ความประเสริฐของการเรียนรู้และการเรียนรู้
ความประเสริฐของการเรียนรู้และการเรียนรู้
ท่านศาสดา(ศ)กล่าวว่า การถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น เพื่อแสวงหาความพึงพอใจจากพระองค์อัลลอฮ คือสิ่งที่ ฮาซานะฮ์ (ดีงาม)คือ อิบาดัต และการสนทนา(ถึงความรู้นั้น) คือ ตัสบีฮ์ และการทำในสิ่งที่รู้ คือการญิฮาด และการมอบความรู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีความรู้ต่อเรื่องนั้นคือ ศอดาเกาะฮ์ และการถ่ายทอดมันให้แก่ผู้ที่เหมาะสม คือ สาเหตุที่จะทำให้ใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า เพราะสิ่งนี้ จะทำให้รู้ถึงฮาล้าลและฮาร่าม,จะเป็นสองแสงสู่หลากหลายเส้นทางแห่งสรวงสวรรค์ และจะอยู่เคียงข้างกันในยามที่โดดเดี่ยว[1]
ท่านรอซูลุลลอฮ(ศ)กล่าวว่า ผู้ใดเล่าเรียนส่วนหนึ่งของความรู้และถ่ายทอดมัน เพื่อแสวงหาความพึงพอใจต่ออัลลอฮ พระองค์อัลลอฮ จะทรงประทานผลบุญเทียบเท่ากับผลบุญของนบีเจ็ดสิบองค์แก่เขา[2]
ในอีกรายงานท่าน(ศ)กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามหากปรารถนาจะมองเห็นผู้รอดพ้นจากไฟนรก ดังนั้นจงมองไปยังผู้แสวงหาความรู้ ข้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺซึ่งชีวิตของข้าอยู่ในมือของพระองค์ว่า ไม่มีก้าวเดินใดของผู้ แสวงหาความรู้ ซึ่งมุ่งไปสู่ประตูแห่งความรู้ เว้นแต่ย่างก้าวนั้น จะถูกบันทึกเท่ากับการทำ อิบาดัต หนึ่งปีสำหรับเขา และอัลลอฮฺจะทรงสร้างนครให้แก่เขาในสรวงสวรรค์ ต่อทุกย่างก้าวของเขา แผ่นดินจะขออภัยโทษให้แก่เขาทั้งในยามเช้า และยามเย็น และเหล่ามลาอิกะฮ์ จะเป็นพยานให้แก่เขาว่า เขาคือ ผู้รอดพ้นของพระองค์อัลลอฮ์ จากเปลวเพลิงแห่งไฟนรก[3]
ท่านศาสดา(ศ)กล่าวว่า การเข้าร่วม มัญลิซของผู้รู้ ประเสริฐกว่าการเข้าร่วมพิธีญะนาซะฮ์ และการเยี่ยมเยียนผู้ป่วยนับพันครั้ง[4]
ในอีกรายงานท่าน(ศ)กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ไปมาหาสู่ยังมัสยิด เพื่อเล่าเรียนความรู้ที่มีประโยชน์ หรือเพื่อสอนผู้อื่น ผลบุญของเขาจะเทียบเท่ากับการทำอุมเราะฮ์และฮัญจ์ที่สมบูรณ์[5]
อมีรุลมุอฺมีนีน กล่าวว่า โอ้ผู้ศรัทธา ความรู้ และมารยาท คือ ต้นทุนชีวิตของพวกเจ้า ดังนั้นจงพยายามในการเรียนรู้ และสิ่งใดก็ตามที่ทำให้ ความรู้ และมารยาท ของเจ้า เพิ่มพูน สิ่งนั้นย่อมทำให้คุณค่าและพลังของเจ้าเพิ่มพูนขึ้นด้วย เพราะความรู้จะชี้นำเจ้าไปหาพระผู้อภิบาลของเจ้าเอง ส่วนมารยาท จะทำให้เจ้ารับใช้พระผู้เป็นเจ้าของเจ้าได้อย่างดีงาม และด้วยมารยาทแห่ง การรับใช้ เหมาะสมที่จะได้รับ วีลายัต และกุรบ์ (ความใกล้ชิด) ของพระองค์ เช่นนั้นแล้วจงตอบรับ นะซีฮัตของข้า แล้วเจ้าจะรอดพ้นจากอะซาบ ทั้งปวง[6]
ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)กล่าวว่า คำกล่าวแห่งฮิกมะฮ์ วิทยปัญญานั้น เมื่อบุคคลได้ฟังมัน และได้ถ่ายทอดมันออกมา หรือ ปฏิบัติตามคำนั้น แน่นอนยิ่ง(สิ่งนี้)ย่อมประเสริฐกว่าการอิบาดัต หนึ่งปี[7]
ในอีกรีวายัตท่าน(อ)กล่าวว่า ผู้ใดย่างก้าวในหนทางแห่งการแสวงหาความรู้ และนั่งร่วมกับผู้รู้เป็นเวลาสองชั่วโมง แล้วเขาได้ฟังคำพูดจากผู้สอนเพียงสองประโยค พระองค์อัลลอฮ์จะทรงทำให้สวรรค์เป็นวาญิบสำหรับเขาถึงสองแห่ง เช่นเดียวกับที่พระองค์อัลลอฮ ตะอาลา ทรงตรัสว่า
﴿و لِمَن خافَ مَقامَ رَبِّهِ جَنَّتان﴾
และสำหรับผู้ที่ยำเกรง ต่อการยืนหน้าพระพักตร์แห่งพระเจ้าของเขา (เขาจะได้) สรวงสวรรค์สองแห่ง[8]
อิมามบาเกร(อ)กล่าวว่า แท้จริงผลตอบแทนของผู้ที่ถ่ายทอดความรู้เหมือนดั่งผลตอบแทนของผู้เรียนรู้มัน และเขามีความประเสริฐกว่าผู้ที่เขาได้ถ่ายทอดความรู้ให้ ดังนั้น จงแสวงหาความรู้ จากผู้นำพามัน(จงหาความรู้จากเจ้าของความรู้นั้น)และจงสอนมันแก่พี่น้องของเจ้า เช่นเดียวกับที่เหล่าผู้รู้ได้เคยถ่ายทอดมันแก่พวกเจ้า[9]
[1] فَإِنَّ تَعْلِیمَهُ للهِ حَسَنَةٌ وَ طَلَبَهُ عِبَادَةٌ وَ الْمُذَاکَرَةَ [ فِیه ] بِهِ تَسْبِیحٌ وَ الْعَمَلَ بِهِ جِهَادٌ وَ تَعْلِیمَهُ مَنْ لا یَعْلَمُهُ صَدَقَةٌ وَ بَذْلَهُ لِأَهْلِهِ قُرْبَةٌ إِلَی اللهِ تَعَالَی ، لِأَنَّهُ مَعَالِمُ الْحَلالِ وَ الْحَرَامِ وَ مَنَارُ [ سَبِیل ] سُبُلِ الْجَنَّةِ وَ الْمُونِسُ فِی الْوَحْشَةِ ( الأمالی ، طوسی ، ص569؛ بحار الأنوار ، ج1 ، ص171 ) .
[2] مَنْ تَعَلَّمَ بَاباً مِنَ الْعِلْمِ لِیُعَلِّمَهُ النَّاسَ ابْتِغَاءَ وَجْهِ اللهِ أَعْطَاهُ اللهُ أَجْرَ سَبْعِینَ نَبِیّاً ( روضة الواعظین ، ص12 ) .
[3] . مَنْ أَحَبَّ أَنْ یَنْظُرَ إِلَی عُتَقَاءِ اللهِ مِنَ النَّارِ فَلْیَنْظُرْ إِلَی الْمُتَعَلِّمِینَ ، فَوَ الَّذِی نَفْسِی بِیَدِهِ مَا مِنْ مُتَعَلِّمٍ یَخْتَلِفُ إِلَی بَابِ الْعَالِمِ إِلَّا کَتَبَ اللهُ لَهُ بِکُلِّ قَدَمٍ عِبَادَةَ سَنَةٍ وَ بَنَی اللهُ بِکُلِّ قَدَمٍ مَدِینَةً فِی الْجَنَّةِ وَ یَمْشِی عَلَی الْأَرْضِ وَ هِیَ تَسْتَغْفِرُ لَهُ وَ یُمْسِی وَ یُصْبِحُ مَغْفُوراً لَهُ وَ شَهِدَتِ الْمَلائِکَةُ أَنَّهُمْ عُتَقَاءُ اللهِ مِنَ النَّارِ ( منیة المرید ، ص100 ) .
[4] فَإِنَّ حُضُورَ مَجْلِسِ عَالِمٍ أَفْضَلُ مِنْ حُضُورِ أَلْفِ جَنَازَةٍ وَ مِنْ عِیَادَةِ أَلْفِ مَرِیضٍ ( مشکاة الأنوار ، ص135؛ مستدرک الوسائل ، ج2 ، ص482 ) .
[5] مَنْ غَدَا إِلَی الْمَسْجِدِ لا یُرِیدُ إِلَّا لِیَتَعَلَّمَ خَیْراً أَوْ لِیُعَلِّمَهُ کَانَ لَهُ أَجْرُ مُعْتَمِرٍ تَامَّ الْعُمْرَةِ وَ مَنْ رَاحَ إِلَی الْمَسْجِدِ لا یُرِیدُ إِلَّا لِیَتَعَلَّمَ خَیْراً أَوْ لِیُعَلِّمَهُ فَلَهُ أَجْرُ حَاجٍّ تَامَّ الْحِجَّة ( منیة المرید ، ص106 ) .
[6] یَا مُؤْمِنُ! إِنَّ هَذَا الْعِلْمَ وَ الْأَدَبَ ثَمَنُ نَفْسِکَ فَاجْتَهِدْ فِی تَعَلُّمِهَا ، فَمَا یَزِیدُ مِنْ عِلْمِکَ وَ أَدَبِکَ یَزِیدُ فِی ثَمَنِکَ وَ قَدْرِکَ ، فَإِنَّ بِالْعِلْمِ تَهْتَدِی إِلَی رَبِّکَ وَ بِالْأَدَبِ تُحْسِنُ خِدْمَةَ رَبِّکَ وَ بِأَدَبِ الْخِدْمَةِ یَسْتَوْجِبُ الْعَبْدُ وَلایَتَهُ وَ قُرْبَهُ فَاقْبَلِ النَّصِیحَةَ کَیْ تَنْجُوَ مِنَ الْعَذَابِ . . . ( روضة الواعظین ، ص11 )
[7] الْکَلِمَةُ مِنَ الْحِکْمَةِ یَسْمَعُهَا الرَّجُلُ فَیَقُولُ أَوْ یَعْمَلُ بِهَا خَیْرٌ مِنْ عِبَادَةِ سَنَةٍ ( بحار الأنوار ، ج1 ، ص183 ) .
[8] مَنْ مَشَی فِی طَلَبِ الْعِلْمِ خُطْوَتَیْنِ وَ جَلَسَ عِنْدَ الْعَالِمِ سَاعَتَیْنِ وَ سَمِعَ مِنَ الْمُعَلِّمِ کَلِمَتَیْنِ أَوْجَبَ اللهُ لَهُ جَنَّتَیْنِ کَمَا قَالَ اللهُ تَعَالَی : « و لِمَن خافَ مَقامَ رَبِّهِ جَنَّتان » [ سورهٔ الرحمن ، آیهٔ 46 ] ( ارشاد القلوب ، ص195 ) .
[9] . إِنَّ الَّذِی یُعَلِّمُ الْعِلْمَ مِنْکُمْ لَهُ مِثْلُ أَجْرِ الَّذِی یَتَعَلّمه وَ لَهُ الْفَضْلُ عَلَیْهِ ، فَتَعَلَّمُوا الْعِلْمَ مِنْ حَمَلَةِ الْعِلْمِ وَ عَلِّمُوهُ إِخْوَانَکُمْ کَمَا عَلَّمَکُمُوهُ الْعُلَمَاءُ ( کتاب السرائر ، ج3 ، ص595 ) .