เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ศาสดามุฮัมมัด(ศอ็ลฯ)กับบทบาทด้านศาสนสัมพันธ์

2 ทัศนะต่างๆ 04.0 / 5

ศาสดามุฮัมมัด(ศอ็ลฯ)กับบทบาทด้านศาสนสัมพันธ์

 

โดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
 

กระแสเหตุการณ์ของโลกปัจจุบันและประชาคมโลกต่างเรียกร้องและต้องการความสันติภาพ ต้องการความยุติธรรม และเสรีภาพ และปรารถนาความสัมพันธไมตรีและอยู่อย่างมิตรภาพมีความสมานฉันท์ อุดมการณ์ทางการเมืองหรือทางลัทธิความเชื่อได้ถูกทำให้ผู้คนสับสนจนก่อให้เกิดความบาดหมางและมีทัศนคติที่เป็นลบต่อกันทั้งๆที่คำสอนของทุกศาสนาต่างเรียกร้องให้ผู้ปฎิบัติตามศาสนานั้นๆหรือให้ศาสนิกของตนอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์อย่างฉันท์พี่น้อง อีกทั้งให้รู้จักเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์เคารพบูชาของแต่ละศาสนา
ศาสนสัมพันธ์ถือว่าเป็นกระบวนการทางปัญญาและการปฎิบัติที่พยายามนำหลักการทางศาสนาของทุกศาสนามาบูรณาการและแสดงออกด้วยการปฎิบัติอย่างเอาจริงเอาจังของแต่ละศาสนา เพื่อสำแดงให้เห็นว่าทุกศาสนาได้เคารพหลักความเชื่อ ความศรัทธาต่อกันและกัน ไม่ดูถูกหรือดูหมิ่นดูแคลนคำสอนของความเชื่อหรือความศรัทธาในศาสนาของกันและกัน
ศาสนสัมพันธ์คือบทบาทหนึ่งที่จะนำแนวทางการสานเสวนาทางศาสนา โดยยึดหลักปรัชญาว่าด้วยทฤษฎี”ความเป็นเอกภาพในพหุภาพ และความเป็นพหุภาพในเอกภาพ”  นั่นคือ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การยึดมั่นถือมั่น นั่นก็คือที่เคยแสดงความชิงชังต่อกัน หรือเคยทำสงครามกัน แต่ทว่ากระบวนทัศน์ของศาสนสัมพันธ์ในยุคโลกาภิวัตน์นั้น คือการไม่เหยียดหยามและดูถูกดูหมื่นความเชื่อของกันและกัน  โดยเฉพาะอย่างยิงพระศาสดา ถึงเป็นที่เคารพของทุกศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพระศาสดามุฮัมมัด(ศ)ของอิสลาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพุทธศาสนา พระเยซูคริสต์ และอื่นๆต่างเป็นที่ยอมรับต่อกันและกัน
    อิสลามถือว่าเป็นศาสนาหนึ่งที่ทรงอิทธิพลต่อชาวโลกจำนวนมาก และมีการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องความเชื่อและการอุดมการณ์ของศาสนาไปในทางลบ โดยกล่าวว่าเป็นศาสนาที่นิยมในความรุนแรง มองคนต่างศาสนิกอื่นเป็นศัตรู เป็นพวกชาตินิยมอะไรทำนองนี้ ซึ่งเราจะพบเห็นตามสื่อต่างๆที่ได้เสนออิสลามในเชิงลบ ทั้งๆที่ศาสนาอิสลามจากสมัยของพระศาสดามุฮัมมัด(ศ)ท่านศาสดา(ศ)เป็นบุคคลแรกที่ได้มีแบบฉบับในการอยู่กับคนต่างศาสนิกอย่างสันติและเรียกร้องการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ให้เกียรติต่อกันและท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นบุคคลแรกที่ได้นำเสนอหลักการสานเสวนาทางศาสนาขึ้นในนครมะดีนะฮ์
    ตลอดเวลาของประวัติศาสตร์อิสลามที่ผู้ดำเนินรอยตามแบบฉบับของพระศาสดามุฮัมมัด(ศ)และปฎิบัติวงศ์วานลูกหลานของศาสดา ชี้ให้เห็นว่าอิสลามในคำสอนอันพิสุทธิ์นั้นผ่านการชี้นำโดยอิมามผู้นำภายหลังจากศาสดามุฮัมมัดเรียกร้องให้ทุกศาสนานั่งสานเสวนาและพูดคุยในด้านศาสนาอย่างเป็นมิตรและไมตรีจิต
    ศาสนาทั้งหลายในอดีตได้แสดงบทบาทที่สำคัญและเห็นด้วยกับหลักการนั้นโดยการให้ความร่วมมือจึงเป็นที่คาดหวังว่าในยุคหนึ่งนั้นบรรดาศาสนาทั้งหลายจะอยู่กันอย่างสันติเคารพในศาสนากันและกันและสร้างความพึงพอใจและความต้องการด้านต่างๆของมนุษย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นทุกศาสนาได้เชื่อและมีความศรัทธาว่า โลกแห่งสันติภาพยังมิอาจบรรลุถึงได้ นอกเสียจากบรรดาศาสนาและผู้นำของศาสนาต่างๆ ซึ่งมีพื้นฐานทางด้านวัฒนธรรมอันดีงามและมีอารยธรรมอันน่ายกย่องนั้น มาร่วมสานเสวนาและพูดคุยสนทนาทางด้านศาสนากัน เพราะว่าในความเป็นจริงแล้วไม่มีศาสนาใดในโลกใบนี้ที่มีความเชื่อหรือมีหลักคิดที่เป็นลบต่อกันหรือส่งเสริมมุ่งร้ายและแข่งขันในทางที่มิชอบ แต่ตรงกันข้ามศาสนาทั้งหลายต่างชิ่นชมและยินดีในความเป็นมิตรและมีจิตเอื้ออาทรต่อกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือว่าศาสนาไม่ใช่ภัยคุกคามต่อกัน
    เป็นที่รู้จักกันดีว่า พุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาแห่งความสงบและเป็นศาสนาแห่งสันติ เป็นศาสนาที่สอนให้มนุษย์รู้จักตัวตนและการทำลายทุกข์ทั้งปวง และพุทธศาสนาเป็นสาส์นแห่งความรัก และสอนให้เอ็นดูรู้สึกสงสาร ไม่เบียดเบียนพร้อมกับสอนให้อดกลั้น และสันติภาพและความรักถือว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนานั่นหมายความว่าวัตถุประสงค์ของชีวิตแห่งศิลธรรมทั้งมวลของการฝึกฝนอบรมและปฎิบัติในทางศาสนาทั้งหมด จุดมุ่งหมายที่สุดของพุทธศาสนา คือ นิพพาน ดังนั้นสิ่งใดที่ไม่นำไปสู่สันติภาพ สิ่งนั้นถือว่าเป็นอุปสรรคและเป็นการรบรวมสันติภาพ
         ศาสนาอิสลามโดยการเป็นประจักพยานตามบริบทของของยุคสมัยจากสมัยเริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยืนยันโดยประวัติศาสตร์ของอิสลามว่า ศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้กำชับและบอกแก่สาวกของท่านให้อยู่ร่วมกับบรรดาศาสนิกอื่นๆในนครมะดีนะฮ์อย่างสันติ และประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าหลังจากที่ศาสดามุฮัมมัดได้อพยพสู่นครมะดีนะฮ์ และได้จัดตั้งรัฐอิสลามขึ้น บรรดามุสลิมในสมัยนั้นได้เริ่มรู้จักบรรดาศาสนิกของศาสนาอื่นๆโดยใช้ชีวิตตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ร่วมกัน และมีความสัมพันธ์ต่อกันทางด้านวัฒนธรรม มีการแปลตำราทางด้านศาสนาจากภาษาอื่นๆและมีการปฎิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมตลอดทั้งทางด้านวิชาการด้านอื่นๆ
    คัมภีร์อัลกุรอานได้อ้างไว้อย่างชัดเจนในความสัมพันธ์ที่ทำให้นึกถึงบรรดาผู้ศรัทธาในศาสดาก่อนศาสดามุฮัมมัด อย่างเช่นชาวยิวที่มีศรัทธาต่อศาสดาฮิบรอฮีม และศาสดามูซา ชาวคริสต์ที่ได้ศรัทธาต่อพระเยซู ศาสดาอีซา ชาวโซโรอัสเตอร์
    เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าที่สุดที่หน้าประวัติศาสตร์ทั้งหลายได้บันทึกการดำเนินชีวิตของเหล่าวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่การดำเนินชีวิตของพวกเขาได้สร้างคลื่นชีวิตแบบพิเศษมหัศจรรย์และถูกจารึกเป็นเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ
พวกเขาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ สิ่งที่เกี่ยวพันกับพวกเขา อย่างเช่นชีวประวัติของพวกเขาก็ยิ่งใหญ่และทรงพลัง เจิดจรัสสว่างไสวเสียจนเราต้องเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าในสิ่งลี้ลับของบทเรียนชีวิตอันทรงคุณค่านั้น การดำเนินชีวิตของพวกเขาเป็นสุดยอดแห่งประวัติศาสตร์ซึ่งได้ถูกจารึกเป็นขบวนการต่างๆอันทรงคุณค่าแห่งการสร้างสรรค์
ในหมู่วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งหน้าประวัติศาสตร์ ผู้ที่มีการดำเนินชีวิตที่ทรงพลังเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวและเหตุการณ์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากมายท่านหนี่งคือ “มูฮัมมัด” ศาสดาแห่งอิสลาม(ศ็อลฯ)

นิยามคำว่า  ศาสดา ตามพจนานุกรม concise oxford English dictionary   ศาสดา คือ ครูหรือผู้สั่งสอนที่ได้รับแรงดลใจ เป็นผู้เปิดเผยหรือผู้ตีความตามเจตนารมณ์ของพระผู้เป็นเจ้า และศาสดาคือตัวแทนของพระเจ้า ที่พระเจ้าได้คัดเลือกเพื่อเป็นผู้เผยแพร่และเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระองค์แก่มนุษยชาติ
อัลกุรอานได้กล่าวถึงศาสดามุฮัมมัดว่าท่านคือศาสนทูตแห่งพระเจ้า เป็นผู้ตักเตือน , ดังนั้นเมื่อมองไปยังประวัติศาสตร์ได้มีรายงานบันทึกไว้ว่า ในปีแรกๆ ของการแต่งตั้งท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้มายืนอยู่ที่เชิงเขาซอฟา พร้อมกับ ร้องตะโกนดังๆ ออกมาว่า อันตราย ! อันตราย ! ประชาชนได้มายืนรวมกัน ณ เชิงเขาซอฟา ต่างถามกันว่าเกิดอะไรขึ้น? เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้ยินจากมูฮัมมัด (ศ็อลฯ) อะไรคืออันตราย? เหตุการณ์จะเป็นเช่นกับเหตุการณ์ในปีช้างหรือไม่? อันดับแรกเพื่อต้องการการยืนยันจากประชาชนท่านศาสดาจึงถามพวกเขาว่าว่า โอ้ประชาชาติทั้งหลาย จนถึงตอนนี้พวกท่านรู้จักฉันกันอย่างไร? ทั้งหมดกล่าวว่า  เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ ไว้วางใจได้และเป็นผู้ที่พูดแต่สิ่งที่เป็นความจริง ท่านศาสดากล่าวว่า ถ้าหากว่าตอนนี้ฉันจะตักเตือนพวกท่านและจะแจ้งเตือนถึงอันตรายว่าด้านหลังของภูเขานี้มีพวกศัตรูมากมายมาเป็นกองทัพพร้อมด้วยอาวุธสงครามและต้องการที่จะตัดศีรษะพวกท่าน พวกท่านเชื่อในคำพูดของฉันหรือไม่? พวกเขาพูดกันว่า แน่นอนพวกเราเชื่อ เมื่อได้รับคำยืนยันท่านศาสดาจึงกล่าวว่า “ดังนั้นฉันจะแจ้งเตือนพวกท่านทั้งหลายถึงอันตรายว่า หนทางที่ท่านกำลังจะไปนั้นจะมีการลงโทษอันแสนสาหัสจากพระผู้เป็นเจ้าติดตามมาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” อัลกุรอานเองได้ระบุเกี่ยวกับฐานภาพนี้ของท่านศาสดาไว้อย่างชัดเจนว่า
“ โอ้ นบีเอ๋ย! แท้จริง เราได้ส่งเจ้ามาเพื่อให้เป็นพยาน ผู้แจ้งข่าวดี ผู้ตักเตือน  และเป็นผู้เรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮ์ ตามพระบัญชาของพระองค์ อีกทั้งเป็นดวงประทีปอันแจ่มจรัส”              
ท่านได้มาเชิญชวนประชาชนสู่หนทางของพระผู้เป็นเจ้าด้วยกับการฉันทานุมัติของพระองค์ ท่านได้ทำให้ประชาชนขับเคลื่อนไปสู่พระองค์ ท่านเป็นผู้เรียกร้องเชิญชวนไปสู่พระองค์ การเชิญชวนสู่พระผู้เป็นเจ้านั้นไม่ใช่เป็นงานที่เล็ก ในเมื่อท่านเป็นกระบอกเสียงของพระองค์ ดังนั้นจะใช้สื่อ หรือเครื่องมืออันใดในการเชิญชวนประชาชาติสู่พระผู้เป็นเจ้า? เป็นไปได้หรือ? ที่มนุษย์ได้นอนฝันและจะใช้การฝันนี้เป็นเครื่องมือในการเชิญชวนประชาชนสู่พระผู้เป็นเจ้า ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาพูดว่า วันนี้ฉันได้ฝันเห็นงานหนึ่งจงมาทำงานนี้ดังที่ฝันเห็นกันเถิด ? แน่นอนที่สุดเป็นอย่างนั้นไม่ได้  คัมภีร์อัลกุรอานได้กำหนดหนทางที่ชัดเจนไว้แล้ว การเชิญชวนสู่พระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นการเชิญชวนไปสู่สัจธรรมหรือความเป็นจริงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก คือการเชิญชวนไปสู่สิ่งที่ปัญญาสากลของมนุษย์นั้นชี้นำไปพร้อมกับขับเคลื่อนไปสู่มัน คือการเชิญชวนไปสู่สิ่งหนึ่งที่ปัญญาสากลต้องยอมรับ  ด้วยกับเหตุผล , หลักฐาน การพิสูจน์ , วิทยปัญญาและคำพูดเชิงตรรกะ
ข้าพเจ้าจะนำเสนอบางส่วนที่สำคัญที่สุดในแนวทางด้านงานเผยแพร่ของท่านศาสดา(ศ็อล) อันเป็นพื้นฐานที่ทำให้ประชาชนชาวอาหรับในสมัยนั้นหันกลับมาสนใจต่ออิสลามและทำให้อิสลามมีอิทธิพลเหนือความคิดของพวกเขาและขยายวงกว้างออกไปสู่ประเทศข้างเคียงอย่างรวดเร็ว คือ
๑.    จรรยามารยาทอันดีงาม
มนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยกับการปฏิสัมพันธ์และจรรยามารยาทอันดีงามความยิ่งใหญ่ของเขาจะแสดงความแตกต่างจากบุคคลอื่นทั่วไปออกมาให้ประจักษ์ จรรยามารยาทเป็นคุณสมบัติที่ละเอียดอ่อนที่สุดซึ่งในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นเหตุให้เกิดความรักขึ้นและจะทำให้คำพูดมีน้ำหนักต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เองพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงเลือกบุคคลที่อ่อนน้อม มีจรรยามารยาทอันดีงาม ไม่แข็งกระด้างเป็นศาสดาและตัวแทนของพระองค์เพื่อที่คำพูดของเขาจะมีผลต่อจิตใจประชาชาติได้อย่างสมบูรณ์และดึงดูดพวกเขาเข้ามาหา บุคคลผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ในการที่ทำให้บรรลุสู่เป้าหมายของพระองค์ต้องประสบกับอุปสรรค์มากมายแต่เมื่อประชาชนเจอกับมารยาทอันดีงามและความอดทนอดกลั้น เมื่อพวกเขาประจักษ์ความดีตรงนี้ มิใช่แค่เพียงกลุ่มชนที่มีจิตใจแสวงหาความจริงเท่านั้นแต่บรรดากลุ่มชนที่เป็นศัตรูอันชัดแจ้งต่อศาสดาและตัวแทนเหล่านั้นเองก็ยอมสารภาพถึงความสูงส่งและบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ดังที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์เองเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“แท้จริงแล้วเจ้าถูกประดับประดาด้วยจริยธรรมอันดีงาม”
ในกรณีนี้แม้แต่ศัตรูของท่านศาสดาเองก็สารภาพ เมื่อพวกเขาได้เจอกับท่านบรรดาผู้ที่ต่อต้านท่านศาสดาเป็นจำนวนมากซึ่งก่อนที่จะยอมรับอิสลามด้วยเหตุผลหรือด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม จากมิติภายในของพวกเขายอมจำนนต่อจรรยามารยาทอันงดงามของท่านมาก่อนแล้ว  โดยพื้นฐานนี้ท่านศาสดาได้ปฏิบัติคุณลักษณะมารยาทที่ดีที่สุดต่อบรรดาสาวกของท่านจนกระทั่งทุกคนหลงใหลที่จะเข้าพบท่านและนั่งร่วมกับท่าน และด้วยกับจรรยามารยาทที่ดีของท่านนี้เองที่ได้ดึงหัวใจของพวกเขาเข้ามา และได้สร้างบรรยากาศที่เต็มเปี่ยมไปด้วย พลังศีลธรรม พลังแห่งความหวัง พลังศรัทธา พลังความมั่นใจขั้นสูงให้ประจักษ์แก่มิติด้านในแห่งจิตใจ
๒.    สร้างวัฒนธรรมแห่งความเป็นพี่น้องและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแข็งแกร่งที่สุดของมนุษย์ คือครอบครัว และในระหว่างประเภทต่างของครอบครัว “พี่น้อง” มีความใกล้ชิดและสนิทสนมมาก  ส่วนความสัมพันธ์ทางจิตวิญาณและปฏิสัมพันธ์ในระหว่างชีวิตจากแรงแห่งศรัทธาเป็นการแสดงออกมาที่สวยที่สุดในเชิงปฏิบัติ
ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้พยายามเผยแพร่ด้วยแนวทางหลากหลายเพื่อให้วัฒนธรรมของความเป็นพี่น้องในอิสลามได้สะท้อนออกมา ทั้งในเรื่องความคิด วาจา และพฤติกรรมของบรรดามุสลิมและได้กำชับเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เสมอๆ ตัวอย่างหนึ่งอันชัดเจนที่จะหยิบยกมาประกอบตรงนี้คือ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ในช่วงที่ท่านเผยแพร่อย่างเป็นทางการท่านเคยดำเนินการทำสัญญาความเป็นพี่น้องในระหว่างมุสลิมถึงสองครั้ง ครั้งแรก ก่อนการอพยพในหมู่ผู้อพยพ และครั้งที่สอง ก่อนที่จะเข้าเมืองมะดีนะฮ์ในขณะที่ท่านศาสดาต้องการวางโครงสร้างสังคมอิสลามจึงได้ดำเนินการจัดพิธีสัญญาความเป็นพี่น้องระหว่างบรรดาผู้อพยพชาวมักกะฮ์และชาวเมืองมะดีนะฮ์ที่เรียกพวกเขาอีกชื่อหนึ่งคือชาวอันศอรเพื่อสร้างให้เป็นพื้นฐานอันแข็งแกร่งของสังคม สัญญาความเป็นพี่น้องอันนี้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนที่ ตกอยู่ในกองไฟแห่งการแข็งขันระหว่างเผ่าต่างๆ การชิงดีชิงเด่นของแต่ละเผ่า การหลั่งเลือด และชาตินิยมที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างน่ายินดี อีกทั้งความเป็นพี่น้อง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบอิสลามมาแทนที่องค์ประกอบที่สร้างความแตกแยกที่มีมาก่อนหน้านี้
ภายใต้พื้นฐานการชี้นำของอัลกุรอานที่ถือว่าความเป็นพี่น้องเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง พระองค์ทรงตรัสว่า
  “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน ดังนั้นพวกเจ้าจงไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันระหว่างพี่น้องทั้งสองฝ่ายของพวกเจ้า และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด หวังว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา”

เป็นที่ชัดเจนที่สุด การสร้างสรรค์สังคมที่สมบูรณ์ให้ได้และการที่จะนำสังคมไปสู่ทิศทางเดียวกันด้วยความเป็นปึกแผ่นนั้นมันจะเกิดขึ้นไม่ได้นอกจากภายใต้ความสัมพันธ์อันแนบแน่นของศรัทธาชน เมื่อเราพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่า การไม่รักษาพื้นฐานของวัฒนธรรมความเป็นพี่น้องและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมติดตามมามากมาย ความเสียหายจากการไม่ให้ความสำคัญและละเลยต่อความเป็นพี่น้องไม่ใช่เกิดขึ้นในระดับของสังคมเท่านั้น ยังเป็นเหตุให้บุคคลนั้นสูญเสียความเป็นตัวตนที่แท้จริงของเขาเองจนเปลี่ยนเป็นผู้แปลกหน้าในกลุ่มอันนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางสังคมที่เย็นชาและอ่อนแอ ยิ่งกว่านั้นบุคคลนั้นจะรู้สึกเหนื่อยและอ่อนล้าในที่สุดต้องพึงพาต่อการรักษาตัวเขาเองด้วย
๓.    การแสวงหาความยุติธรรม
พื้นฐานอันหนึ่งที่ถูกให้ความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับการเผยแพร่ของท่านศาสดาคือการเน้นในเรื่องของ ความยุติธรรมและการดำเนินการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมในทุกหน่วยงาน พื้นฐานนี้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของอิสลาม มิใช่แค่เชื่อเฉพาะว่าระบบการสร้างสรรค์นี้อยู่ภายใต้พื้นฐานแห่งความยุติธรรมเท่านั้น หากแต่ว่าในการร่างรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติถือเป็นหลักพื้นฐานเบื้องต้น ในมุมมองของการเผยแพร่ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)การสถาปนาความยุติธรรมให้แก่สังคมเป็นเป้าหมายสูงสุดของการส่งบรรดาศาสดาแห่งพระผู้เป็นเจ้าและคัมภีร์จากฟากฟ้าทั้งหลาย เหมือนกับว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์อย่างชัดเจนในการบัญชาแก่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)เพื่อให้สถาปนาความยุติธรรมขึ้นมาในทุกระดับทางสังคม พระองค์ทรงตรัสว่า
“ข้าได้บัญชาเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในหมู่พวกสูเจ้า”
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าทั้งชีวิตของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ผ่านไปด้วยการต่อสู้ในการที่จะสถาปนาความยุติธรรมและพยายามให้สังคมปกครองด้วยหลักการอันทรงคุณค่านี้และขจัดความปลิ้นปล้อนหลอกหลวงให้หมดไปอีกทั้งนำเสนอศาสนาอันเป็นแนวทางที่แสดงถึงหลักการความยุติธรรมอย่างครอบคลุม แนวทางของท่านศาสดาคือแนวทางแห่งความยุติธรรมพระดำรัสของท่านคือความยุติธรรม ตรรกะของท่านเป็นสิ่งที่แยกระหว่างสัจธรรมและโมฆะเหมือนดั่งที่อัครสาวกของท่านได้กล่าวถึงคุณสมบัติของท่านศาสดาว่า
“ท่านคือผู้ที่มีตรรกะที่เป็นธรรมและแนวทางที่แยกสัจธรรมออกจากความเป็นโมฆะ”
ท่านศาสดาเป็นบุคคลที่มีความยุติธรรมที่สุดในระหว่างประชาชนและนับเป็นเวลาถึงยี่สิบสามปีที่ท่านและดวงจิตและแนวความคิดทั้งหลายที่ได้รับการอบรมจากวิถีของท่านศาสดาได้แสดงให้ชาวโลกเห็นถึงความยุติธรรมในทุกๆดด้าน ดังนั้นความยุติธรรมเป็นสาระสำคัญของแนวทางของท่านในฐานะเป็นหลักการพื้นฐานและเป็นทิพย์แห่งความดี อีกทั้งเป็นคุณสมบัติของความศรัทธาขั้นสูง
สังคมใดก็ตามที่บริหารจัดการด้วยพื้นฐานความยุติธรรมคือสังคมที่เข็มแข็งและทรงคุณค่า และหากสังคมใดไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยหลักการนี้คุณค่าต่างๆ ต้องถูกทำหลายและจะเป็นสังคมที่ต่อต้านคุณค่าต่างๆของความเป็นมนุษย์ และยังเป็นสถานที่ของผู้กดขี่ ปล้นสดม ริดรอนสิทธิของผู้อื่น เราอาจสามารถที่จะพูดได้ว่า คุณค่าของสังคมหนึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพของศาลยุติธรรมของสังคมนั้น
๔.    เมตตาโอบอ้อมอารีและอยู่กับประชาชน
แบบฉบับของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)อย่างหนึ่งต่อประชาชนทั้งที่เป็นมุสลิมและต่างศาสนาคือความมีเมตตาและโอบอ้อมอารีอย่างบริสุทธิ์ใจ ท่านมองผู้ที่ต่อต้านท่านว่าเป็นผู้ที่มีอาการป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาและเห็นอกเห็นใจสำหรับการเยียยารักษาและแพทย์ต้องรู้ถึงอาการของเขาจึงจะรักษาเขาได้ดี และท่านศาสดา(ศ็อลฯ)มองศรัทธาชนว่า เขาจะต้องมีการระมัดระวังตน ตั่งมั่นอยู่บนปัญญา ไม่ประมาทเพื่อให้จิตศรัทธาเจริญเติบโตสู่ระดับจิตศรัทธาขั้นสูง อันเนื่องด้วยสาเหตุนี้ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)จึงสร้างความสัมพันธ์อันแนบสนิทและความรักกับพวกเขาด้วยความบริสุทธิ์ใจ  ความเมตตาและโอบอ้อมอารีต่อบรรดาผู้หลงทางในด้านของการสร้างความอ่อนโยนแก่จิตใจและเตรียมการเพื่อให้หัวใจของพวกเขาหันมายอมรับการเชิญชวนสู่อิสลามและความสัมพันธ์อันแนบแน่นต่อบรรดาศรัทธาชน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์การเผยแพร่ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) คือ การมีเมตตาและโอบอ้อมอารีซึ่งเป็นเหมือนต้นไม้ที่ให้ผลผลิตที่รวดเร็วที่สุดและง่ายที่สุดมากกว่าแบบฉบับอื่นๆ ที่ถูกนำมาใช้ในแนวทางการเผยแพร่จนกระทั่งว่าท่านได้รับฉายานามว่า “ศาสดาแห่งความเมตตา”
๕.    ให้เสรีภาพทางความเชื่อ
เป็นไปได้ที่ความเชื่ออาจจะเกิดจากความคิดและเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการลอกเลียนแบบ ปฏิบัติตามผู้อื่น หรือเกิดจากจินตนาการไปเองหรือสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นเองหรือหลายร้อยพันอย่าง ความเชื่อที่มิได้เกิดจากปัญญาและความคิด , เป็นแค่ปฏิกิริยาทางจิตวิทยาเท่านั้น กล่าวคือ เป็นสถานการณ์ต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางจิตวิญญาณ  ในมุมมองของอิสลามไม่อนุญาตให้ใครถูกพันธนาการไว้ด้วยสถานการณ์ต่อเนื่องเหล่านี้  แม้ว่าจะเป็นในลักษณะที่บุคคลคนนั้นคล้องโซ่แห่งพันธนาการนี้ไว้ด้วยกับมือของตนเองก็ตาม
     ดังนั้นเรื่องเสรีภาพทางความเชื่อมีความหมายที่กว้าง เรื่องเสรีภาพทางความคิดและเสรีภาพของการศรัทธา หมายถึงว่า ทุกคนต้องทำการค้นคว้าและคิดเกี่ยวกับการศรัทธาในการได้สิ่งนั้นมา แนวทางของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และอัลกุรอานคือการต่อสู้สำหรับการที่จะขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางเสรีภาพทางสังคมและความคิด ท่านศาสดามิได้กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายต้องยอมรับอิสลาม” ดังนั้น หลักพื้นฐานมนุษยธรรม ,  ความเป็นมิตรไมตรี ความนุ่มนวล  ความรักและหลีกเลี่ยงจากความหยาบกระด้างรุนแรงและการบีบบีงคับและการหยัดเหยียดในเรื่องการศรัทธาอย่างไม่เป็นธรรม ( ไม่เกี่ยวกับอุปสรรคทั้งหลายทางสังคมและทางความคิดของการศรัทธาซึ่งถือว่าเป็นประเด็นอื่น ) เป็นหลักของการเชิญชวนสู่อิสลาม หากแต่ว่า อัลกุรอานได้ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า  
“ไม่มีการบังคับกันในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา สิ่งที่ถูกต้องได้ถูกจำแนกแยกแยะออกจากสิ่งที่ผิดเป็นที่ชัดเจนแล้ว ดังนั้น ผู้ใดที่ปฏิเสธฏอฆูต และศรัทธาในอัลลอฮ์ เขาก็ได้รับการสนับสนุนอันมั่นคงไม่มีวันขาด และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้”

เพราะว่าธรรมชาติของการศรัทธาไม่ยอมรับการบีบบังคับและการหยัดเหยียดความเชื่ออย่างไม่เป็นธรรมและไม่สอดคล้องกับความหยาบกระด้าง ยังมีอีกโองการหนึ่งระบุว่า
“ดังนั้นจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา
นอกจากผู้ที่ผินหลังให้และปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น อัลลอฮ์จะทรงลงโทษเขาซึ่งการลงโทษอันมหันต์”
โอ้ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้า ! จงตักเตือนเถิดแก่ประชาชาติเถิด  จงปลุกประชาชาติให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหลเถิด จงเรียกให้พวกเขาตื่นเถิด จงประกาศให้ประชาชาติได้รู้เถิด จงทำให้ประชาชาติเกิดความตระหนักเถิด , จงเชิญชวนพวกเขาสู่ศาสนาเถิด “ انما انت مذکر”  เจ้าไม่มีฐานภาพอื่นนอกจากเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น , เจ้าไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจ , คือพระเจ้าไม่ได้แต่งตั้งท่านมาเพื่อที่จะใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญให้พวกเขาเกิดศรัทธา “

นิตยสารรายสัปดาห์ TIME ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม 1974 หน้า 32-33 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Who Were History’s Great Leaders ? (ใครคือผู้ที่นำที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์?)ของนักจิตวิเคราะห์ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อจูลส์ มาสเซอร์แมน (Jules Masserman) ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์กว้างๆในการคัดเลือกไว้ว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลได้นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ประการต่อไปนี้ให้สำเร็จ นั่นคือ

1) ให้ความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง
2) สร้างระเบียบทางสังคมที่ทำให้คนที่อยู่อาศัยในนั้นมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
3) สร้างระบบความเชื่ออย่างหนึ่งให้แก่สังคม

         หลังจากกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะตัดสินว่าใครสมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดของมหาบุรุษโลกผู้ยิ่งใหญ่แล้ว นายจูลส์ มาสเซอร์แมนก็ไดแสดงความเห็นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นพื้นฐานการพิจารณาว่า :- “คนอย่างหลุยส์ ปาสเตอร์และซอล์ค เป็นผู้นำในข้อแรก ส่วนคนอย่างคานธีและขงจื๊อในด้านหนึ่งและคนอย่างอเล็กซานเดอร์ ซีซ่าร์และฮิตเลอร์ในอีกด้านหนึ่งนั้นเป็นผู้นำในข้อที่สองและในข้อที่สาม สำหรับพระเยซูและพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นผู้นำในข้อที่สามเท่านั้น แต่คนที่เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลก็คือมุฮัมมัดผู้ทำหน้าที่ทั้งสามได้ครบ ถึงแม้โมเสสจะทำได้เหมือนกับมุฮัมมัด แต่ก็ยังน้อยกว่า”
หลังจากนั้นอีกสี่ปี คือใน ค.ศ.1978 ก็มีหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ The 100 – A Ranking of The Most Influential Persons in History ( 100 ลำดับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์) ซึ่งเขียนโดยนายไมเคิล เอช. ฮาร์ท (Michael H. Hart) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในเวลานั้น หนังสือเล่มนี้ได้จัดลำดับบุคคลสำคัญๆในแขนงสาขาต่างๆจำนวน 100 คนที่เขาเห็นว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเพียง 20 ลำดับเท่านั้นคือ
1) นบีมุฮัมมัด
2) ไอแซค นิวตัน
3) พระเยซูคริสต์
4) พระพุทธเจ้า
5) ขงจื๊อ
6) เซนต์ ปอล
7) ไซหลุน
โยฮาน กูเต็นเบิร์ก
9) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
10) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
11) คาร์ล มาร์กซ
12) หลุยส์ ปาสเตอร์
13) กาลิเลโอ
14) อริสโตเติล
15) เลนิน
16) โมเสส
17) ชาร์ส ดาร์วิน
18) ซีหวังตี
19) ออกัสตัส ซีซ่าร์
20) เหมาเจ๋อตุง

           ในหนังสือเล่มนี้ นายไมเคิล เอช. ฮาร์ต ได้แสดงความคิดเห็นข้อพิจารณาในการจัดลำดับมหาบุรุษของโลกไว้หลายแง่หลายมุมด้วยกัน ลองมาดูว่าเขาได้กล่าวถึงท่านนบีมุฮัมมัดไว้อย่างไร

          1) ประสบความสำเร็จสูงสุด “ที่ผมเลือกเอานบีมุฮัมมัดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของรายชื่อบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดของโลกนั้นอาจทำให้ผู้อ่านบางคนแปลกใจและบางคนอาจจะสงสัย แต่ท่านเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและด้านโลกวัตถุ” (หน้า 4 และ 33)

         2) ผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ “ชนเผ่าเบดูอินแห่งอารเบียเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงร่ำลือมากในเรื่องความเป็นนักรบที่ดุร้าย แต่เนื่องจากมีจำนวนน้อยและแตกแยกเป็นก๊กเป็นเผ่าทำสงครามเข่นฆ่ากันอยู่ตลอดเวลา พวกอาหรับจึงไม่มีทางที่จะเปรียบเทียบได้กับกองทัพที่ใหญ่กว่าของอาณาจักรต่างๆในเขตการเกษตรที่เป็นหลักแหล่งแล้วในทางตอนเหนือ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้ถูกรวบรวมเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยมุฮัมมัดและด้วยความศรัทธาอันแข็งแกร่งในพระเจ้าที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว กองทัพอาหรับเล็กๆเหล่านี้ก็เริ่มทำการพิชิตต่อเนื่องกันอย่างน่าประหลาดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”(หน้า 34-35)

        3) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลาม “ประการแรก นบีมุฮัมมัดมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอิสลามมากกว่าที่พระเยซูมีต่อการพัฒนาศาสนาคริสต์ถึงแม้ว่าพระเยซูจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อคำสอนทางด้านจริยธรรมและศีลธรรมของศาสนาคริสต์ เซนต์ปอลต่างหากที่เป็นคนพัฒนาวิชาการคริสตศาสนาและเป็นคนเปลี่ยนแปลงศาสนาที่สำคัญและเป็นผู้เขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของคัมภีร์ใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม นบีมุฮัมมัดก็เป็นผู้รับผิดชอบต่อทั้งศาสนศาสตร์และหลักการทางศีลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่และในการวางรากฐานการปฏิบัติศาสนกิจของอิสลามด้วย” (หน้า 39)

อิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเพียง 20 ลำดับเท่านั้นคือ
1) นบีมุฮัมมัด
2) ไอแซค นิวตัน
3) พระเยซูคริสต์
4) พระพุทธเจ้า
5) ขงจื๊อ
6) เซนต์ ปอล
7) ไซหลุน
โยฮาน กูเต็นเบิร์ก
9) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
10) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
11) คาร์ล มาร์กซ
12) หลุยส์ ปาสเตอร์
13) กาลิเลโอ
14) อริสโตเติล
15) เลนิน
16) โมเสส
17) ชาร์ส ดาร์วิน
18) ซีหวังตี
19) ออกัสตัส ซีซ่าร์
20) เหมาเจ๋อตุง

           ในหนังสือเล่มนี้ นายไมเคิล เอช. ฮาร์ต ได้แสดงความคิดเห็นข้อพิจารณาในการจัดลำดับมหาบุรุษของโลกไว้หลายแง่หลายมุมด้วยกัน ลองมาดูว่าเขาได้กล่าวถึงท่านนบีมุฮัมมัดไว้อย่างไร

          1) ประสบความสำเร็จสูงสุด “ที่ผมเลือกเอานบีมุฮัมมัดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของรายชื่อบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดของโลกนั้นอาจทำให้ผู้อ่านบางคนแปลกใจและบางคนอาจจะสงสัย แต่ท่านเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและด้านโลกวัตถุ” (หน้า 4 และ 33)

         2) ผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ “ชนเผ่าเบดูอินแห่งอารเบียเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงร่ำลือมากในเรื่องความเป็นนักรบที่ดุร้าย แต่เนื่องจากมีจำนวนน้อยและแตกแยกเป็นก๊กเป็นเผ่าทำสงครามเข่นฆ่ากันอยู่ตลอดเวลา พวกอาหรับจึงไม่มีทางที่จะเปรียบเทียบได้กับกองทัพที่ใหญ่กว่าของอาณาจักรต่างๆในเขตการเกษตรที่เป็นหลักแหล่งแล้วในทางตอนเหนือ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้ถูกรวบรวมเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยมุฮัมมัดและด้วยความศรัทธาอันแข็งแกร่งในพระเจ้าที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว กองทัพอาหรับเล็กๆเหล่านี้ก็เริ่มทำการพิชิตต่อเนื่องกันอย่างน่าประหลาดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”(หน้า 34-35)

        3) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลาม “ประการแรก นบีมุฮัมมัดมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอิสลามมากกว่าที่พระเยซูมีต่อการพัฒนาศาสนาคริสต์ถึงแม้ว่าพระเยซูจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อคำสอนทางด้านจริยธรรมและศีลธรรมของศาสนาคริสต์ เซนต์ปอลต่างหากที่เป็นคนพัฒนาวิชาการคริสตศาสนาและเป็นคนเปลี่ยนแปลงศาสนาที่สำคัญและเป็นผู้เขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของคัมภีร์ใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม นบีมุฮัมมัดก็เป็นผู้รับผิดชอบต่อทั้งศาสนศาสตร์และหลักการทางศีลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่และในการวางรากฐานการปฏิบัติศาสนกิจของอิสลามด้วย” (หน้า 39)

         4) ผู้นำทางโลกและทางศาสนาที่มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ “เนื่องจากกุรอานเป็นสิ่งสำคัญต่อมุสลิมเช่นเดียวกับที่คัมภีร์ไบเบิลมีความสำคัญต่อชาวคริสเตียน อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดผ่านทางคัมภีร์กุรอานจึงยิ่งใหญ่มาก ดังนั้น มันจึงเป็นไปได้ที่อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดต่ออิสลามจะยิ่งใหญ่กว่าอิทธิพลของพระเยซูและเซนต์ ปอลที่มีต่อศาสนาคริสต์รวมกันเสียอีก” “ยิ่งไปกว่านั้น มุฮัมมัดยังเป็นผู้นำทางโลกและทางศาสนาด้วยซึ่งไม่เหมือนกับพระเยซู ความจริงแล้ว ในฐานะที่เป็นพลังผลักดันอยู่เบื้องหลังการพิชิตของชาวอาหรับ ท่านน่าที่จะอยู่ในตำแหน่งผู้นำทางการเมืองที่มีอิทธิพลที่สุดในทุกยุคทุกสมัยเสียด้วยซ้ำ” “ในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ บางคนอาจพูดว่าเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมันเกิดขึ้นมาเองถึงแม้ว่าจะไม่มีผู้นำทางการเมืองคนใดคนหนึ่งมานำทางเหตุการณ์นั้น ตัวอย่างเช่น อาณานิคมอเมริกาใต้อาจจะได้รับเอกราชจากสเปนก็ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีคนอย่างไซม่อน โบลิวาร์ แต่กรณีเช่นนี้จะนำมาใช้กับการพิชิตของพวกอาหรับไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งใดเช่นว่านี้เกิดขึ้นก่อนนบีมุฮัมมัด และไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่าการพิชิตของพวกอาหรับจะเกิดขึ้นได้หากปราศจากนบีมุฮัมมัด”(หน้า 39-40)
5) บุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ “ดังนั้น เราจะเห็นว่าการพิชิตของพวกอาหรับในศตวรรษที่ 7 ยังมีบทบาทสำคัญต่อไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน” “การรวมกันของอิทธิพลทางโลกและศาสนาอย่างไม่มีอะไรมาเสมอเหมือนได้นี้เองที่ทำให้ผมรู้สึกว่านบีมุฮัมมัดสมควรที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นบุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ” (หน้า 40)
พฤติกรรมที่สมบูรณ์แบบแห่งความเมตตา ( Perfect Behavior of Mercy )
ในนิยามของคำว่า “ผู้นำที่ดี” คือนิยามที่ให้โดยเดมมิ่ง (Deming ) ซึ่งเขากล่าวว่า “ผู้นำที่ดี คือผู้นำ คือผู้ที่สามารถสร้างภาวะผู้นำให้เกิดแก่ผู้อื่น
รับฟังประชาชนและอภัยต่อความผิดของพวกเขาเหล่านี้ ” …ซึ่งมีสาระใกล้เคียงกับคำสอนอิสลาม ว่า
“และเราไม่ได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นได้เว้นแต่เพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก”

“ เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้าและมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย
และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักใคร่ผู้มอบหมายทั้งหลาย”
ดังนั้นสรุปได้ว่าแท้จริงศาสนาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพบูชาของแต่ละศาสนิกและเป็นสิ่งสากลสูงสุดมีจุดร่วมและจุดต่าง มีคำสอนที่เป็นหลักศรัทธาและความเชื่อ และแท้จริงแล้ว อุดมการณ์อันสูงสุดของศาสนาทั้งหลายที่ยิ่งใหญ่ของโลกคือนำพามนุษย์ไปสู่ความรอดพ้น จากความชั่วร้ายทั้งด้านปัจเจกบุคคลและด้านสังคม โดยการเข้าสู่วิถีชีวิตแห่งธรรมะและเป็น วิถีธรรมชาติ วิถีแห่งความประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวทางศาสนาตนอย่างบริสุทธิ์ใจ ปัจเจกบุคคลเหล่านั้นก็จะไม่เบียดเบียน ไม่นิยมความรุนแรง ไม่กดขี่ขมเหงรังแกและจะเข้าสู่หน้าที่อันเป็นภารกิจสูงสุดแห่งชีวิตมนุษย์ สังคมทั้งหลายก็จะเปลี่ยนสภาพโดยอัตโนมัติเข้าสู่ธรรมสถานสูงสุดซึ่งเรียกในภาษาบาลีว่า สภาพ “อสังขตธรรม” แล้วมนุษย์ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

บรรณานุกรม
             กีรติ บุญเจือ. อรรถปริวรรต คู่เวรคู่กรรม ปรัชญาหลังนวยุค  กรุงเทพฯ. พิมพ์ที่ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่พิมพ์ พศ. ๒๕๔๙
           คณาจารย์คณะอุศูลุดดีน สถาบัน ดัรรอเฮฮัก เมืองกุม แปล เชคซัยนุลอาบีดีน ฟินดี้ รากฐานศาสนาอิสลาม กรุงเทพฯ .ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำกรุงเทพฯ ปีที่พิมพ์ พศ.๒๕๔
        เชคชะรีฟ ฮาดียฺ  คำสอนจากนะฮญุลบะลาเฆาะฮ  กรุงเทพฯ,  สถานศึกษา ดารุลอิลมฺ มูลนิธิ อิมามคูอีย์  ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
           พีชวออี แปลโดย ไซม่า ซาร์ยิด ภาพลักษณ์ทางการเมืองของอิมาม ๑๒  พิมพ์ สถาบันศึกษาอัลกุรอานรอซูลอัลอะอ์ซอม.ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๑
วิวัฒน์วงศ์. บรรณาธิการ. สังคมวัฒนธรรมกับสุขภาพ, หน้า 27-38. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อบูอาดิลชะรีฟ อัลฮาดีย์ 2548 การกำเนิดสำนักต่างๆในอิสลาม กรุงเทพฯ :ศูนย์วัฒนธรรมสถานเอกอัคร ราชทูต สาธารรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำกรุงเทพฯ
อยาตุลลอฮ์ ญะอ์ฟัร ซุบฮานี แปลโดย อบูอาดิล ชะรีฟ อัลฮาดีย์ 2548 ชีอะฮ์ในประวัติศาสตร์อิสลาม กรุงเทพฯ : The Ahl al bayta.s World Assembly
อัลลามะฮ ฎอบะฎอบาอีย์ แปลโดย เชคชะรีฟ เกตุสมบูรณ์ 2548 ชีอะฮ์ในอิสลาม กรุงเทพฯ :สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม
          อ้างอิงจากเว็ปไซต์  www.al shiah .com ภาคภาษาไทย
AyatullahJavadiAmoli.  Imam Khomaini   Qom Iran :Isra Publication Center 1384
AyatullahMisbahYazdi.  Jami ah  waTareek.  Qom  Iran  : SazmanTabliqat1372
AyatullahJavadiAmoli.  FalsafahHukok Bashar. Qom Iran  :IsraPuplication Center 1382

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม