ปัจจัยสำหรับการรักษาสุขภาพ ตอนที่ 2
ปัจจัยสำหรับการรักษาสุขภาพ ตอนที่ 2
ในอิสลามนอกจาก จะมีคำสั่งให้รักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ยังมีคำสั่งให้เห็นความสำคัญจองการพักผ่อน-ผ่อนคลายอวัยวะต่างๆในร่างกายด้วยเช่นเดียวกัน และไม่ใช่เพียงแค่นั้น แต่ยังกำชับให้มุสลิมปฏิบัติต่อร่างกายของตนเองในทางสายกลาง(ไม่หักโหมจนเลยเถิด ไม่หย่อนหยานจนละเลย) อมีรุลมุอฺมีนีน(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า จงอย่ากดดันหัวใจของเจ้า เพื่อความเข้าใจของเจ้า เพราะแท้จริงอวัยวะทุกส่วนในร่างกายล้วนต้องการการพักผ่อน[1]
อิมามศอดิก(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า ผู้ที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ โดยไม่ปล่อยให้ดวงตาของเขาได้ผ่อนคลาย(และเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ตน) การงานของเขานั้นเป็นฮะร่าม แม้ว่าทรัพย์สินที่ได้จะฮาล้าลก็ตาม[2]
ในอีกรีวายัตระบุว่า การตื่นและทำงานทั้งคืน (โดยไม่ให้ความสำคัญต่อสิทธิของดวงตา)ถือเป็นฮะร่าม[3](เว้นแต่เขาจะอยู่ในช่วงเวลาที่จำเป็น เช่น สงคราม หรือเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และอื่นในทำนองเดียวกัน)
อิมามกาซิม(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า หลักของการหลีกเลี่ยง คือ การปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย[4]
อิมามริฎอ(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า การนอน(อย่างเหมาะสม)จะทำให้ร่างกายมีพละกำลัง[5]
ตัวบท
[1] فَلا تَجُبَّ فَهْمَكَ بِالإِلْحَاحِ عَلَی قَلْبِكَ، فَإِنَّ لِكُلِّ عُضْوٍ مِنَ الْبَدَنِ اسْتِرَاحَةً (غرر الحكم، ص60).
[2] مَنْ بَاتَ سَاهِراً فى كَسْبٍ وَ لَمْ یعْطِ الْعَینَ حَظَّهَا مِنَ النَّوْمِ فَكَسْبُهُ ذَلِكَ حَرَامٌ (الكافى، ج5، ص127).
[3] الصُّنَّاعُ إِذَا سَهِرُوا اللَّیلَ كُلَّهُ فَهُوَ سُحْتٌ (الكافى، ج5، ص127).
[4] رَأْسُ الْحِمْیةِ الرِّفْقُ بِالْبَدَنِ (بحار الانوار، ج59، ص141).
[5] أَنَّ النَّوْمَ... قِوَامُ الْجَسَدِ وَ قُوَّتُه (بحار الانوار، ج59، ص316).