เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 178-179 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 

คำอธิบายโองการที่ 178-179 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

يَأَيهَا الَّذِينَ ءَامَنُوا كُتِب عَلَيْكُمُ الْقِصاص فى الْقَتْلى الحُْرُّ بِالحُْرِّ وَ الْعَبْدُ بِالْعَبْدِ وَ الأُنثى بِالأُنثى فَمَنْ عُفِىَ لَهُ مِنْ أَخِيهِ شىْءٌ فَاتِّبَاعُ بِالْمَعْرُوفِ وَ أَدَاءٌ إِلَيْهِ بِإِحْسن ذَلِك تخْفِيفٌ مِّن رَّبِّكُمْ وَ رَحْمَةٌ فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِك فَلَهُ عَذَابٌ أَلِيمٌ (178) وَ لَكُمْ فى الْقِصاصِ حَيَوةٌ يَأُولى الأَلْبَبِ لَعَلَّكمْ تَتَّقُونَ (179)

 

ความหมาย

178 . โอ้บรรดาผู้ศรัทธา การประหารให้ตายตาม (แก้แค้น) ในเรื่องถูกฆ่าตายได้ถูกกำหนดสำหรับสูเจ้า คือชายอิสระต่อชายอิสระ ทาสต่อทาส หญิงต่อหญิง และในส่วนของผู้ที่ได้รับการอภัยจากพี่น้องของเขา ดังนั้น ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกยอมรับ และให้ผู้สังหารจ่ายเงินทำขวัญแก่ผู้แทนของผู้ถูกฆ่าโดยดี นั่นเป็นการลดหย่อน และเป็นเมตตาจากพระผู้อภิบาลของสูเจ้า แล้วผู้ใดละเมิดหลังจากนั้น เขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บปวด

179 . สำหรับสูเจ้า การประหารให้ตายตามนั้นมีชีวิต โอ้ผู้มีสติเอ๋ย! เพื่อสูเจ้าจะได้สำรวม

 

กฎเกณฑ์การลงโทษเป็นหลักประกันมั่นคงของสังคม

สาเหตุการประทานโองการ

วัฒนธรรมของพวกอาหรับก่อนการมาของอิสลาม ถ้าสมมุติว่ามีคนในเผ่าตนถูกฆ่าตาย พวกเขาจะตามล้างแค้นและฆ่าเผ่าที่สังหารชนเผ่าตนเท่าที่มีกำลังสามารถ ความคิดเช่นนี้ได้ซึมซับไปจนถึงขั้นที่ว่า ถ้าคนเผ่าตนถูกฆ่าตายหนึ่งคน เผ่าที่สังหารเผ่าตนต้องตายทั้งเผ่า โองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมา พร้อมกฎการลงโทษที่เป็นธรรม หลักการอิสลามดังกล่าว ตามความเป็นจริงแล้วเป็นทางสายกลาง ระหว่างสองกฎเกณฑ์ที่มีความแตกต่างกันในสมัยนั้น ซึ่งบางทัศนะกล่าวว่าการล้างแค้นเป็นสิ่งจำเป็น บางทัศนะกล่าวว่าการจ่ายค่าทำขวัญเพียงอย่างเดียวคือสิ่งจำเป็น กฎการลงโทษในอิสลาม (กิซอซ) จึงถูกประทานลงมาพร้อมอธิบายว่า การลงโทษในลักษณะการล้างแค้น กรณีที่ผู้ปกครอง หรือตัวแทนของผู้ตายไม่ยินยอม ส่วนการจ่ายค่าทำขวัญกรณีที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ ดังนั้น ผู้สังหารต้องจ่ายให้กับตัวแทนของผู้ตาย

คำอธิบาย การลงโทษในลักษณะการล้างแค้นเป็นสิ่งให้ชีวิตชีวา

โองการข้างต้นกล่าวถึง บทบัญญัติของอิสลาม โดยเริ่มต้นจากการให้เกียรติและเคารพเลือดเนื้อของบุคคลอื่น และทำลายวัฒนธรรมที่ไม่ถูกต้องของชนอาหรับในสมัยก่อน ซึ่งโองการกล่าวพาดพิงถึงผู้ศรัทธาโดยตรง

คำว่า กิซอซ มาจากรากศัพท์ของคำว่า กัซ อยู่บนรูปของคำว่า ซัด หมายถึงการค้นหาร่องรอยของสิ่งหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง หรือทุกการกระทำที่ติดตามกันมาอย่างต่อเนื่อง อาหรับเรียกว่า กิซเซาะฮฺ ดังนั้น กิซอซ (ล้างแค้น) เรื่องการฆ่า เนื่องจากหลังจากการฆ่าครั้งแรกแล้วจะมีการฆ่าครั้งที่สอง และครั้งต่อ ๆ ไป ติดตามมาอย่างต่อเนื่อง คำนี้จึงถูกนำไปใช้ในความหมายดังกล่าว ดังที่สาเหตุของการประทานโองการกล่าวแล้วว่า โองการอยู่ในตำแหน่งของความเป็นกลาง ท่ามกลางการฆ่าล้างแค้นที่ป่าเถื่อนและโหดร้ายที่สุดในสมัยนั้น การเลือกคำว่า กิซอซ มาใช้แสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้ปกครอง หรือตัวแทนของผู้ตายมีสิทธิ์กระทำเหมือนที่ผู้ฆ่าได้กระทำ นี่คือด้านหนึ่งของหลักการอิสลาม ที่ว่าด้วยกฎการล้างแค้นที่เป็นธรรม ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ การอภัย และทั้งสองกรณีได้ทำลายกฎเกณฑ์ที่โหมเหี้ยมของอาหรับที่ว่า คนเผ่าหนึ่งตายเผ่าที่สังหารต้องตายทั้งเผ่า ซึ่งบ่งบอกความไม่เป็นธรรมทางสังคม

ส่วนอีกด้านหนึ่ง การอภัยมิได้ถูกปิดกั้นในหมู่ประชาชน แต่กล่าวเน้นว่า การอภัยหรือการเรียกค่าทำขวัญ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิละเมิด ซึ่งต่างไปจากปฏิบัติของประชาชนในสมัยโง่เขลา ที่ผู้ปกครองฝ่ายผู้ตาย อภัย และเรียกค่าทำขวัญเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นสังหารผู้ที่ฆ่าคนฝ่ายตน

ส่วนอาชญากรที่แสดงความภาคภูมิใจในการกระทำของตน โดยไม่สำนึกผิด พวกเขาไม่เหมาะสมต่อการอภัย และไม่มีสิทธิ์ได้รับการอภัย

โองการต่อมากล่าวด้วยประโยคสั้นแต่เปี่ยมด้วยความหมาย เพื่อเป็นคำตอบแก่คำถามเกี่ยวกับการลงโทษในลักษณะของการล้างแค้น

โองการดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของอิสลาม ที่ซึมซับเข้าไปในความคิดของชนทุกหมู่เหล่า แสดงให้เห็นว่าการ กิซอซ ในอิสลามมิได้เป็นการล้างแค้นดังที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ หรือเข้าใจผิดกัน อีกด้านหนึ่งเป็นหลักประกันที่ให้ชีวิตแก่สังคม เนื่องจากถ้าไม่มีการกิซอซในสังคม บรรดาที่มีจิตใจแข้งกระด้างจะสร้างความปลอดภัยให้แก่ชีวิตตน โดยการเข่นฆ่าชีวิตบริสุทธิ์ ดังปรากฏในบางประเทศที่ปฏิเสธกฎการกิซอซ จะเห็นว่าสถิติการฆ่ากัน และการก่ออาชญากรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสูงมาก

ด้านหนึ่งเป็นการควบคุมพฤติกรรมของผู้ที่คิดจะสังหารบุคคลอื่น เพราะเขารู้ดีว่าตามหลักกฎหมายอิสลาม ถ้าเขาฆ่าผู้อื่นตาย เขาจะต้องถูกลงโทษประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน

อีกด้านหนึ่งจำเป็นต้องสร้างความสมดุลในสังคม และป้องกันการฆ่าล้างเผ่า หรือฆ่าล้างตระกูล ดังคนอาหรับในยุคก่อนอิสลามถือปฏิบัติกัน ด้วยเหตุนี้เอง หลักการ กิซอซ ในอิสลามจึงถือว่าเป็นการปกป้องชีวิตบริสุทธิ์ ให้ดำรงอยู่ต่อไปในสังคม

ประเด็นสำคัญ

กิซอซและการอภัยคือ ความยุติธรรม

อิสลามจะควบคุมปัญหาต่าง ๆ ด้วยความละเอียดอ่อน และให้ความยุติธรรมตามสภาพความเป็นจริง ปัญหาเรื่องการหลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์ อิสลามจะเดินสายกลางระหว่างความสุดโต้ง กับความหย่อนยาน การกิซอซบางครั้งเป็นสิ่งยากลำบากสำหรับบุคคลที่มีความการุณย์อย่างยิ่ง เนื่องการการกิซอซสำหรับพวกเขา เป็นการทรมานอย่างหนึ่ง ส่วนการกำหนดขอบข่ายของกฎเกณฑ์ ด้วยการให้อภัย หรือการเรียกค่าทำขวัญ ก็จะทำให้ผู้กระทำความผิดได้ใจ ดังนั้น รากฐานเดิมของกฎเกณฑ์คือ การกิซอซ และเพื่อให้เกิดความยุติธรรม จึงได้กำหนดการอภัยไว้เคียงคู่กับการกิซอซ เพื่อให้ตัวแทน หรือผู้ปกครองของผู้ตายมีสิทธิ์เลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังต่อไปนี้

1. ทำการกิซอซ

2. ให้อภัยโดยไม่เรียกค่าทำขวัญ

3. ให้อภัยโดยเรียกฆ่าทำขวัญ

ตามความเป็นจริงแล้วการกิซอซขัดกับสติปัญญา และธรรมชาติของมนุษย์หรือไม่

บางกลุ่มมิได้ใคร่ครวญปัญหาอิสลามให้ละเอียดถี่ถ้วน แต่ท้วงติงหลักการอิสลามแบบไม่มีเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการกิซอซในอิสลาม พวกเขากล่าวว่า

1. อาชญากรรมที่ อาชญากรก่อขึ้นมิได้ทำสิ่งใดเกินเลยไปจากการสังหารชีวิต ซึ่งการกิซอซตาม หลักการอิสลามก็มิได้แตกต่างกัน

2. การกิซอซคือ การฆ่าล้างแค้น เป็นความอ่อนแอที่ไม่ถูกยอมรับจำเป็นต้องให้การอบรมที่ถูกต้องแก่ประชาชน

3. การฆ่าคนตายไม่ใช่บาปกรรม เพราะคนดีย่อมไม่ฆ่าคน แน่นอนผู้ที่ฆ่าคนอื่นย่อมผิดปกติทางจิต จำเป็นต้องได้รับการเยียวยารักษาที่ถูกต้อง การกิซอซไม่ใช่วิธีการรักษา

4. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคม จำเป็นต้องเติบโตเคียงคู่กับสังคม ด้วยเหตุนี้ กฎเกณฑ์ที่ถูกใช้เมื่อ 1400 กว่าปีที่แล้ว จะนำมาใช้ในสังคมปัจจุบันได้อย่างไร

5. ไม่ดีกว่าหรือ หากจะแทนที่การกิซอซ ด้วยการจำคุก และบังคับให้เขาทำงานที่เป็นประโยชน์กับสังคม การทำเช่นนี้เป็นการปกป้องสังคมจากความชั่วร้ายของเขา และสังคมยังได้รับประโยชน์จากพวกเขา แม้ว่าจะอยู่ในขอบเขตจำกัดก็ตาม

เหล่านี้เป็นบทสรุปข้อท้วงติงที่มีต่อกฎการกิซอซ โองการอัล-กุรอานที่กล่าวเกี่ยวกับการกิซอซได้ให้คำตอบที่พอเพียงกับข้อท้วงติงของพวกเขา เนื่องจากการทำลายบุคคลที่กลั่นแกล้ง หรือรบกวนคนอื่นให้หมดไปจากสังคม เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับ การเติบโต และการพัฒนาสังคมไปสู่ความสมบูรณ์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ การกิซอซให้หลักประกันแก่ชีวิต และการดำรงอยู่ของสังคมได้ดีที่สุด

การปฏิบัติกิซอซ เพื่อปรับปรุงสังคม และยังมีบทบาทสำคัญในการปกป้อง และให้การอบรมสมาชิกสังคมไปในแนวทางที่ถูกต้อง การทำลายอาชญากรสังคมเปรียบเสมือน การตัดหรือการทำลายอวัยวะที่รบกวนและเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งปัญญาเองก็ตัดสินให้ทำเช่นนั้น

ข้อท้วงที่สอง สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ พื้นฐานการจัดตั้งกิซอซไม่เกี่ยวข้องกับการล้างแค้นแต่อย่างใด เนื่องจากการล้างแค้นหมายถึง การระบายไฟแห่งความโกรธกริ้วอันสืบเนื่องมาจากปัญหาส่วนตัว ขณะที่จุดประสงค์ของกิซอซ คือ การป้องกันการกดขี่และเอาเปรียบทางสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาความยุติธรรม และปกป้องบุคคลบริสุทธิ์

ข้อท้วงติงที่สาม บางกรณีคำกล่าวเช่นนั้นถือว่าถูกต้อง แต่อิสลามไม่ได้วางกฎเกณฑ์การกิซอซมาเพื่อสิ่งนั้น ขณะเดียวกันไม่สามารถนำอาการป่วยไข้ของผู้กระทำผิดมาเป็นข้ออ้างได้ เนื่องจากความเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น ถือเป็นอาชญากรทางสังคม ซึ่งไม่เป็นที่คลางแคลงสำหรับทุกคน

ข้อท้วงติงที่สี่ ความก้าวหน้าทางสังคมไม่อาจยอมรับการกิซอซได้ การกล่าวเช่นนี้ต่อหน้าการก่อการร้ายที่เป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน สถิติการฆ่ากันเนื่องจากการกดขี่ และอื่น ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไร้ค่าอย่างยิ่ง เนื่องจากจากทำให้สังคมทวีความเลวร้าย และบนสภาพแวดล้อมเช่นนั้นเป็นการบีบบังคับให้ประชาชนอภัยให้ผู้ฆ่า ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์ว่าการก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายภายใต้นามต่าง ๆ แน่นอนว่ามีมากกว่า และโหดร้ายยิ่งกว่าการฆ่า ฉะนั้น การยกเลิกกิซอซ เท่ากับว่าเป็นการสนับสนุน และขยายการก่อการร้ายให้กว้างขึ้น

ข้อทวงติงที่ห้า จุดประสงค์ของการกิซอซ ดังที่อัล-กุรอานชี้แจงไว้ว่าเป็นการให้ชีวิตแก่สังคม และเป็นการป้องกันการฆ่าล้างแค้นที่อาจเกิดขึ้น แน่นอนว่าการต้องโทษจำคุกไม่ ตอบแทน หรือเท่าเทียมกับสิ่งที่สูญเสียไปได้

บางคนอาจโต้แย้งว่าโองการกิซอซที่ถูกประทานลงมา ต้องไม่กิซอซผู้ชายที่ฆ่าหญิงตาย เลือดของผู้ชายเข็มข้นกว่าเลือดของผู้หญิงกระนั้นหรือ ซึ่งในความเป็นจริงความหมายของโองการไม่ได้หมายความว่า ผู้ชายต้องไม่ถูกกิซอซ เมื่อเทียบกับผู้หญิง ทว่าผู้ปกครองฝ่ายหญิงที่ถูกฆ่ามีสิทธิ์กิซอซฝ่ายชายที่กระทำความผิดได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายค่าทำขวัญครึ่งหนึ่งก่อน

คำอธิบาย เนื่องจากโดยปกติแล้วผู้ชายคือหัวหน้าครอบครัว เป็นเสาหลักเศรษฐกิจของครอบครัว และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้น การจากไประหว่างชายกับหญิง เมื่อพิจารณาด้านรายได้จึงเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ อิสลาม กำหนดให้จ่ายค่าทำขวัญครึ่งหนึ่ง กรณีที่ต้องการกิซอซผู้ชาย เพื่อรักษาสิทธิของทุกคนที่อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายชาย

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม