การศึกษาความรู้ที่จำเป็น
การศึกษาความรู้ที่จำเป็น
สังคมอิสลามให้ความสำคัญกับศาสตร์วิชาความรู้ที่จำเป็นต้องศึกษา และยังถือว่าการศึกษาวิชาเหล่านี้ คือปัจจัยที่จะช่วยรักษาเกียรติยศ ศักดิ์ศรีและอำนาจของมุสลิม อมีรุลมุอฺมีนีน (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน)ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เป็นกรณีพิเศษว่า ความรู้ คือ ความอำนาจ ผู้ใดใคว่คว้ามัน ผู้นั้นย่อมได้มาซึ่งมัน ผู้ใดเอื้อมไม่ถึงมันผู้นั้นย่อมตกอยู่ภายใต้มัน[1]
ครั้งหนึ่งท่านรอซูลุลลอฮ(ศ็อล)อยู่ ณ มัสยิดแห่งหนึ่ง ในขณะนั้นมีบุคคลสองกลุ่มรวมตัวกัน หนึ่งคือ มัญลิส ที่กำลังใคร่ครวญ เรียนรู้มะอาริฟความรู้ศาสนา อีกหนึ่งนั้นคือ มัญลิสดุอา เมื่อนั้นท่านศาสดาจึงกล่าวว่า ทั้งสองมัญลิส ล้วนมีความดีงาม หนึ่งนั้นเรียกหาพระองค์อัลลอฮ และอีกหนึ่งนั้นศึกษาเล่าเรียนในสิ่งที่ตนไม่รู้ ทว่ามัญลิสนี้ประเสริฐกว่า เพราะแท้จริงฉันถูกส่งมาเพื่อตะอฺลีม (ถ่ายทอดความรู้)หลังจากนั้น ท่านศาสดาก็ได้นั่งร่วมกับพวกเขา[2]
อิมามกาซิม(ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) กล่าวว่า ครั้งหนึ่งท่านศาสดาได้เข้ามายังมัสยิด และท่านได้เห็นคนกลุ่มหนึ่งกำลังรายล้อมชายผู้หนึ่งอยู่ ท่านจึงถามว่า : เขาคือใคร ?
พวกเขาตอบว่า : คือ" อัลลามะฮ์(ผู้ที่มีความรู้อย่างมากมาย)โอ้ศาสนฑูตของอัลลอฮ"
ท่านจึงถามต่อว่า "เขามีความรู้อย่างมากมายในเรื่องใด ?"
พวกเขาตอบว่า "ในเรื่องเชื้อสายต่างๆของอาหรับ,ประวัติศาสตรฺ์ของสิ่งเหล่านั้น,ช่วงวันและเทศกาลของญาฮีลียะฮ,บทกวีและวรรณกรรมอาหรับ
ศาสนฑูตของอัลลอฮ (ศ็อล) จึงกล่าวต่อว่า ความรู้จำพวกนี้ ไม่ส่งผลเสียใดๆเลยต่อผู้ที่ไม่รู้ และยังไม่ประโยชน์ใดๆต่อผู้ที่รู้มัน [3]เป็นการให้โอวาทต่อมุสลิมและสังคมอิสลามว่า พวกเขาจะต้องแสวงหาความรู้จำพวกที่ยังประโยชน์ทั้งดุนยาและอาคีเราะฮ์ หรือ มีประโยชน์ หรือ ช่วยขจัดความขาดทุน ความเสี่ยง หรือผลเสีย
อมีรุลมุอฺมีนีน(อ)กล่าวว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้ในสิ่งซึ่งจำเป็นสำหรับเยาวชน และคนหนุ่มสาวในยามที่พวกเขาเติบโต[4]
อีกรีวายัตหนึ่งกท่าน(อ)กล่าวว่า จงเรียนรู้ตั้งแต่วัยเยาว์เพราะเมื่อเจ้าเติบใหญ่จะได้ใช้ประโยชน์จากมัน[5]
อมีรุลมุอฺมีนีน(อ)กล่าวว่า ความรู้นั้น มีปริมาณมากกว่าการห้อมล้อมเเละสะสมมัน ดังนั้นในแต่ละศาสตร์ เจ้าจงเลือกเอาความรู้ที่ดีที่สุดในศาสตร์นั้น[6]และในคุตบะฮ์ฮัมมามท่าน(อ)กล่าวว่า (ลักษณะของผู้มีความยำเกรง คือ)พวกเขาจะสดับหูของพวกเขาไว้สำหรับความรู้ที่มีคุณประโยชน์[7]
[1] العِلْمُ سُلطانٌ ، مَنْ وَجَدَهُ صَالَ بِهِ وَمَن لَم یَجِدهُ صِیلَ عَلَیه ( شرح نهج البلاغة ، ابن ابی الحدید ، ج20 ، ص319 ) .
[2] خَرَجَ رَسُولُ اللهِ ( صلی الله علیه وآله وسلم ) فَإِذَا فِی الْمَسْجِدِ مَجْلِسَانِ : مَجْلِسٌ یَتَفَقَّهُونَ وَ مَجْلِسٌ یَدْعُونَ اللهَ وَ یَسْأَلُونَهُ ، فَقَالَ : کِلا الْمَجْلِسَیْنِ إِلَی خَیْرٍ؛ أَمَّا هَؤُلاءِ فَیَدْعُونَ اللهَ وَ أَمَّا هَؤُلاءِ فَیَتَعَلَّمُونَ وَ یُفَقِّهُونَ الْجَاهِلَ ، هَؤُلاءِ أَفْضَلُ ، بِالتَّعْلِیمِ أُرْسِلْتُ ، ثُمَّ قَعَدَ مَعَهُمْ ( منیة المرید ، ص106 ) .
[3] دَخَلَ رَسُولُ اللهِ ( صلی الله علیه وآله وسلم ) الْمَسْجِدَ ، فَإِذَا جَمَاعَةٌ قَدْ أَطَافُوا بِرَجُلٍ فَقَالَ رَسُولُ اللهِ ( صلی الله علیه وآله وسلم ) : مَا هَذَا؟ فَقَالُوا : عَلَّامَةٌ یَا رَسُولَ اللهِ! فَقَالَ ( صلی الله علیه وآله وسلم ) : وَ مَا الْعَلَّامَةُ؟ قَالُوا : عَالِم بِأَنْسَابِ الْعَرَبِ وَ وَقَائِعِهَا وَ أَیَّامِ الْجَاهِلِیَّةِ وَ الشّعرِ وَالعَرَبِیّة ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ ( صلی الله علیه وآله وسلم ) : ذلِکَ عِلْمٌ لا یَضُرُّ مَنْ جَهِلَهُ وَ لا یَنْفَعُ مَنْ عَلِمَه ( کتاب السرائر ، ج3 ، ص627 ) .
[4] . اَوْلَی الأشْیاءِ اَنْ یَتَعَلَّمَهَا الأحْداثُ الْأَشْیاءُ الَّتی اِذا صارُوا رِجالاً احْتاجُوا اِلَیْها ( شرح نهج البلاغة ، ابن ابی الحدید ، ج20 ، ص333 ) .
[5] تَعَلّمُوا العِلْم صِغَاراً ، تَسُودَوا بِهِ کِبَاراً ( شرح نهج البلاغة ، ابن ابی الحدید ، ج20 ، ص267 ) .
[6] الْعِلْمُ أَکْثَرُ مِنْ أَنْ یُحَاطَ بِهِ فَخُذُوا مِنْ کُلِّ عِلْمٍ أَحْسَنَهُ ( غرر الحکم ، ص46 ) .
[7] وَقَفُوا أَسْمَاعَهُمْ عَلَی الْعِلْمِ النَّافِعِ (نهج البلاغة، خطبه 193).