เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 144 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 

คำอธิบายโองการที่ 144  จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

قَدْ نَرَى تَقَلُّب وَجْهِك فى السمَاءِ فَلَنُوَلِّيَنَّك قِبْلَةً تَرْضاهَا فَوَلِّ وَجْهَك شطرَ الْمَسجِدِ الْحَرَامِ وَ حَيْث مَا كُنتُمْ فَوَلُّوا وُجُوهَكُمْ شطرَهُ وَ إِنَّ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَب لَيَعْلَمُونَ أَنَّهُ الْحَقُّ مِن رَّبِّهِمْ وَ مَا اللَّهُ بِغَفِل عَمَّا يَعْمَلُونَ (144)

ความหมาย

144. แท้จริงเราเห็น เจ้ามองด้วยการคาดหวังไปยังฟากฟ้าบ่อยครั้ง (เพื่อกำหนดกิบละฮฺ) แน่นอนเราจะให้เจ้าหันกลับไปยังทิศที่เจ้าพอใจ ดังนั้น เจ้าจงหันหน้าของเจ้าไปทางมัสญิด อัลฮะรอม และสูเจ้าอยู่หนใดก็ตามจงหันหน้าของสูเจ้าไปยังทิศนั้น และแท้จริงบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ย่อมรู้ดีว่า บัญชานี้เป็นความจริงจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา และอัลลอฮฺ มิทรงเฉยเมยในสิ่งที่พวกเขากระทำ

คำอธิบาย อยู่หนใดก็ตามจงหันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺ

โองการนี้ได้มีบัญชาให้เปลี่ยนกิบละฮฺ ดังที่ทราบกันดีว่าการเปลี่ยนกิบละฮฺ ตามรายงานกล่าวว่า เปลี่ยนขณะที่ท่านศาสดากำลังนมาซซุฮฺริพอดี ในช่วงเวลากระชั้นชิดนั้นเอง ญิบรออีลลงมาและจับท่านศาสดาหันออกจากบัยตุลมุก็อดดิซ ไปยังกะอฺบะฮฺทันที และบรรดามุสลิมเปลี่ยนทิศตามท่านศาสดา บางรายงานกล่าวว่า ผู้หญิงและผู้ชายต่างแลกที่กันยืน (ต้องเข้าใจด้วยว่าบัยตุลมุก็อดดิซอยู่ทางทิศเหนือ ส่วนกะอฺบะฮฺอยู่ทางทิศใต้)

การเปลี่ยนทิศนมาซเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ที่บ่งบอกการเป็นศาสดาพยากรณ์ของอิสลาม ดังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ก่อนหน้านี้ ซึ่งพวกเขาอ่านกันเป็นประจำว่า เขานมาซโดยหันไปยังสองกิบละฮฺ

ด้วยเหตุนี้ อัล-กุรอานจึงเสริมว่า และแท้จริงบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ย่อมรู้ดีว่า บัญชานี้เป็นความจริงจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา

ตอนท้ายของโองการกล่าวว่า และอัลลอฮฺ มิทรงเฉยเมยในสิ่งที่พวกเขากระทำ หมายถึงพวกเขาแทนที่จะยอมรับว่าการเปลียนกิบละฮฺเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่บ่งบอกการเป็นศาสดา ดังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของพวกเขา แต่พวกเขากับปิดบังความจริง และเสแสร้งเบี่ยงเบนเป็นอย่างอื่น ซึ่งอัลลอฮฺทรงรู้ดีต่อการกระทำของพวกเขา และไม่ทรงเฉยเมย

ประเด็สำคัญ

ความหมายของคำว่า ชัฏรอน (شطرَ)

ประเด็นที่ต้องพิจารณา ณ ที่นี้กล่าวคือ โองการข้างต้นได้ใช้คำว่า ชัฏรอลมัสญิดิลฮะรอม แทนที่คำว่า กะอฺบะฮฺ เนื่องจากต้องการกล่าวว่า จุดที่อยู่ห่างไกลจากกะอฺบะฮฺ ถ้าต้องการนมาซ และหันหน้าให้ตรงกับกะอฺบะฮฺพอดี เป็นสิ่งที่ยากลำบากและเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงแทนที่คำว่า กะอฺบะฮฺมัสญิดอัลฮะรอม ซึ่งเป็นสถานที่กว้างใหญ่ ด้วยคำว่า ชัฏร์ ซึ่งหมายถึง ด้าน หรือทิศทาง เพื่อว่าผู้นมาซทุกคนไม่ว่าอยู่หนใดก็ตาม จะได้สะดวกต่อการปฏิบัติตามพระบัญชาดังกล่าว

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม