เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การแสวงหาและการรวบรวมความรู้

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การแสวงหาและการรวบรวมความรู้


ความรู้เชิงศาสนา เป็นความรู้ประเภทหนึ่งที่มีการเน้นย้ำให้ทำการศึกษาแสวงหาอย่างมากมาย และยังมีคำสั่งเสียให้มนุษย์แสวงหาความรู้ประเภทนี้ตั้งแต่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ[1] ความรู้ในเชิงศาสนาถือเป็นการแสวงหาความรู้ที่ถูกเน้นย้ำอย่างมากมาย ซึ่งการแสวงหาความรู้ในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ถูกแนะนำและสั่งเสีย และรีวายัตมากมายได้สั่งเสียให้มนุษย์เรียนรู้และศึกษาความรู้ที่จำเป็นและมีประโยชน์ ตามหลักรีวายัตต่างๆแล้ว บิดาและมารดายังมีหน้าที่มอบและสอนความรู้ที่จำเป็นแก่บุตรของตนตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้เหล่านั้นในวัยเติบใหญ่
ความสำคัญของการแสวงหาความรู้
ท่านรอซูลุลลอฮ(ศ)กล่าวว่า จงเป็นผู้รู้ หรือไม่ก็จงอยู่สถานะของผู้ที่กำลังเรียนรู้ และจงอย่าปล่อยให้สูญเปล่าไปกับสิ่งที่ไร้สาระและ(เอาแต่ละเล่น)สนุกสนาน [2]
อมีรุลมุอฺมีนีน(อ) กล่าวว่า: จงแสวงหาวิทยปัญญา[และความรู้] แม้ว่าเขาจะเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ตั้งภาคี [3]
ท่าน(อ)กล่าวอีกว่า จงแสวงหา ปัญญา และความรู้ แม้มันจะมาจากปากของเหล่าคนบ้าก็ตาม [4]
และท่าน(อ)ยังกล่าวอีกว่า เป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องแสวงหาความรู้ เพราะบัณฑิตย่อมมีเกียรติ แม้ว่าตนจะไม่เกี่ยวโยงกับตระกูลใด และย่อมเป็นที่เคารพนับถือแม้ตนจะยากจนและเป็นที่เคารพนับถือแม้ว่าตนจะยังเยาว์ก็ตาม[5]
[1] ได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้อย่างละเอียดในภาคที่สอง บทที่ 6 ในหัวข้อ “ผู้รู้ อาจารย์ และลูกศิษย์” ไว้อย่างละเอียดแล้วณ ที่นี้จึงจะนำเสนอบางรีวายัตเท่านั้น
[2] اغْدُ عَالِماً أَوْ مُتَعَلِّماً وَ إِیَّاکَ أَنْ تَکُونَ لاهِیاً مُتَلَذِّذاً ( المحاسن ، ص227؛ بحار الأنوار ، ج1 ، ص194 ) .
[3] خُذِ الْحِکْمَةَ وَ لَوْ مِنَ الْمُشْرِکِین ( مشکاة الأنوار ، ص134 ) .
[4] خُذِ الْحِکْمَةَ وَ لَوْ مِنْ أَفْوَاهِ الْمَجَانِین ( مصباح الشریعة ، ص160 ) .
[5] عَلَیْکُم بِالْعِلْمِ وَ الْأَدَب ، فَإنَّ العَالِم یُکْرَمْ وَ إنْ لَمْ یُنْتَسَبْ وَ یُکْرَم وَ إنْ کَانَ فَقِیراً وَ یُکْرَمْ وَ إنْ کَانَ حَدَثاً ( شرح نهج البلاغة ، ابن ابی الحدید ، ج20 ، ص332 )

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม