ความรู้บางประเภทที่จำเป็นต้องศึกษา
ความรู้บางประเภทที่จำเป็นต้องศึกษา
ความรู้เชิงศาสนา : อิมามริฎอ(อ)กล่าวว่า ขออัลอฮ ทรงเมตตา แด่บ่าวผู้ซึ่งทำให้กิจของเรามีชีวิต ผู้รายงานกล่าวถามว่า : จะทำให้กิจของท่านมีชีวิตได้อย่างไร อิมามกล่าวตอบว่า ด้วยการศึกษาแสวงหาความรู้ และถ่ายทอดมันแก่มนุษย์ผู้อื่น เพราะแท้จริงมนุษย์หากพวกเขารู้ถึง ความงดงามในดำรัสของเรา พวกเขาจะปฏิบัติตามเรา[1]
อิมามฮะซัน อัสการี(อ)กล่าวว่า รายงานจากท่านรอซูลลุลลอฮ ว่า พึงสังวรเถิด ผู้ใดในหมู่ผู้เจริญรอยตามเรา(ชีอะฮ์ของเรา) เป็นผู้มีความรู้ในวิชาของเรา และเขาได้ชี้แนะผู้โง่เขลาเบาปัญญา และได้ชี้นำและสั่งสอนบุคคลผู้นั้นด้วยบัญญัติของเราแล้ว แน่นอนยิ่งเขาจะอยู่กับเราในสรวงสวรรค์[2]
ศึกษาเรื่องอะกออิด : ท่านรอซูลลุลอฮ(ศ็อล) กล่าวว่า จงเปิดปากเด็กๆของพวกเจ้าด้วยวัจนะ ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ [เตาฮีด] [3]
ศึกษาอัลกุรอ่าน : อิมามบาเกร(อ)กล่าวว่า อมีรุลมุอฺมีนีนได้สั่งให้บุตรของท่านอ่านอัลกุรอ่าน[4]
ท่านรอซูลลอฮ (ศ)กล่าวว่า เป็นสิทธิของบุตร(และบุตรี)ที่มีต่อบิดา ที่จะให้เขาสอนซูเราะฮ์นูรแก่นาง[5]
ศึกษาฮาดิษ :อิมามบาเกร(อ)กล่าวว่า จงรุดหน้าซึ่งกันและกันในการแสวงหาความรู้ ขอสาบานต่อผู้ซึ่งวิญญาณของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า แท้จริงการศึกษาหนึ่ง ฮาดิษ ซึ่งเกี่ยวกับฮาลาลและฮาร่ามจากบุคคลผู้สัจจริงนั้นประเสริฐกว่าดุนยา และการครอบครองทองคำและเงิน[6]
ศึกษาฟิกฮ์ อะฮ์กาม และวาญิบต่างๆ :ท่านรอซูลุลอฮ(ศ)กล่าวถึง อะฮ์กามว่าด้วยมรดกว่า :จงเรียนเรื่องมรดกและจงสอนเรื่องนี้แก่ผู้คน เพราะแท้จริงฉันจะจากโลกนี้ไป...และฟิตนะฮ์จะเปิดเผย(จะมีความรุนแรงขึ้น)จนถึงระดับที่คนสองคนจะขัดแย้งกันในเรื่องมรดกโดยไม่พบผู้ใดที่จะยุติข้อพิพาทระหว่างทั้งสองให้สิ้นสุดลงได้[7]
ท่านศาสดา(ศ)กล่าวว่า จงศึกษาเล่าเรียนเรื่องมรดก และจงสอนมันแก่ผู้คน เพราะการศึกษามันคือ ครึ่งหนึ่งของความรู้ (และหากไม่หมั่นทบทวนอยู่เสมอ)มันจะถูกลืม และมันคือสิ่งแรกที่มีความพยายามจะแยกมันออกจากประชาชาติของฉัน(แยกการลืมหรือละเลยที่จะไม่ใส่ใจการแสวงหาความรู้ประเภทนี้ออกจากอุมมัตของฉัน)[8]
ชายผู้หนึ่งได้กล่าวต่อ อมีรุลมุอฺมีนีน(อ) ว่า ฉันต้องการทำการค้า ท่านจึงกล่าวถามว่า เจ้าได้ศึกษาความรู้ในศาสนาของอัลลอฮ แล้วหรือยัง ? เขากล่าวตอบว่า ฉันจะเรียนศึกษามันในภายหลัง
อมีรุลมุอฺมีนีน จึงกล่าวว่า ความวิบัติจงมีแด่เจ้า สิ่งแรกคือ ฟิกฮ์ หลังจากนั้น คือ การค้า เพราะแท้จริงบุคคลผู้ทำการซื้อขาย แต่กลับไม่รู้เรื่องฮาล้าล หรือ ฮะร่าม จะติดกับอยู่ในหลุมพรางแห่งดอกเบี้ย[9]
ตามวัจนะของอิมามศอดิก(อ)มุสลิมจะไม่ปรับปรุงกิจใดเว้นแต่สามสิ่งนี้ การใคร่ครวญในศาสนา ,ความอดทนต่อความยากลำบาก และการจัดการที่ดีในชีวิต [10]
ความรู้เชิงวิชาชีพ เทคนิคและวิทยาการ : อมีรุลมุอฺมีนีน(อ)กล่าวว่า การหมกหมุ่นในการทำงานอย่างมีความบริสุทธิ์และมียางอาย ประเสริฐกว่าความร่ำรวยอย่างมีที่แปดเปื้อนและมีมลทิน[11]
หมายเหตุ : มีรีวายัตมากมายกล่าวถึงคุณงามความดีของความรู้เชิงวิชาชีพ เช่น การเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรรม การทำสวนไร่นา การเดินเรือ การประมง และผู้ที่ออกทำงานแต่เช้าตรู่ เนื่องด้วยงานเหล่านี้มีความประเสริฐและคุณความดี จึงมีการเน้นให้ศึกษางานในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน
ศึกษาศิลปะในอิสลาม : อิสลามได้สั่งเสียให้มีการศึกษาศิลปะที่เจาะจงและมีคุณประโยชน์จากศิลปะสู่หนทางแห่งเตาฮีดและความรู้ในศาสนา ทั้งนี้บรรดาอิมามของชีอะฮ์ก็มีคำสั่งเสียให้ศึกษาบทกวีที่มีเรื่องราวของศาสดาและความเชื่อด้วยเช่นเดียวกัน
อิมามศอดิก(อ)กล่าวว่าอมีรุลมุอฺมีนีนโปรดเสมอให้มีการเล่าและรวบรวมบทกวีของอบีฏอลิบ และกล่าวว่า จงศึกษามัน และสอนให้แก่ลูกหลานของเจ้า เพราะแท้จริงเขา(อบูฏอลิบ) ดำรงมั่นบนศาสนาของอัลลอฮ และเขานั้นมีความรอบรู้ต่อเรื่องนั้นยิ่ง[12]
อิมามศอดิก(อ)กล่าวว่า โอ้ชีอะฮ์ของเรา พวกท่านจงสอนบทกวีอับดีย์ให้แก่ลูกหลานของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงเขาคือผู้มั่นบนศาสนาของอัลลอฮ์[13]
ศึกษาทักษะที่มีประสิทธิภาพ : รอซูลุลลอฮ(ศ)กล่าวว่า จงสอนการยิงธนูแก่บุตรหลานของพวกเจ้า[14]ในอีกฮาดิษหนึ่งกล่าวว่า จงสอนการฝึกว่ายน้ำ(ให้แก่บุตรหลานของพวกเจ้า)[15]
[1] رَحِمَ اللهُ عَبْداً أَحْیَا أَمْرَنَا ، فَقُلْتُ لَهُ : فکَیْفَ یُحْیِی أَمْرَکُمْ؟ قَالَ : یَتَعَلَّمُ عُلُومَنَا وَ یُعَلِّمُهَا النَّاسَ ، فَإِنَّ النَّاسَ لَوْ عَلِمُوا مَحَاسِنَ کَلامِنَا لاتَّبَعُونَا . . . ( معانی الأخبار ، ص180 ) .
[2] أَلَا فَمَنْ کَانَ مِنْ شِیعَتِنَا عَالِماً بِعُلُومِنَا فَهَدَی الْجَاهِلَ بِشَرِیعَتِنَا . . . وَ أَرْشَدَهُ وَ عَلَّمَهُ شَرِیعَتَنَا کَانَ مَعَنَا فِی الرَّفِیقِ الْأَعْلَی ( الإحتجاج ، ص16 ) .
[3] اِفْتَحُوا عَلَی صِبْیَانِکُمْ أَوَّلَ کَلِمَةٍ لا إِلَهَ إِلَّا اللهُ . . . ( کنز العمال ، ج16 ، ص441 ) .
[4] کَانَ أمیرُالمؤمِنینَ ( علیه السلام ) لَیَأْمُرُ وَلدَه بِقِرَاءَةِ الْمُصْحَفِ ( کتاب السرائر ، ج3 ، ص645 ) .
[5] حَقُّ الْوَلَدِ عَلَی وَالِدِهِ . . . إِذَا کَانَتْ أُنْثَی أَنْ . . . یُعَلِّمَهَا سُورَةَ النُّورِ . . . ( الکافی ، ج6 ، ص49 ) .
[6] تَنازَعُوا فِی طَلَبِ الْعِلْمِ وَ الَّذِی نَفْسِی بِیَدِهِ لَحَدِیثٌ وَاحِدٌ فِی حَلالٍ وَ حَرَامٍ تَأْخُذُهُ عَنْ صَادِقٍ خَیْرٌ مِنَ الدُّنْیَا وَ مَا حَمَلَتْ مِنْ ذَهَبٍ وَ فِضَّةٍ وَ ذَلِکَ انّ الله عَزّ وَجلّ یقولُ : « ما ءاتـٰکُمُ الرَّسولُ فَخُذوهُ و ما نَهـٰکُم عَنهُ فَانتَهوا » [ سوره حشر ، آیه 7 ] ( کتاب السرائر ، ج3 ، ص645 ) .
[7] تَعَلَّمُوا الْفَرَائِضَ وَعَلِّمُوهَا النَّاسَ ، فَإِنِّی إمْرُئٌ مَقْبُوضٌ ، . . . وَتَظْهَرُ الْفِتَنُ حَتَّی یَخْتَلِفَ الرّجُلان فِی فَرِیضَةٍ لا یَجِدَانِ مَنْ یَفْصِلُ بِینَهُمَا ( عوالی اللئالی ، ج3 ، ص491 ) (คำว่า ฟะรออิฎ ณ รีวายัตนี้ เป็นอภิธานศัพท์วิชาฟิกฮ์ หมายถึง มรดก
[8] تَعَلَّمُوا الْفَرَائِضَ وَعَلِّمُوهُا النَّاسَ ، فَإِنَّها نِصْفُ الْعِلْمِ وَهُوَ یُنْسَی وَهُوَ أَوَّلُ شَیْءٍ یُنْتَزَعُ مِنْ أُمَّتِی ( عوالی اللئالی ، ج3 ، ص491 )
[9] أَنَّ رَجُلاً قَالَ له : یَا أَمِیرَ الْمُؤْمِنِینَ! إِنِّی أُرِیدُ التِّجَارَةَ . قَالَ : أَ فَقِهْتَ فِی دِینِ اللهِ؟ قَالَ : یَکُونُ بَعْدَ ذَلِکَ . قَالَ : وَیْحَکَ ، الْفِقْهَ ثُمَّ الْمَتْجَرَ ، فَإِنَّهُ مَنْ بَاعَ وَ اشْتَرَی وَ لَمْ یَسْأَلْ عَنْ حَرَامٍ وَ لا حَلالٍ ارْتَطَمَ فِی الرِّبَا ثُمَّ ارْتَطَمَ ( دعائم الإسلام ، ج2 ، ص16 ) .
[10] إِنَّهُ لا یُصْلِحُ الْمَرْءَ الْمُسْلِمَ إِلَّا ثَلاثَةٌ : التَّفَقُّهُ فِی الدِّینِ وَ الصَّبْرُ عَلَی النَّائِبَةِ وَ حُسْنُ التَّقْدِیرِ فِی الْمَعِیشَةِ ( الکافی ، ج5 ، ص87 ) .
[11] الْحِرْفَةُ مَعَ الْعِفَّةِ خَیْرٌ مِنَ الْغِنَی مَعَ الْفُجُور ( نهج البلاغة ، نامه 31؛ غرر الحکم ، ص354 ) .
[12] كَانَ أَمِیرُ الْمُؤْمِنِین (علیه السلام) یعْجِبُهُ أَنْ یرْوَی شِعْرُ أَبِى طَالِبٍ وَ أَنْ یدَوَّنَ وَ قَالَ: تَعَلَّمُوهُ وَ عَلِّمُوهُ أَوْلادَكُمْ، فَإِنَّهُ كَانَ عَلَی دِینِ اللَّهِ وَ فِیهِ عِلْمٌ كَثِیرٌ (ایمان ابیطالب (للفخار)، ص130؛ وسائل الشیعة، ج17، ص332).
[13] یا مَعْشَرَ الشِّیعَةِ! عَلِّمُوا أَوْلادَكُمْ شِعْرَ الْعَبْدِىِّ فَإِنَّهُ عَلَی دِینِ اللَّهِ (رجال الكشی، ص401). درباره اشعار عبدی ر.ك: الغدیر، ج2، ص429
[14] عَلِّمُوا أَبْنَاءَكُمُ الرَّمْىَ... (نوادر راوندی، ص49).
[15] عَلِّمُوا أَوْلادَكُمُ السِّبَاحَةَ (الكافى، ج6، ص47)