เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 2

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิมามัต  (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 2

    หมวดที่สองของการฏออัต เข้าสู่รายละเอียดในการฏออัต เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวกับการฏออัต มีมุมมองอื่นๆเข้ามาด้วย
ซูเราะฮฺอัลอะฮฺซาบ โองการที่
النَّبىِ‏ُّ أَوْلىَ‏ بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنفُسِهِم‏
“ศาสดานั้นมีอำนาจเหนือกว่าบรรดาผู้ศรัทธาแม้แต่จากตัวของผู้ศรัทธาเอง”
    ศาสดามีสิทธิเหนือประชาชาติทั้งหมด ซึ่งเป็นอำนาจมุฏลักอย่างสมบูรณ์ ศาสดามาเพื่อชี้นำมนุษย์เข้าสู่ทางนำ จัดตั้งรัฐของพระผู้เป็นเจ้าจึงต้องมีอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างสมบูรณ์ จากโองการนี้มนุษย์ไม่สิทธิเลยในการออกจากคำสั่งของศาสดา
ซูเราะฮฺอัลอะฮฺซาบ โองการที่ 36
وَ مَا كاَنَ لِمُؤْمِنٍ وَ لَا مُؤْمِنَةٍ إِذَا قَضىَ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ أَمْرًا أَن يَكُونَ لهَُمُ الخِْيرََةُ مِنْ أَمْرِهِمْ
“ไม่บังควรแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิงเมื่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้วสำหรับพวกเขาไม่มีทางเลือกในเรื่องของพวกเขา”
       ผู้ศรัทธาเขาไม่สิทธิเมื่ออัลลอฮฺและรฮซูลได้กำหนดเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้วที่พวกเขาจะมีทางเลือกอื่นอีก กิจกรรมการงานของพวกเขาเมื่ออัลลอฮฺและศาสดาตัดสินแล้วเขาไม่มีทางอื่นแล้ว ต้องตรงตามที่ศาสดาได้ตัดสินไว้ และในทอนตต่อมาในโองการเดียวกันได้กล่าวต่อว่า
وَ مَن يَعْصِ اللَّهَ وَ رَسُولَهُ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَالًا مُّبِينًا
  “ และใครก็ตามที่ละเมิดคำสั่งของอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์เขาจะหลงทางซึ่งเป็นการหลงทางอันชัดแจ้ง”
ซูเราะฮฺฮัญ โองการที่  67
لِّكُلّ‏ِ أُمَّةٍ جَعَلْنَا مَنسَكا هُمْ نَاسِكُوهُ  فَلَا يُنَازِعُنَّكَ فىِ الْأَمْرِ  وَ ادْعُ إِلىَ‏ رَبِّكَ  إِنَّكَ لَعَلىَ‏ هُدًى مُّسْتَقِيم‏
    “และสำหรับทุกๆประชาชาติได้กำหนดพิธีทางศาสนาไว้ให้พวกเขาปฏิบัติพิธีนั้น  ดังนั้นอย่าอนุญาตให้คนใดคนหนึ่งโต้แย้งกับศาสดาในกิจการนั้น และจงเรียกร้องเชิญชวนไปสู่พระผู้เป็นเจ้าแท้จริงเจ้านั้นอยู่บนหนทางอันที่ยงธรรม”
 โองการเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญต่อการฏออัตเชื่อฟังปฏิบัติตาศาสดา
    อรัมภบทต่อไปก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องอิมามัต นอกจากตำแหน่งศาสดายังมีหน้าที่ในการประกาศสาสน์ของอัลลอฮฺ(ซบ)แล้ว  ทว่ามีศาสดาจำนวนหนึ่งที่นอกเหนือจากมีตำแหน่งนี้ยังยังมีตำแหน่งอื่นอีก คือตำแหน่งอิมาม มีศาดาจำนวนหนึ่งที่เป็นอิมามด้วย อิมามคือมีหน้าในการชี้นำให้ปฏิบัติเรื่องอื่นๆด้วย เช่นเป็นทั้งผู้นำรัฐ ผู้ตัดสิน ผู้พิพากษา เป็นแม่ทัพ หรือสถาปนาชารีอัตขึ้นมา เป็นเจ้าาของชารีอัต มีการปกครอง มีอำนาจในการลงโทษ เช่นศาสาดมูซา(อ) ครั้นเมื่อท่านขึ้นไปบนภูเขาซีนายสี่สิบวันตามบัญชาของอัลลอฮฺ(ซบ)เมื่อท่านกลัมาบานีอิสรออีลได้กราบไหว้ลูกวัวที่ปั้นขึ้น ท่านศาสดามูซา(อ)ได้ลงโทษพวกเขาด้วยการให้ฆ่ากันเอง จัดแถวพวกที่บูชาเจว็ด และพวกที่ไม่ได้บูชาเจว็ดอีกแถวหนึ่งซึ่งก็เป็นพี่น้องกันเอง ปิดหน้าทั้งสองฝั่งแล้วให้ฆ่ากันเอง และบานีอิสรออีลที่ไม่ได้บูชาเจว็ดทำโทษโดยการประหารชีวิต ให้แทงพวกเขา ปิดหน้าทั้งสองฝั่ง ชี้ให้เห็นว่าศาสดาที่เป็นอิมามด้วยนั้นมีอำนาจในการลงโทษ ท่านศาสดามูซา(อ)มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ยุคนั้นการทำชีริกมีโทษถึงการประหารชีวิต ท่านเป็นเจ้าของชารีอัต จะเป็นแบบนี้ได้มีแค่ตำแหน่งนบีและรอซูลไม่เพียงพอต้องมีตำแหน่งอิมามด้วย มีหลักฐานต่างๆยืนยันว่าศาสดาเหล่านี้เป็นอิมามด้วย นั้นก็คือศาสดาอูลุลอัศมฺ และศาสดอื่นๆบางท่านก็เช่นกัน เมื่อเป็นอิมามต้องชี้นำในเรื่องอื่นๆด้วย ถ้าไม่ได้เป็นอิมามอาจจะไม่ต้องเป็นผู้พิพากษา อาจจะไม่ต้องเป็นแม่ทัพ อาจจะต้องเป็นผู้นำรัฐ แต่ทว่ามาเพื่อแค่ประกาศสาสน์ ศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)นั้นเป็นศาสดาสุดท้ายของศาสนาสุดท้ายซึ่งเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นตำแหน่งการเป็นอิมามของท่านนั้นก็ย่อมที่จะเข็มข้นไปด้วย หลักฐานที่สำคัญในการพิสูจน์ว่าตำแหน่งนาบีตำแหน่งรอซูลและตำแหน่งอิมามแยกจากกันเป็นคนละตำแหน่งกัน แยกออกจากกันทั้งสามตำแหน่ง บางรอซูลเป็นอมาม บางไม่ได้เป็นอิมาม
ในซูเราะฮฺอัลบากอเราะฮฺ โองการที่ 124
* وَ إِذِ ابْتَلىَ إِبْرَاهِمَ رَبُّهُ بِكلَِمَاتٍ فَأَتَمَّهُنَّ  قَالَ إِنىّ‏ِ جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا  قَالَ وَ مِن ذُرِّيَّتىِ  قَالَ لَا يَنَالُ عَهْدِى الظَّالِمِين‏
“และจงรำลึกถึงขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทรงทดสอบเขาด้วยบัญชาบางประการแล้วเขาก็ได้สนองตามบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ทรงตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษยชาติ(อิมาม) เขากล่าว่าแล้วจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย พระองค์ทรงตรัสว่าสัญญาของข้าได้จะไม่ได้แก่บรรดาผูอธรรม”
    เมื่อพระองค์ได้ทำการทดสอบศาสดาอิบรอฮีม(อ)ด้วยกาลีมะฮฺอิหนึ่ง แล้วศาสดาอิบรอฮีมได้ผ่านการทดสอบอย่างสมบูรณ์เขาก็ทำมันสมบูรณ์ อัลลอฮฺ(ซบ)ต้องการจะบอกว่าท่านศาสาดาได้รับตำแหน่งอิมามหลังจากทำการทดสอบ การที่ว่านาบีเป็นอิมามทุกคนนั้นไม่ถูกต้องขนาดนศาสดาอิบรอฮีมแล้วต้องผ่านการทดสอบก่อน ไม่ใช่จะเป็นได้โดยอัตโนมัติ ต้องผ่านการสอบจากอัลลอฮฺ(ซบ) พระองค์ทรงเลือกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นตำแหน่งหนึ่งที่เป็นเอกเทศ  และจากตำแหน่งนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าตำแหน่งอิมามนั้นเป็นตำแหน่งที่สูงสุด สูงกว่าตำแหน่งนาบี และสูงกว่าตำแหน่งรอซูล เข้าใจได้ง่ายๆคือ สมมุตศาสดาอิบรฮีม(อ)ผ่านการสอบแล้วก็จะต้องได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไม่ใช่ลดตำแหน่งลง เหมือนกับการที่จากที่เป็นนายพลอยู่ก็ถูกลดเป็นนายร้อย ซึ่งมันไม่กินกับสติปัญญา สมมุติตำแหน่งนาบีเป็นพลตรี ตำแหน่งรอซูลเป็นพลโท ตำแหน่งอิมามเป็นพลเอก สมมุตศาสดาอิบรอฮีมอยู่ในระดับพลโทเมื่อสอบผ่านก็ต้องเป็นพลเอกจึงจะกินกับสติปัญญา
   และตำแหน่งนี้ไม่ไดกับทุกคนที่เป็นศาสดา พระองค์บอกว่าสนธิสัญญานี้นั้นผู้ที่กระทำผิด ผู้ที่ซอลิมจะไม่ได้รับตำแหน่งอันนี้ เป็นตำแน่งสุดท้ายที่ศาสดาได้รับ
  กลับมาที่ศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)เหตุผลที่ท่านเป็นอิมามด้วยเพราะท่านมาพร้อมกับชารีอัตที่สมบูรณ์ ในยุคสมัยของท่าน ท่านเป็นผู้พิพากษาเอง เมื่อมีคนลักขโมยท่านก็เป็นผู้ตัดสิน มีคนผิดประเวณีท่านก็เป็นผู้ตัดสินไปตามชารีอัตอิสลาม และในบางกรณีเมื่ออิสลามขยายกว้างไปไกลท่านก็แต่งตั้งผู้พิพากษาไปยังเมืองต่างๆ เหตุการณ์สงครามท่านก็เป็นแม่ทัพบัญชาการรบ อิสลามมีระบบทุกสิ่งทุกอย่าง มีกองทัพ มีระบบเศรษฐกิจ มีกองคลังมีบัยตุลมาล
    ดังนั้นถามว่าหลังจากการจากไปของท่านศาสดาฒูฮัมหมัด(ศ็อล)อิสลามแบบนี้ อิสลามที่สมบูรณ์ อิสลามที่มีระบบการปกครอง มีกองทัพ มีกองคลังอย่างสมบูรณ์ อิสลามแบบนี้ต้องคงอยู่ต่อไปหรือไม่ แน่นอนว่าต้องคงอยู่ต่อไป ต้องมีการลงโทษคนกระทำผิด ต้องมีการจ่ายซะกาต มีการจ่ายคุมุสอยู่เหมือนเดิม แสดงว่าต้องมีกองคลังอยู่เหมือนเดิมถึงแม้ว่าศาสดาได้จากไปแล้วก็ตาม ดังนั้นเมื่ออิสลามในรูปแบบนี้ยังคงต้องดำรงอยู่ต่อไป คำถามคือใครคือผู้รับผิดชอบภารกิจอันนี้ท่านจากไปแล้ว ใครต้องมาดูแลกองคลังของอิสลาม ใครจะเป็นผู้ควบคลุมชารีอัตต่างๆของอัลลอฮฺ(ซบ)ให้คงอยู่อย่างถูกต้องสมบูรณ์ทั้งระบบ
    คำตอบมีสองอย่างคือ อัลลอฮฺ(ซบ)ต้องแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่ง หรือมนุษย์มาแต่งตั้งกันเอง ในความเป็นจริงใครจะเป็นผู้กำหนด และนี้คือจุดเริ่มต้นความแตกต่างระหว่างชีอะหฺกับซุนนี ชีอะหฺบอกว่าตำแหน่งนี้มันสูงส่งเป็นอย่างมาก เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะแต่งตั้งกันเอง เป็นตำแหน่งที่ต้องดูแลอิสลามทั้งระบบ แต่ชาวซุนนีบอกว่าเมื่อสิ้นสุดระบบนบูวัตแล้ว ระบบอิมามผู้นำโดยการแต่งตั้งจากอัลลอฺ(ซบ)ก็ได้สิ้นสุดพร้อมกับการสิ้นสุดของระบบนบูวัตโดยปริยาย ดังนั้นหลังจากนี้อัลลอฮฺ(ซบ)ก็มอบหน้าที่ให้กับมวลมนุษยชาติในการคัดเลือกอิมามหรือผู้นำของเขาเอง นี้คือจุดเริ่มต้นของความแตกต่าง ชีอะหฺบอกว่าไม่ใช่เช่นนี้ ตำแหน่งมันยิ่งใหญ่เกินไปที่มนุษย์จะแต่งตั้งกันเอง อัลลอฮฺ(ซบ)ได้แต่งตั้งไว้แล้วซึ่งก็คือ ท่าน อาลี บิน อาบีฏอลิบ และลูกหลานของท่านอีกสิบเอ็ดคน     และนอกเหนือจากประเด็นการปกครองแล้วตำแหน่งอิมามัตยังมีเรื่องราวที่สูงส่งกว่านี้อีก รอซูลที่เป็นอิมามไม่ใช่มาสร้างรัฐแล้วปกครองเพียงอย่างเดียว มีอีการชี้นำที่ยิ่งใหญ่กว่าการปกครอง คือตำแหน่งการชี้นำทางจิตวิญญาณการนำมนุษย์เข้าความสมบูรณ์ของการเป็นมนุษย์ ถึงขนาดที่นำมนุษย์ให้สูงส่งกว่ามาลาอิกะฮฺ นำมนุษย์ไปสูการเป็นวาลียุลลอฮฺ นำมนุษย์ไปสู่การพบเจอกับอัลลอฮฺ(ซบ)นี้คืออีกภารกิจที่สำคัญหนึ่งของนาบีของอิมามของผู้นำคนต่อไป ดังนั้นบุคคลที่สามารถนำมนุษย์ไปสู่การเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ได้ ผู้ที่สามารถนำมนุษย์ไปสู่ความเป็นวาลียุลลอฮฺได้ ผู้ที่สามารถนำมนุษย์ไปสู่ความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ(ซบ)ได้ใกล้ที่สุดได้ ดังนั้นผู้ที่มีภารกิจแบบนี้มนุษย์จะแต่งตั้งกันขึ้นมาเองได้หรือไม่ ภารกิจแบบนี้เกินความสามารถที่มนุษย์ทั่วไปจะทำได้ ต้องเป็นมนุษย์ที่มีความรู้ความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ต้องเป็นมนุษย์ที่มีพฤติกรรมที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อรวมภารกิจนี้เข้าไปอีกชีอะหฺก็บอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะเลือกอิมามผู้นำขึ้นมากันเอง ซึ่งในความเป็นจริงแค่ภารกิจการปกครองอย่างเดียวก็เป็นไม่ได่ที่มนุษย์จะเลือกกันขึ้นมาเอง  ซึ่งก็มีหลักฐานทางสติปัญญาและหลักฐานทางรายอัลกุอานอัลฮาดีษมาสนับสนุนอย่างสมบูรณ์ถึงความจำเป็นในการแต่งตั้งผู้นำหรือผู้มาสืบสอดภารกิจของศาสดาโดยตรงจากอัลลอฮฺ(ซบ) และเราจะมาดูต่อว่าแนวคิดระหว่างชีอะหฺกับซุนนีแนวคิดไหนที่กินกับสติปัญญาและถูกต้อง

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม