การทำงานและความพยายาม ตอนที่ 3
การทำงานและความพยายาม ตอนที่ 3
การออกห่างจากความเกียจคร้านและความไม่ใส่ใจ
อมีรุลมุอมีนีน(อ)หากการทำงาน จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้า การไม่ทำอะไรเลยก็จะทำให้เกิดความเสียหายเช่นกัน[1]
อิมามบาเกร(อ)กล่าวว่า ความเกียจคร้าน ย่อมส่งผลเสียต่อดีน(ศาสนา)และดุนยา[2]
อิมามศอดิก(อ)กล่าวแก่ บุตรบางคนของท่านว่า จงออกห่างความเกียจคร้าน และความไม่ใส่ใจ เพราะสองสิ่งนี้ จะขัดขวางเจ้าจากการแสวงหาประโยชน์จากดุนยาและอาคีเราะฮ์[3]
ในอีกรีวายัตหนึ่งท่าน(อ)กล่าวว่า จงอย่าอ่อนแอ เพราะคนที่รู้จักเจ้า จะดูถูกเจ้า [4] และจงอย่าทำตัวเป็นภาระแก่ผู้คน[5]และผู้ที่ถูกชิงชังมากที่สุดในทัศนะของอัลลอฮ คือ ผู้ที่นอนหลับในยามกลางคืน แต่กลับไม่ทำงานในยามกลางวัน[6]
อิมามกาซิม(อ)กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮ จะทรงชิงชังต่อบ่าวผู้ที่นอนมาก แต่กลับไม่ทำงาน[7]
อิบนุอับบาส กล่าวว่า เมื่อใดที่ท่านรอซูลุลลอ(ศ ) ได้มองดูบางคน แล้วเกิดความยินดี ท่านจะกล่าวถามแก่เขาว่า งานของเจ้าอะไร ? หากพวกเขาตอบว่า ไม่มี ท่านจะกล่าวว่า ตาของฉันได้ตกลงแล้ว (ผิดหวัง) มีผู้กล่าวถามว่า นั่นเป็นเช่นไรหรือ โอ้ ศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ ?ท่านตอบว่า เพราะแท้จริงผู้ศรัทธา ที่ไม่มีการงานอาชีพ เขาจะใช้ประโยชน์จากการ(ขาย)ศาสนา เพื่อสนองตอบของตน[8]
[1] إِنْ یكُنِ الشُّغُلُ مَجْهَدَةً فَاتِّصَالُ الْفَرَاغِ مَفْسَدَة (الارشاد، ج1، ص298)
[2] الْكَسَلُ یضُرُّ بِالدِّینِ وَ الدُّنْیا (تحف العقول، ص300).
[3] إِیاكَ وَ الْكَسَلَ وَ الضَّجَرَ، فَإِنَّهُمَا یمْنَعَانِكَ مِنْ حَظِّكَ مِنَ الدُّنْیا وَ الآخِرَةِ (الکافی، ج5، ص85).
[4] وَ لا تَكُنْ وَاهِناً یحَقِّرْكَ مَنْ عَرَفَكَ (تحف العقول، ص304).
[5] وَ لا تَكُونُوا كُلُولاً عَلَی النَّاسِ (الكافى، ج5، ص72).
[6] أَبْغَضُ الْخَلْقِ إِلَی اللَّهِ جِیفَةٌ بِاللَّیلِ بَطَّالٌ بِالنَّهَارِ (بحار الانوار، ج84، ص158).
[7] إِنَّ اللَّهَ جَلَّ وَ عَزَّ یبْغِضُ الْعَبْدَ النَّوَّامَ الْفَارِغَ (الکافی، ج5، ص84)
[8] كَانَ رَسُولُ اللَّهِ (صلی الله علیه و آله و سلم) إِذَا نَظَرَ إِلَی الرَّجُلِ فَأَعْجَبَهُ قَالَ: لَهُ حِرْفَةٌ؟ فَإِنْ قَالُوا: لا، قَالَ: سَقَطَ مِنْ عَینِى. قِیلَ وَ كَیفَ ذَاكَ یا رَسُولَ اللَّهِ؟ قَالَ: لأَنَّ الْمُؤْمِنَ إِذَا لَمْ یكُنْ لَهُ حِرْفَةٌ یعِیشُ بِدِینِهِ (جامع الاخبار، ص139؛ مستدرک الوسائل، ج13، ص11