เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 172-173 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 

คำอธิบายโองการที่ 172-173 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

 

يَأَيُّهَا الَّذِينَ ءَامَنُوا كلُوا مِن طيِّبَتِ مَا رَزَقْنَكُمْ وَ اشكُرُوا للَّهِ إِن كنتُمْ إِيَّاهُ تَعْبُدُونَ (172) إِنَّمَا حَرَّمَ عَلَيْكمُ الْمَيْتَةَ وَ الدَّمَ وَ لَحْمَ الْخِنزِيرِ وَ مَا أُهِلَّ بِهِ لِغَيرِ اللَّهِ فَمَنِ اضطرَّ غَيرَ بَاغ وَ لا عَاد فَلا إِثْمَ عَلَيْهِ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ (173)

 

ความหมาย

172. โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงบริโภคสิ่งที่ดีทั้งหลาย ที่เราได้ประทานเป็นเครื่องยังชีพแก่สูเจ้า และจงขอบคุณต่ออัลลอฮฺ ถ้าหากสูเจ้าเป็นผู้เคารพภักดีพระองค์

173. พระองค์ทรงห้ามสูเจ้า เฉพาะ (เนื้อ) ซากสัตว์ เลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเชือดโดยเอ่ยนามอื่นจากอัลลอฮฺ แต่ผู้ที่มีความจำเป็น โดยที่มิได้ขัดขืน และมิได้ละเมิด ดังนั้น ไม่มีบาปแก่เขา แท้จริงอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ

 

การจำแนกอาหารที่สะอาดออกจากอาหารสกปรก

คำอธิบาย สิ่งดีและสิ่งไม่ดี

อัล-กุรอาน กล่าวถึงรากที่มาของการหลงทาง ซึ่งมาในแนวทางของการเน้นย้ำ และการกล่าวซ้ำในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนโองการนี้และโองการถัดไปกล่าวถึงการห้ามบริโภคอาหารที่อนุมัติและสมบูรณ์ในยุคโง่เขลา โดยบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเทียม และโองการได้กล่าวถึงบรรดาที่ศรัทธาและเปรียบเทียบโองการดังกล่าวกับโองการที่ 168 บทเดียวกัน เมื่อพิจารณาโองการทั้งสองแล้วจะพบข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจน กล่าวคือโองการนี้ จงบริโภคสิ่งที่ดีทั้งหลาย ที่เราได้ประทานเป็นเครื่องยังชีพแก่สูเจ้า ขณะที่โองการ 168 กล่าวว่า จากสิ่งที่งอกเงยจากดิน ความแตกต่างของสองโองการบ่งชี้ให้เห็นว่า เครื่องยังชีพที่สะอาดบริสุทธิ์ถูกอุบัติขึ้นสำหรับมวลผู้ศรัทธา ส่วนชนที่ไม่ศรัทธาได้รับเครื่องยังชีพเนื่องจากความสิริมงคลของผู้ศรัทธา ประหนึ่งน้ำที่เกษตรกรสูบขึ้นไปล่อเลี้ยงต้นไม้ในเรือกสวนไร่นาของตน แต่ต้นหญ้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พืชที่ปลูกไว้ก็ได้รับประโยชน์จากน้ำด้วย

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับประชาชนทั่วไปว่า อย่าเจริญรอยตามเท้าของมาร แต่ตรัสกับผู้ศรัทธาในโองการข้างต้นว่า จงบริโภคสิ่งที่ดีทั้งหลาย ที่เราได้ประทานเป็นเครื่องยังชีพแก่สูเจ้า และจงขอบคุณต่ออัลลอฮฺ หมายถึงสูเจ้าอย่าสักแต่ใช้ประโยชน์เพียงอย่างเดียว แต่จงใช้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดีซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการใช้สอย

พระองค์ทรงคาดหวังจากประชาชนทั่วไปว่า สูเจ้าอย่าทำบาป ขณะที่ทรงคาดหวังจากมวลผู้ศรัทธาว่าจงใช้สอยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดีในหนทางของฉัน

โองการต่อมาอธิบายถึงอาหารที่ต้องห้าม และการตัดข้อกล่าวอ้างทั้งหมด คำว่า บาเฆาะ มาจากรากศัพท์ของคำว่า บาเฆาะยะ หมายถึงการเรียกร้อง และจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การเรียกร้องความสุข ส่วนคำว่า อาดะ มาจากรากศัพท์ของคำว่า อาดะยะ หมายถึงการละเมิด กล่าวคือ เป็นการละเมิดเกินขั้นที่จำเป็น

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าอาหารต้องห้าม 3 ประเภท ได้แก่เนื้อ 2 ประเภท และเลือด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของสังคมในยุคนั้น โองการข้างต้นยังกล่าวถึงผลที่น่าเกลียดที่ปรากฏอย่างชัดเจนจาก ซากสัตว์ เลือด และเนื้อสุกร และบางอย่างเป็นผลด้านจิตวิญญาณ เช่น การเชือดพลีสัตว์เพื่อเซ่นไหว้เทวรูป

แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นเกิดขึ้น และเพื่อปกป้องชีวิตให้รอดปลอดภัยจากอันตรายจำเป็นต้องบริโภคอาหารที่ต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่ง อัล-กุรอาน กล่าวถึงข้อยกเว้นกรณีดังกล่าวว่า แต่ผู้ที่มีความจำเป็น โดยที่มิได้ขัดขืน และมิได้ละเมิด ดังนั้น ไม่มีบาปแก่เขา ซึ่งการบริโภคในกรณีจำเป็นมีเงื่อนไขว่าต้องไม่กดขี่ ละเมิดและฝ่าฝืน

และป้องกันมิให้ผู้มีความจำเป็นต้องบริโภคอาหารต้องห้าม บริโภคเกินความจำเป็นหรือมากเกินไป ตรัสว่า (غَيرَ بَاغ وَ لا عَاد) หมายถึง โดยที่มิได้ขัดขืน และมิได้ละเมิด ซึ่งการอนุญาตดังกล่าวสำหรับผู้ที่มิได้มุ่งหวังความอร่อย หรือสรรหาความสำราญจากการบริโภค และอนุญาตให้บริโภคเท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้รอดพ้นจากความตาย หรือประทังความหิวโหยเท่านั้น แต่ถ้าอยู่ระหว่างการเดินทาง และเป็นการเดินทางเพื่อทำบาป แม้ว่ามีความจำเป็นต้องรับประทานอาหารต้องห้าม ถือว่าได้ทำบาป และการกระทำจะถูกบันทึกในบัญชีการกระทำของตน

ประเด็นสำคัญ

ปรัชญาของการห้ามบริโภคเนื้อฮะรอม

ไม่เป็นที่คลางแคลงว่าอาหารที่โองการข้างต้นห้ามบริโภค ก็เหมือนกับสิ่งฮะรอมอื่นของพระผู้อภิบาลที่มีปรัชญาการห้ามเฉพาะเจาะจง ที่เหมาะสมกับร่างกายและชีวิตของมนุษย์พร้อมทั้งคุณสมบัติต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ รายงานกล่าวว่าอธิบายถึงเหตุที่เป็นอันตรายของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิชาการก็ค้นพบสาเหตุแล้ว

อิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงเนื้อที่ฮะรอมว่า ไม่มีผู้ใดบริโภคซากสัตว์ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ พลังงานในตัวจะลดน้อยลง น้ำเนื้อเชื้อไขจะถูกตัดขาด และบุคคลยังบริโภคอาหารเช่นนี้ต่อไป เขาจะหัวใจวายและตายอย่างฉับพลัน[45]

บางที่อาจเป็นไปได้ว่าอันตรายที่เกิดจากการกินซากสัตว์ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลตดเลือดใหม่ขึ้นมาแทนที่ได้ ประกอบกับซากสัตว์เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคต่าง ๆ มากมาย ตามหลักการอิสลามนอกจากห้ามบริโภคซากสัตว์แล้ว ยังถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งโสโครก (นะญิซ) เพื่อให้มวลมุสลิมหลีกห่างอย่างสิ้นเชิง

ประการที่สอง ที่โองการสั่งห้ามบริโภคคือ เลือด (อัดดัม) เนื่องจากการบริโภคเลือดเป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีผลเสียกับจิตวิญญาณ และจริยธรรมอย่างยิ่ง อีกด้านหนึ่งเลือดมีความพร้อมสมบูรณ์ในการเพราะพันธ์เชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะมุ่งโจมตีไปที่เลือดในร่างกาย และยึดเป็นศูนย์กลางปฏิบัติการของตน เม็ดเลือดขาวซึ่งเปรียบเสมือนเป็นทหารรักษาการ คอยทำหน้าที่ป้องกันร่างกายในส่วนของเลือดที่ส่งไปล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ เมื่อเชื้อโรคเข้าทำลายกลุ่มเม็ดเลือดขาว จะทำให้เลือดไม่สามารถถูกส่งไปล่อเลี้ยงอวัยวะได้สะดวก และกุ่มเม็ดเลือดขาวก็จะถูกทำลาย ทำให้เชื้อโรคแพร่พันธ์ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ถ้ากล่าวว่าเม็ดเลือดเสียหรือตายจะเป็นช่วงที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ และสัตว์สกปรกที่สุด

ประการที่สาม ที่โองการสั่งห้ามบริโภคคือ เนื้อสุกร (ละฮฺมุลคินซีร) คนยุโรปเป็นพวกที่นิยมบริโภคเนื้อสุกรมากที่สุดยอมรับว่า เป็นอาหารที่กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดความเร้าร้อนที่สุด เป็นสัตว์สกปรก และให้ความรู้สึกทางเพศที่ไม่เลือกเพศหรือวัย นอกจากนั้นยังเป็นอาหารที่มีผลกับจิตวิญญาณในทางลบสูงมาก

ประการที่สี่ ที่โองการสั่งห้ามบริโภคคือ สัตว์ที่ถูกเชือดโดยไม่ได้เอ่ยนามของพระเจ้า ดั่งเช่นเนื้อที่ถูกสั่งห้ามบริโภค ในอาหรับสมัยก่อนการมาของอิสลาม เนื่องจากเชือดสัตว์โดยเอ่ยนามของสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากพระเจ้า

การเอ่ยนามพระเจ้า หรือนามอื่น มีผลต่อความสะอาดของเนื้อสัตว์หรือไม่ สิ่งที่จะต้องไม่ลืมคือ ไม่จำเป็นว่าการเอ่ยนามของพระเจ้าหรือนามอื่น จะมีผลต่อความสะอาดของเนื้อ เนื่องจากการห้ามในอิสลามมีสาเหตุต่าง ๆ มากมาย บางครั้งการสั่งห้ามเนื่องจากความสะอาด อานามัย และเพื่อปกป้องร่างกาย บางครั้งเพื่อขัดเกลาจิตวิญญาณ และบางครั้งเพื่อรักษากฎระเบียบของสังคม ส่วนการสั่งห้ามบริโภคเนื้อที่เชือดโดยเอ่ยนามของเทวรูป ในความเป็นจริงเป็นเรื่องของจิตวิญญาณและศีลธรรม เนื่องจากสิ่งเหล่านั้นเป็นสาเหตุให้มนุษย์ห่างไกลจากพระเจ้า

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม