เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 154 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 

คำอธิบายโองการที่ 154 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

يَأَيُّهَا الَّذِينَ ءَامَنُوا استَعِينُوا بِالصبرِ وَ الصلَوةِ إِنَّ اللَّهَ مَعَ الصبرِينَ (153) وَ لا تَقُولُوا لِمَن يُقْتَلُ فى سبِيلِ اللَّهِ أَمْوَت بَلْ أَحْيَاءٌ وَ لَكِن لا تَشعُرُونَ (154)

 

ความหมาย

153. บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงขอการช่วยเหลือด้วยขันติธรรม และการนมาซ (เมื่อเผชิญกับความยากลำบาก) แท้จริง อัลลอฮฺ ทรงอยู่กับผู้อดทน

154. และจงอย่ากล่าวแก่ผู้ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮฺว่าตาย ทว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ แต่ว่าสูเจ้าไม่ตระหนัก

คำอธิบาย

โองการที่ผ่านมากล่าวถึงการเรียน การสอน การรำลึก และการขอบคุณ ส่วนโองการต่อไปนี้อธิบายถึง ความอดทนและการยืนหยัด ซึ่งถ้าปราศจากสิ่งนี้สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจะไม่บังเกิดผลอย่างเด็ดขาด ในทางตรงกันข้ามสิ่งที่บางคนคิดว่า ความอดทน นั้นมิได้หมายถึง การอดทนต่อความยากลำบาก ความต่ำต้อย หรือการยอมจำนนต่อปัจจัยที่สร้างความพ่ายแพ้ ทว่าความดอดทน หมายถึง การยืนหยัดเมื่อเผชิญต่อทุกปัญหาและทุกเหตุการณ์ ด้วยเหตุนี้ อัล-กุรอาน กล่าวเน้นถึงประเด็นดังกล่าวมากที่สุด เช่น บทอัซซุมัร โองการที่ 10 กล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้อดทน จะได้รับการตอบแทนรางวัลของพวกเขาอย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องคำนวณ

อีกประเด็นหนึ่งมีความสำคัญ ซึ่งโองการข้างต้นกล่าวไว้เคียงข้างกับความอดทนนั่นคือ นมาซ ด้วยเหตุนี้ รายงานจำนวนมากมายกล่าวว่า คราวใดที่อะลีต้องเผชิญกับปัญหาอย่างรุนแรง ท่านจะนมาซ หลังจากนั้นจึงค่อยไปแก้ไขปัญหา และอ่านโองการนี้ จงขอการช่วยเหลือด้วยขันติธรรม และการนมาซ

ดังนั้นจะเห็นว่าโองการข้างต้นอธิบายถึงความจริงอันเป็นแก่นสำคัญไว้ 2 ประการกล่าวคือ การขอความช่วยเหลือและการอิงอาศัยเฉพาะอัลลอฮฺ (ซบ.) เท่านั้น เนื่องจากพระองค์คือแหล่งแห่งการช่วยเหลือ อีกประการหนึ่งคือ การรำลึกถึงและการมีความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งถูกกล่าวในฐานะของ ความอดทน

สาเหตุของการประทาน โองการที่ 154 นักอรรถาธิบายบางท่านรายงานมาจาก อิบนิอับบาซว่า โองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมาแก่บรรดาผู้ที่ถูกสังหารในสงครามบัรดฺ พวกเขามีทั้งสิ้น 14 คน 6 คนเป็นพวกอพยพ (มุอาญิรอน) ส่วนที่เหลืออีก 8 คนเป็นพวกอันซอร หลังจากสงครามเสร็จสิ้นมีการโจษขานกันว่า คนนั้นตายคนนี้ไม่ตาย โองการข้างต้นจึงถูกประทานลงมา

คำอธิบาย บรรดาชะฮีดคือผู้มีชีวิต

โองการกล่าวถึงการมีชีวิตอัมตะของ บรรดาผู้ที่เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องศาสนา และประเทศชาติอิสลามว่าชะฮีด ซึ่งพวกเขามีความอดทนอดกลั้น และยืนหยัดต่อสู้

ปกติแล้วทุกขบวนการปฏิวัติจะละทิ้งความหวาดกลัว และความสะดวกสบายไว้เบื้องหลัง แม้ว่าพวกเขาจะไม่ใช่ผู้ปฏิบัติการแต่จะแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องที่เป็นผู้ปฏิบัติ

ในยุคแรกของอิสลามบรรดาประชาชนได้เรียกมุสลิมที่ถูกสังหารในสงคราม และชะฮีดอย่างสมเกียรติว่า คนนั้นตายแล้ว แสดงความโศกเศร้าเนื่องจากความตายของเขา ทำให้คนอื่นต้องวิตกกังวลและเป็นทุกข์ไปตามกัน

พระเจ้าทรงตอบบรรดาพวกปากยาวชอบพูดจากระแหนะกระแหนว่า พวกเจ้าไม่มีสิทธิ์กล่าวว่า ผู้ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮฺว่าตาย ทว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ ณ พระผู้อภิบาลของเขา และได้รับเครื่องยังชีพอย่างสมเกียรติ แต่ว่าสูเจ้าไม่ตระหนัก พวกเจ้าถูกขังอยู่ในโลกของวัตถุ เป็นเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมบนโลกนี้ เจ้าจึงไม่เข้าใจและไม่อาจรับรู้ได้ว่าพวกเขาเป็นอย่างไร

ประเด็นสำคัญ

ชีวิตอมตะของบรรดาชะฮีดเป็นอย่างไร

ชีวิตของบรรดาชะฮีด เป็นชีวิตบัรซัตและรูฮีประเภทหนึ่ง หมายถึงชีวิตที่มีจิตวิญญาณเป็นอมตะ เนื่องจากเรือนร่างของเขาได้ผุสลาย อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ชีวิตบัรซัคคีอยู่ร่วมกับเรือนร่าง แต่เป็นเรื่องร่างที่ปราศจากวัตถุ ส่วนคำอธิบายและรายละเอียดทั้งหมดจะกล่าวตอนอธิบายโองการที่ 100 บทมุอฺมินูน และเบื้องหน้าของพวกเขานั้นมีโลกบัรซัค จนกระทั่งถึงวันที่พวกเขาจะถูกฟื้นคืนชีพขึ้นมา

ส่วนรายละเอียดของ สภาพชีวิตที่เป็นอมตะของชะฮีด รางวัลอันยิ่งใหญ่ และตำแหน่งของการสละชีวิตในทางของพระเจ้าจะอธิบายใน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 169

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม