เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ใคร คือผู้ทรงสิทธิ์ในการอธิบายอัล-กุรอาน และการตีความอัล-กุรอ่าน…หลังการจากไปของท่านนบี ศ. ?

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ใคร คือผู้ทรงสิทธิ์ในการอธิบายอัล-กุรอาน และการตีความอัล-กุรอ่าน…หลังการจากไปของท่านนบี ศ. ?

 

อัล-กุรอาน ในทัศนะของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ และชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ หมายถึงพระพจนารถของอัลลอฮ์ ซ.บ. ที่ถูกประทานลงมาแด่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. และหมายถึงกุรอานที่ไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆมากล้ำกลาย ไม่ว่าจากเบื้องหน้าและเบื้องหลัง อันเป็นธรรมนูญสูงสุดของมวลมุสลิม ทั้งในแง่ของบทบัญญัติ ในแง่ของการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า(อิบาดะฮ์) และในแง่ของหลักศรัทธาทั้งหลาย ผู้ใดที่สงสัยหรือลบหลู่คัมภีร์นี้ถือว่า หมดสภาพจากการนับถือศาสนาอิสลาม ดั้งนั้น บรรดามุสลิมทั้งหลาย มีความเชื่อตรงกันในเรื่องของความบริสุทธิ์และให้ความเคารพต่อคัมภีร์ และถือว่า ไม่มีใครสัมผัสคัมภีร์ได้นอกจากผู้บริสุทธิ์

แต่บรรดามุสลิมทั้งหลาย มีความแตกต่างกันในด้านการตัฟซีรให้ความหมายและการตีความอัล-กุรอาน บรรดาชีอะฮฺถือว่า การตัฟซีร และการตีความนั้น ต้องย้อนกลับไปยึดถือตามแนวทางของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยต์ อ. แต่บรรดาอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ วัล-ญะมาอะฮ์ นั้น ถือว่าให้ยึดถือตามแนวของศ่อฮาบะฮ์ หรืออิมามทั้งสี่ท่านใดท่านหนึ่ง ในสี่มัซฮับเป็นหลัก

ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ และชาวชีอะฮ์ มีความเชื่อตรงกันที่เกี่ยวกับกรณีที่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้สาธยายอะฮ์กามต่าง ๆทุกประการในอัลกุรอาน และได้อธิบายทุก ๆโองการของอัลกุรอานแก่บรรดามุสลิม แต่เขานั้นมีความขัดแย้งกันในประเด็นของตัวบุลคลที่ถ่ายทอดการตัฟซีร และการตีความให้แก่พวกเขาในสมัยหลังจากที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. วะฟาตแล้ว ดังที่ชาวอะฮฺลิซซุนนะฮ์ กล่าวว่า “สำหรับเรื่องการตัฟซีรต้องถือว่าบรรดาศ่อฮาบะฮ์ทั้งหมด คือผู้มีสิทธิเป็นชั้นที่หนึ่ง ต่อจากนั้นก็ได้แก่บรรดานักปราชญ์ของประชาชาติอิสลาม ส่วนในเรื่องของการตีความ (ตะอฺวีล) นั้น ส่วนใหญ่ถือว่าไม่มีใครสามารถรู้เรื่องการตีความได้ นอกจากอัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้น”

ส่วนชาวชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ นั้น ถือว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ อ. เป็นกลุ่มที่ทรงสิทธิ์ในการอธิบายอัล-กุรอาน และการตีความ กล่าวคือ อะฮ์ลุลบัยต์ อ. เป็นบรรดาผู้สันทัดในวิชาการ และเป็น อะฮฺลุซซิกรฺ ตามที่อัลลอฮฺทรงบัญชาให้พวกเราย้อนกลับไปหา ก็เพราะท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้กำหนดให้พวกเขาเป็นรากฐานของอัล-กุรอาน เป็นสิ่งสำคัญยิ่งอันดับสอง ที่ท่านได้ส่งให้บรรดามุสลิมยึดถือพวกเขา โดยได้กล่าวว่า

إنِّي تاركٌ فيكم ما إن تمسَّكتُم به لن تضلُّوا بعدي: كتابُ الله وأهلُ بَيْتي، أُذكِّركم اللهَ في أهلِ بيتي، أُذكِّركم اللهَ في أهل بيتي، أُذكِّركم الله في أهلِ بَيتي

“ ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการ คือ กิตาบุลลอฮฺ และเชื้อสายของฉันแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ตราบใดที่พวกท่านยึดถือสิ่งทั้งสอง พวกท่านจะไม่หลงผิดภายหลังจากฉันตลอดกาล”
ในหนังสือมุสลิมได้บันทึกรูปประโยคว่า “กิตาบุลลอฮฺและอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน” ฉันขอเตือนพวกท่านโดยอัลลอฮ์ ซ.บ. ในเรื่องอะฮ์ลุลบัยตฺของฉัน ท่านได้กล่าวประโยคนี้ 3 ครั้ง

เป็นที่รู้กันอย่างแน่นอนยิ่งแล้วว่า อะฮ์ลุลบัยต์ อ. เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ มีความสำรวมและมีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าและมีเกียรติมากที่สุดในหมู่มวลมนุษย์หลังจากท่านนบี ศ.

قناة الناس på Twitter: "إِنَّهُ لَقُرْآنٌ كَرِيمٌ (77) فِي كِتَابٍ مَّكْنُونٍ (78) لَّا يَمَسُّهُ إِلَّا الْمُطَهَّرُونَ (79) تَنزِيلٌ مِّن رَّبِّ الْعَالَمِينَ https://t.co/MB3DnhlcFa" / Twitter

และข้าพเจ้าจะขอหยิบยกตัวอย่างหนึ่งมาเสนอ เพื่อยืนยันถึงคำสอนของชีอะฮ์ในบทนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านอันมีเกียรติ เข้าใจอย่างชัดเจนว่า ชีอะฮ์นั้นมิได้กล่าวอย่างอื่น นอกเหนือจากที่อัล-กุรอานได้กล่าวไว้ เท่านั้น
ดังนั้นเราลองมาอ่านโองการนี้พร้อม ๆกัน

فَلَا أُقْسِمُ بِمَوَاقِعِ النُّجُومِ وَإِنَّهُ لَقَسَمٌ لَّوْ تَعْلَمُونَ عَظِيمٌ إِنَّهُ لَقُرْآنٌ كَرِيمٌ فِي كِتَابٍ مَّكْنُونٍ لَّا يَمَسُّهُ إِلَّا الْمُطَهَّرُونَ

[56:75-79]ดังนั้น ข้าขอสาบานด้วยตำแหน่งต่าง ๆ(สถานที่ตก)ของดวงดาว และแท้จริงมันเป็นการสาบานที่ยิ่งใหญ่ หากพวกเจ้ารู้ แท้จริงมันคืออัล-กุรอานอันทรงเกียรติ อยู่ในคัมภีร์ที่ถูกพิทักษ์ไว้ ไม่มีใครสัมผัสมันได้นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์ เท่านั้น”

ถ้าหากเราจะพิจารณากันอย่างถ่องแท้ ในข้อสาบานที่องค์อภิบาลเรียกร้องให้สนใจนั้น แน่นอนเราจะเห็นได้ว่า เป็นข้อสาบานอันยิ่งใหญ่ ถ้าหากเรารู้ได้ กล่าวคือ อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงเรียกร้องให้สนใจต่อกาลเวลา (อัล-อัศริ) ต่อปากกา (อัล-เกาะลัม) ต่อต้นมะเดื่อ (อัต-ตีน) ต่อต้นมะกอกเทศ (ซัยตูน) ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าสถานที่ตกของดวงดาวย่อมเป็นข้อสาบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะมันเป็นเรื่องลี้ลับ อันจะส่งผลกระทบต่อสากลพิภพ และในเมื่ออัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงสาบาน ก็หมายความว่า ข้อสาบานของพระองค์นั้น มิได้มีขึ้นเพื่อสั่งห้าม หากแต่มีขึ้นเพื่อการปฏิเสธ และเพื่อยืนยัน
หลังจากที่ทรงสาบานแล้วพระองค์ก็ได้เน้นว่าแท้จริงมันหมายถึงคัมภีร์อัล-กุรอานอันทรงเกียรติอยู่ในคัมภีร์ที่ถูกพิทักษ์ไว้ และของที่ถูกพิทักษ์ไว้นั้นจะต้องเป็นของที่อยู่ภายในและถูกปิดบังไว้ หลังจากนั้น พระองค์ได้ตรัสอีกว่า

[ لَّا يَمَسُّهُ إِلَّا الْمُطَهَّرُونَ]
“ไม่มีผู้ใดสัมผัสมันได้ นอกจากบรรดาผู้สะอาดบริสุทธิ์ เท่านั้น”

คำว่า “ไม่มี” จะมีความหมายเป็นอย่างอื่นมิได้ นอกจากจะต้องหมายถึงการปฏิเสธ เพราะเหตุว่าคำๆนี้ถูกนำมากล่าวถึงหลังจากการสาบานและคำว่า “สัมผัสกับมัน” ในที่นี้หมายถึงการเข้าถึงและการมีความเข้าใจ โดยที่มิได้มีความหมายตามที่บางกลุ่มคาดคิดกันขึ้นมาว่าการจับต้องด้วยมือ เพราะว่า ระหว่างการจับต้องด้วยมือกับการสัมผัสนั้นมีความแตกต่างกันดังเช่นโองการที่ว่า

إِنَّ الَّذِينَ اتَّقَوْا إِذَا مَسَّهُمْ طَائِفٌ مِّنَ الشَّيْطَانِ تَذَكَّرُوا فَإِذَا هُم مُّبْصِرُونَ

“แท้จริงบรรดาผู้สำรวมตนนั้นในเมื่อสมัครพรรคพวกของชัยฏอนได้มา สัมผัส กับพวกเขา พวกเขาก็จะรำลึกใคร่ครวญ ดังนั้น พวกเขาก็ได้มองเห็นชัดแจ้ง” (อัล-อะอฺรอฟ อายะฮ์ 201)

และทรงมีโองการอีกว่า

الَّذِينَ يَأْكُلُونَ الرِّبَا لَا يَقُومُونَ إِلَّا كَمَا يَقُومُ الَّذِي يَتَخَبَّطُهُ الشَّيْطَانُ مِنَ الْمَسِّ ذَٰلِكَ

“แท้จริงบรรดาผู้กินดอกเบี้ยจะดำรงอยู่มิได้ นอกจากจะดำรงอยู่อย่างคนที่ชัยฏอนสิ่งสู่เนื่องจาก การสัมผัส ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮ์ที่ 275)

ดังนั้น การสัมผัสตามความหมายตรงนี้เกี่ยวข้องกับสติปัญญา การเข้าถึงมิได้หมายถึงการจับต้องด้วยมือ ฉะนั้นสำหรับคำว่า ผู้สะอาดบริสุทธิ์ ในโองการนี้ (มุเฏาะฮารูน) เป็น อิซม์มัฟอูล (คำนามที่ตกเป็นกรรม) หมายความว่า ได้มีการทำให้ความสะอาด บริสุทธิ์มีขึ้นแก่พวกเขา แน่นอน อัลลอฮ์ ซ.บ. ก็ทรงมีโองการหนึ่ง ความว่า

إِنَّما يُريدُ اللَّهُ لِيُذهِبَ عَنكُمُ الرِّجسَ أَهلَ البَيتِ وَيُطَهِّرَكُم تَطهيرًا

[33:33]อันที่จริง อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดความมลทินให้เพียงแต่สูเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยต์ และทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ยิ่ง”

ดังนั้น โองการที่ว่า ไม่มีใครสัมผัสมันได้ นอกจากผู้สะอาดบริสุทธิ์ จึงหมายความว่า ไม่มีใครเข้าถึงสารัตถะที่แท้จริงของอัลกุรอานได้ นอกจาก อะฮฺลุลบัยต์นบี เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ได้กล่าวถึงพวกเขาไว้ว่า

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ” النُّجُومُ أَمَانٌ لِأَهْلِ الْأَرْضِ مِنَ الْغَرَقِ ، وَأَهْلُ بَيْتِي أَمَانٌ لِأُمَّتِي مِنَ الِاخْتِلَافِ ، فَإِذَا خَالَفَتْهَا قَبِيلَةٌ مِنَ الْعَرَبِ اخْتَلَفُوا فَصَارُوا حِزْبَ إِبْلِيسَ “

“ดวงดาวคือสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัยของชาวโลกเพื่อให้พ้นจากความล่มจม และบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน คือความปลอดภัยสำหรับประชาชาติของฉันให้พ้นจากความขัดแย้ง ดังนั้น อาหรับเผ่าใดขัดแย้งกับพวกเขาก็จะเกิดความแตกแยกกัน แล้วพวกเขา(ผู้ที่ขัดเเย้งกับอะห์ลุลบัยต์)ก็จะกลายเป็นพรรคหนึ่งของอิบลีสชัยฎอน”

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม