เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 168-169 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 

คำอธิบายโองการที่ 168-169 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

َأَيُّهَا النَّاس كلُوا مِمَّا فى الأَرْضِ حَلَلاً طيِّباً وَ لا تَتَّبِعُوا خُطوَتِ الشيْطنِ إِنَّهُ لَكُمْ عَدُوُّ مُّبِينٌ (168) إِنَّمَا يَأْمُرُكُم بِالسوءِ وَ الْفَحْشاءِ وَ أَن تَقُولُوا عَلى اللَّهِ مَا لا تَعْلَمُونَ (169)

 

ความหมาย

168. มนุษย์เอ๋ย จงบริโภคสิ่งอนุมัติ ที่ดี ที่มีอยู่ ณ แผ่นดิน และจงอย่าเจริญรอยตามเท้าของมาร แท้จริงมันเป็นศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า

169. ที่จริงมันเพียงแต่กำชับให้สูเจ้าประกอบการชั่ว และการลามกเท่านั้น และ (จะสั่ง) ให้สูเจ้ากล่าวสิ่งที่ไม่รู้แก่อัลลอฮฺ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากความบริสุทธิ์ และการหลีกเลี่ยงสิ่งโสโครก

สาเหตุของการประทานโองการ

อิบนิอับบาซ กล่าวว่า มีอาหรับบางเผ่า เช่น เผ่าตะอฺกีฟ และเคาะซาอะฮฺ และเผ่าอื่นอีกสั่งห้ามไม่ให้รับประทานพืชผลทางการเกษตร และสัตว์บางประเภท การสั่งห้ามของเขาบางคนพาดพิงว่าเป็นคำสั่งของพระเจ้า โองการข้างต้นจึงประทานลงมาเพื่อห้ามปรามพวกเขาให้ยุติการกระทำดังกล่าว

คำอธิบาย แนวทางของซาตานมารร้าย

โองการก่อนหน้านี้ กล่าวประณามการตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า และการเคารพสักการะสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ และหนึ่งในการตั้งภาคีเทียบเทียมคือ การที่มนุษย์วางกฎเกณฑ์ที่ไม่ได้มาจากอัลลอฮฺ ซึ่งโองการข้างต้นกล่าวว่า การกระทำลักษณะนี้เป็นการกระทำของซาตานมารร้าย

ประโยคที่กล่าวว่า จงอย่าเจริญรอยตามแนวทางของมาร มีกล่าวในไว้ในอัล-กุรอาน ประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งสองในห้าครั้งได้แก่ การบริโภคอาหารและเครื่องยังชีพของพระเจ้า ในความเป็นจริงแล้วพระองค์ต้องการเตือนมนุษย์ เครื่องยังชีพที่อนุมัติแก่สูเจ้า จงอย่านำไปใช้ในหนทางที่ไม่ถูกต้อง และจงใช้เป็นสื่อในการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า มิใช่แสดงความอวดดี จองหอง หรือการฝ่าฝืน

ประโยคที่กล่าวว่า แท้จริงซาตานมารร้ายเป็นศัตรูที่ชัดแจ้ง ถูกกล่าวไว้เกินกว่า 10 ครั้งในอัล-กุรอาน เพื่อต้องการเชิญชวนมนุษย์ให้ต่อสู้กับบรรดาศัตรูที่ยิ่งใหญ่และเปิดเผย ด้วยกำลังทั้งหมดที่มีอยู่

โองการต่อมากล่าวถึงเหตุผลที่ชัดเจนของศัตรูตัวฉกาจซาตานมารร้ายว่า เป้าหมายที่แท้จริงของมันคือ การทำให้มนุษย์ตกต่ำมากที่สุด และยิ่งตกต่ำกว่าตนได้ยิ่งเป็นการดี

คำว่า ฟะฮฺชา หมายถึงการกระทำทุกอย่างที่ออกนอกกรอบของความพอดี จนกลายเป็นความเสียหาย ด้วยเหตุนี้คำ ๆ นี้ จึงครอบคลุมไปถึงการปฏิเสธทั้งหมด และการกระทำผิดที่เปิดเผย แต่ปัจจุบันคำ ๆ นี้ถูกใช้ในความหมายของ การกระทำที่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ หรือถูกใช้ในความหมายของความผิดที่ถึงขั้นศาสนบัญญัติกำหนดไว้

ประโยคที่กล่าวว่า และ (จะสั่ง) ให้สูเจ้ากล่าวสิ่งที่ไม่รู้แก่อัลลอฮฺ บ่งชี้ถึงการห้ามบริโภคอาหารที่อนุมัติ ซึ่งอาหรับในอดีตได้สั่งห้าม โดยกล่าวว่าเป็นคำสั่งห้ามของพระเจ้า หรืออาจบ่งชี้ถึงการกระทำหรืออย่างน้อยคำพูดที่ปราศจากความรู้โดยพาดพิงไปถึงพระเจ้า ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับสติปัญญา และเหตุผลทั้งปวง

ประเด็นสำคัญ

ที่มาของการอนุมัติ

โองการข้างต้นเป็นเหตุผลที่บ่งชี้ว่า มูลฐานเดิมของอาหารทุกประเภทบนแผ่นดินเป็นสิ่งอนุมัติ ส่วนอาหารที่ต้องห้ามถือว่าได้รับการยกเว้นกรณีพิเศษ ด้วยเหตุนี้ ตามหลักการอิสลามแล้วการกล่าวห้ามบางอย่างต้องการเหตุผลยืนยัน ส่วนสิ่งที่อนุมัติไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล และทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างมาล้วนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ สำหรับการใช้สอยของมนุษย์ ดังนั้น จึงไม่มีความหมายอันใดถ้ามูลฐานเดิมของอาหารเป็นสิ่งต้องห้าม สรุป อาหารทุกประเภทที่ห้ามถ้าไม่มีเหตุผลที่ถูกต้องยืนยัน ตราบที่ไม่เป็นอันตราย หรือให้โทษแก่มนุษย์และสังคม ตามนัยของโองการถือว่าอนุมัติ

การหลงทางที่ละน้อย

ประโยคที่กล่าวว่า แนวทางของซาตานมารร้าย ต้องการเตือนว่าการหลงทาง และการทำบาป โดยปกติจะค่อย ๆ ซึมซับไปในตัวที่ละน้อยขั้นแรกเพียงแค่มองดู และกล่าวว่าเป็นเรื่องง่าย

ขั้นที่สอง ร่วมเสวนาพักผ่อน หรือใช้สิ่งเสพติดเป็นเครื่องทดลอง โดยอ้างว่าเป็นการคายเครียด

ขั้นที่สาม ลองเสพเองโดยปลอบใจว่าไม่ติดหรอก และในระยะเวลาสั้น ๆ ก็เลิกได้ การกระซิบกระซาบของซาตานมารร้ายก็เป็นเช่นนี้ จะค่อยแนะนำมนุษย์ให้หันกลับให้กับอิสลามและคำสอน ศาสนาอิสลามสอนให้รู้จักการกระทำที่เลยเถิดและปราศจากเหตุผลว่า เป็นแนวทางของซาตานมารร้าย เช่น รายงายฮะดีซกกล่าวถึงชายคนหนึ่งที่ สาบานว่า ขอสาบานว่าฉันว่าจะเชือดลูกพลีในหนทางของพระเจ้า อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า สิ่งนี้เป็นแนวทางของซาตานมารร้าย

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม