เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตอนที่ 5

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตอนที่ 5


โดย อดุลย์ มานะจิตต์

 

บทที่ 3
ประวัติความเป็นมาของบรรดาศาสดาและคำสอนที่บรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ

ดังนั้น อัลลอฮ์ทรงส่งบรรดาศาสนทูตของพระองค์ (รอซูล) และบรรดาศาสดา (นบี ของพระองค์เป็นชุดๆ ลงมาเพื่อพวกเขา (มวลมนุษย์)เพื่อทำให้พวกเขาปฏิบัติตามคำสาบานต่างๆ นั้นของการสร้างสรรค์ของพระองค์ เพื่อเตือนรำลึกพวกเขาให้ตระหนักถึงความมหาอุดมของพระองค์เพื่อพร่ำวอนพวกเขาด้วยการเทศนาเชิญชวน เพื่อเปิดเผยให้พวกเขาได้เห็นถึงคุณธรรมแห่งวิทยญาณ และแสดงให้พวกเขาได้เห็นถึงสัญญาณต่างๆของความมีมหิทธานุภาพของพระองค์” (อะลี อิบนิ อบีฎอลิบ จากคำเทศนาบทแรกใน นะย์ถุลบะลาเมาะ6)

 

ศาสนาตามความหมายโดยทั่วไปหมายถึง คำสั่งสอนที่ถูกนำมาเผยแผ่ต่อมนุษยชาติตามยุคตามสมัย โดยศาสดาแต่ละท่านจะนำคัมภีร์เล่มใหม่มากับตนหรือไม่ก็ตาม ซึ่งคำสอนนั้นๆ จะต้องกล่าวถึงการศรัทธาในการตอบแทนความดีและความชั่วด้วยกับสวรรค์และนรก อีกทั้งยังจะต้องมีบรรดาอัครสาวกและผู้เสื่อมใสศรัทธาสืบศาสนาและคัมภีร์นั้นๆ ต่อไปตามยุคตามสมัยต่างๆ

 

ในทัศนะของศาสนาอิสลาม บรรดาศาสดาที่นำคัมภีร์เล่มใหม่มาสั่งสอนกับประชาชนของตนเรียกว่า ‘รอซูลุลลอฮ์'(ศาสนทูตของพระเจ้า) หรือผู้สื่อสารของพระเจ้า ในการนำเอาคัมภีร์ของพระองค์มาประกาศ ส่วนบรรดาศาสดาที่มายืนยันคำสอนของคัมภีร์เล่มก่อนๆเรียกว่า ‘นบี’ (ศาสดา)ซึ่งหมายความว่าทุกๆ รอซูล(ศาสนทูตต้อง เป็น นบี ส่วนทุกๆ นบี ไม่จำเป็นต้องเป็น รอซูล และบรรดา นบี และ รอชูล ทั้งหมดถูกเรียกว่า ‘อัมบิยะฮ์’ (บรรดาศาสดา) ส่วนบรรดาผู้สืบศาสนาที่ไม่ได้เป็นทั้ง นบี และรอซูล แต่ได้รับการแต่งตั้งจากศาสดาท่านนั้นๆ ไว้ให้เป็นผู้สืบของตนเรียกว่า’นะกีบ (ผู้สืบ)’อะมีร (ห้าหน้า)และ”อิมาม (ผู้นำ) เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณหรือเรียกว่า วิลายะฮ์'(ผู้นำทางจิตวิญญาณ ส่วนผู้ที่มีความมุ่งมั่นต่อการรับใช้ศาสนา คัมภีร์ ศาสดาและอิมามอย่างจริงใจอยู่ตลอดเวลาเรียกว่า ‘วะลียุลลอฮ์'(ผู้ที่มีความมุ่งมั่นต่อการรับใช้ศาสนา)

 

ถึงแม้คำสอนของบรรดาศาสดาจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปอย่างมากมายตามศตวรรษต่างๆ ที่ผ่านมาก็ตาม แต่คำสอนเหล่านั้นล้วนมีจุดมุ่งหมายเป็นหนึ่งเดียวกันนั่นคือ การสอนให้มนุษย์ปฏิบัติแต่ความดีงามและละเว้นจากความชั่วร้าย เพื่อว่ามนุษย์จะได้ประสบความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

 

คำสอนเหล่านี้ก็คือชื่อของศาสนาต่างๆ ของโลก ซึ่งเกือบทั้งหมดแล้วจะเรียกชื่อศาสนาไปตามชื่อของบรรดาศาสดา เช่น ศาสนายูดายศาสนาโชโรแอสเตอร์ ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ เป็นต้น ส่วนศาสนาอิสลามเป็นเพียงศาสนาเดียวที่ไม่เรียกชื่อศาสนาของตนตามชื่อของศาสดาที่นำศาสนานี้มาเทศนาสั่งสอน นั้นคือท่านศาสดามุฮัมมัด ศาสนทูตของพระเจ้า ทั้งนี้เป็นเพราะศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของบรรดาศาสดาทั้งมวลของพระเจ้า เริ่มต้นจากศาสดาองค์แรกของโลกคือท่านศาสดาอาดัมบรรพบุรุษคนแรกของมนุษย์หรือบิดาแห่งมนุษยชาติ จนถึงศาสดาองค์สุดท้ายของโลกคือท่านศาสดามุฮัมมัด ศาสนทูตของพระเจ้า

 

ชื่อของคัมภีร์นั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป สุดแต่ว่าศาสดาองค์ใดจะเป็นผู้นำมาประกาศเผยแผ่ เช่น ศาสนายูดายมีศาสดามูซาหรือโมเสสเป็นผู้ประกาศศาสนา คัมภีร์ของท่านที่พระเจ้าประทานมามีชื่อว่าคัมภีร์เตาเราะหรือโตร่า ศาสนาโชโรแอสเตอร์มีศาสดาชื่อ ซาราอุชตรา มีคัมภีร์ชื่อ อเวสตา ศาสนา พุทธ มีศาสดาชื่อ สิทธารถ หรือพุทธ มีคัมภีร์ชื่อ พระไตรปิฎก ศาสนาคริสต์มีศาสดาชื่อ เยซูดริสต์ มีคัมภีร์ชื่อ อินญีลหรือพระคริสต์ธรรมใหม่ในปัจจุบัน ศาสนาอิสลามมีศาสดาองค์สุดท้ายชื่อศาสดามุฮัมมัด มุสฎอฟา มีคัมภีร์ชื่อ อัล กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของพระเจ้าที่ประทานให้กับมนุษยชาติยุคสุดท้ายของโลก และเรียกชื่อผู้ศรัทธาว่า มุสลิม

 

ตามทัศนะหรือความเชื่อของอิสลามแล้ว พระเจ้าทรงส่งบรรดาศาสดาหรือ อัมบิยะฮ์ มาสูโลกนี้รวมทั้งสิ้น 124,000 ท่าน มีชื่อปรากฏอยู่ในคัมภีร์เตารอตของศาสดาโมเสส และคัมภีร์อินญีลของศาสดาอีซาหรือพระเยซูรวม 313 ท่าน เป็นที่น่าสังเกตว่ายังมีคัมภีร์ของพระเจ้าชื่อ ซะบูร ที่ถูกประทานมาให้กับศาสดาดาวูดและศาสดาสุไลมานอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งบรรจุชื่อของบรรดาศาสดาในสายของ บนีอิสรออีล (ศาสดายะฮ์กูบ) เอาไว้ด้วยเช่นกัน และที่ปรากฎชื่ออยู่ในคัมภีร์อัล กุรอานมีจำนวน 25 ท่าน

 

ดังนั้นคัมภีร์ของพระเจ้าที่ถูประทานมาให้กับมวลมนุษยชาติ โดยผ่านทางบรรดาศาสดาทั้งหมดของพระองค์นับจากท่านแรกจนถึงท่านสุดท้าย มีชื่อปรากฎรวม 4 คัมภีร์ คือ เตารอต ซะบูร อินญีล และอัล กุรอานตามลำดับ ส่วน ซุยุฟ หมายถึงบันทึกต่างๆ ที่พระเจ้าทรงมอบให้กับบรรดศาสนทูตท่านอื่นๆ ของพระองค์ เช่น ชุฮุฟของศาสดาอิบรอฮีม ซึ่งไม่ใช่ชื่อของคัมภีร์จึงไม่ถูกนำมารวมไว้ใน 4 เล่มนี้ ฉะนั้นจำนวนคัมภีร์ทั้งหมดที่พระเจ้าทรงประทานมาให้กับบรรดาศาสนทูตของพระองค์จึงมีจำนวนทั้งสิ้น 104 เล่ม

 

ในจำนวนคัมภีร์ทั้งหมดข้างต้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งบรรดาผู้สืบทอดและทายาทของคัมภีร์ บทสรรเสริญ และฮะดิษ (คำสอนของบรรดาศาสดา)ไว้เป็นจำนวนรวม 48 ท่าน ซึ่งรายละเอียดของเรื่องนี้จะได้กล่าวถึงเป็นลำดับต่อไป

 

จากจำนวนศาสดา 25 ท่าน ที่มีนามปรากฎอยู่ในคัมภีร์อัล กุรอานเราจะขอกล่าวถึงชีวประวัติโดยย่อของศาสดาเพียงบางท่านเท่านั้น เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าการส่งบรรดาศาสดาของพระเจ้าลงมาเทศนาสั่งสอนแก่มวลมนุษย์นั้น เป็นการส่งลงมาอย่างเป็นระบบอันอัศจรรย์ยิ่ง โดยมีความสอดคล้องต้องกันกับยุคสมัยต่างๆ ที่ศาสดานั้นๆ เผยแผ่อยู่กับกลุ่มชนของท่านตามภูมิภาคต่าง ๆ

 

จากหนังสือประวัติศาสตร์อิสลามบางเล่มได้บันทึกไว้ว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด ศาสนทูตท่านสุดท้าย ถือกำเนิดภายหลังจากที่ท่านศาสดาอาดัมศาสนทูตท่านแรกเสียชีวิตเป็นเวลา 9,900 ปี 4 เดือน 7 วัน ทั้งนี้หมายความว่าศาสดาอาดัมดำเนินชีวิตอยู่บนโลกนี้นับจากปี 9,330 ก่อนคริสต์ศักราชขึ้นไป จนถึงวันที่ท่านถูกส่งลงมาพำนักบนพื้นพิภพนี้พร้อมกับท่านหญิงฮาวาภรรยาของท่าน

 

ดังนั้น อาดัมจึงมีชีวิตอยู่ในยุคหินกลาง (Mesolithic) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชดังที่กล่าวถึงแล้วข้างต้น การที่ได้นำเอาช่วงชีวิตของอาดัมไปใส่ไว้ในยุคหินกลางนั้น ไม่ได้หมายความว่ายุคสมัยเกิดขึ้นก่อนที่อาดมจะลงมาพำนักบนโลกนี้ แต่ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจตามความรู้สมัยใหม่ที่ศึกษากันในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเมื่อกล่าวถึงยุดหินกลางผู้อ่านจะทราบได้ทันทีว่า มันเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้เครื่องปั้นดินเผา และหมายความว่ามนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟในการหุงต้ม และในการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ และวัสดุก่อสร้าง เช่นการใช้เตาเผาเครื่องปั้นและอิฐก่อสร้างเป็นต้น แต่หากเมื่อพิจารณาถึงอายุของอาดัมที่มาดำเนินชีวิตบนโลกนี้ซึ่งปรากฏอยู่ใน (เยเนซิส 6/4, 5) ท่านมีอายุ 930 ปี ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าท่านมีชีวิตถอยไปเชื่อมต่ออยู่กับยุคหินเก่าเช่นกัน

 

สถานที่แรกต้นที่ศาสดาอาดัมถูกส่งลงมายังโลกนี้มีการบันทึกไว้แตกต่างกัน บ้างกล่าวว่าท่านลงมาที่แผ่นดินฮินด์หรืออินเดีย บ้างก็กล่าวว่าที่นครบาบิโลนหรือเมโสโปเตเมียหรือกัรบะลา และที่กล่าวว่าลงมายังแผ่นดินฮิญาช ณ นครยิดดะฮ์และมักกะฮ์ในปัจจุบันก็มีเช่นกัน แต่เมื่อตรวจสอบจากคัมภีร์อัล กุรอานแล้ว ที่น่าเชื่อถือที่สุดก็คือนครมักกะฮ์หรือบิบักกะฮ์หรือบัยตุลอะตีก (บ้านโบราณ ซึ่งพระเจ้าทรงเรียกว่า อุมมุ้ลกุเราะฮ์ ศูนย์กลางหรือแม่แห่งเมืองทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเนินเขาซอฟาและมัรวะฮ์ทุ่งอารอฟะฮ์ และภูเขาเราะ:มะฮ์ อันเป็นสถานที่ที่ศาสดาอาดัมและฮาวาได้มาพบกัน ดังนั้นบุตรหลานของบิดามารดาคู่แรกของโลกจึงเดินทางออกจากแผ่นดินอารเบียสู่เมืองต่างๆ ที่แผ่นดินเหมาะแก่การเพาะปลูกในเวลาต่อมา ดังโองการที่ว่า อิบิตู มิศรอน’ (2:61) มีความหมายว่า “เจ้าจงลงไปยังเมืองใหญ่” และ (34:18)

 

ศาสดาอาดัมและฮาวามีบุตรชายสองคนชื่อว่า กอบิลกับฮาบิล หรือเคนกับเอเบิล กอบิลผู้พี่ประกอบอาชีพเพาะปลูก ส่วนฮาบิลผู้น้องมีอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ แกะ กอบิลประสบความร่ำรวย มีอำนาจ จึงเกิดความหยิ่งทะนง พระเจ้าจึงไม่รับของถวายซึ่งเป็นพืซไร่ ส่วนฮาบิลเป็นผู้อ่อนน้อมมีเมตตาธรรม ของถวายที่เขานำมามอบให้กับพระเจ้าซึ่งเป็นแพะ แกะจึงเป็นที่ยอมรับของพระองค์ กอบิลจึงมีความอิจฉาในตัวน้อง เมื่อความอิจฉาริษยาทวีความรุนแรงขึ้นในจิตใจของกอบิล จนถึงขั้นที่เขาไม่อาจทนเห็นน้องชายเป็นที่รักของพระเจ้าได้อีกต่อไป เขาจึงตัดสินใจกำจัดน้องชายของเขาด้วยการใช้ก้อนหินทุบที่ศีรษะของฮาบิลจนตาย โศกนาฎกรรมของเรื่องนี้พระเจ้าทรงนำมากล่าวขานไว้ เป็นบทเรียนหรืออุทาหรณ์เพื่อที่มนุษยชาติจะได้รำลึก ให้กับศาสดามุฮัมมัดได้รับรู้ดังปรากฎอยู่ในคัมภีร์อัล กุรอาน ดังมีความว่า

 

และจงสาธยายแก่พวกเขาเรื่องของลูกทั้งสองของอาดัมด้วยความจริงเมื่อทั้งสองได้ถวายของถวายแก่เรา แล้วคนหนึ่งในทั้งสองนั้นถูกตอบรับ แต่จากอีกคนหนึ่งไม่ถูกตอบรับ เขากล่าวว่า ‘แน่นอนฉันจะฆ่าเจ้า’ เขากล่าวว่า ‘แท้จริงอัลลอฮ์ทรงตอบรับจากผู้ที่สำรวมตนจากความชั่วเท่านั้น’ถ้าเจ้า (พี่ชาย) เหยียดมือของเจ้าออกมายังฉันเพื่อฆ่าฉัน ฉัน (ผู้น้อง)จะไม่เหยียดมือของฉันต่อเจ้าเพื่อฆ่าเจ้า แท้จริงฉันกลัวอัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกแท้จริงฉันเกรงที่เจ้าต้องรับภาระบาปที่ทำต่อฉันและบาปของเจ้าแล้วเจ้าจะอยู่ในหมู่สหายของไฟ และนั้นคือการตอบแทนสำหรับผู้อธรรมแล้วจิตใจของเขาได้จงใจเขาให้ให้ม่าน้องชายของเขา แล้วเขาได้ฆ่าเขา แล้วเขาได้กลายเป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้ขาดทุนแล้วอัลลอฮ์ได้ส่งนกกาตัวหนึ่งมาคุ้ยดิน เพื่อจะได้เสนอแก่เขาที่จะกลบศพของน้องชายของเขาอย่างไร เขากล่าวว่า ‘ความวิบัติแก่ฉันเอ๋ย ! ฉันไม่สามารถเป็นเช่นนกกาตัวนี้ เพื่อจะกลบศพน้องชายของฉันได้กระนั้นหรือ’ แล้วเขาได้กลายเป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้ตรอมใจ(อัล กรุอาน บทที่ 5 โองการที่ 27-31)ด้วยเหตุแห่งการเกิดมาตกรรมมนุษย์ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกจึงเป็นผลให้พระเจ้าทรงตราบัญญัติอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ไว้ดังว่า ผู้ใดฆ่าชีวิตใด นอกจากชีวิตเพื่อการธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม หรือการปราบปรามเพื่อหยุดยั้งการก่อการเสียหาย ณ แผ่นดิน ก็เป็นดังที่เขาได้ฆ่ามนุษย์ทั้งมวล และผู้ใดได้ไว้ชีวิตหนึ่งดังนั้นจะเป็นดังเช่นที่เขาได้ไว้ชีวิตมนุษย์ทั้งมวล

 

มีข้อคิดคำนึงผุดขึ้นในจิตใจอย่างมากมาย เมื่อได้ฟังเรื่องราวของบุตรทั้งสองของศาสดาอาดัมซึ่งอยากจะกล่าวถึงเป็นอุทาหรณ์ไว้เพียงสองสามประการคือ

 

ประการแรก ความอิจฉาริษยานับเป็นสมบัติหรือลักษณะหนึ่งทางด้านจิตใจของมนุษย์ ซึ่งสิ่งนี้ไม่มีอยู่ในสัตว์และพืชทุกชนิด ความอิจฉานี้เกิดจากความหลงรักในตนเองซึ่งเกิดจากความหลงใหลของการมีรูปสมบัติทรัพย์สมบัติ อำนาจและชาติกำเนิดหรือศักดิ์ตระกูล ที่ไม่ต้องการให้ผู้ใดมีเท่าเทียมหรือมากกว่าตน หากผู้ใดมีมากว่าตนคนนั้นก็จะถูกอิจฉาและตกเป็นเป้าของการถูกทำร้ายหรือถูกสังหาร ดังนั้นความอิจฉาริษยาหากมีอยู่ในจิตใจของมนุษย์คนใดแล้ว ย่อมหมายถึงว่าเขาผู้นั้นได้ปฏิเสธในปัจจัยต่างๆ ที่พระเจ้าทรงมอบให้กับบุคคลหนึ่ง ดังนั้นการกระทำของเขาเช่น การถวายหรือบริจาค เพื่อเอาหน้า จึงไม่เป็นที่ยอมรับในสายตาของพระเจ้า

 

ประการที่สอง เนื่องจากฮาบิลผู้น้องไม่มีความอิจฉาริษยาในตัวพี่เขาจึงไม่ประสงค์ที่จะให้พี่ของเขาได้รับอันตรายจากเงื้อมมือของเขา ถึงแม้พี่ชายจะฆ่าเขาก็ตาม และนี้ก็คือหลัก อหิงสา ที่ถูกสถาปนาขึ้นบนโลกเป็นครั้งแรก จากการปฏิบัติให้เห็นเป็นจริงของฮาบิล ส่วนกอบิลได้กลายเป็นฆาตกรคนแรกของโลก ดังนั้นการกระทำของเขาจึงเปรียบประดุจดังกับเป็นตัวอย่างให้มนุษย์เริ่มต้นประหัตถ์ประหารชีวิตกันเอง จึงเปรียบเสมือนว่าเขาได้ฆ่าชีวิตคนทั้งโลก

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม