การตื่นเช้าและการทำงาน
การตื่นเช้าและการทำงาน
ท่านรอซูลุลลอฮ(ศ)กล่าวว่า การตื่นยามรุ่งสาง คือความมงคลบารอกัต และมันจะทำให้เนียะมัตได้รับการเพิ่มพูน โดยเฉพาะปัจจัยยังชีพ[1]และยังกล่าวอีกว่า จงตื่นเช้าเพื่อออกไปแสวงหาปัจจัยยังชีพ เพราะมันคือมันจะทำให้เจ้าได้(ปัจจัย)มาอย่างง่ายดาย[2]
อมีรุลมุอมีนีน (อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า การตื่นเช้าเพื่อแสวงหาริสกี จะช่วยเพิ่มพูนริสกี [3]
ในอีกริวายัตหนึ่งกล่าวว่า ผู้ใดแสวงหาความมั่นคงถาวร และไม่ถาวร ผู้นั้นย่อมต้องตื่นในยามเช้า[4]
ในอีกริวายัต กล่าวว่า ไม่มีการตื่นเช้าใดในหนทางของอัลลอฮ จะดีและยิ่งใหญ่ไปกว่า การตื่นเช้าเพื่อแสวงหาปัจจัยให้แก่บุตรและครอบครัวของตนตามสิ่งที่พวกเขาเหมาะสม[5]
อิมามศอดิก(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า จงจริงจัง และตั้งใจ และเมื่อใดที่เจ้านมาซซุบฮ์เสร็จสิ้นแล้ว จงใช้ช่วงเช้าของเจ้าในการแสวงหาริซกี และปัจจัยฮาล้าล เพราะแท้จริง อัลลอฮ (อัซซาวะญัลลา) จะทรงประทานริซกีให้แก่เจ้า และจะประทานความช่วยเหลือแก่พวกเจ้า[6]
ในอีกรีวายัตรายงานว่า เมื่อเข้ายามเช้า อิมามซัจญาด(อลัยฮิสลาม)จะออกจากบ้านเพื่อแสวงหาริซกี มีผู้กล่าวกับท่านว่า โอ้บุตรของรอซูลุลลอฮ์ ท่านจะไปที่ใดหรือ ?ท่านตอบว่า เพื่อแสวงหาศอดาเกาะให้แก่ครอบครัวของฉัน ผู้ถามจึงพูดขึ้นว่า ท่านยอมรับในศอดาเกาะฮ์[7]หรือ ? อิมามจึงตอบว่า ผู้ใดแสวงหาปัจจัยฮาล้าล ผู้นั้นยอมรับในศอดาเกาะจากพระองค์อัลลอฮ (อัซซาวะญัลลา)และมอบมันให้แก่ครอบครัวของเขา[8]
[1] قَالَ رَسُولُ اللَّهِ (صلی الله علیه و آله و سلم)... الْبُكُورُ مُبَارَكٌ یزِیدُ فِى جَمِیعِ النِّعَمِ، خُصُوصاً فِى الرِّزْقِ... (آداب المتعلمین، ص144؛ بحار الانوار، ج73، ص318).
[2] بَاكِرُوا بِالْحَوَائِجِ، فَإِنَّهَا مُیسَّرَةٌ... (كتاب الخصال، ج2، ص394).
[3] أَ لا أُنَبِّئُكُمْ بَعْدَ ذَلِكَ بِمَا یزِیدُ فِى الرِّزْقِ... الْبُكُورُ فِى طَلَبِ الرِّزْقِ یزِیدُ فِى الرِّزْقِ... (وسائل الشیعة، ج15، ص348)
[4] مَنْ أَرَادَ الْبَقَاءَ وَ لا بَقَاءَ فَلْیبَاكِرِ الْغَدَاءَ... (عیون اخبار الرضا، ج2، ص38).
[5] مَا غُدْوَةُ أَحَدِكُمْ فِى سَبِیلِ اللَّهِ بِأَعْظَمَ مِنْ غُدْوَتِهِ یطْلُبُ لِوُلْدِهِ وَ عِیالِهِ مَا یصْلِحُهُمْ (دعائم الإسلام، ج2، ص15).
[6] سَیرْزُقُكُمْ وَ یعِینُكُمْ عَلَیهِ (الكافى، ج5، ص79).
[7] ในรีวายัตบทนี้ศอดาเกาะฮ์ที่อิมามพูดถึงหมายถึงการประทานริซกีจากพระองค์อัลลอฮ ดังที่จะเห็นได้จากตัวบทซึ่งบุคคลผู้ถามได้ถามกับท่านอิมาม และจากคำตอบที่ได้รับ ตัวบทในภาษาอาหรับ คือ
أَینَ تَذْهَبُ؟ فَقَالَ: أَتَصَدَّقُ لِعِیالِى. قِیلَ لَهُ: أَ تَتَصَدَّقُ؟ قَالَ: مَنْ طَلَبَ الْحَلالَ فَهُوَ مِنَ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ صَدَقَةٌ عَلَیهِ
ความว่า ผู้แสวงหาปัจจัยฮาล้าล คือ ผู้ยอมรับการศอดาเกาะจากพระเจ้าให้แก่ครอบครัวของเขา และส่งมันให้แก่พวกเขา ณ ที่นี้หมายถึง ครอบครัว
[8] كَانَ عَلِىُّ بْنُ الْحُسَین (علیه السلام) إِذَا أَصْبَحَ خَرَجَ غَادِیاً فِى طَلَبِ الرِّزْقِ، فَقِیلَ لَهُ: یا ابْنَ رَسُولِ اللَّهِ! أَینَ تَذْهَبُ؟ فَقَالَ: أَتَصَدَّقُ لِعِیالِى. قِیلَ لَهُ: أَ تَتَصَدَّقُ؟ قَالَ: مَنْ طَلَبَ الْحَلالَ فَهُوَ مِنَ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ صَدَقَةٌ عَلَیهِ (الكافى، ج4، ص12)