เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตอนที่ 2

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตอนที่ 2


โดย อดุลย์ มานะจิตต์
นักปรัชญาผู้ยิ่งยงของกรึกต่างก็เชื่อในเรื่องของจิตวิญญาณ ซึ่งพวกเซายึดถือว่าการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นของจิตวิญญาณดังนั้นนักปรัชญาเหล่านี้ จึงมิได้เป็นนักวัตถุนิยมตามความหมายที่แท้จริงของมัน ที่สนใจอยู่กับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางอินทรีย์เท่านั้น

ภารกิจที่เหลืออยู่ของบทแรกนี้ก็คือ การอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของมนุษยชาติ ตามทัศนะหรือแนวความเชื่อของอิสลามดังต่อไปนี้

ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า หากวิชาวิทยาศาสตร์ไม่อาจให้คำตอบได้ว่าชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร ! ซึ่งคำถามนี้ถือเป็นคำถามที่ต้องถูกตั้งขึ้นก่อน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรก จากนั้นคำาถามที่ว่า ชีวิตคำเนินไปอย่างไร ! จึงถือเป็นคำถามที่เป็นความจำเป็นในลำตับที่สองรองลงมา

นี้ถือเป็นสองปัญหาสำคัญ ที่เผชิญหน้าศาสนจักรคอทาลิกในยุคก่อนพื้นฟูติลปวิทยาการหรือยุคกลาง หากคำตอบของนักวิทยาศาสตร์ในคำถามที่สองขัดแย้งกับความเรื่อของศาสนจักรคาทอลิกในคำถามที่หนึ่งเช่นในกรณีของกาลิเลโอ ที่เชื่อว่า น้ำขึ้นน้ำลงเป็นข้อพิสูจน์ของการเคลื่อนที่ของโลก แต่สันตะปาปากลับประกาศว่า เนื่องแต่พระเจ้าจะกระทำอะไรก็ได้ในทุกสิ่ง พระองค์จึงทรงสามารถทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงอย่างไรก็ได้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเคลื่อนที่ของโลก

ความขัดแย้งนี้จึงเข้าตำรา คนละเรื่องเดียวกัน

ดังนั้นการอธิบายวิชามานุษยวิทยา (Anthropology) หรือประวัติความเป็นมาของมนุษยชาติโดยอาศัยวิชาศาสนศาสตร์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ดังเหตุผลข้างต้น

ตามมุมมองของอิสลามแล้ว ชายและหญิงคนแรกถูกสร้างขึ้นมาและถูกมอบหมายทางนำอันศักดิ์สิทธิ์ที่เหมาะสมให้กับเราทั้งสอง และมีคำแนะนำมาเพื่อให้พวกเขามีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตของการเป็นผู้รับใช้พระเจ้าอย่างชื่อสัตย์และเชื่อพังปฏิบัติตาม และมนุษยชาติทั้งมวลล้วนถือกำเนิดมาจากบิดามารดาคู่เดียวกัน ผู้ซึ่งได้วับมอบความรู้แห่งพระเจ้าที่แท้จริง และเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ คัมภีร์อัล กุรอานได้กล่าวถึงหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้

 

จงรำลึกถึงวาระที่พระผู้อภิบาลทรงกล่าวกับบรรดาเหวทูต ตังว่า ‘ข้ากำลังจะแต่งตั้งผู้ใบแทนคนหนึ่งขึ้นบนแผ่นดิน
(อัล กุรอาน บทที่ 2 โองการที่ 30)

และอีกพระบัญชาหนึ่งดังว่า

มนุษยชาติเอ๋ย จงเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาลของเจ้า ผู้ซึ่งทรงสร้างเจ้ามาจากบุคคลเพียงคนเดียว ทรงสร้างคู่ครองของเขาขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน และจากพวกเขาที่เป็นคู่นี้ได้แผ่กระจายออกไปเป็นชายและหญิงนับจำนวนไม่ถ้วน ดังนั้น จงยำเกรงพระเจ้าเถิด
(อัล กุรอาน บทที่ 4 โองการที่ 1)

โองการเหล่านี้ยืนยันโดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งในประการแรกก็คือมนุษยชาติทั้งมวลต่างถือกำเนิดมาจากบิดามารดาคู่เดียวกัน และหาใช้เป็นผลอันเกิดจากกรรมวิธีตามลัทธิดาร์วินไม่ ชายและหญิงคนแรกเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา

ขั้นแรกนั้นมนุษย์คนหนึ่งถูกสร้างขึ้น และจากเขาคนนี้ที่เผ่าพันธุ์มนุษย์แผ่ขยายไปทั่วโลก

 

ประการที่สอง เขาถูกประทานความรู้ของพระเจ้ามาให้และมีความเข้าใจในชีวิตที่เขาจะต้องดำเนินไปบนโลกนี้ อีกนัยหนึ่ง มนุษย์คู่แรกถูกมอบความรู้มาให้อย่างเต็มที่เพื่อใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องสิ่งแวดล้อมของตน เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการที่จำเป็นและอุปสงค์ต่าง ๆ ของตนพวกเขาได้รับทางนำจากพระเจ้าเพื่อจะได้มีชีวิตอยู่อย่างสมพงษ์และปกติสุข ให้สอดคล้องกับพระบัญชาอันตักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นการปฏิเสธความติดในเรื่องการวิวัฒนาการของมนุษย์มาจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ และเป็นการปฏิเสธในเรื่องที่ว่า ตอนเริ่มต้นนั้นมนุษย์มีชีวิตอยู่อย่างโง่เซลาไร้ปัญญา และต่อมาจึงค่อย ๆ เรียนรู้ได้ดีขึ้น และมีหนทางในวัฒนธรรมของการดำรงชีวิตมากขึ้น

ประการที่สาม มนุษย์สร้างความเจริญและมีชีวิตอยู่อย่างดีงามและมีอารยธรรมตราบเท่าที่เขาเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า และเสริมสร้างคุณธรรมความดีงามและความยุติธรรมในชีวิตที่เป็นปัจเจกของตน เช่นเดียวกับในชีวิตทางสังคมของชุมชน แต่ในทันทีที่เขาหลงลืมวิถีทางของพระเจ้าและหันไปตามหนทางของมารร้ายชาตาน และตามตัณหาราคะของตนเอง เขาก็จะเริ่มหันเหออกไปสู่ชีวิตที่ลามกหยาบโลน การกดขี่และการเอารัดเอาเปรียบ

ประการที่สี่ มนุษย์มิได้เป็นทารกต่อหน้าสิ่งแวคล้อมที่อยู่รอบตัวเราแต่ในทางตรงกันข้าม ความศรัทธา ความคิดอ่าน การกระทำ และปรัชญาแห่งชีวิต หล่อหลอมสิ่งแวดล้อมของเราเพื่อให้มารับใช้เจตนารมณ์ในทางอุดมคติของเขา

ทัศนะที่ว่าสิ่งแวดล้อมได้ทำให้มนุษย์ตกเป็นทาสของมันและได้กำหนดรูปแบบชีวิตของเขา อาจเป็นที่ชื่นชอบรองบุคคลที่ไม่เชื่อในเรื่องนรกสวรรค์และไม่สนใจศาสนา แต่สำหรับผู้ที่ศรัทธาในพระเจ้า และชีวิตของเขาถูกควบคุมอยู่ด้วยกับกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าแล้ว ย่อมไม่ถูกความคิดต่าง ๆ อันไร้สาระดังกล่าวนั้นเข้าครอบงำได้ สำหรับเขาแล้วความเชื่อศรัทธาในเอกภาพ (เตาอีด) ของพระเจ้าจึงป็นสรณะของเขา และเขาจึงปฏิเสธในเรื่องที่ว่า สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลหล่อหลอมและกำหนดรูปแบบชีวิต ความรู้สึกนึกคิด และเรื่องอื่น ๆ ของเรา

ประวัติศาสตร์อิสลามได้แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อศรัทธาอันบริสุทธิ์สะอาดเช่นนี้ที่พระเจ้าทรงสร้างบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมาได้อย่างไร ? ซึ่งอัล กุรอานได้อธิบายไว้ด้วยกับคำกล่าวเหล่านี้

เจ้าเป็นกลุ่มที่ดีที่สุดที่ถูกอุบัติขึ้นมาในหมู่มนุษยชาติ เจ้าเชิญชวนไปสู่ความดีงามและหักห้ามกันในความชั่วร้ายและศรัทธาในอัลลอฮ์
(อัล กุรอาน บทที่ 3 โองการที่ 110)

ดังนั้นบุคคลกลุ่มนี้จึงเป็นดวงประทีปสองนำมวลมนุษย์ไปสู่ความยุติธรรม ความสงบสันติ เสรีภาพและอิสรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองตามความหมายที่แท้จริงของมัน

อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าสภาพแวดล้อมไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ เลยต่อมนุษย์ก็หาไม่ มันมีอิทธิพลของมันเท่าที่มันจะมีได้แต่ ณ ที่ใดที่อิสลามไปถึง มันก็จะดูดกลืนเอาสิ่งที่ดีที่สุดที่มันพบเห็นในแต่ละสภาพแวดล้อม และปรับแต่งมันให้สอดคล้องกับอุคมการณ์แห่งความเชื่อตามหลัก เตาฮีด (เอกเทวนิยม) มันปรับแต่งความคลาดเคลื่อนของสภาพแวดล้อมและหันมันให้กลับมาสู่ทิศทางที่ถูกต้อง และทำมันให้สอดคล้องกับหลักการ คุณค่า และทัศนะความเชื่อต่าง ๆ ของอิสลาม

ฉะนั้นแสงสว่างที่ฉายส่องลงบนเรื่องของการสร้างสรรค์มนุษย์ที่อิสลามกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์อัล กุรอานนั้น จึงเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน น่าเชื่อถือ และมีความสำคัญมากกว่าที่จะไปยึดเอาความรู้ที่ได้มาจากการขุดต้นหาชิ้นกระดูกต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววางอยู่บนการคาดการณ์และการเดา

ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ที่ถูกวิวรณ์มานี้ ยกระดับมนุษย์จากสิ่งถูกสร้างที่วิวัฒนาการมาอย่างอ่อนแอและต่ำต้อย ให้เป็นสิ่งถูกสร้างของพระเจ้าที่สูงส่ง การเป็นผู้ปกครองของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน (วิลายะย์) ซึ่งบรรดาเทวทูตและทุกสรรพสิ่งบนโลกและในชั้นฟ้า ต่างถูกทำให้เชื่อฟังปฏิบัติตาม
(อัล กุรอาน บทที่ 40 โองการที่ 64 และ บทที่ 38 โองการที่ 26)

ดังนั้น อาดัม ในฐานะมนุษย์คนแรก เป็นศาสนทูตของพระเจ้าหรือรซูลท่านแรก และเป็นผู้ปกครองของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน (ดอลีฟะตุลลอฮ์ ฟิลอัรด์) คนแรกของโลก ด้วยเหตุประการฉะนี้ที่พระเจ้าทรงสอนอาดัมศาสนทูตของพระองค์ให้รู้จักบรรดานามชื่อเหล่านี้
‎(14) و ع ل م ا ل ا س م ا ء (วะอัลละมะอาคัมอัลอัสมาอ์)
‎(12) ب ا س م ا ء ه ء و ل ا ء
(บิอัสมาอิฮาอุลาอ์) ซึ่งบรรดานามชื่อเหล่านี้ไม่เป็นที่รู้จักของมวลสรรรค์ (มะลาอิกะย์) มาก่อน เพราะพระเจ้ายังไม่ได้สอนให้พวกเขาได้จัก ด้วยเหตุนี้ที่พญามาร ซึ่งเป็นญินตนหนึ่งที่เคยอยู่ร่วมสังคมเดียวกับมวลทูตสรรค์มาก่อนในภพหนึ่งแห่งสวรรค์ชั้นฟ้า ณ บัลลังก็แห่งอำนาจของพระเจ้า จึงรู้สึกอิจฉาในตัวของอาอัมมากยิ่งขึ้นที่เขารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้ทั้ง ๆ ที่ตนถูกสร้างมาก่อน พระเจ้าจึงทรงมีพระประสงค์ที่จะทรงทดสอบทูตสวรรค์และพญามาร ว่าพวกเขามีดวามหยิ่งทะนงในชาติกำเนิดของพวกเขาที่พระเจ้าทรงสร้างพวกเขามาก่อนหน้ามนุษย์หรือไม่ ด้วยกับการมีพระบัญชาให้ทั้งทูตสวรรค์และพญามารแสดงความเดารพนบนอบด้วยการสุหยูด (การเอาศีรษะแตะพื้น) ต่ออาดัม มวลเทวทูคสวรรค์ต่างกระทำการสุหยุดยกเว้นพญามาร เพราะมันมีดวามอิจฉาและหยิ่งทะนงอยู่ในตนด้วยเหตุประการณะนี้ พญามารจึงขอต่อพระเจ้าที่จะมาเป็นตัตรูต่อมนุษย์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของอาดัมจวบจนถึงวันอวสานบนหน้าพิภพนี้ มนุษย์ทุกคนจึงมีสวรรค์และนรกเป็นเดิมพัน ตลอดการใช้ชีวิตของพวกเขาบนโลกนี้เช่นกัน

ผู้ใดก็ตามที่พวกเราดำเนินชีวิตไปตามครรลองของการชี้นำทางอันเที่ยงตรงของบรรดานามชื่ออันสูงสงเหล่านี้ ที่อาดัมได้แจ้งให้กับทูตสวรรค์และพญามารวับรู้แล้ว อันเป็นเหตุให้มวลทูตสวรรด์ยังคงเป็นชาวสวรรด์สืบต่อไป และเป็นเหตุให้พญามารต้องกลายเป็นมารร้าย ชาตานหรือมารร้าย ตกสวรรค์มาอยู่บนโลกนี้ และเมื่อวันแห่งการตัดสินพิพากษามาถึงพวกมันจึงมีที่พำนักอยู่ในชุมนรกชั้นต่ำสุด พรัอมกับบรรดามนุษย์ที่เป็นเช่นกันพลพรรคของมัน นับแต่ชุมซนแรกก่อนท่านศาสดามุฮัมมัด จนถึงชุมชนหลังจากท่านไปจนถึงวันลิ้นโลก

ในฐานะที่ท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตท่านสุดท้ายของพระเจ้าผู้ซึ่งเป็นองค์ที่ 25 ตามนามชื่อของบรรดาตาสดาที่ปรากฏอยู่ในอัล กุรอานและเป็นผู้พิทักษ์และผู้สืบทอดคัมภีร์แห่งศาสนา บทสรรเสริญและแบบฉบับของบรรดาศาสดาท่านที่ 36 จากจำนวนศาสดาของพระเจ้าที่ถูกส่งลงมาทั้งสิ้นรวม 124,000 ท่าน ท่านจึงเปรียบเสมือนเป็นจุดศูนย์กลางของบรรดาตาสดาทั้งหลายของพระเจ้าที่ต่างเวียนรอบท่านอยู่ ดังนั้นรัตมีหรือระยะเวลานับจากวันที่ท่านศาสดามุฮัมมัดถือกำเนิด ณ นครมักกะฮ์ ย้อนหลังไปจนถึงวันที่ท่านศาสดาอาดัมวะฟาด (เสียชีวิต) เป็นจำนวนทั้งสิ้น 9,900 ปี 4เดือน 7 วัน

ยิ่งไปกว่านั้น หากนับเวลาจากท่านศาสดาอาดัมเสียชีวิตถึงศาสดามุฮัมมัดถือทำเนิดไปจนถึงอิมามมะฮ์ดี อิมามที่ 12 ผู้เป็นผู้สืบแทนของท่านศาสดาที่ถือกำเนิด มีระยะเวลาทั้งสิ้น 10.208 ปี ดังนั้นจึงมีจำนวนศาสดาในอัตราเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 124.000 หาร 10.208 = 12 นับจากศาสดาท่านแรกคือ อาดัมจนถึงศาสดาท่านสุดท้ายคือ ศาสดามุฮัมมัด ศาสนทูตของอัลลอฮ์

สัญลักษณ์แห่งเลข 12 นี้ จึงเป็นสัญลักษณ์ที่พระเจ้าทรงใช้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันให้บรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ทั่วทั้งชั้นฟ้าและแผ่นดินได้ตระหนักว่า พระองค์คือผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงดวบคุม ผู้ทรงให้กำเนิดแก่ชีวิต ผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพ และพระองค์คือผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งการคำนวณนับ ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดเลยที่อุบัติขึ้นมาได้ด้วยความบังเอิญ ธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมจึงยอมสยบอยู่ใต้อำนาจของพระองค์ ผู้ทรงสร้างมันโดยดุษฎีและดุษณี

โลกจึงถูกกำหนดให้ปีหนึ่งมี 12 เดือน ณ วันแห่งการสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน ฟากฟ้าถูกกำหนดให้มี 12 จักราศี คัมภีร์อัล กุรอานถูกกำหนดให้มี 114 บท และมี 30 ภาค นั้นคือ 114 + 30 = 144 = 12 x 12 และบรรดาศาสนทูตของพระเจ้าล้วนมีผู้สืบแทนอำนาจการปกครอง (วิลายะย์) จำนวน 12 ท่าน ทั้งหมดนี้จึงเป็นแบบฉบับของพระเจ้าที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นการที่มีมนุษย์กลุ่มหนึ่งในยุคหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัดได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับพญามาร พยายามสร้างทฤษฎีอันไร้แก่นสารและหาข้อพิสูจน์ในทางตรรกะไม่ได้ โดยพยายามโฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงมนุษยชาติที่โง่เขลาให้หลงเชื่อไปว่ มนุษย์วิวัฒนาการมาจากลิงพันธุ์หนึ่ง และมนุษย์ผู้ตกเป็นเหยื่อของมารร้ายต่างก็เชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินอย่างจริงจัง จนกำหนดเป็นหลักสูตรในวิชาชีววิทยาใช้เรียนกันในสถาบันการศึกษาไปทั่วโลก

จึงนับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อีกประการหนึ่ง ที่พญามารผู้เป็นศัตรูที่ร้ายกาจของมวลมนุษยชาติ ได้ใช้พลพรรคของมันช่วยกันลดเกียรติของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ให้เหลือเป็นเพียงสิ่งถูกสร้างชนิดหนึ่งที่มีบรรพบุรุษมาจากลิงใหญ่พันธุ์หนึ่งหรือจากสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เซลล์เดียวที่ไร้สติปัญญาและจินตนาการ

มวลมนุษยชาติจึงผ่านกาลเวลาของตนในฐานะพลโลก นับจากมนุษย์คนแรกที่ถูกส่งลงมาพำนักยังโลกนี้พร้อมคู่ครองของเขามาแล้วทั้งสิ้นจนถึงปัจจุบันประมาณ 12,400 ปี ส่วนมนุษย์ได้ผ่านขั้นตอนของการพัฒนาสังคมของตนจนเติบใหญ่กลายเป็นวัฒนธรรมและอารยธรรม ขยายตัวไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกอย่างไรนั้นจะได้นำมากล่าวไว้ในบทต่อไป

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม