เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 58-59 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


คำอธิบายโองการที่ 58-59 จากบทอัลบะกอเราะฮ์


وَ إِذْ قُلْنَا ادْخُلُوا هَذِهِ الْقَرْيَةَ فَكلُوا مِنْهَا حَيْث شِئْتُمْ رَغَداً وَ ادْخُلُوا الْبَاب سجَّداً وَ قُولُوا حِطةٌ نَّغْفِرْ لَكمْ ‏خَطيَكُمْ وَ سنزِيدُ الْمُحْسِنِينَ 

فَبَدَّلَ الَّذِينَ ظلَمُوا قَوْلاً غَيرَ الَّذِى قِيلَ لَهُمْ فَأَنزَلْنَا عَلى الَّذِينَ ظلَمُوا ‏رِجْزاً مِّنَ السمَاءِ بِمَا كانُوا يَفْسقُونَ‎

 

ความว่า

‎58 .และจงรำลึกถึง เมื่อเรากล่าวว่า สูเจ้าจงเข้าไปในเมืองนี้ (บัยตุลมุก็อดดัซ) แล้วจงบริโภคจากที่นั้นอย่างอุดม ‎ตามแต่สูเจ้าปรารถนา และจงเข้าประตูไปด้วยความนอบน้อม และจงกล่าวว่า อิฏเฏาะฮฺ เราจะอภัยโทษให้สูเจ้า ซึ่งความผิดต่าง ๆ ของสูเจ้า และเราจะเพิ่มพูนแก่บรรดาผู้ประกอบการดี

‎59 .แต่บรรดาผู้อธรรมได้เปลี่ยนคำพูดให้เป็นอื่น จากที่ได้ถูกกล่าวแก่พวกเขา ดังนั้น เราจึงได้ให้การลงโทษจากฟากฟ้า แก่บรรดาผู้อธรรม เนื่องจากพวกเขาฝ่าฝืน

คำอธิบาย การล้อเลียนอย่างรุนแรงของวงศ์วานอิสรออีล

โองการนี้ต้องการกล่าวอีกแง่มุมหนึ่งของวิถีชีวิตวงศ์วานอิสรออีล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเข้าไปในแผ่นดินบริสุทธิ์ ‎‎(ปาเลสไตน์)‎

คำว่า กอรยะฮฺ แม้ว่าในปัจจุบันจะหมายถึง หมู่บ้าน แต่ในกรุอานและปทานุกรมอาหรับหมายถึง ทุกสถานที่ ๆ ‎ประชาชนรวมกันอยู่ บางครั้งบางครั้งหมายถึงเมืองใหญ่ หรือหมู่บ้าน แต่ในที่นี้หมายถึง บัยตุลมุก็อดดัซ หรือ ‎แผ่นดินบริสุทธิ์

คำว่า ฮิฏเฏาะฮ์ ในเชิงภาษาหมายถึง การก้มต่ำลง หรือการนำลงมาด้านล่าง แต่ในที่นี้หมายถึง พระเจ้าทรงขอให้สูเจ้าลดบาปลง

พระผู้เป็นเจ้าทรงสั่งพวกเขาว่า เพื่อลดบาปของพวกเจ้าให้ลดน้อยลง ดังนั้น พวกเจ้าจงกล่าวประโยคต่อไปนี้ออกจากใจ และทรงสัญญากับพวกเขาว่า ถ้าหากพวกเจ้าปฏิบัติเช่นนี้จริง ฉันจะลดความผิดของเจ้า และเพื่อความเหมาะสมพระองค์จึงเลือกประตูด้านหนึ่งของบัยตุลมุก็อดดัซ นามว่า บาบุลฮิฏเฏาะฮ์ เพื่อปวงบ่าวที่สะอาดบริสุทธิ์ ‎และนอกจากนั้นแล้วทรงอภัยบาปความผิดต่าง ๆ และเพิ่มพูนผลรางวัลแก่พวกประกอบคุณงามความดี

โองการถัดมา กล่าวถึงความอคติและการชอบล้อเลียนของพวกบนีอิสรออีล ซึ่งกลุ่มหนึ่งจากพวกเขาห้ามแม้แต่การกล่าวประโยคที่พระเจ้าตรัสกับพวกเขา และแทนที่ประโยคดังกล่าวด้วยคำพูดทีเย้ยหยัน

รอฆิบ อิศฟาฮานี กล่าวว่า คำว่า ริจซุน ตามหลักภาษาหมายถึง สิ่งเกินความจำเป็น หันเห และความไม่มีระเบียบ ‎เฏาะบัรซียฺ นักอรรถาธิบายอัล-กุรที่มีชื่อเสียง กล่าวไวในมัจญ์มะอุลบะยานว่า ริจซุน หมายถึง การลงโทษประเภทหนึ่ง ซึ่งได้ลงโทษประชาชาติก่อนหน้านั้น

จากจุดนี้ ทำให้ประจักษ์ว่า เพราะเหตุใดบางรายงานที่นำมาอธิบายโองการดังกล่าว จึงให้ความหมายคำว่า ริจซุน ว่าหมายถึงโรคติดต่อร้ายแรง สิ่งที่ชั่วร้าย หรือสิ่งที่เป็นภัย ซึ่งได้แพร่ขยายในหมู่บนีอิสรออีลอย่างรวดเร็ว และไม่นานนักได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากมาย

ผลข้างเคียงร้ายแรงของโรคติดต่อคือ การแพร่ขยายเชื้อโรคในหมู่ผู้คน ทำให้สังคมขาดระเบียบและวินัยในด้านความสัมพันธ์ การให้ความหมายเช่นนี้ มีความสอดคล้องกับความหมายตามรากศัพท์อย่างยิ่ง ขณะที่โองการข้างต้นแทนที่คำว่า ฟะอันซัลนา อะลัยอิม ด้วยประโยคว่า ฟะอันซัลนา อะลัลละซีนะ เซาะละมู ริจซัน เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ว่า การลงโทษของพระเจ้าบังเกิดขึ้นเฉพาะกับพวกบนีอิสรออีลเท่านั้น ตราบที่พวกเขายังกดขี่อยู่

จากคำอธิบายประโยคข้างต้นบ่งชี้ให้เห็นว่าพวกเขา กระทำสิ่งชั่วร้ายซ้ำหลายครั้ง และยังคงดำเนินต่อไป ทำให้รู้ว่าเมื่อบาปกลายเป็นความเคยชินของสังคม แน่นอนว่าพระเจ้าต้องลงโทษผู้คนในสังคมอย่างแน่นอน

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม