล็มปาน

เราไม่เคยพบเลยว่าตลอดระยะเวลาการทำงานของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ นั้น ท่านจะเคยปรึกษาศ่อฮาบะฮ์ ของท่านสักครั้งเดียวในการคัดเลือกตัวผู้นำของพวกเขา ไม่ว่าผู้นำในกองทัพหรือผู้นำในสงคราม ท่านไม่เคยขอคำปรึกษากับพวกเขา เมื่อตอนที่ท่านออกจากเมืองมะดีนะฮฺแล้วตั้งคนที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมในการดูแลพวกเขาในเมืองและไม่เคยปรึกษาใครในยามมีแขกเข้ามาเพื่อยอมรับศาสนา กล่าวคือ ท่านจะแต่งตั้งคนใดคนหนึ่งให้ดูแลคนเหล่านั้นโดยมิได้ปรึกษาใคร แล้วท่านผู้อ่านที่ทรงเกีรยติเชื่อได้อย่างไรว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ปล่อยให้ประชาชาติมุสลิมปรึกษาหารือ และเลือกผู้นำกันเอง ?!!!!

 

ولاية و إمامة علي بن ابي طالب (عليه السلام) في القرآن الكريم

อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 12]อำนาจวิลายะฮ์ของท่านอิมามอะลี อ. ที่ระบุอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานอันทรงเกียรติ

มุสลิมชาวชีอะห์เชื่อว่า “ตำแหน่งผู้นำภายหลังนบี” (อิมาม) ก็เช่นเดียวกับการเป็นศาสดาต้องเป็นการแต่งตั้งมาจากอัลลอฮ์ผ่านทางศาสนทูตของพระองค์หรือผ่านทางท่านอิมามที่ถูกแต่งตั้งแล้ว และตำแหน่งดังกล่าวก็ถูกแต่งตั้งแล้วโดยอัลลลอฮ์ที่ผ่านทางท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ดังประกฏหลักฐานในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน ไว้ในหลายโองการ เช่น

โองการวิลายะฮ์[آية الولاية]
พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ตรัสไว้ซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ ว่า :

إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ ٱللَّهُ وَرَسُولُهُۥ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱلَّذِينَ يُقِيمُونَ ٱلصَّلَوٰةَ وَيُؤْتُونَ ٱلزَّكَوٰةَ وَهُمْ رَٰكِعُونَ وَمَن يَتَوَلَّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَالَّذِينَ ءَامَنُواْ فَإِنَّ حِزْبَ اللَّهِ هُمُ الْغَالِبُونَ

[5:55-56]ความจริงแล้ว ผู้มีอำนาจเหนือพวกพวกเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งดำรงการนมาซและบริจาคซะกาตในขณะโค้งรุกูฮ์ และผู้ใดที่ยอมรับอำนาจของ อัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธานั้น แน่นอน พรรคของอัลลอฮฺ พวกเขาย่อมเป็นผู้ชนะเสมอ”

อิหม่ามอบี อิซฮาก อัษษะอ์ละบี(เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 337) รายงานไว้ใน ตัฟซีร “อัล-กะบีร” โดยสายสืบผ่านไปถึง อะบูซัร อัล-ฆอฟฟารี ว่า :

ข้าพเจ้าได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)พูดสองเรื่อง ไม่เช่นนั้น ฉันก็จะงมงายทั้งสองเรื่อง ไม่เช่นนั้นฉันก็จะมืดบอดทั้งสองเรื่อง คือท่านกล่าวว่า

هذا اَمِیرُ البَرَرَهِ وَ‌ قاتِلُ الکَفَرَهِ، مَخذُولٌ مَن خَذَلَهُ، مَنصُورٌ مَن نَصَرَهُ»؛

“อะลีนั้นเป็นหัวหน้าของคนดี และเป็นผู้สังหารผู้เนรคุณ ผู้ที่ช่วยเหลือเขาจะได้รับการช่วยเหลือ และผู้ที่บั่นทอนเขาก็จะได้รับการบั่นทอน”สำหรับข้าพเจ้านั้น วันหนึ่งได้ร่วมนมาซกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้มีคนขอบริจาคคนหนึ่งเข้ามาขอในมัสญิด แต่ไม่มีใครให้อะไรแก่เขาสักคนเดียว ส่วนอะลี อ. ขณะนั้นกำลังรุกูอ์อยู่ เขาได้ยื่นนิ้วก้อยของเขาซึ่งมีแหวนสวมอยู่ส่งไปให้ คนขอบริจาคก็ได้เข้ามา จนกระทั่งได้ถอดเอาแหวนจากนิ้วก้อยของท่านไป ดังนั้น ท่านนบี ศ. จึงวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ ซ.บ. ว่า
ข้าแต่อัลลอฮ์ แท้จริงมูซาพี่ชายข้า ได้เคยขอต่อพระองค์ว่า โอ้พระผู้อภิบาลของข้า ได้โปรดเผยจิตใจของข้าให้เข้าใจ และโปรดบันดาลให้ภารกิจของข้าสะดวกสำหรับข้า และโปรดคลี่คลายปมที่ปลายลิ้นของข้า ให้เขาทั้งหลายได้เข้าใจคำสอนของข้า และโปรดบันดาลให้ข้าได้มีผู้รับภารกิจจากคนในครอบครัวของข้า ฮารูน พี่ชายข้า ได้โปรดให้ความหนักแน่นแก่ภารกิจของข้าด้วยเพระเขา และโปรดให้เขามีส่วนร่วมในภารกิจของข้า เพื่อเราจะได้สดุดีสรรเสริญพระองค์ให้มากมาย และเราได้รำลึกถึงพระองค์ให้มากมาย แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ดูแลเราอยู่เสมอ
แล้วพระองค์ก็ทรงมีวะฮฺยูแก่เขา ศ. ว่า “แน่นอนยิ่ง ข้าได้มอบให้แก่เจ้าตามที่เจ้าขอแล้วโอ้มูซาเอ๋ย
ข้าแต่อัลลอฮ์ แท้จริงข้าเป็นบ่าวและเป็นนบีของพระองค์ ดังนั้น ได้โปรดเผยจิตใจของข้าให้กว้างขวาง และโปรดให้ภารกิจของข้าสะดวกสำหรับข้า และโปรดบันดาลให้ข้ามีผู้ร่วมภารกิจจากคนในครอบครัวของข้า นั่นคือ อะลี โปรดให้ภารกิจของข้ามั่นคงด้วยเพราะเขา”

อะบูซัรเล่าต่อไปว่า : ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ พอท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ จบคำพูดเท่านั้นเอง มะลาอิกะฮฺญิบรออีลก็ได้เสด็จลงมา พร้อมกับโองการนี้ ซึ่งมีใจความว่า

[5:55-56]ความจริงแล้วผู้มีอำนาจเหนือสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งได้ดำรงการนมาซและบริจาคซะกาต ในขณะที่พวกเขาโค้ง(รุกูอ์) และผู้ใดที่ยอมรับอำนาจของอัลลออฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาเหล่านั้น แน่นอนพรรคของอัลลอฮฺ และพวกเขาย่อมเป็นผู้ชนะเสมอ

สำหรับชีอะฮฺ ไม่มีอะไรเป็นข้อขัดแย้งกันที่ว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาในเรื่องของ อะลี บินอะบีฏอลิบ อ. โดยริวะยะฮฺที่มาจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น เป็นคำสอนที่ถูกยอมรับจากพวกเขาอยู่แล้ว ดังที่มีรายงานปรากฎอยู่ในหนังสือต่างๆหลายเล่มของชีอะฮ์ ยกตัวอย่างเช่น
1. บิฮารุล อันวาร ของท่านมัจญลิซี
2. อุษบาตุล-ฮุดา ของท่านฮุรรุล-อามิลี
3. ตัฟซีร อัล-มีซาน ของ อัลลามะฮฺ เฏาะบา เฏาะบาอี
4. ตัฟซีร อัล-กาชิฟ ของท่านมุฮัมมัด ญะวาด อัล-มุฆนียะฮฺ
5. อัล- เฆาะดีร ของอัลลามะฮฺ อัล-อามินี (และท่านอื่นๆอีกมาก)
ขณะเดียวกันนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺกลุ่มหนึ่ง ก็ได้รายงานว่าโองการนี้ถูกประทานลงมาในเรื่องของท่าน อะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ซึ่งข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเฉพาะกับนักปราชญ์สายตัฟซีรเท่านั้น
1. ตัฟซีร อัล-กิชาฟ ของท่านซะมัคซะรี เล่ม 1 หน้า 649
2. ตัฟซีร อัฏ-ฏ็อบรี เล่ม 6 หน้า 288
3. ซาดุล-มะซีร ฟีอิ้ลมิ้ลตัฟซีร ของอิบนุเญาซี แล้ว 2 หน้า 383
4. ตัฟซีร อัล-กุรฏฺบี เล่ม 6 หน้า 219
5. ตัฟซีร ฟัครุรรอซี เล่ม 12 หน้า 26
6. ตัฟซรี อิบนุกะซีร เล่ม 2 หน้า 71
7. ตัฟซีร อัน-นุซฟี เล่ม 1 หน้า 289
8. ชะวาฮิดุต-ตันซีล ของฮัซกานี อัน-ฮะนาฟี เล่ม 1 หน้า 161
9. อัด-ดุรรุล-มันซูร ของท่านซะยูฏี เล่ม 2 หน้า 293
10. อัซบาบุล-นุซุล ของอิมามอัล-วาฮิดี หน้า 148
11. อะฮฺกามุล-กุรอาน ของท่านญัศศอศ เล่ม 4 หน้า 102
12. อัต-ตัซฮีล ลิอุลูมิต-ตันซีล ของท่านกัลบีเล่ม 1 หน้า 181
ที่ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าวถึงในที่นี้ ยังมีอีกมากมายจากนักปราชญ์ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ที่มีความเชื่อตรงกันกับนักปราชญ์ชีอะฮฺว่าโองการนี้ถูกประทานมาในเรื่องอัล-วิลายะฮฺของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ อ. เช่น

อิบนิ กะซีร ดะมิชกี ซะลาฟีย์
عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ: خَرَجَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَى الْمَسْجِدِ وَالنَّاسُ يُصَلُّونَ بَيْنَ رَاكِعٍ وَسَاجِدٍ وَقَائِمٍ وَقَاعِدٍ، وَإِذَا مِسْكِينٌ يَسْأَلُ، فَدَخَلَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: «أَعْطَاكَ أَحَدٌ شَيْئًا؟» قَالَ: نَعَمْ. قَالَ «مَنْ؟» قَالَ: ذَلِكَ الرَّجُلُ الْقَائِمُ. قَالَ «عَلَى أَيِّ حَالٍ أَعْطَاكَهُ؟» قَالَ: وَهُوَ رَاكِعٌ، قَالَ «وَذَلِكَ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ» . قَالَ: فَكَبَّرَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عِنْدَ ذَلِكَ وَهُوَ يَقُولُ وَمَنْ يَتَوَلَّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا فَإِنَّ حِزْبَ اللَّهِ هُمُ الْغالِبُونَ وَهَذَا إِسْنَادٌ لَا يُفْرَحُ بِهِ.
القرشى الدمشقی، إسماعیل بن عمر بن کثیر ابوالفداء (متوفای774هـ)، تفسیر القرآن العظیم، ج 2 ص 72 ، ناشر: دار الفکر – بیروت – 1401هـ

อันซอรี กัรฎูบีย์
وَقَالَ فِي رِوَايَةٍ أُخْرَى: نَزَلَتْ فِي عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ، وَقَالَهُ مُجَاهِدٌ وَالسُّدِّيُّ، وَحَمَلَهُمْ عَلَى ذَلِكَ قَوْلُهُ تَعَالَى: (الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكاةَ وَهُمْ راكِعُونَ) وَهِيَ: الْمَسْأَلَةُ الثَّانِيَةُ- وَذَلِكَ أَنَّ سَائِلًا سَأَلَ فِي مَسْجِدِ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَلَمْ يُعْطِهِ أَحَدٌ شَيْئًا، وَكَانَ عَلِيٌّ فِي الصَّلَاةِ فِي الرُّكُوعِ وَفِي يَمِينِهِ خَاتَمٌ، فَأَشَارَ إِلَى السَّائِلِ بِيَدِهِ حَتَّى أَخَذَهُ. قَالَ إِلْكِيَا الطَّبَرِيُّ: وَهَذَا يَدُلُّ عَلَى أَنَّ الْعَمَلَ الْقَلِيلَ لَا يُبْطِلُ الصَّلَاةَ، فَإِنَّ التَّصَدُّقَ بِالْخَاتَمِ فِي الرُّكُوعِ عَمَلٌ جَاءَ بِهِ فِي الصَّلَاةِ وَلَمْ تَبْطُلْ بِهِ الصَّلَاةُ. وَقَوْلُهُ:” وَيُؤْتُونَ الزَّكاةَ وَهُمْ راكِعُونَ” يَدُلُّ عَلَى أَنَّ صَدَقَةَ التَّطَوُّعِ تُسَمَّى زَكَاةً.، فَإِنَّ عَلِيًّا تَصَدَّقَ بِخَاتَمِهِ فِي الرُّكُوعِ، وَهُوَ نَظِيرُ قَوْلِهِ تَعَالَى:” وَما آتَيْتُمْ مِنْ زَكاةٍ تُرِيدُونَ وَجْهَ اللَّهِ فَأُولئِكَ هُمُ الْمُضْعِفُونَ”
الأنصارى القرطبی، ابوعبد الله محمد بن أحمد (متوفای671هـ)، الجامع لأحکام القرآن، ج6 ص221 ، ناشر: دار الشعب – القاهرة

ซิยูตี่ย์ นักตัฟซีรผู้ลือนาม บันทึกไว้ว่า
قوله تعالى إنما وليكم الله الآية أخرج الطبراني في الأوسط بسند فيه مجاهيل عن عمار بن ياسر قال وقف على علي بن أبي طالب سائل وهو راكع في تطوع فنزع خاتمه فأعطاه السائل فنزلت إنما وليكم الله وسوله الآية وله شاهد قال عبد الرازق حدثنا عبد الوهاب بن مجاهد عن أبيه عن ابن عباس إنما وليكم الله ورسوله الآية قال نزلت في علي بن أبي طالب وروى ابن مردويه عن وجه آخر عن ابن عباس مثله وأخرج أيضا عن علي مثله وأخرج ابن جرير عن مجاهد وابن أبي حاتم عن سلمة بن كهيل مثله فهذه شواهد يقوي بعضها بعضا
السیوطی، عبد الرحمن بن أبی بکر جلال الدین (متوفای911هـ)، لباب النقول ، ج1 ص93 ، دار النشر : دار إحیاء العلوم – بیروت

 

2. โองการว่าด้วย “อัล-บะลาฆ” [ آیة البلاغ]

พระองค์ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ ۖ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ ۚ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ ۗ إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

[5:67]โอ้ศาสนทูตเอ๋ย จงประกาศจงประกาศสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมายังเจ้าจากองค์พระผู้อภิบาลของเจ้า หากเจ้าไม่กระทำ ก็เท่ากับว่าเจ้าไม่เคยเผยแพร่สารธรรมของพระองค์มาเลย อัลลอฮ์จะทรงปกป้องเจ้าจากมวลมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงชี้นำกลุ่มชนผู้ปฎิเสธ

นักมุฟัรซีรย์ชาวชีอะห์ทั้งหมดนั้นมิได้มีความเห็นแตกต่างกันเลยในข้อที่ว่าซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮ์ เป็นซูเราะฮ์สุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานมาและโองการนี้ก็เช่นเดียวกัน

ตามข้อความแห่งโองการของอัลลอฮ์ที่ว่า

وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ ۚ

“และหากเจ้าไม่กระทำ ก็เท่ากับเจ้ามิได้ประกาศสาส์นของพระองค์เลย”

ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สาส์นนั้นได้ยุติแล้ว หรือไม่ก็เกือบจะถึงเวลายุติแล้ว ยังคงเหลือเรื่องสำคัญอยู่เรื่องเดียวเท่านั้นที่ศาสนายังไม่ครบสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องประกาศเรื่องนั้น
ขณะเดียวกันโองการนี้ ก็ให้ความรู้สึกว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. มีความกังวลใจต่อการปฏิเสธของประชาชน ถ้าเมื่อท่าน ศ. ได้เรียกร้องพวกเขามายังคำสั่งที่สำคัญยิ่งข้อนี้ แต่อัลลอฮ์ ซ.บ. ไม่ทรงผ่อนผันให้ท่านประวิงเวลาอีกต่อไป เพราะวาระสุดท้ายใกล้เข้ามาแล้ว และโอกาสนี้นับเป็นช่วงจังหวะที่ดี และสถานการณ์นั้นก็นับว่ายิ่งใหญ่มากเมื่อศ่อฮาบะฮฺของท่าน ศ. ยังอยู่กับท่านมากกว่าแสนคน ซึ่งพวกเขาได้ทำฮัจญ์พร้อมกับท่าน ศ. เป็นครั้งสุดท้าย นับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์แล้วที่พวกเขามีจิตใจเทิดทูนสัญลักษณ์ต่างๆของอัลลอฮ์ ซ.บ. ด้วยความอาลัยห่วงท่านศาสนทูต ศ. ที่ท่านกล่าวด้วยความอาวรณ์ว่า

لعلی لا ألقاکم بعد عامکم هذا و یُوشَکُ اَنْ یَاْتی رَسُولُ رَبّی وادعی فَاُجیبُ

“บางทีฉันอาจไม่ได้พบกับพวกท่านอีก หลังจากปีนี้ผ่านไปแล้ว และบางทีทูตจากพระผู้อภิบาลของฉันจะมา แล้วฉันจะถูกเรียกซึ่งฉันก็จะตอบรับ”

ในขณะที่พวกเขาจะแยกย้ายกันเดินทางหลังจากจุดนี้เพื่อกลับสู่ภูมิลำเนาของพวกตน และบางทีพวกเขาจะไม่มีโอกาสเช่นนี้ที่จะพบกันอีกในจำนวนมากมายมหาศาลอย่างนี้ และเฆาะดีรคุมเป็นจุดแยกของเส้นทางสายต่างๆ ดังนั้นมุฮัมมัด ศ. ไม่อาจปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านพ้นไปโดยมิได้ทำอะไรไว้เลยเป็นกรณีพิเศษ แน่นอนได้มีวะฮฺยูในลักษณะที่กำชับโดยที่ว่าทุกๆเรื่องราวของสาส์นแห่งศาสนานั้นก็มีวิธีเช่นเดียวกับการให้ประกาศในคราวนี้

แน่นอนอัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงรับรองความปลอดภัยให้ท่านพ้นจากมนุษย์ที่คิดร้ายอยู่แล้ว จึงมิใช่เรื่องที่จะอ้างว่าท่านกลัวการปฏิเสธของพวกเขา เพราะศาสนทูตก่อนหน้าท่าน ศ. ได้เคยถูกปฏิเสธมาแล้ว แต่พวกเขาก็ไม่หยุดยั้งการประกาศศาสนาตามที่พวกเขาถูกบัญชามา เพราะศาสนทูตไม่มีหน้าที่อื่นนอกจากการประกาศ และถึงแม้อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงทราบดีมาก่อนแล้วว่า พวกเขาส่วนมากจะต้องรังเกียจสัจธรรม ส่วนหนึ่งของพวกเขาจะมีผู้ปฏิเสธ อัลลอฮ์ ซ.บ. ก็ยังไม่ละเลยในอันที่จะดำรงไว้ซึ่งข้อพิสูจน์อันเป็นหลักฐานไว้สำหรับพวกเขาเพื่อมนุษย์จะได้ไม่มีข้อแก้ตัวกับอัลลอฮ์ ซ.บ. หลังจากที่มีบรรดาศาสนทูตมาเผยแพร่แล้ว และอัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงมีเกียรติยิ่ง ทรงปรีชาญาณนัก

ในฐานะที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. เป็นผู้มีจริยธรรมอันดีเลิศท่ามกลางบรรดาศาสนทูตทั้งหลายซึ่งพวกเขาเคยได้รับการปฏิเสธมาแล้วจากประชาชาติของพวกเขา ดังที่อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงมีโองการว่า

“และถึงแม้พวกเขาจะปฏิเสธเจ้า ก็แท้จริงได้มีการปฏิเสธกันมาก่อนหน้าพวกเขาอยู่แล้ว เช่นพวกของนูฮฺ พวกอาด พวกษะมูด และพวกอิบรอฮีม และพวกของลูฏ และอัศฮาบมัดยัน และมูซาก็เคยถูกปฏิเสธมาแล้ว แต่ข้าได้ยืดเวลาให้แก่พวกปฏิเสธ ต่อจากนั้นข้าจึงทำการลงโทษพวกเขา ดังนั้นผลของการปฏิเสธจะเป็นเช่นไร” (อัล-ฮัจญ์ / 42-44)

ถ้าเราละทิ้งการถือพรรคถือพวกอย่างมีอคติและชอบที่จะเข้าข้างมัซฮับกัน เราจะพบว่า การอธิบายอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เหมาะสมกันกับสติปัญญา และเป็นการเดินตามความหมายของโองการและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตได้เป็นอย่างดี

ได้มีนักปราชญ์ซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จำนวนมากที่รายงานว่าโองการนี้ถูกประทานที่เฆาะดีรคุมในเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลี อ. เป็นอิมามและพวกเขาถือว่าริวายะฮ์เหล่านั้นถูกต้องและสอดคล้องตรงกันกับรายงานของพี่น้องชีอะฮ์ ข้าพเจ้าจะขอเอ่ยถึงรายชื่อของนักปราชญ์ซุนนะฮฺมาเพื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

1. ท่านฮาฟิซ อะบูนะอีม (หนังสือนุซูลุล-กุรอาน)
2. อิมามอัล-วาฮิดี (หนังสืออัซบาบุล-นุซูล หน้า 150 )
3. อิมามอะบูอิซฮาก อัษ-ษะอ์ละบี (ตัฟซีร อัล-กะบีร )
4. อัล-ฮากิม อัล-ฮัซกานี (หนังสือ ชะวาฮิด ตันซีลลิเกาะวาอิด ตัฟซีร เล่ม 1 หน้า 187)
5. ญะลาลุดดีนอัซ-ซะยูฏี (หนังสือ อัดดุร-รุลมันษูรฟีตัฟซีร บิ้ล-มะษูร (เล่ม 3 หน้า 117)
6. อัล-ฟัครุร-รอซี (ตัฟซีร อัล-กะบีร เล่ม12 หน้า 50)
7. มุฮัมมัด อับดุฮฺ (ตัฟซีร อัล-มะนาร เล่ม 2 หน้า 86 เล่ม6 หน้า 463)
8. อิบนุ ซากิร อัช-ชาฟิอี (ตารีค ดะมิชก์ เล่ม 2 หน้า 86)
9. ฟัตฮุล-เกาะดีร ของ อัช-เชากานี (เล่ม 2 หน้า 60)
10. มะฏอลิบุซ-ซุอูล ของ อิบนุฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟีอี เล่ม 1 หน้า 44
11. อัล-ฟุศูลุล มุฮิมมะฮฺ ของ อิบนุ อัศ-ศิบาฆ อัล-มาลิกี หน้า 25
12. ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ ของ ก็อนดูซี อัล-ฮะนะฟี หน้า 120
13. อัล-มิลัล วัน-นะฮัล ของ ชะฮฺริซาตานี เล่ม 1 หน้า 163
14. อิบนุ ญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี (หนังสือ อัล-วิลายะฮฺ)
15. อิบนุซะอีด อัซ-ซะญิซตานี (หนังสือ อัล-วิลายะฮฺ)
16. อุมดะตุล-กอริ ฟี ชัรฮิล-บุคอรี ของ บัดรุดดีน อัล-ฮะนาฟี (เล่ม8 หน้า 584)
17. ตัฟซีร อัล-กุรอาน ของอับดุล วะฮาบ อัล-บุคอรี
18. รูฮุลมะอานี ของ อาลูซี เล่ม 2 หน้า 384
19. ฟะรออิดุซ-ซัมฏัยน์ ของ ฮะมูวัยนี เล่ม 1 หน้า 185
20. ฟัตฮุล-บะยาน ฟีมะกอศิด อัล-กุรอาน ของอัลลามะฮฺ ซัยยิด ศิดดีก ฮะซันคาน เล่ม 3 หน้า 63

เหล่านี้เป็นเพียงจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยที่ข้าพเจ้าบันทึก แต่ยังมีจำนวนมากกว่านี้ ซึ่งเป็นนักปราชญ์ในสายซุนนี่ห์

แล้วลองดูเถิด ท่านทั้งหลายว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้ทำอย่างไร ในเมื่อพระผู้อภิบาลของท่านได้มีบัญชาให้ท่าน ศ. ประกาศถึงเรื่องที่ถูกประทานลงมายังท่าน ??

นักประวัติศาสตร์ นักฮะดิษต่างได้บันทึกกันอย่างแพร่หลายว่า ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ ศ. ได้จัดประชุมคนทั้งหลายให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันในสถานที่นั้น นั่นคือ ที่ ฆ่อดีรคุมม์ แล้วท่านได้กล่าวคุฏเบาะฮฺกับคนเหล่านั้นเป็นเวลานาน และให้พวกเขาปฏิญาณตนด้วยตัวของพวกเขาเอง กล่าวคือ พวกเขาปฏิญาณตนว่า ท่านนบี ศ. นั้น “มีอำนาจต่อตัวของพวกเขา ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง”

แล้วจากนั้นท่าน ศ. ก็ได้ยกมือของท่านอิมามอะลี อ. ขึ้นแล้วกล่าวว่า

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ اللَّهمّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ، وَانْصُرْ مَنْ نَصَرَهُ وَاخْذُلْ مَنْ خَذَلَهُ اللَهُمَّ أدِرِ الْحَقَّ مَعَهُ حَيْثُ دَارَ

“ผู้ใดก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น อะลีผู้นี้ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอได้โปรดคุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรู ต่อผู้เป็นศัตรูของเขา และโปรดช่วยคนของเขา และบั่นทอนคนที่บั่นทอนเขา และโปรดให้ความถูกต้องอยู่กับเขาไม่ว่าเขาจะอยู่อย่างไร”

หลังจากนั้นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ก็เอาผ้าโพกศีรษะพันที่ศีรษะของอิมามอะลี อ. และสั่งสาวกให้แสดงความยินดีต่อตำแหน่งผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งพวกเขาก็ได้กระทำตาม โดยมี อะบูบักรฺ และอุมัรเป็นคนเริ่มต้นนำ เขาทั้งสองกล่าวว่า

فَقالَ لَهُ عُمَرُ بنُ الخَطّابِ : بَخٍ بخٍ یَا بنَ أبی طالِبٍ ! أصبَحتَ مَولایَ ومَولی کُلِّ مُسلِمٍ

“บัคคิน..บัคคิน ละกะ โอ้บุตรของอะบีฏอลิบ ทั้งยามเช้าและยามเย็น ท่านเป็นเมาลาของปวงผู้ศรัทธาทั้งชายหญิง”

หลังจากเสร็จพิธีแล้ว อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ลงโองการแก่พวกเขาว่า

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا [المائدة:3]

“วันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกสูเจ้าเป็นที่สมบูรณ์สำหรับพวกสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันสมบูรณ์สำหรับพวกสูเจ้าแล้ว และฉันปิติยินดีต่อพวกสูเจ้าที่ได้อิสลามเป็นศาสนา”

นี่คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่นักประวัตศาสตร์ทั้งสองฝ่ายกล่าวกัน ซึ่งนับได้ว่าที่พวกเขามีเรื่องเหล่านี้บอกเล่ากันอย่างเป็นระบบ

แต่ก็ยังมีบางคนจากชาวซุนนะห์ก็ยังคงปฎิเสธและยืนกรานว่า มันไม่ใช่เรื่องสัตย์จริง แต่อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงเตือนเราไว้ว่า

وَمِنَ ٱلنَّاسِ مَن يُعْجِبُكَ قَوْلُهُۥ فِى ٱلْحَيَوٰةِ ٱلدُّنْيَا وَيُشْهِدُ ٱللَّهَ عَلَىٰ مَا فِى قَلْبِهِۦ وَهُوَ أَلَدُّ ٱلْخِصَامِ

[2:204]และส่วนหนึ่งจากมนุษย์นั้น ได้มีผู้ที่มีคำพูดอันทำให้เจ้ารู้สึกชื่นชมในเรื่องชีวิตบนโลกนี้ และอัลลอฮ์ทรงยืนยันถึงสิ่งที่อยู่ในหัวใจของพวกเขา ขณะที่เขาเป็นนักโต้แย้งที่ร้ายกาจ”

จึงจำเป็นที่เราจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และวิเคราะห์เรื่องนี้ในทุก ๆด้าน และต้องพิจารณาดูหลักฐานของทั้งสองฝ่ายกันอย่างจริงจังกันเลยทีเดียว ในฐานะผู้ที่แสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ ซ.บ.

คำตอบก็คือ ใช่แล้ว แท้จริงจำนวนมากในหมู่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ ในลักษณะที่มีรายละเอียดครบครัน และต่อไปนี้ก็คือพยานหลักฐานจากตำราของพวกเขาบางส่วน

1. รายงานโดยอิมามอะห์มัด บิน ฮัมบัล จากฮะดีษของ ซัยด์ บินอัรก็อม กล่าวว่า : “พวกเราได้หยุดพักพร้อมกับท่านศาสนทูต ศ. ณ ที่ลุ่มแห่งหนึ่งที่คนเรียกกันว่า “วาดี คุม” ดังนั้นท่านจึงสั่งให้ทำนมาซ โดยท่านนมาซกลางแดดที่แผดเผาในยามกลางวัน ท่าน ศ. ได้กล่าว แล้วพวกเราก็พูด ได้มีการกั้นผ้าผืนหนึ่งเพื่อเป็นร่มเงาให้แก่ท่านศาสนทูต ศ.
ท่าน ศ. ได้กล่าวว่า

فَقَالَ ” أَلَسْتُمْ تَعْلَمُونَ – أَوْ أَلَسْتُمْ تَشْهَدُونَ – أَنِّي أَوْلَى بِكُلِّ مُؤْمِنٍ مِنْ نَفْسِهِ ؟

“พวกท่านทราบแล้วหรือไม่ พวกท่านปฏิญาณตนแล้วหรือไม่ว่า ฉันนี้เป็นผู้มีอำนาจเหนือผู้ศรัทธาทั้งชายหญิงทุกคนยิ่งกว่าตัวของเขาเอง ?”

قَالُوا: بَلَى
พวกเขากล่าวว่า “ใช่แล้ว”

ท่านศาสนทูต ศ. กล่าวว่า

قَالَ: فَمَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَإِنَّ عَلِيًّا مَوْلَاهُ، اللَّهُمَّ والِ مَنْ وَالَاهُ وعادِ مَنْ عَادَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

“ดังนั้นผู้ใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น อะลี ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮฺ โปรดคุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และจงเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา…” (จาก “มุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 4 หน้า 372)

2. รายงานโดยอิมามนะซาอี ในหนังสือ “อัล-เคาศออิศ” จากท่านซัยดฺบินอัรก็อม ว่า เมื่อครั้งท่านนบี ศ. กลับจากทำฮัจญะตุ้ล-วิดาอ์ นั้น ท่าน ศ. ได้หยุดพักที่ “เฆาะดีรคุม” ท่าน ศ. ได้สั่งให้ทำกระโจม

หลังจากนั้นท่าน ศ. กล่าวว่า

رسول اللّه صلى الله عليه و آله :كَأَنّي قَد دُعيتُ فَأَجَبتُ ، وإنّي تارِكٌ فيكُمُ الثِّقلَينِ أحدُهُما أكبَرُ مِنَ الآخَرِ : كِتابَ اللّهِ ، حَبلٌ مَمدودٌ مِنَ السَّماءِ إلَى الأَرضِ ، وَعِتْرَتِي أَهْلُ بَيْتِي،فَانْظُرُوا كَيْفَ تَخْلُفُونِي فِيهِمَا، فَإِنَّهُمَا لَنْ يَفْتَرِقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ

“ดูเหมือนว่า ฉันได้ถูกเรียก แล้วฉันก็ขานรับแล้ว และฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญสองประการ ประการหนึ่ง ยิ่งใหญ่กว่าอีกประการหนึ่ง นั่นคือ กิตาบุลลอฮฺและเชื้อสายของฉันจากอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ดังนั้น จงพิจารณาดูเถิด พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในเรื่องทั้งสองนี้อย่างไร เพราะแท้จริงเรื่องทั้งสองนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะย้อนกลับไปยังฉันที่ อัล-เฮาฎ์”

หลังจากนั้นท่าน ศ. กล่าวว่า

إِنَّ اَللَّهَ مَوْلاَيَ وَ أَنَا مَوْلَى كُلِّ مُؤْمِنٍ وَ مُؤْمِنَةٍ

“แท้จริง อัลลอฮ์ทรงเป็นเมาลาของฉัน และฉันก็เป็นวะลีของผู้ศรัทธาทุกคน”

หลังจากนั้นท่าน ศ. ก็จับมือของท่านอิมามอะลี อ. ชูขึ้น แล้วกล่าวว่า

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ اللَّهمّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

“ผู้ใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น ผู้นี้ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์โปรดได้คุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา”

อะบูฏฟัยล์ กล่าวว่า ฉันเคยถามท่านซัยด์ว่า “ท่านได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ พูดอย่างนี้หรือ ?

ท่านกล่าวว่า

وإنه ما کان فی الدوحات أحد إلا رآه بعینیه وسمعه بأذنیه

“เรื่องนี้ไม่ว่าใครก็ตามที่อยู่ในสถานที่แห่งนั้นต่างก็ได้เห็นท่าน และได้ยินท่านด้วยหูทั้งสองข้างของตนเองทั้งสิ้น”( อัน-นะซาอี ใน “อัล-ค่อศออิศฺ” หน้า 21)

3.รายงานโดยท่านฮากิม อัน-นีชาบูรี จากท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม จากสองรายงานที่ถูกต้องตามเงื่อนไขของบุคอรี-มุสลิม ว่า :

เมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. กลับจากฮัจญะตุ้ล-วิดาอ์ และได้หยุดพักที่เฆาะดีรคุม ท่าน ศ. ได้สั่งให้ทำกระโจมแล้วได้กล่าวว่า “ดูเหมือนว่า ฉันได้ถูกเรียก ดังนั้นฉันก็ขานรับแล้ว และแท้จริงฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการ ประการที่หนึ่งสำคัญยิ่งกว่าอีกประการหนึ่ง นั่นคือ กิตาบุลลอฮ์และเชื้อสายของฉันจากอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน ดังนั้นจงพิจารณาดูเถิด พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในทั้งสองสิ่งนี้ได้อย่างไร ดังนั้น แท้จริงทั้งสองสิ่งนี้จะไม่แตกแยกกันจนกว่าจะได้ย้อนกลับมายังฉันที่อัล-เฮาฎ์”

หลังจากนั้นท่านศาสดา ศ. ได้กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ์เป็นเมาลาของฉันและฉันเป็นเมาลาของผู้ศรัทธาทุกคน”

หลังจากนั้นท่าน ศ. ได้จับมือของท่านอะลี อ. แล้วกล่าวว่า “ผู้ใดที่ฉันเป็นวะลีของเขา ดังนั้น ผู้นี้ก็เป็นวะลีของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์โปรดได้คุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา”(มุซตัดร็อก อัล-ฮากิม” เล่ม 3 หน้า 109)

เช่นกันฮะดีษนี้ท่านมุสลิม ก็ได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่านซึ่งมีสายสืบฮะดีษนี้ไปถึงท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม แต่มีใจความสรุปว่า ในวันหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้กล่าวปราศรัยกับพวกเราที่ลุ่มน้ำ ซึ่งมีชื่อว่า “คุม” ระหว่างมักกะฮ์กับมะดีนะฮ์ ท่าน ศ. ได้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์ ได้กล่าวสดุดีต่อพระองค์ และได้ให้คำตักเตือนต่อจากนั้นท่าน ศ. ได้กล่าวว่า “โอ้ประชาชนทั้งหลาย อันที่จริงฉันเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ดูเหมือนว่า ทูตจากพระผู้อภิบาลของฉันได้มาหาฉันแล้ว ซึ่งฉันได้ตอบรับ และฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการ ประการที่หนึ่งคือ กิตาบุ้ลลอฮ์ ในนั้นมีทางนำและแสงสว่าง ดังนั้นจงยึดถือกิตาบุลลอฮฺและจงยึดไว้ให้มั่นคง กล่าวคือจงเน้นหนักและแสวงหาคัมภีร์ของอัลลอฮฺ”

หลังจากนั้นท่าน ศ. ได้กล่าวว่า “และอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ในเรื่องอะฮฺลุลบัยต์ของฉัน ฉันขอ….ท่าน ศ. กล่าวถึง 3 ครั้ง (ศ่อฮีฮ์มุสลิม” เล่ม 7 หน้า 122 บทว่าด้วย “ฟะฏออิล อะลี บินอะบีฏอลิบ”)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม