วันอะรอฟะฮ์ วันที่มีคุณค่าทัดเทียมกับลัยละตุลก็อดร์ (ค่ำคืนแห่งอานุภาพ)
วันอะรอฟะฮ์ วันที่มีคุณค่าทัดเทียมกับลัยละตุลก็อดร์ (ค่ำคืนแห่งอานุภาพ)
ความหวังในการได้รับการอภัยโทษในความผิดบาปและการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของผู้คนทำให้วันอะรอฟะฮ์มีคุณค่าเทียบเท่ากับลัยละตุลก็อดร์ (ค่ำคืนแห่งอาณุภาพ) ค่ำคืนซึ่งลิขิต (มุก็อดดะรอต) ต่าง ๆ ในรอบหนึ่งปีของมนุษย์ทั้งหลายจะถูกกำหนดโดยพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำชับแนะนำไว้อย่างมากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติอะมั้ลต่างๆ ในคืนและวันอะรอฟะฮ์
ในคำสอนทางศาสนา วันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ถูกเรียกว่า “วันอะรอฟะฮ์” และตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) ของชีอะฮ์ ผู้แสวงบุญผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่ในอะรอฟาตตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงพระอาทิตย์ตก ในความเป็นจริงวันนี้คือจุดเริ่มต้นของพิธีฮัจญ์ และบรรดาผู้แสวงบุญที่ประกอบพิธีฮัจญ์จะขอบพระคุณ (ชุกร์) ต่อพระผู้เป็นเจ้าสำหรับการประทานความสำเร็จ (เตาฟีก) ในการปฏิบัติหน้าที่ (ฟัรฎู) สำคัญของฮัจญ์ พร้อมกับการวิงวอน (ดุอาอ์) และการขออภัยโทษ
นอกจากนี้ วันนี้ยังถือเป็นหนึ่งในวันที่มีความประเสริฐมากที่สุดของปี และในแหล่งอ้างอิงทางริวายะฮ์ (คำรายงาน) ก็ได้กล่าวถึงการกระทำ (อะมั้ล) ต่างๆ มากมาย โดยที่การกระทำ (อะมั้ล) ที่มีความประเสริฐมากที่สุดคือการไปเยี่ยม (ซิยารัต) ท่านอิมามฮุเซน (อ.) การวิงวอน (ดุอาอ์) และขออภัยโทษ ตัวออย่างเช่น ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทหนึ่ง ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า :
تَخَیَّرْ لِنَفْسِکَ مِنَ الدُّعاءِ ما اَحْبَبْتَ وَ اجْتَهِدْ فَاِنَّهُ (یَوْمَ عَرَفَةَ) یَوْمُ دُعاءٍ وَ مَسْأَلَةٍ
"จงเลือก (ดุอาอ์) คำวิงวอนที่ท่านปรารถนา และจงอุตสาห์พยายาม เพราะวันนี้ (วันอะรอฟะฮ์) เป็นวันแห่งการวิงวอนและการขอ" (1)
ความหวังในการได้รับการอภัยโทษความผิดบาปและการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของผู้คนทำให้วันอะรอฟะฮ์มีคุณค่าเทียบเท่ากับลัยละตุลก็อดร์ (ค่ำคืนแห่งอาณุภาพ) ค่ำคืนซึ่งลิขิต (มุก็อดดะรอต) ต่างๆ ในรอบหนึ่งปีของมนุษย์ทั้งหลายจะถูกกำหนดโดยพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำชับแนะนำไว้อย่างมากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติอะมั้ลต่างๆ ในคืนและวันอะรอฟะฮ์ มีรายงานว่า :
سَمِعَ عَلِیُّ بْنُ الْحُسَیْنِ ع یَوْمَ عَرَفَةَ سَائِلًا یَسْأَلُ النَّاسَ فَقَالَ لَهُ وَیْحَکَ أَ غَیْرَ اللَّهِ تَسْأَلُ فِی هَذَا الْیَوْمِ إِنَّهُ لَیُرْجَى لِمَا فِی بُطُونِ الْحَبَالَى فِی هَذَا الْیَوْمِ أَنْ یَکُونَ سَعِیداً
"ในวันอะรอฟะฮ์ ท่านอิมามซัจญาด (อ.) ได้ยินชายขอทานคนหนึ่งกำลังขอแบ่งปันปัจจัยจำเป็นต่างๆ ของตนจากผู้คน ท่านกล่าวกับเขาว่า : ความวิบัติจงประสบกับเจ้า! ในวันนี้เจ้ายังจะวอนขอจากผู้อื่นจากอัลลอฮ์อีกหรือ? เพราะแท้จริงในวันนี้แม้แต่สำหรับทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดาก็ถูกคาดหวังว่าจะได้รับความผาสุกไพบูลย์" (วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 13, หน้า 555)
ริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสำคัญอันแปลกประหลาดของอะรอฟะฮ์ เนื่องเป็นไปได้ว่าความโชคร้าย (ชะกอวะฮ์) ที่ได้ถูกการบันทึกไว้ในความรู้แห่งพระเจ้าเกี่ยวกับชะตากรรมของแต่ละบุคคล แต่ด้วยความจำเริญ (บะรอกัต) ของอะรอฟะฮ์ ชะตากรรมสามารถจะถูกเปลี่ยนแปลงได้และทำให้เขาไปถึงความผาสุก (ซะอาดะฮ์) ชั่วนิรันดร์ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าอะรอฟะฮ์เป็นวันแห่งการกำหนดชะตาและการเปลี่ยนแปลงชะตา
ดังที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวไว้ในริวายะฮ์บทหนึ่งว่า :
مَن لَم یُغفَرْ لَهُ فی شهرِ رمضانَ لَم یُغفَرْ لَهُ إلى مِثلِهِ مِن قابِلٍ إلاّ أن یَشهَدَ عَرَفَةَ
“ผู้ที่ไม่ได้รับการอภัยโทษในเดือนรอมฎอน เขาจะไม่ได้รับการอภัยโทษจนกว่าจะถึงเดือนรอมฎอนหน้า เว้นแต่เขาจะอยู่ในอะรอฟะฮ์” (อัลกาฟี, เล่ม 7, หน้า 380)
แหล่งที่มา :
1. อัตตะห์ซีบ อัลอะห์กาม, เล่ม 5, หน้า 182
2. วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 13, หน้า 555
3. อัลกาฟี, เล่ม 7, หน้า 380
บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ