เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 60 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


คำอธิบายโองการที่ 60 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

وَ إِذِ استَسقَى مُوسى لِقَوْمِهِ فَقُلْنَا اضرِب بِّعَصاك الْحَجَرَ فَانفَجَرَت مِنْهُ اثْنَتَا عَشرَةَ عَيْناً قَدْ عَلِمَ كلُّ ‏أُنَاس مَّشرَبَهُمْ كلُوا وَ اشرَبُوا مِن رِّزْقِ اللَّهِ وَ لا تَعْثَوْا فى الأَرْضِ مُفْسِدِينَ‎

 

ความหมาย

‎60. และจงรำลึกถึง เมื่อมูซาขอน้ำดื่มให้แก่ประชาชาติพวกเขา แล้วเราได้สั่งว่า เจ้าจงใช้ไม่เท้าของเจ้าฟาดลงบนหินก้อนนั้น แล้วตาน้ำสิบสองตาก็พวยพุ่งขึ้นจากก้อนหินแน่นอนกลุ่มชนแต่ละกลุ่มย่อมรู้แหล่งน้ำดื่มของตน จงกินและจงดื่มจากเครื่องยังชีพของอัลลอฮ์ และจงอย่าเกเรตามแผ่นดิน ในฐานะผู้บ่อนทำลาย

คำอธิบาย การไหลพุ่งของตาน้ำกลางทะเลทราย

โองการต่อไปนี้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงกล่าวถึงความโปรดปรานอีกประการหนึ่งของพวกบนีอิสรออีล ทว่าพวกบนีอิสรออีลก็ยังคงเหมือนเดิมอกตัญญู และไม่รู้จักคุณค่าของความโปรดปราน

หินพิเศษก้อนดังกล่าว เป็นหินอะไร นักอรรถาธิบายบางท่านกล่าวว่า เป็นโขดหินธรรมดาอยู่ทางด้านหนึ่งของภูเขาทางทิศตะวันออกของทะเลทราย อัลกุรอาน บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ 160 กล่าว โดยใช้คำว่า อันยะซัต ‎แสดงให้เห็นว่า ตอนแรกน้ำพวกพุ่งที่ละน้อยออกจากก้อนหิน หลังจากนั้นได้กลายเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เผ่าต่าง ‎ๆ ของบนีอิสรออีล กับสัตว์พาหนะได้ดื่มน้ำจากแหล่งน้ำจนอิ่มสำราญ และสิ่งนี้ถือว่าเป็นอภินิหารอย่างหนึ่งของท่านศาสดา

อย่างไรก็ตามจะเห็นว่า ด้านหนึ่งพระเจ้าทรงประทานน้ำตาลและนกคุ่มเป็นอาหาร ส่วนอีกด้านหนึ่งทรงประทานน้ำดื่มที่พอเพียงแก่ประชาชนของมูซา (อ.)และในบั้นปลายพระองค์ประณามว่า ฉันประทานความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่แก่พวกเจ้า อย่างน้อยที่สุดพวกเจ้าควรขอบคุณฉัน แต่นี่พวกเจ้ากลับเนรคุณ ช่างอกตัญญูสิ้นดี มิหน้ำซ้ำยังเย้ยหยัน และกลั่นแกล้งศาสดาของฉัน

ประเด็นสำคัญ

ความแตกต่างระหว่างคำว่า ตะอ์เษา กับมุฟซิดีนคืออะไร

คำว่า ลาตะอ์เษา (‎لاتعثوا‎) มาจากรากศัพท์ของคำว่า อะษิยะ (‎عثي‎) หมายถึง การก่อความเสียหายอย่างหนัก ‎เพียงแต่คำนี้ส่วนมากจะใช้เกี่ยวกับ ความเสียหายด้านศีลธรรมเป็นหลัก ดังนั้น ประโยคที่กล่าวว่า ลาตะอ์เษา ‎หมายถึง การก่อความเสียหาย เช่นกันแต่เป็นการเน้นเพื่อให้รู้ว่า เสียหายอย่างรุนแรง

ความเคยชินกับความมหัศจรรย์ของบนีอิสรออีล

บางคนที่ไม่มีความคุ้นเคยกับตรรกของความอัศจรรย์ เช่น ตาน้ำที่พวยพุ่งจากโขดหิน หรือตาน้ำที่ไหลออกมา 12 ตา ‎จะไม่เชื่อว่าเป็นความมหัศจรรย์ ขณะที่อิสลามถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความมหัศจรรย์ส่วนหนึ่งของบรรดาศาสดา ‎เนื่องในทฤษฎีของเหตุและผลนั้น จะเห็นวาการกระทำที่เป็นไปไม่ได้ หรือได้รับการยกเว้นจะไม่เกิดขึ้นเด็ดขาด ‎เว้นเสียแต่ว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งพ้นญาณวิสัย หมายถึงขัดกับเหตุและผลที่มนุษย์ยึดถืออยู่

เป็นที่แน่ชัดว่าทฤษฎีแห่งเหตุและผล เป็นเรื่องธรรมสำหรับพระเจ้า พระผู้ทรงสร้างท้องฟ้า แผ่นดิน และสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนี้ ซึ่งไม่มีอุปสรรคแต่อย่างใด แม้ว่าวันแรกพระองค์จะสร้างเหตุและผลให้อยู่ในแนวตั้งก็ตาม มนุษย์ต่างหากที่ยึดถือสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น การเกิดของสิ่งที่พ้นญาณวิสัย มนุษย์จึงถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเคยชิน และเป็นไปไม่ได้

ความแตกต่างระหว่างคำว่า อินฟะญะรอต (‎انفجرت‎) กับคำว่า (‎انبَجَسَتْ‎)‎

โองการที่กำลังกล่าวถึง เมื่อกล่าวว่าตาน้ำพวยพุ่งออกมา จะใช้คำว่า (‎انفجرت‎) ขณะที่โองการที่ 160 บทอัลอะอ์รอฟ ‎จะใช้คำว่า (‎انبَجَسَتْ‎) แทนที่คำ ๆ นี้ ซึ่งคำแรกหมายถึง น้ำไหลแรง ส่วนคำที่สองหมายถึง น้ำไหลอ่อน หรือค่อย ๆ ‎ไหลที่ละน้อยอย่างอ่อนนุ่ม

อาจเป็นไปได้ว่า โองการที่สองต้องการบ่งชี้ถึงการไหลของน้ำในตอนแรก เป็นการไหลเบา ๆ เนื่องจากไม่ต้องการให้พวกบนีอิสรออีลตกใจ จะได้สามารถใช้น้ำได้อย่างสบาย ขณะที่ อินฟะญะรอต นั้นเป็นการไหลในขั้นสุดท้าย ‎และไหลแรง

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม