เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ปัจจัยสำหรับการรักษาสุขภาพ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ปัจจัยสำหรับการรักษาสุขภาพ


อมีรุลมุอฺมีนีน(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า ผู้ใดกินอาหารที่สะอาด และเคี้ยวมันอย่างละเอียดดี และละอาหารไว้ก่อนอิ่ม(เกินพอดี) และไม่อั้นไว้ในยามขับถ่าย นอกจากโรคแห่งความมตายแล้ว เขาจะไม่ป่วยเป็นโรคใดเลย[1]
อมีรุลมุอฺมีนีน(อลัยฮิสลาม)กล่าวแก่อิมามฮะซัน(อลัยฮิสลาม)ว่า เจ้าต้องการให้ฉันสอนคุณสมบัติสี่ประการซึ่งจะทำให้ไม่ต้องพึ่ง(ความลำบาก)จากการรักษาอีกต่อไปหรือไม่ อิมามฮะซันตอบ แน่นอนยิ่ง เมื่อนั้นอิมามอาลีจึงกล่าวว่า จงอย่านั่งเคียงสำรับอาหารตราบใดที่เจ้ายังไม่หิว(อย่ากินตอนที่ไม่หิว)จงอย่าลุกจากสำรับอาหารตราบใดที่เจ้ายังมีความอยากต่อมัน จงเคี้ยวอาหารให้ดี(เคี้ยวอย่างละเอียด) จงเข้าสุขาก่อนที่เจ้าจะเข้านอน เมื่อใดที่เจ้าปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้ เจ้าจะไม่ต้องการการรักษาใดๆอีกเลย[2]
อิมามริฎอ(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า หากมนุษย์กินน้อยลง ร่างกายของพวกเขาจะมั่นคงขึ้น[3]
อีกรีวายัตรายงานว่า ผู้ใดกินน้อย ร่างกายของเจาจะมีสุขภาพที่ดี และหัวใจของเขาจะสะอาดผ่องใสขึ้น[4]
ศาสดา(ศ) กล่าวว่า กระเพาะอาหารเป็นที่เก็บของเหลวของร่างกาย และเป็นที่เชื่อมของเส้นเลือด ดังนั้นเมื่อกระเพาะอาหารแข็งแรง เส้นเลือดจะแข็งแรงตามกัน และเมื่อกระเพาะอาหารป่วย เส้นเลือดจะป่วยไปตามกัน[5]
อีกรีวายัตระบุว่า กระเพาะอาหาร คือ บ้านของทุกความเจ็บป่วย และการหลีกเลี่ยง เป็นฐานของทุกการเยียวยา[6]
อิหม่ามกาซิม (อลัยฮิสลาม) กล่าวว่า กระเพาะอาหารเป็นที่อยู่และศูนย์กลางของโรคร้าย[7]
รอซูลุลลอฮ (ศ)กล่าวว่า: จงให้ทารกของเจ้าเข้าสุหนัตเมื่ออายุได้เจ็ดวัน เพราะมันเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อหนังมีความบริสุทธิ์และเติบโตอย่างรวดเร็ว[8]
รอซูลลุอฮ(ศ) กล่าวว่า จงออกเดินทางเพื่อที่เจ้าทั้งหลายจะได้มีสุขภาพที่ดี[9]
 อิมามซัจญาด(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า จงเดินทางไปทำฮัจญ์และอุมเราะห์ เพราะมันจะช่วยร่างกายของมีสุขภาพที่แข็งแรง[10]
อิมามอาลี(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า การอยู่ในยามค่ำคืน คือ ปัจจัยที่ทำให้ร่างการมีสุขภาพที่ดี[11]
อีกรีวายัตระบุว่า ความเงียบคือปัจจัยทำให้มีสุขภาพที่ดี[12]
พณท่านฯ หมายเหตุว่า ความเงียบ ณ ที่นี้ หมายถึง ความเงียบในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต้องพูด จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความสงบในจิตใจ เช่นเดียวกัน พึงหลีกเลี่ยงการพูดในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น (การพูด)ทำให้เกิดความเป็นศัตรู (การพูดทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
[1] مَنْ أَكَلَ الطَّعَامَ عَلَی النَّقَاءِ وَ أَجَادَ الطَّعَامَ تَمَضُّغاً وَ تَرَكَ الطَّعَامَ وَ هُوَ یشْتَهِیهِ وَ لَمْ یحْبِسِ الْغَائِطَ إِذَا أَتَی لَمْ یمْرَضْ إِلاَّ مَرَضَ الْمَوْتِ (مكارم الاخلاق، 146)
[2] قَالَ أَمِیرُ الْمُؤْمِنِینَ (علیه السلام) لِلْحَسَن (علیه السلام) أَ لا أُعَلِّمُكَ أَرْبَعَ خِصَالٍ تَسْتَغْنِى بِهَا عَنِ الطِّبِّ؟ قَالَ: بَلَی. قَالَ: لا تَجْلِسْ عَلَی الطَّعَامِ إِلاَّ وَ أَنْتَ جَائِعٌ وَ لا تَقُمْ عَنِ الطَّعَامِ إِلاَّ وَ أَنْتَ تَشْتَهِیهِ وَ جَوِّدِ الْمَضْغَ وَ إِذَا نِمْتَ فَاعْرِضْ نَفْسَكَ عَلَی الْخَلاءِ، فَإِذَا اسْتَعْمَلْتَ هَذَا اسْتَغْنَیتَ عَنِ الطِّبِّ (كتاب الخصال، ص229؛ وسائل الشیعة، ج24، ص245).
[3] لَوْ أَنَّ النَّاسَ قَصَّرُوا فى الطَّعَامِ لاسْتَقَامَتْ أَبْدَانُهُمْ (مكارم الاخلاق، ص362).
[4] مَنْ قَلَّ طَعَامُهُ صَحَّ بَدَنُهُ وَ صَفَا قَلْبُهُ... (الدعوات، ص77).
[5] الْمَعِدَةُ حَوْضُ الْبَدَنِ وَالْعُرُوقُ إلَیهَا وَارِدَةٌ، فَإِذَا صَحّتْ الْمَعِدَةُ صَدَرَتْ الْعُرُوقُ بِالصّحّةِ وَإِذَا سَقِمَتْ الْمَعِدَةُ صَدَرَتْ الْعُرُوقُ بِالسّقَمِ (كنز العمال، ج10، ص38).
[6] الْمَعِدَةُ بَیتُ كُلِّ دَاءٍ وَ الْحِمْیةُ رَأْسُ كُلِّ دَوَاءٍ فَأَعْطِ نَفْسَكَ مَا عَوَّدْتَهَا (طب النبی، ص19)
[7] الْمَعِدَةُ بَیتُ الدَّاءِ (مكارم الاخلاق، ص362).
[8] . اخْتِنُوا أَوْلادَكُمْ فى السَّابِعِ، فَإِنَّهُ أَطْهَرُ وَ أَسْرَعُ لِنَبَاتِ اللَّحْمِ... (مكارم الاخلاق، ص230).
[9] سَافِرُوا تَصِحُّوا... (الفقیه، ج2، ص265).
[10] حُجُّوا وَ اعْتَمِرُوا تَصِحَّ أَجْسَامُكُمْ... (الدعوات، ص76)
[11] قِیامُ اللَّیلِ مَصَحَّةُ الْبَدَنِ... (تهذیب الاحكام، ج2، ص121)
[12] السُّكُوتُ سَلامَةٌ... (تحف العقول، ص223).

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม