เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การปกป้องร่างกายและขอบเขตต้องห้ามในการทำอันตรายต่อจิตใจ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การปกป้องร่างกายและขอบเขตต้องห้ามในการทำอันตรายต่อจิตใจ


อรัมภบท
          มนุษย์คือสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า คือคอลีฟะฮ์ของพระองค์ คืออามานะฮ์ของพระองค์ คือ สิ่งที่ถูกสร้างมาเพื่อให้มีชีวิต เพื่อให้ใช้ชีวิตซึ่งตามหลักของโองการนี้
اسْتَجِیبُوا لِلهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاکُمْ لِمَا یُحْیِیکُمْ
(บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย) “จงตอบรับอัลลอฮฺ และรอซูลเถิด เมื่อเขา ได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิต”[1]
สิ่งที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเขา(บ่าว)ในด้านหนึ่งมีพระผู้เป็นเจ้าเป็นแกนกลาง ในอีกด้านหนึ่งอยู่ในการใช้ชีวิตและการเป็นบ่าวใน ซึ่งในภาษาของศาสดาดังกล่าวนี้ถูกกล่าวถึงว่าเป็น เนียะมัตที่ซ่อนเร้นหรือเนียะมัตที่ไม่เป็นที่รับรู้[2] และปัจจัยที่ทำให้การใช้ชีวิตและการเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าเกิดความสงบขึ้นได้ ก็เนื่องจากการประสบกับความซาลิม(คำนี้ครอบคลุมความหมายของสุขภาพที่ดี ความเป็นปกติ และมักจะกล่าวถึงภาวะที่ตรงข้ามกับ มะรัฎ ซึ่งหมายถึง การป่วยไข้)ทั้งทางใจและทางกาย และเนื่องด้วยเหตุนี้เองทั้งปัญญาและหลักฐานจากรายงานต่างก็เห็นพ้องในการออกข้อตัดสินว่าเป็นวาญิบที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจและยังไม่อนุญาตให้มนุษย์กระทำการใดที่เป็นการทำร้ายตนเอง แม้ว่าเขาจะประสบกับโศกนาฎกรรมที่หนักหน่วงสักเพียงใดก็ตาม ทำเนียงเดียวกันยังถือด้วยว่าการทำอันตรายใดๆถือเป็นสิ่งต้องห้ามอีกด้วย[3]
รีวายัตกลุ่มหนึ่งจึงเป็นรายงานที่เกี่ยวกับการรักษาจิตวิญญาณและการดูแลวสุขภาพร่างกาย พร้อมกันนั้นยังมีคำสอนให้หลีกเลี่ยงการทำอันตรายต่อทั้งสอง ซึ่งนับเป็นประเด็นที่ถูกให้ความสำคัญเป็นพิเศษและยังมีการเน้นการคงสภาพความปกติของทั้งสองไว้อีกด้วย โดยเป็นในลักษณะที่บางรีวายัตได้ระบุว่า แม้แต่ร่างกายและอวัยวะในร่างก็ถูกนับว่าเป็นอามานะฮ์ของพระผู้เป็นเจ้า และพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ได้กล่าวถึงการรักษาอามานะฮ์ว่าเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ดีเลิศของผู้ศรัทธาและผู้ดำรงไว้ซึ่งการนมาซอย่างแท้จริง ดั่งที่ระบุไว้ในอัลกุรอ่านว่า
و الَّذینَ هُم لِأَمـٰنـٰتِهِم و عَهدِهِم رٰعون
“และ(ผู้ศรัทธาคือ)บรรดาผู้ซึ่งรักษาอามานะฮ์และพันธสัญญาของเขา” [4]
นอกจากนี้ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ก็ยังได้กล่าวอีกว่า หู ตา ลิ้น และใจล้วนเป็นอามานะฮ์ ผู้ใดไม่ดูแลรักษา ผู้นั้นย่อมไม่มีศรัทธา[5]
ความสำคัญของการรักษาสุขภาพกายและจิต
รอซูลุลลอฮ(ศ)กล่าวว่า โอ้อาลีเอ๋ย ผู้ใดละทิ้งสุราเพื่อสิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระองคฺ์อัลลอฮ อัลลอฮจะทรงทำให้เขาอิ่มหนำด้วยสุราจากสวรรค์  อิมามอาลีจึงถามว่า เพื่อสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮหรือ[6] ? ศาสดาตอบ ใช่แล้ว ขอสาบานต่ออัลลอฮ ผู้ใดเลิกดื่มสุราเพื่อรักษาชีวิตของตน พระองค์อัลลออจะจะทรงขอบคุณด้วยเหตุผลเดียวกัน[7]
ท่านรอซูลุลลอฮ(ศ)ได้ห้ามไม่ได้ผู้ใดนอนอยู่ในสถานที่ที่หลังคาของที่แห่งนั้นไม่มีความปลอดภัย[เพราะเป็นตรายต่อชีวิต][8]
อีกรีวายัตระบุว่ากล่าวว่า โอ้อบูซัรเอ๋ย จงใช้ประโยชน์จากสุขภาพที่ดีก่อน(การมาของ)โรคภัยไข้เจ็บเสียเถิด และจงใช้ประโยชน์จากสุขภาพที่ดีของเจ้าในยามที่เจ้าป่วยไข้[9]
ท่านยังกำชับว่า[บทนี้ท่านนำเสนอเนื้อความแทนการแปลตรงตัวบท]ผู้ใดใช้วันและคืน โดยนำพาเนียะมัตสามประการนี้ เขาได้รับเนียะมัตในทางโลกนี้อย่างสมบูรณ์แล้ว เนียะมัตสามประการนั้นได้แก่ สุขภาพร่างกาย ค่าใช้จ่ายรายวัน อัมนียัต(คำนี้มีสามความหมาย ได้แก่ ความปลอดภัยของชีวิต และความมั่นคงของชีวิต และหลักประกันของชีวิต ซึ่งครอบคลุมทั้งสามความหมาย)และหากนำพาเนียะมัตที่สี่ แน่นอนยิ่งเขาคือผู้ที่ได้รับเนียะมัตความโปรดปรานจากพระผู้เป็นเจ้าทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮ์อย่างสมบูรณ์แล้ว[10]
อีกรีวายัตกล่าวว่า ความปลอดภัย และการอภัย คือ สองเนียะมัต ที่มนุษย์ส่วนมาก ไม่ใส่ใจ(ไม่รู้คุณค่า โง่เขลา ถูกล่อลวง)ต่อมัน[11]
 อมีรุลมุอฺมีนีน(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า สองสิ่งซึ่งเขาไม่รู้ถึงคุณค่าของมัน จนกระทั่งเขาได้สูญเสียมันไป ได้แก่ ความเยาว์ และอาฟียัต[12]
ท่าน(อลัยฮิสลาม)ได้อธิบายโองการ ﴿و لا تَنسَ نَصیبَكَ مِنَ الدُّنیا﴾ ซึ่งกล่าวว่า และจงอย่า(ลืมเลือน)ไม่รู้คุณค่าต่อประโยชน์แท้จริงที่เจ้าได้รับจาก(ความมั่งคงของ)ดุนยานี้[13] ท่าน(อลัยฮิสลาม)อธิบายว่า หมายถึง จงอย่าลืมถึง(คุณค่าของ)สุขภาพที่ดีของตนเอง[14] และในการตัฟซีรโองการ ﴿لَتُسـئَلُنَّ یومَئِذٍ عَنِ النَّعیم﴾ ในวันซึ่ง(กิยามัต)เนียะมัตต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ถูกไถ่ถาม(จากพวกเจ้า)[15] ท่านอธิบายว่า เนียะมัตหนึ่งซึ่งจะถูกถามในวนนั้นคือ สุขภาพที่ดี[16]แน่นอนว่า เนียะมัตแห่งวิลายัต คือเนียะมัตที่ประเสริฐสุด ตามที่ท่านอิมาม(อลัยฮิสลาม)ได้กล่าวไว้ในโองการนี้ว่า "เนียะมัตนั้นคือเรา"[17]
ท่านอิมามศอดิก(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า สุขภาพที่ดีคือเนียะมัตที่ถูกซ่อนไว้ ผู้ใดลืมเลือนมัน และผู้ใดสูญเสียมันไป ผู้นั้นจะระลึกถึงมัน[18]
ในอีกรายงานกล่าวว่า ห้าสิ่งซึ่งหากบุคคลใดไม่มีมัน ชีวิตเขาจะไม่มีรสชาติ : ….และสุขภาพที่ดี[19]
[1] อันฟาล : 24
[2]قال رسول الله ( صلی الله علیه وآله وسلم ) : نِعْمَتَان ِمَجْهُولَتَانِ : الأمْنُ وَ الْعَافِیة ( روضة الواعظین ، ص472 ) .
[3] لَا یَجُوز اللَّطْمُ و الْخَدْش وَ جَزُّ الشَّعْرِ ( العروة الوثقی ، ج2 ، ص131 ) . . . لِحُرمَةِ الإِضْرَارِ بِالنَّفْسِ . . . ( العروة الوثقی ، ج4 ، ص424
[4] ซูเราะฮ์มะอาริจญ์ : 32
[5] وَ السَّمْعُ اَمَانَةٌ وَ الْبَصَرُ أَمَانَةٌ وَ الْلِّسَانُ أَمَانَةٌ وَ الْقَلْبُ أَمَانَةٌ وَ لَا إِیمَانَ لِمَنْ لَا أمَانَةَ لَهُ ( موسوعة احادیث اهل البیت  ( علیهم السلام ) ، ج8 ، ص370 ) .
[6] ท่านอธิบายในข้อหนึ่งว่า บัญญัติชัรอีย์ ส่วนหนึ่งมี การแสวงหาความใกล้ชิดเป็นเงื่อนไข เช่น นมาซ ถือศีลอด และอีกส่วนไม่มีการแสวงหาความใกล้ชิดเป็นเงื่อนไข เช่น การกำชับในความดีและยับยั้งในความชั่ว การละสิ่งฮะร่าม และการเลิกสุรา
[7] یا عَلِی! مَنْ تَرَكَ الْخَمْرَ لِغَیرِ اللَّهِ سَقَاهُ اللَّهُ مِنَ الرَّحِیقِ الْمَخْتُومِ، فَقَالَ عَلِی (علیه السلام) لِغَیرِ اللَّهِ؟ قَالَ: نَعَمْ وَ اللَّهِ مَنْ تَرَكَهَا صِیانَةً لِنَفْسِهِ یشْكُرُهُ اللَّهُ عَلَی ذَلِک (الفقیه، ج4، ص353؛ مكارم الاخلاق، ص433).
[8] نَهَی رَسُولُ اللَّهِ (صلی الله علیه و آله و سلم) أَنْ یبَاتَ عَلَی سَطْحٍ غَیرِ مُحَجَّرٍ (الكافى، ج6، ص530).
[9] ... خُذْ مِنْ صِحَّتِكَ لِسُقْمِكَ... (الامالی، طوسی، ص526)
[10] مَنْ أَصْبَحَ وَ أَمْسَی وَ عِنْدَهُ ثَلاثٌ فَقَدْ تَمَّتْ عَلَیهِ النِّعْمَةُ فى الدُّنْیا: مَنْ أَصْبَحَ وَ أَمْسَی مُعَافی فى بَدَنِهِ آمِناً فى سَرْبِهِ عِنْدَهُ قُوتُ یوْمِهِ، فَإِنْ كَانَتْ عِنْدَهُ الرَّابِعَةُ فَقَدْ تَمَّتْ عَلَیهِ النِّعْمَةُ فى الدُّنْیا وَ الآخِرَةِ وَ هُوَ الإِسْلامُ (الكافى، ج8، ص148).
[11] الأمْنُ وَ الْعَافِیةُ نِعْمَتَانِ مَغْبُونٌ فِیهِمَا كَثِیرٌ مِنَ النّاسِ (الجامع الصغیر، ج1، ص477).
[12] شَیئَانِ لا یعْرِفُ فَضْلَهُمَا إِلاَّ مَنْ فَقَدَهُمَا: الشَّبَابُ وَ الْعَافِیةُ (غرر الحكم، ص324)
[13] ฟุซซีลัต : 77
[14] لا تَنْسَ صِحَّتَكَ... (الامالی، صدوق، ص228).
[15] ตะกาซุร : 8
[16] . الصِّحَّةُ... (ارشاد القلوب، ج1، ص38).
[17] فِى قَوْلِهِ: ... قَالَ: نَحْنُ النَّعِیم (بحار الانوار، ج24، ص52).
[18] الْعَافِیةُ نِعْمَةٌ خَفِیةٌ إِذَا وُجِدَتْ نُسِیتْ وَ إِذَا فُقِدَتْ ذُكِرَت (الفقیه، ج4، ص406).
[19] خَمْسٌ مَنْ لَمْ یكُنَّ فِیهِ لَمْ یتَهَنَّأِ بِالْعَیشُ: الصِّحَّةُ... (المحاسن، ج1، ص9).

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม