เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อำนาจการปกครองในทัศนะของอิมามโคมัยนี (ร.ฎ.) ตอนที่ 2

4 ทัศนะต่างๆ 04.0 / 5

อำนาจการปกครองในทัศนะของอิมามโคมัยนี (ร.ฎ.)  ตอนที่ 2

 

บทที่หนึ่ง : ศาสนาและการเมือง (ต่อจากตอนที่ 1)
ก่อนการการเกิดของมนุษย์  อิสลามได้หลั่งชโลมลงบนผู้หนึ่ง  ซึ่งวิถึแห่งการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน ณ เวลาแห่งการก้าวสู่วาระการใช้ชีวิต ตามแบบฉบับแห่งครอบครัว  ในขณะเดียวกันก็ได้รดชโลมแก่ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งวิถีขั้นพื้นฐานทางสังคม  พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน  วาระแห่งการอบรมสั่งสอนและชี้นำเข้าสู่สังคม  ตลอดจนความสัมพันธไมตรีกับชนชาติหรือรัฐบาลอื่น ๆ  ทั้งหมดล้วนดำรงอยู่ด้วยการมีเงื่อนไข รูปแบบ และกฎเกณฑ์ ซึ่งหลักการคำสั่งสอนของอิสลามมิได้ดำรงอยู่เพียงแค่เรื่องของการนมาซ ดุอาอ์ หรือซิยารัต  สิ่งเหล่านี้มิอาจถือได้ว่า เป็นหลักการทั้งหมดของอิสลามอย่างแท้จริง  แต่มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักการในมิติหนึ่งเท่านั้น  แท้จริงแล้ว อิสลามมีศูนย์อำนาจการบริหารแห่งชาติ และรัฐบาลที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกร  ดังนั้น วิถีทางการเมือง บทบาท หรือการแบกรับภาระหน้าที่ที่มีอยู่เหนือผู้นำ หรือผู้ปกครองทั้งหลาย คือ การที่จะต้องทำให้โลกได้ตระหนัก เข้าใจ และรู้จักอิสลาม อย่างถูกต้อง

ท่ามกลางความป่าเถื่อน โหดร้ายทารุณ อันเป็นอดีตของชาติตะวันตก กับการใช้ชีวิตบนผืนแผ่นดินที่ห่างไกลไร้ความเจริญเยี่ยงป่า  ร่องรอยความป่าเถื่อนของอเมริกาที่เคยปรากฏ ในเกือบครึ่งหนึ่งของดินแดนอันเป็นถิ่นฐานเดิมของชนเผ่าอินเดียนแดง  สองอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ คือ โรม และอิหร่าน  ภายใต้การครอบงำของผู้มีอิทธิพลและอำนาจ  อีกทั้งการปกครองโดยชนชั้นสูงด้วยระบบขุนนาง ตลอดจนกฎหมายบทลงโทษของระบบเผด็จการ ที่่ไร้ความชอบธรรม  ซึ่ง ณ ที่นั้นไม่เคยปรากฏแม้แต่ร่องรอย การปกครองผู้คนด้วยกฎหมายอันชอบธรรมแม้แต่น้อย

พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์และเมตตายิ่ง ทรงประทานรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายแห่งมนุษยชาติ ผ่านยังสื่อของพระองค์ คือ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)  ซึ่งเป็นความยิ่งใหญ่ที่สร้างความประหลาดใจแก่มนุษย์ อย่างน่าอัศจรรย์  กฎหมายและระเบียบแบบแผนถูกนำมา เพื่อการรองรับภารกิจทั้งหมดที่มีอยู่  และถูกแถลงประกาศขึ้นก่อนการปฏิสนธิ  จนถึงภายหลังจากการที่มนุษย์จะไม่มีโอกาสได้ยินและรับฟังอะไรอีกเลย  ดังเช่นที่ถูกกำหนดต่อภาระหน้าที่ในมิติแห่งอะมั้ลอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดี)  มิติทางสังคม การปกครองด้วยรัฐธรรมนูญ  ตลอดจนแนวทางที่อยู่ในระบบอย่างถาวรและมั่นคง

สิทธิแห่งอิสลาม เป็นสิ่งที่มีการพัฒนาและสามารถประยุกต์ใช้ให้เท่าทันต่อกาลเวลาและสมัย  ข้อกำหนดของสนธิสัญญาสงคราม สิทธิบัตรแห่งสหประชาชาติโดยรวม และเป็นการเฉพาะ เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประชาชาติทั้งหลาย  เหล่านี้ คือ ส่วนหนึ่งของกฎหมายและระบอบการปกครองแบบ        อิสลาม  และจะไม่มีเรื่องใดที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะเล็ดรอดออกจากข้อกำหนดของอิสลามไปได้

หากมีความมั่นใจว่า ตัวท่านมิได้ยึดติดอยู่ในความคิดหรือความเชื่อใดอย่างไร้สติ  ขอให้ลองสัมผัสโดยเปิดใจให้กว้างขึ้น และพิจารณาถึงความหมายของแนวทางจากวัฒนธรรมแบบอิสลามของเราซิ  เมื่อใดที่ความสว่างไสวแห่งแสงรัศมี ได้เข้าทะลุทะลวงโจมตีม่านตาที่พร่ามัวของท่านได้อย่างสิ้นซาก  เมื่อนั้นท่านจะได้เห็นว่า แท้จริงไม่มีช่องว่างเลยระหว่างผู้นำศาสนากับการเมือง  ยิ่งกว่านั้น ยังถือเสียด้วยซ้ำว่า การต่อสู้ทางการเมือง คือ ภาระหน้าที่อันเป็นข้อบังคับอีกด้านหนึ่งบนแนวทาง  บทบาทชี้นำในเวทีการต่อสู้ทางการเมืองเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้นำ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  ตลอดระยะเวลาการใช้ชีวิตของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)  ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่แห่งอิสลาม และวิถีชีวิตของท่านอิมามอะลี (อ.) ย่อมเพียงพอที่จะยืนยันและบอกเราได้ ถึงความเป็นผู้นำทั้งแนวทางของศาสนาและการเมือง  สาระเหล่านี้มีความชัดเจนอย่างที่สุดในวัฒนธรรมของชีอะฮ์  เราทุกคนต่างเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของผู้นำ ที่มีโดยตรงต่อปัญหาทางสังคม การเมือง ตลอดจนการชี้นำ กำหนด และวางแผน

ความหมายของแนวทางและผู้นำในวัฒนธรรมแบบอิสลาม  ความล้ำลึกอยู่ตรงที่ว่า มันคือความผูกพันของปัจเจกบุคคล และจิตวิญญาณระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า  เหตุนี้เองภายหลังที่แนวทางอิสลามได้ปรากฏขึ้น จึงสร้างความวิตกกังวลแก่ระบอบการปกครองทั้งหลายที่มีอยู่มาโดยตลอด

 

ในขณะเดียวกันอิสลามก็ดำรงอยู่ด้วยระบบและระบอบ อย่างมีขอบเขตต่อสังคม การเมือง และวัฒนธรรม  อีกทั้งข้อกำหนดที่ถูกจำแนกแยกแยะ  เพื่อการดำรงอยู่ของบุคคลและสังคม เป็นหนทางเดียวที่สังคมจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข  แนวทางอิสลามเรียกร้องเชิญชวนอย่างต่อเนื่อง ให้มนุษยชาติทำการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า  การเคารพภักดีมีรูปแบบอย่างไร?  มีปฏิสัมพันธ์ในการร่วมใช้ชีวิตกับบุคคลอื่น    อย่างไร?  ควรมีบุคลิกภาพและระเบียบวินัยเช่นใด ระหว่างความสัมพันธ์กับสังคมอื่น  เนื่องจากในการขับเคลื่อนทุก ๆ การงานของบุคคลและสังคม จะเกิดขึ้นด้วยการตัดสินใจของตนเองไม่ได้  นอกจากสิ่งเหล่านั้นจะต้องเป็นข้อกำหนดหรือการชี้นำจากอิสลามเพียงเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้เองจึงถือได้ว่า ผู้ทรงความรู้ อุละมาอ์ ผู้นำแห่งแนวทาง คือสาระแห่งความหมายของความเป็นผู้นำทางศาสนาอย่างเป็นธรรมชาติ  เพราะอิสลามคือผู้แบกรับหน้าที่การชี้นำสังคม ตราบเท่าที่วิถีแห่งการดำรงชีวิตของมนุษย์ยังคงอยู่

 

ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่าเหตุผลใดในวันนี้ ผู้ทรงความรู้แห่งแนวทางจึงลุกขึ้นต่อต้านอำนาจการปกครองของชาฮ์และรัฐบาลของเขา อย่างพร้อมเพรียงกัน  จากคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่ว่า “การปลดโซ่ตรวนแห่งพันธนาการจากอำนาจกดขี่ของเหล่าทรราช และกษัตริย์ผู้โอหังเป็นข้อผูกมัดและเงื่อนไขโดยตรง จากพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อบรรดาผู้ทรงความรู้”   พวกเขาจักต้องสำแดงวิชาการที่มีอยู่ เพื่อสกัดยับยั้งการผิดทำนองครองธรรมและศีลธรรมที่เกิดขึ้นในศาสนา  ประชาชนผู้ยากไร้ไม่ตกอยู่ในสภาพที่จำต้องพินอบพิเทาต่อกษัตริย์จอมปลอม  โดยถูกริดรอนสิทธิอันพึงมีอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เป็นธรรม  และมันจะกลายเป็นที่มาของการออกห่างจากศาสนาในที่สุด

ขอบเขตและเงื่อนไขของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชาติ ตลอดจนประเทศต่าง ๆ  อีกทั้งสิทธิอันพึงมีพึงได้ระหว่างกันที่อิสลามได้กำหนดไว้  อันถือเป็นการยึดมั่นต่อพันธสัญญาที่มีต่อกัน  และเป็นเรื่องที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องไม่ทำการล่วงละเมิด  รากฐานการปกครองและภารกิจแห่งรัฐ เป็นหน้าที่รับผิดชอบของพระผู้เป็นเจ้า  ซึ่งเมื่อใดผู้หนึ่งถูกกำหนดให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง หรือผู้บริหารกิจการของรัฐ ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติตามเขาอย่างเคร่งครัด (วาญิบ)  ส่วนภารกิจด้านอื่นที่สำคัญในระดับสูงกว่า ก็จะตกเป็นหน้าที่อันจำเป็นของฝ่ายบริหารและผู้ปกครองแห่งรัฐ ที่จะต้องดำเนินการเช่นกัน  “อำนาจการปกครอง” มิใช่เครื่องมือเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งความยิ่งใหญ่เหนือบุคคลอื่น โดยอาศัยตำแหน่งริดรอนสิทธิเสรีภาพของคนในชาติ  ทุกคนย่อมมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน  เมื่อใดที่ประชาชนได้เรียกหาความชอบธรรม หรือความโปร่งใสในการบริหารงานของรัฐ  ผู้บริหารจะต้องมีคำตอบให้อย่างตรงไปตรงมา  และเหนือไปกว่านั้น หากผู้บริหารคนใดได้กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันก่อให้เกิดการละเมิดหน้าที่ต่อผู้อื่น ไม่ชอบธรรมต่อหลักการ  เขาจะต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง  และผู้บริหารคนอื่น ๆ จะเข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหาจนสำเร็จในที่สุด

 

การโฆษณาชวนเชื่อของลัทธิล่าอาณานิคม เพื่อแยกศาสนาออกจากการเมือง
พวกเขาใช้ความพยายามโดยการโฆษณาปลุกปั่น  เพื่อให้เห็นว่าหลักการอิสลามไม่มีความสมบูรณ์ ผลที่เกิดจากความพยายามนี้  ทำให้ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งไม่เห็นคุณค่าโครงสร้างของกฎหมายที่ตนเองมีอยู่  ประชาชนเองก็กลับคล้อยตาม เห็นดีเห็นงาม  ถึงแม้นว่าความจริงภายในจิตสำนึก พวกเขาย่อมรู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่สวนทางกับความเชื่อที่ตัวเองยึดเหนี่ยว  ตลอดจนกระทั่งปล่อยปละละเลยต่อพฤติกรรมอันชั่วร้ายทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น  เมื่อตอนที่พวกเขาต้องการร่างหลักเกณฑ์เบื้องต้นของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ก็ได้มีการไปขอยืมข้อสรุปของกฎหมายฉบับร่าง ว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพ จากสถานทูตเบลเยี่ยม  เพื่อนำมาคัดลอกลงในร่างรัฐธรรมนูญ  ตลอดจนถึงการนำเอากฎหมายบางส่วนจากสถานทูตอังกฤษและฝรั่งเศส เข้ามาเสริมแต่งปรับให้เกิดความสมบูรณ์  แล้วนำเอากฎหมายอิสลามบางส่วนมาระบุให้เห็น เพื่อเป็นการกลบเกลื่อนและตบตาประชาชน  ณ ที่นี้ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องการจะกล่าวถึงรายชื่อบุคคลสองถึงสามท่าน ที่ให้ความร่วมมือร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว

รัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของคนเหล่านี้  ซึ่งแท้ที่จริงก็คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องผูกพันกับระบบการปกครองแบบรัชทายาทนั่นเอง  แล้วไหนล่ะอิสลามที่แท้จริง??

ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่ต่อต้านอิสลามทั้งสิ้น มิใช่หรือ?  และสิ่งที่อิสลามได้ทำการจำแนกแยกแยะจนเป็นที่ประจักษ์ในอิสลามยุคตอนต้น ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน โรมตะวันออก เยเมน และอียิปต์นั้น  อิสลามได้ทำการถอนรากถอนโคนไปแล้วมิใช่หรือ??

ร่อซูลุลลอฮ์ ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่แห่งอิสลาม ในสาส์นอันประเสริฐที่ส่งถึงผู้ปกครองแห่งโรมตะวันออก (ฮะรอเกลยูส)  และกษัตริย์ชาเฮนชาฮ์ แห่งอิหร่าน  ท่านได้เรียกร้องเชิญชวนพวกเขาให้สลัดทิ้งจากระบบการปกครองดังกล่าว  ท่านเรียกร้องให้พวกเขาปลดปล่อยผู้คน ให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสของกษัตริย์จอมปลอม  ให้ผู้คนมีสิทธิเสรีภาพในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงของพวกเขา

ระบบการปกครองของรัชทายาท ดังที่ผู้ปกครองจอมปลอมแห่งเมือชาม (ซีเรีย ปัจจุบัน) ที่ซัยยิดุชชุฮะดา  ฮุเซน (อ.) ได้ลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้จนสู่การเป็นชะฮาดัต  โดยการลุกขึ้นยืนหยัดเรียกร้องเชิญชวนบรรดามุสลิม  ให้ทำการต่อสู้เพื่อหยุดยั้งระบบดังกล่าว  และเพื่อจะได้ไม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองตามระบบรัชทายาท แห่งยะซีด อิบนิ มุอาวียะฮ์  ซึ่งแน่นอน มันอาจจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่ถูกยอมรับไปในที่สุด  และอิสลามก็ย่อมไม่มีระบบการปกครองดังกล่าว

ท่านอิมามโคมัยนี (ร.ฏ.) ผู้ให้กำเนิดสาธารณะรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน  ได้กล่าวว่า…


“เรื่องราวของวิลายะตุ้ลฟะกีฮ์ ไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สภาอุละมาอ์ผู้ชำนาญการ เป็นผู้กำหนดหรือสร้างขึ้นมา  แต่ ‘วิลายะตุ้ลฟะกีฮ์’ คือ สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่งคือผู้สร้างสิ่งนี้ขึ้นมา  เช่นเดียวกับวิลายัตของร่อซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ)  พวกเขาเหล่านั้นตื่นตระหนกจากวิลายัตของร่อซูล (ศ็อลฯ)  ท่านทั้งหลายพึงรู้ไว้เถิดว่า หากอิมามซะมาน (อัจญะลัลลอฮ์ ตะอาลา ฟะเราะญะฮ์) มาปรากฏ ณ เวลานี้  บุคคลเหล่านั้นก็ยังคงปฏิเสธอยู่เช่นเดิม  พวกเขาควรรับรู้ไว้ด้วยว่า ลิ้นและปากกาของพวกเขา ไม่สามารถทำให้ประชาชาติของเราสลัดทิ้ง จากอุดมการณ์ความเชื่อต่อสิ่งสำคัญนี้ไปได้  พวกเขาจะต้องเข้าใจด้วยว่า  ประชาชาติของเราได้ตื่นขึ้นแล้ว และปัญหาต่าง ๆ ที่พวกท่านพยายามนำเสนอ ประชาชาติเข้าใจแล้ว และรู้ทันเป็นอย่างดี  อย่าได้พยายามอีกต่อไปเลย  และควรนำตัวของพวกท่านเอง กลับเข้าสู่ความเป็นปึกแผ่นกับประชาชาติเช่นเดิมเถิด เข้ามาสู่อ้อมกอดของประชาชาติเถิด”

(ถ้อยคำนี้ มาจากหนังสือ เซาะฮีฟะตุ้ลนูร  เล่มที่ 10  หน้า 21)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม