มารยาทของการสอนและการเรียนรู้
มารยาทของการสอนและการเรียนรู้
เรียนรู้จากผู้ที่คู่ควร : รอซูลุลลอฮ(ศ) กล่าวว่า : การแสวงหาความรู้ ถือเป็นวาญิบ สำหรับมุสลิมทุกคน ดังนั้นท่านทั้งหลายจงแสวงหาความรู้จากตำแหน่งของมัน และผู้ที่ครอบครองมันเถิด[1]
รอซูลุลลอฮ(ศ) กล่าวว่า หนึ่งในคำสั่งเสียของซุลกอรไน คือ จงอย่าได้หาความรู้จากผู้ที่ไม่รู้จักใช้ประโยชน์จากมัน เพราะแท้จริงแล้ว ผู้ที่ไม่ใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ตนมี ย่อมไม่อาจมอบประโยชน์ใดให้แก่ท่านได้ [2]
อมีรุลมุอฺมีนีน(อ)กล่าวว่า : โอ้มวลมนุษย์เอ๋ย จงรู้เถิดว่า แท้จริง .... ความรู้ถูกรักษาไว้ โดยบรรดาเจ้าผู้ครอบครองมัน และพวกท่านมีหน้าที่แสวงหามัน จากผู้เหล่าเจ้าผู้ครอบครองเหล่านี้[3]
มีความอดทน : ท่านศาสดา(ศ )ผู้ที่ไม่อดทนต่อโมงยามแห่งการเรียนรู้ ย่อมประสบอัปยศแห่งความโขลาตลอดกาล[4]
อย่าอายที่จะเรียนรู้ อิมามริฎอ(อ) : ผู้ที่ไม่มีความรู้ จงอย่าอายที่จะเรียนรู[5]
การอนุญาตให้ยกยอเพื่อเรียนรู้ รอซูลลุลลอฮ(صلی الله علیه و آله) : การยกยอไม่ใช่อัคลาคของผู้ศรัทธา เว้นแต่จะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้[6]
อมีรุลมุอฺมีนีน(อ) กล่าวว่า การเยินยอ และความอิจฉา ไม่ใช่อัคลาคของผู้ศรัทธา เว้นแต่จะเป็นไปเพื่อ แสวงหาความรู้[7]
ออกห่างจากเจตนาเรียนเพื่อดุนยา : รอซูลุลลอฮ์(صلی الله علیه و آله)กล่าวว่า จงอย่าแสวงหาความรู้โดยมีแรงจูงใจเพื่อการยกตนเหนือบรรดาผู้รู้ และ จงอย่าโต้เถียงกับบรรรดาคนเขลา และ จงอย่าโอ้อวดตนเองในบรรดามัญลิส และ จงอย่าดึงดูดปวงชนมาสู่พวกเจ้า เพื่ออำนาจ ผู้ใดกระทำเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมตกอยู่ในนรก และความรู้ของผู้นั้นจะกลายเป็นหลักฐานที่เป็นไม่คุณต่อเขา กระนั้นก็ตาม จงแสวงหามัน(ความรู้)และถ่ายทอดมันแก่ผู้อื่น[8]
รอวี เล่าว่า ฉันได้ยินจากอิมามศอดิก(อ)กล่าวว่า ผู้ใดกินปันส่วนของความรู้ของเขา ผู้นั้นย่อมขัดสน รอวี จึงสอบถามท่าน(อ)และกล่าวว่า ข้าให้ข้าได้พลีเพื่อท่าน แท้จริงในหมู่ชีอะฮ์ของท่าน และมวลมิตรของท่าน คือ กลุ่มชนที่เล่าเรียนจากความรู้ของท่าน และเผยแพร่วิชาเหล่านั้นแก่บรรดาชีอะฮ์ของท่าน และปวงชนเองต่างก็ปฏิบัติดี แลรู้จักให้ และให้เกียรติแก่พวกเขา ท่าน(อ)กล่าวตอบว่า
พวกเขาไม่ใช่ผู้กินปันส่วนของความรู้ ทว่าผู้กินปันส่วนของความรู้ คือ ผู้ซึ่งออกคำฟัตวา(คำวินิจฉัย,ข้อตัดสิน)โดยปราศจากความรู้ และการชี้นำของพระองค์อัลลอฮ(عزّ و جّل) ด้วยความโลภในการได้มาซึ่งสิ่งของไร้ค่า และโลกดุนยาอันแสนสั้น เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นสิทธิของผู้อื่น[9]
จดบันทึก อิมามฮะซัน(อ)มีประสงค์ให้เชิญบรรดาบุตรของท่าน และบรรดาบุตรของน้องชายท่าน และกล่าวแก่พวกเขาว่า บัดนี้ เจ้าทั้งหลายล้วนเป็นเยาวชนของครอบครัว และจะเป็นผู้มีอายุของครอบครัวในภายภาคหน้า เช่นนั้นแล้วจงร่ำเรียนวิชาความรู้ และหากผู้ใดในหมู่พวกเจ้าไม่อาจจดจำวิชาความรู้ได้ ก็จงจดบันทึกมันไว้ และจงรักษามันไว้ในเหย้าเรือนของตนเอง(เผื่อว่าเจ้าจะได้ใช้ประโยชน์จากมันในยามจำเป็น)[10]
ตั้งคำถาม อิมามบาเกร(อ)กล่าวว่า ความรู้ คือบรรดาคลังขุมทรัพย์ และกุญแจของมันคือ การถาม เช่นนั้น จงถามเถิด พระองค์อัลลอฮ จะทรงเมตตาต่อท่าน เพราะแท้จริง ในเรื่องความรู้ จะมีผู้ได้รับผลตอบแทนอยู่สี่ประเภท อันได้แก่ ผู้ถาม ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ตอบคำถามเหล่านั้น[11]
จงสอนผู้อื่น : รอซูลุลลอฮ(صلی الله علیه و آله)กล่าวว่า ศอดาเกาะฮ์ที่ดีที่สุด คือ บุรุษได้ร่ำเรียนวิชาความรู้ และได้ถ่ายทอดมันให้แก่พี่น้องของเขา[12]
อิมามบาเกร(อ)ซะกาต ของความรู้ คือ การถ่ายทอดมันให้ป่วงบ่าวของอัลลอฮ [13]
มองอย่างเท่าเทียมกันในการสอน อิมามศอดิก(อ)กล่าวสอนแก่ ฮันซาน ว่า จงอย่าสอนเพื่อเอารางวัล และจงปฏิบัติต่อ[เยาวชน]ผู้ศึกษาในชั้นเรียนของเจ้าอย่างเท่าเทียมกัน และอย่าได้ยกใครให้เหนือกว่ากัน[14]
สอนด้วยวิธีที่ง่าย ท่านรอซูลุลลอฮ(صلی الله علیه و آله)กล่าวว่า แท้จริงอัลอฮผู้ทรงสูงส่ง แต่งตั้งฉันเพื่อเป็นครูที่สอนอย่างง่ายดาย[15]
ผลบุญของการสอน อับดุรเราะฮมาน ซุลามี ได้สอนซูเราะฮฟาติฮะฮ์ให้แก่บุตรคนหนึ่งของอิมามฮูเซน(อ)เมื่อบุตรคนนนั้นได้อ่านซูเราะห์นั้นเบื้องหน้าบิดาของตน ท่าน(อ)จึงมอบเงินจำนวนหนึ่งพันดีนาร์ และผ้าเนื้องามพันผืน และเติมเต็มปากของเขาด้วยใข่มุกให้แก่เขา ต่อมา มีผู้ท้วงติงท่าน ท่าน(อ)จึงตอบว่า สิ่งนี้ตอบแทนได้ไม่เท่ากับสิ่งนั้น(การสอน)ของเขาสียด้วยซ้ำไป[16]
[1] طَلَبُ الْعِلْمِ فَرِیضَةٌ عَلَی كُلِّ مُسْلِمٍ فَاطْلُبُوا الْعِلْمَ مِنْ مَظَانِّهِ وَ اقْتَبِسُوهُ مِنْ أَهْلِهِ... (الامالی، طوسی، ص569).
[2] . مِنْ وَصِیةِ ذِى الْقَرْنَینِ: لا تَتَعَلَّمِ الْعِلْمَ مِمَّنْ لَمْ ینْتَفِعْ بِهِ، فَإِنَّ مَنْ لَمْ ینْفَعْهُ عِلْمُهُ لا ینْفَعُكَ (الدعوات، ص63)
[3] أَیهَا النَّاسُ! اعْلَمُوا أَنَّ... الْعِلْم مَخْزُونٌ عِنْدَ أَهْلِهِ وَ قَدْ أُمِرْتُمْ بِطَلَبِهِ مِنْ أَهْلِهِ فَاطْلُبُوهُ (الكافى، ج1، ص30).
[4] . مَنْ لَمْ یصْبِرْ عَلَی ذُلِّ التَّعَلُّمِ سَاعَةً بَقِىَ فِى ذُلِّ الْجَهْلِ أَبَداً (عوالی اللئالی، ج1، ص285).
[5] لا یسْتَحْیى أَحَدُهُم إِذَا لَمْ یعْلَمْ أَنْ یتَعَلَّمَ (عیون اخبار الرضا علیه السلام، ج2، ص44).
[6] لَیسَ مِنْ أَخْلاقِ الْمُؤْمِنِ الْمَلَقُ إِلاَّ فِى طَلَبِ الْعِلْمِ (عدة الداعی،ص81)
[7] . لَیسَ مِنْ أَخْلاقِ الْمُؤْمِنِ الْمَلَقُ وَ لاَ الْحَسَدُ إِلاَّ فِى طَلَبِ الْعِلْمِ (تحف العقول، ص207)
[8] لا تَطْلُبُوا الْعِلْمَ لِتُبَاهُوا بِهِ الْعُلَمَاءَ وَ لا لِتُمَارُوا بِهِ السُّفَهَاءَ وَ لا لِتُرَاءُوا بِهِ فِى الْمَجَالِسِ وَ لا لِتَصْرِفُوا وُجُوهَ النَّاسِ إِلَیكُمْ لِلتَّرَاؤُسِ، فَمَنْ فَعَلَ ذَلِكَ كَانَ فِى النَّارِ وَ كَانَ عِلْمُهُ حُجَّةً عَلَیهِ یوْمَ الْقِیامَةِ وَ لَكِنْ تَعَلَّمُوهُ وَ عَلِّمُوهُ (ارشاد القلوب، ص16)
[9] مَنِ اسْتَأْكَلَ بِعِلْمِهِ افْتَقَرَ. فَقُلْتُ لَهُ: جُعِلْتُ فِدَاكَ إِنَّ فِى شِیعَتِكَ وَ مَوَالِیكَ قَوْماً یتَحَمَّلُونَ عُلُومَكُمْ وَ یبُثُّونَهَا فِی شِیعَتِكُمْ فَلاَ یعْدَمُونَ عَلَی ذَلِكَ مِنْهُمُ الْبِرَّ وَ الصِّلَةَ وَ الإِكْرَامَ، فَقَالَ علیه السلام لَیسَ أُولَئِكَ بِمُسْتَأْكِلِینَ، إِنَّمَا الْمُسْتَأْكِلُ بِعِلْمِهِ الَّذِى یفْتِى بِغَیرِ عِلْمٍ وَ لا هُدًی مِنَ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ لِیبْطِلَ بِهِ الْحُقُوقَ طَمَعاً فِى حُطَامِ الدُّنْیا (معانی الاخبار، ص181).
[10] أَنَّهُ دَعَا بَنِیهِ وَ بَنِی أَخِیهِ، فَقَالَ: إِنَّكُمْ صِغَارُ قَوْمٍ وَ یوشِكُ أَنْ تَكُونُوا كِبَارَ قَوْمٍ آخَرِینَ، فَتَعَلَّمُوا الْعِلْمَ، فَمَنْ لم یسْتَطِعْ مِنْكُمْ أَنْ یحْفَظَهُ فَلْیكْتُبْهُ وَ لْیضَعْهُ فِی بَیتِهِ (منیة المرید، ص340).
[11] الْعِلْمُ خَزَائِنُ وَ الْمَفَاتِيحُ السُّؤَالُ، فَاسْأَلُوا يَرْحَمُكُمُ اللَّهُ، فَإِنَّهُ يُؤْجَرُ فِي الْعِلْمِ أَرْبَعَةٌ السَّائِلُ وَ الْمُتَكَلِّمُ وَ الْمُسْتَمِعُ وَ الْمُحِبُّ لَهُمْ (كتاب الخصال، ص245).
[12] أَفْضَلُ الصَّدَقَةِ أَنْ یعْلَمَ الْمَرْءُ عِلْماً ثُمَّ یعَلِّمَهُ أَخَاهُ (منیة المرید، ص105).
[13] زَكَاةُ الْعِلْمِ أَنْ تُعَلِّمَهُ عِبَادَ اللَّهِ (الكافى، ج1، ص41).
[14] عَنْ حَسَّانَ الْمُعَلِّمِ، قَالَ: سَأَلْتُ أَبَاعَبْدِاللَّهِ(علیه السلام) عَنِ التَّعْلِیمِ، فَقَالَ لا تَأْخُذْ عَلَی التَّعْلِیمِ أَجْراً... بَعْدَ أَنْ یكُونَ الصِّبْیانُ عِنْدَكَ سَوَاءً فِى التَّعْلِیمِ لاتُفَضِّلُ بَعْضَهُمْ عَلَی بَعْضٍ (الكافى، ج5، ص121)
[15] انَّ اللَّه تَعَالَی... بَعَثَنِى مُعَلِّمًا مُیسِّراً (الجامع الصغیر، ج1، ص273)
[16] إِنَّ عَبْدَالرَّحْمَنِ السُّلَمِىَّ عَلَّمَ وَلَدَ الْحُسَینِ(علیه السلام) الْحَمْدَ، فَلَمَّا قَرَأَهَا عَلَی أَبِیهِ أَعْطَاهُ أَلْفَ دِینَارٍ وَ أَلْفَ حُلَّةٍ وَ حَشَا فَاهُ دُرّاً، فَقِیلَ لَهُ فِى ذَلِكَ، قَالَ: وَ أَینَ یقَعُ هَذَا مِنْ عَطَائِهِ؛ یعْنِى تَعْلِیمَهُ (مناقب آل ابیطالب، ابن شهرآشوب، ج4، ص66).