เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การออกห่างจากการทำงานและสิ่งที่ลำบากเกินความจำเป็น

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การออกห่างจากการทำงานและสิ่งที่ลำบากเกินความจำเป็น


อัตลักษณ์ของการคิดและการใคร่ครวญในชีวิต สะท้อนถึงการไม่ทำสิ่งที่ยากลำบากเกินความจำเป็น และการออกห่างจากเสียงกระซิบกระซากต่างๆที่ไร้สาระในกิจที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เพราอิสลามได้วางระเบียบในแง่มุมต่างๆสำหรับการใช้ชีวิตของมนุษย์ และไม่เคยมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเกินความสามารถของมนุษย์ ไม่ว่าจะในด้านการอิบาดัต,จริยธรรม,วัตถุ,จิตวิญญาณ เหตุนี้อะฮ์ลุลบัยต์(อลัยฮิมุสสลาม)จึงได้อบรมแก่ผู้ที่ดำเนินรอยตามพวกเขาว่าในทุกๆปัจจัยพื้นฐาน ชีวิตต้องดำรงอยู่บนความสะดวก ความเสมอต้นเสมอปลาย ทางสายกลาง และการไม่ทำสิ่งที่ยากลำบากเกินความสามารถเสมอ[1]
ท่านศาสดา(ศ)ได้กล่าวในฮะดิษบทหนึ่งว่า ฉันไม่ชอบผู้ที่ทำให้ตัวเองลำบาก[2]
และในอีกรายงานหนึ่งท่าน(ศ)กล่าวว่า จงอย่าทำให้แขกของเจ้าทำในสิ่งที่ยากลำบาก[3]
และในอีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า จงอย่าทำให้ตัวเองยากลำบากเพื่อแขกของเจ้า[4]
และในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า เกียรติของปัจเจกบุคคลต่อพี่น้องของเขา คือ การที่เขารับการให้จากพี่น้องของเขา และตัวเขาเองก็ให้พี่น้องของเขาจากสิ่งที่เขามี และตัวเขาไม่ได้ทำสิ่งนี้เพื่อผู้อื่นเกินความสามารถของตัวเอง[5]
อิมามศอดิก(อ)กล่าวว่า ผู้ศรัทธาจะไม่มอบหมายมิตรสหายของเขาให้ทำสิ่งที่ยากลำบากเกินความจำเป็น[6] และท่าน(อ)ยังกล่าวอีกว่า ผู้ที่ยากลำบากที่สุดในหมู่พี่น้องของฉัน คือผู้ที่พยายาม(ฝืน)กระทำสิ่งที่ยากลำบากเพื่อฉัน เช่นนั้นฉันจึง(มีท่าที)ป้องกันจากเขา และผู้ที่ยากลำบาก(ฝืนตนเอง)น้อยที่สุดในหมู่พวกเขา ณ หัวใจฉันคือ ผู้ที่ฉันจะปฏิบัติกับเขา เช่นเดียวกับที่ฉันจะปฏิบัติกับตนเอง[7]
และท่านผู้ทรงเกียรติ(อ)ยังได้กล่าวอีกว่า เมื่อใดก็ตามที่มีพี่น้อง(แขก)มาเยือนเจ้า จงให้สิ่งที่เจ้ามีแก่เขา และหากเจ้าเชิญเขามา จงพยายามตอบรับเขา(เท่าที่เจ้ามีความสามารถจะทำได้)[8]
 อมีรุลมุอฺมีนีน(อ)กล่าวว่า ชีวิตที่มีความสุขที่สุด คือ ชีวิตที่ออกห่างจากความยากลำบากเกินความจำเป็น[9]
ในอีกรีวายัตหนึ่งท่าน(อ)กล่าวต่อบุตรของท่านว่า โอ้บุตรของฉัน รีซกีนั้นมีสองประเภท ประเภทแรกคือ ริซกีที่เจ้าแสวงหามัน และอีกประเภทคือ ริซกีที่มันแสวงหาเจ้า ต่อให้เจ้าไม่ไปแสวงหามัน มันก็จะมาหาเจ้าเอง เช่นนั้นแล้วจงอย่าแบกรับความเศร้าทั้งปีของเจ้าให้เหนือกว่าความเศร้าเพียงวันเดียว ดังนั้นจงคิดถึงปัญหาในแต่ละวันที่เจ้าอยู่ในช่วงเวลานั้นเสียเถิด[10]
 อิมามศอดิก(อ)กล่าวว่า มิบังควรแก่ผู้ศรัทธา ในการทำให้ตัวเขาเองต้องตกต่่ำอัปยศ มีผู้ถามว่า จะทำใหตัวเองตกต่ำได้อย่างไร ? อิมามตอบว่า คือ การทำในสิ่งที่ตัวของเขาเองไม่มีความสามารถต่อเรื่องนั้น[11]
อิมามศอดิก(อ)กล่าวว่า การทำให้ตัวเองลำบากเกินความจำเป็น(และการเชื่อฟังเสียงกระซิบกระซาก) ไม่ใช่จริยะของซอลีฮีน(ผู้ประพฤติดี และไม่ใช่คติพจน์ของมุตตากีน(ผู้ยำเกรง) พระองค์อัลลอฮตะอาลา ทรงกล่าวต่อนบีของพระองค์(ศ)ว่าจงกล่าวเถิดมุฮัมมัดว่า ฉันมิได้ขอรางวัลค่าตอบแทนจากพวกท่านในการทำหน้าที่นี้แต่อย่างใด และฉันก็มิได้อยู่ในหมู่ผู้หลอกลวงอ้างสิทธิเลย ท่านศาสดา(ศ)กล่าวว่า เราเหล่าศาสดา ทั้งบรรดาผู้ยำเกรง และบรรดาผู้ศรัทธานั้น ล้วนออกห่างจากการทำสิ่งที่ไม่ใช่สิทธิของตนเอง ดังนั้น จงยำเกรงต่ออัลลอฮตะอาลา และจงยืนหยัด(และอดทน)พระองค์จะทรงทำให้เจ้าพอเพียงจากการทำสิ่งที่ลำบากเกินความจำเป็น และจะทรงทำให้(ชีวิตเป็น)ธรรมชาติของเจ้า จะทรงทำเป็นธรรมชาติอย่างมีอีม่าน(ศรัทธา) และจะไม่ให้เจ้าต้องสวมอาภรณ์ซึ่งบั้นปลายของมันคือความเสื่อม และจะไม่ให้สำรับอาหารซึ่งบั้นปลายของมันจะต้องปลดทุกข์ และจะไม่ให้บ้านเรือนซึ่งจุดจบของมันคือการพังทลาย หรือทรัพย์สินซึ่งท้ายที่สุดจะกลายเป็นมรดก และพี่น้อง(มิตรสหาย)ซึ่งมีจุดจบ(ของความสัมพันธ์)คือการแยกจาก และเกียรติซึ่งบั้นปลายของมัน คือ ความอัปยศ และความกล้า(และศักดิ์ศรี)ซึ่งบั้นปลายของมัน คือ การข่มเหง (และการเนรคุณ) และชีวิตซึ่งบั้นปลายของมันมีแต่ความเสียใจ[12]
[1] คำแปลเชิงอรรถ ตะกัลลุฟ หมายถึง การทำให้ตนเองลำบาก หรือ การทำบางสิ่งโดยไม่มีผู้ใดสั่งให้กระทำ ตามหลักนี้ ผู้ที่ถูกกระซิบกระซากจึงถูกเรียกว่า มุตะกัลลิฟ เนื่องด้วยพวกเขาคือคนที่สร้างความลำบากให้แก่ตนเอง ทั้งที่ไม่มีคำสั่งจากพระผู้เป็นเจ้าหรือศาสดา(ศ)
[2] إِنِّی لا أُحِبُّ الْمُتَكَلِّفِینَ (الكافى، ج6، ص276).
[3] . لا تُلْزِمْ ضَیفَكَ بِمَا یشُقُّ عَلَیه (مكارم الاخلاق، ص135).
[4] نَهَی عَنْ التَّكَلُّفِ لِلضَّیفِ (الجامع الصغیر، ج2، ص688).
[5] مِن تَكرِمَةِ الرّجُلِ لأخيهِ المُسلمِ أن يَقبَلَ تُحفَتَهُ ، ويُتحِفَهُ بما عِندَهُ ، ولا يَتَكَلّفَ لَهُ شيئاً (الكافي : ۵/۱۴۳/۸ )
[6] وَ لا یتَحَامَلُ لِلأَصْدِقَاءِ (الكافى، ج2، ص47)
[7] أَثْقَلُ إِخْوَانِى عَلَىَّ مَنْ یتَكَلَّفُ لى وَ أَتَحَفَّظُ مِنْهُ وَ أَخَفُّهُمْ عَلَی قَلْبِى مَنْ أَكُونُ مَعَهُمْ كَمَا أَكُونُ وَحْدِى (مستدرك الوسائل، ج9، ص155)
[8] إِذَا أَتَاكَ أَخُوكَ فَأْتِهِ بِمَا عِنْدَكَ وَ إِذَا دَعَوْتَهُ فَتَكَلَّفْ لَهُ (المحاسن، ص410).
[9]
أَهْنَأ الْعَیشِ اطِّرَاحُ الْكُلَفِ (غرر الحكم، ص478)
[10] یا بُنَىَّ الرِّزْقُ رِزْقَانِ: رِزْقٌ تَطْلُبُهُ وَ رِزْقٌ یطْلُبُكَ، فَإِنْ لَمْ تَأْتِهِ أَتَاكَ، فَلا تَحْمِلْ هَمَّ سَنَتِكَ عَلَی هَمِّ یوْمِكَ وَ كَفَاكَ كُلَّ یوْمٍ مَا هُوَ فِیهِ (الفقیه، ج4، ص386).
[11] لا ینْبَغِى لِلْمُؤْمِنِ أَنْ یذِلَّ نَفْسَهُ. قِیلَ لَهُ: وَ كَیفَ یذِلُّ نَفْسَهُ؟ قَالَ: یتَعَرَّضُ لِمَا لا یطِیقُ (الكافى، ج5، ص64)
[12] لَيْسَ فِي اَلْجُمْلَةِ مِنْ أَخْلاَقِ اَلصَّالِحِينَ وَ لاَ مِنْ شِعَارِ اَلْمُتَّقِينَ اَلتَّكَلُّفُ فِي أَيِّ بَابٍ كَانَ قَالَ اَللَّهُ تَعَالَى لِنَبِيِّهِ صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ - قُلْ ما أَسْئَلُكُمْ عَلَيْهِ مِنْ أَجْرٍ وَ ما أَنَا مِنَ اَلْمُتَكَلِّفِينَ قَالَ اَلنَّبِيُّ صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ نَحْنُ مَعَاشِرَ اَلْأَنْبِيَاءِ وَ اَلْأَتْقِيَاءِ وَ اَلْأُمَنَاءِ بِرَاءٌ مِنَ اَلتَّكَلُّفِ فَاتَّقِ اَللَّهَ تَعَالَى وَ اِسْتَقِمْ يُغْنِكَ عَنِ اَلتَّكَلُّفِ وَ يَطْبَعُكَ بِطِبَاعِ اَلْإِيمَانِ وَ لاَ تَشْتَغِلْ بِلِبَاسٍ آخِرُهُ اَلْبَلاَءُ وَ طَعَامٍ آخِرُهُ اَلْخَلاَءُ وَ دَارٍ آخِرُهَا اَلْخَرَابُ وَ مَالٍ آخِرُهُ اَلْمِيرَاثُ وَ إِخْوَانٍ آخِرُهُمُ اَلْفِرَاقُ وَ عِزٍّ آخِرُهُ اَلذُّلُّ وَ وَقَارٍ آخِرُهُ اَلْجَفَاءُ وَ عَيْشٍ آخِرُهُ اَلْحَسْرَةُ . 
مصباح الشریعه، ص۱۴۰؛ بحار الانوار، ج70، ص394 ـ 395.(

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม