ปัจจัยที่ทำให้ป่วยไข้
ปัจจัยที่ทำให้ป่วยไข้
ปัจจัยทางวัตถุ: ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) กล่าวว่า: "โอ้อะลี! สิ่งเก้าประการเป็นเหตุให้เกิดความหลงลืม ได้แก่ การรับประทานแอปเปิ้ลเปรี้ยว, การรับประทานผักชี, ชีส, เศษอาหารที่เหลือจากหนู, การอ่านตัวหนังสือบนหลุมศพ, การเดินระหว่างสตรีสองคน, การปล่อยแมลงออกจากร่างกาย, การฮิญามัตในบริเวณหลังคอ และการปัสสาวะในน้ำขัง"[1] นอกจากนี้ ท่านยังกล่าวว่า: "สิ่งห้าประการเป็นเหตุให้เกิดโรคเรื้อน ได้แก่ การใช้นูเราะฮ์ในวันศุกร์และวันพุธ, การอาบน้ำนมาซและการอาบน้ำฆุซุลด้วยน้ำที่ร้อนจากการต้องรังสีของแสงแดด, การกินขณะยังไม่สะอาด (หลังจากการญุนุบ), การร่วมประเวณีกับภรรยาขณะมีประจำเดือน และการกินเมื่ออิ่ม"[2]
ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) กล่าวว่า: "จงดูดน้ำ เมื่อดื่ม(ดื่มทีละนิด)จงอย่าดื่มรวดเดียว เพราะมันจะส่งผลเสียต่อตับ"[3]
ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) กล่าวว่า: "จงหลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ใต้แสงแดด เพราะมันจะทำให้เสื้อผ้าสึกหรอ ทำให้ร่างกายมีกลิ่นเหม็น และทำให้โรคที่ซ่อนเร้นปรากฏออกมา"[4]
หมายเหตุ: ฮาดิษนี้อาจหมายถึงสถานการณ์เฉพาะ บุคคลเฉพาะ หรือช่วงเวลาและสถานที่เฉพาะ ที่ในกรณีดังกล่าวแสงแดดอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือทำให้เป็นลมแดดได้ แต่หากเป็นสถานการณ์ที่แสงแดดช่วยกำจัดเชื้อจุลินทรีย์จากร่างกายหรือเสื้อผ้าได้ ในกรณีนั้นแสงแดดก็จะมีประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการทางการแพทย์ที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ของแสงแดด
ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ.) กล่าวว่า: "ผู้ที่วางรากแห่งความปรารถนาในอาหารอย่างหลากหลายไว้ในจิตใจ จะเก็บเกี่ยวผลของโรคต่างๆ"[5] และกล่าวว่า: "อย่าปรารถนาชีวิตเพื่อการกิน แต่จงกินเพื่อดำรงชีวิต"[6] ท่านยังกล่าวอีกว่า: "กระเพาะอาหารเป็นศูนย์รวมของโรค และการละเว้น (จากอาหารที่ไม่ดี) คือหนทางแห่งการรักษา จงฝึกให้ร่างกายคุ้นเคยกับสิ่งที่มันเคยชิน สุขภาพจะไม่อยู่ร่วมกับความตะกละ และไม่มีโรคใดที่เลวร้ายไปกว่าความไร้ปัญญา"[7] อีกทั้งท่านยังกล่าวอีกว่า: "เมื่อพวกท่านซื้อเนื้อสัตว์มา จงนำต่อม (ไขมันส่วนเกิน) ออก เพราะมันกระตุ้นเส้นของโรคเรื้อน"[8] และกล่าวอีกว่า: "การนั่งในห้องน้ำเป็นเวลานานจะนำไปสู่โรคริดสีดวงทวาร"[9]
อิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า: "การใช้ไม้ขัดฟัน (มิสวาก) ในห้องอาบน้ำเป็นสิ่งที่มักรูฮ์ เพราะจะก่อให้เกิดการเน่าเสียของฟัน[10]"
อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า: "การรับประทานเนื้อที่เค็มและตากแห้งภายใต้แสงแดดเป็นสิ่งที่ทำลายร่างกายและอาจถึงแก่ชีวิต" และยังกล่าวว่า "มันเป็นสาเหตุของความชราเร็วกว่าปกติ"[11] อีกทั้งท่านยังกล่าวอีกว่า: "สามสิ่งทำลายร่างกายและอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ คือ การเข้าอาบน้ำเมื่อท้องอิ่ม, การร่วมประเวณีขณะท้องอิ่ม, และการร่วมกับหญิงชรา"[12] มีรายงานว่า: "ผู้ใดรับประทานอาหารมากเกินไป ร่างกายจะเจ็บป่วยและจิตใจจะหยาบกร้าน"[13]
อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า: "การบริโภคสามสิ่งอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายผอมแห้ง ได้แก่ ไข่, ปลา และดอกอินทผลัม"[14] .ท่านยังกล่าวอีกว่า: "การหวีผมในห้องอาบน้ำทำให้ผมอ่อนแอและบางลง"[15]
อิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า: "ผู้ที่ต้องการให้กระเพาะไม่สร้างความรำคาญ จงอย่าดื่มน้ำทันทีหลังอาหาร แต่รอจนกว่าอาหารจะย่อยก่อน เพราะหากทำเช่นนี้ ร่างกายจะเย็น (เปียกชื้น), กระเพาะจะอ่อนแอ และเส้นเลือดจะไม่สามารถรับพลังจากอาหารได้อย่างเต็มที่"[16]
อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า: "การรับประทานไข่ร่วมกับปลาในคราวเดียวกัน ก่อให้เกิดโรคเกาต์, โรคโคลิก (ปวดบิดในช่องท้อง), ริดสีดวง และปวดฟัน"[17] ท่านยังกล่าวอีกว่า: "การรับประทานเนื้อดิบจะทำให้เกิดพยาธิในกระเพาะ"[18]
#ปัจจัยที่ไม่ใช่วัตถุ: อิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า: "เมื่อใดที่ผู้คนก่อกรรมที่ไม่เคยกระทำมาก่อน อัลลอฮ์จะประทานบททดสอบหรือโรคภัยใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนแก่พวกเขา"[19]
อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า: "อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงส่งศาสนทูตท่านหนึ่งมายังกลุ่มชนและทรงมีโองการว่า: ‘จงบอกแก่ประชาชนของเจ้าเถิดว่า เมื่อใดที่กลุ่มชนหรือครอบครัวที่เคยเชื่อฟังเราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากสิ่งที่เรารักไปสู่สิ่งที่เราไม่ชอบ เราจะเปลี่ยนความสุขของพวกเขาไปเป็นความทุกข์’"[20] ท่านยังกล่าวอีกว่า: "ผลของการทำชั่วจะส่งผลต่อผู้กระทำเร็วกว่าแรงมีดที่ปักลงในเนื้อ"[21]
ตัวบท
[1] «يَا عَلِيُّ! تِسْعَةُ أَشْيَاءَ تُورِثُ النِّسْيَانَ: أَكْلُ التُّفَّاحِ الْحَامِضِ وَ أَكْلُ الْكُزْبَرَةِ وَ الْجُبُنِّ وَ سُؤْرِ الْفَأْرَةِ وَ قِرَاءَةُ كِتَابَةِ الْقُبُورِ وَ الْمَشْيُ بَيْنَ امْرَأَتَيْنِ وَ طَرْحُ الْقَمْلَةِ وَ الْحِجَامَةُ فِي النُّقْرَةِ وَ الْبَوْلُ فِي الْمَاءِ الرَّاكِدِ» .) الفقيه: 4/ 361.
[2] «خَمْسُ خِصَالٍ تُورِثُ الْبَرَصَ: النُّورَةُ يَوْمَ الْجُمُعَةِ وَ يَوْمَ الْأَرْبِعَاءِ وَ التَّوَضّؤ وَ الاغْتِسَالُ بِالْمَاءِ الَّذِي تُسْخِنُهُ الشَّمْسُ وَ الْأَكْلُ عَلَى الْجَنَابَةِ وَ غِشْيَانُ الْمَرْأَةِ فِي أَيامِ حَيْضِهَا وَ الْأَكْلُ عَلَى الشِّبَعِ» .) كتاب الخصال: 270.
[3] «مَصُّوا الْمَاءَ مَصّاً وَ لا تَعُبُّوهُ عَبّاً ، فَإِنَّهُ يُوجَدُ مِنْهُ الْكُبَادُ» .) الكافي: 6/ 381.
[4] «إِيَّاكُمْ وَ الْجُلُوسَ فِي الشَّمْسِ، فَإِنَّهَا تُبْلِي الثَّوْبَ وَ تُنْتِنُ الرِّيحَ وَ تُظْهِرُ الدَّاءَ الدَّفِين» .) الجامع الصغیر: 1/ 450.
[5]«مَنْ غَرَسَ فِي نَفْسِهِ مَحَبَّةَ أَنْوَاعِ الطَّعَامِ اجْتَنَى ثِمَارَ فُنُونِ الْأَسْقَامِ» .) غرر الحکم: 484.
[6] لا تَطْلُبُ الحَياةَ لِتَأْكُلَ بَلْ اطْلُبِ الأَكْلَ لِتَحْيا» .) شرح نهج البلاغة: 20/ 333.
[7] «الْمَعِدَةُ بَيْتُ الأَدْوَاءِ وَ الْحِمْيَةُ رَأْسُ الدَّوَاءِ وَ عَوِّدْ كُلَّ بَدَنٍ مَا اعْتَادَ، لا صِحَّةَ مَعَ النَّهَمِ وَ لا مَرَضَ أَضْنَى مِنْ قِلَّةِ الْعَقْلِ» .) الدعوات: 77.
[8] «إِذَا اشْتَرَى أَحَدُكُمُ اللَّحْمَ فَلْيُخْرِجْ مِنْهُ الْغُدَدَ، فَإِنَّهُ يُحَرِّكُ عِرْقَ الْجُذَامِ» .) علل الشرائع: 561.
[9] «طُولُ الْجُلُوسِ عَلَى الْخَلاءِ يُورِثُ الْبَاسُورَ» .) کتاب الخصال: 19.
[10] «یُکْرَهُ السِّوَاکُ فِی الْحَمَّامِ لِأَنَّهُ یُورِثُ وَبَاءَ الْأَسْنَانِ» .) الفقیه: 1/ 54.
[11] «ثَلاثَةٌ یَهْدِمْنَ الْبَدَنَ وَ رُبَّمَا قَتَلْنَ: أَکْلُ الْقَدِیدِ الْغَابِّ...» .) الكافی: 6/ 314. ( «أَرْبَعَةٌ تُهْرِمُ قَبْلَ أَوَانِ الْهَرَمِ: أَکْلُ الْقَدِید...» .) تحف العقول: 317.
[12] «ثَلاثَةٌ یَهْدِمْنَ الْبَدَنَ وَ رُبَّمَا قَتَلْنَ: دُخُولُ الْحَمَّامِ عَلَی الْبِطْنَةِ وَ الْغِشْیَانُ عَلَی الامْتِلاءِ وَ نِکَاحُ الْعَجَائِز» .) الفقیه: 3/ 555.
[13] «وَ مَنْ کَثُرَ طَعَامُهُ سَقُمَ بَدَنُهُ وَ قَسَا قَلْبُهُ» .) الدعوات: 77.
[14] «وَ أَمَّا الَّتِی یَهْزِلْنَ فَإِدْمَانُ أَکْلِ الْبَیْضِ وَ السَّمَکِ وَ الطَّلْع» .) کتاب الخصال: 155؛ وسائل الشیعة: 2/ 32.
[15] «وَ لا تُسَرِّحْ فِی الْحَمَّامِ، فَإِنَّهُ یُرَقِّقُ الشَّعْر» .) الفقیه: 1/ 116.
[16] «وَ مَنْ أَرَادَ أَنْ لا تُؤْذِیَهُ مَعِدَتُهُ فَلَا یَشْرَبْ عَلَی طَعَامِهِ مَاءً حَتَّی یَفْرُغَ وَ مَنْ فَعَلَ ذَلِکَ رَطِبَ بَدَنُهُ وَ ضَعُفَتْ مَعِدَتُهُ وَ لَمْ تَأْخُذِ الْعُرُوقُ قُوَّةَ الطَّعَامِ» .) بحار الأنوار: 59/ 323.
[17] «وَ احْذَرْ أَنْ تَجْمَعَ بَیْنَ الْبَیْضِ وَ السَّمَکِ فِی الْمَعِدَةِ فِی وَقْتٍ وَاحِدٍ، فَإِنَّهُمَا مَتَی اجْتَمَعَا فِی جَوْفِ الإِنْسَانِ وَلَدَا عَلَیْهِ النِّقْرِسَ وَ الْقُولَنْجَ وَ الْبَوَاسِیرَ وَ وَجَعَ الْأَضْرَاسِ» .) مستدرک الوسائل: 16/ 359.
[18] «أَکْلُ اللَّحْمِ النِّی ءِ یُوَلِّدُ الدُّودَ فِی الْبَطْنِ» .) بحار الأنوار: 59/ 319.
[19] «کُلَّمَا أَحْدَثَ الْعِبَادُ مِنَ الذُّنُوبِ مَا لَمْ یَکُونُوا یَعْمَلُونَ أَحْدَثَ اللهُ لَهُمْ مِنَ الْبَلاءِ مَا لَمْ یَکُونُوا یَعْرِفُونَ» .) الكافی: 2/ 275.
[20] «إِنَّ اللهَ عَزَّ وَ جَلَّ بَعَثَ نَبِیّاً مِنْ أَنْبِیَائِهِ إِلَی قَوْمِهِ وَ أَوْحَی إِلَیْهِ أَنْ قُلْ لِقَوْمِکَ إِنَّهُ لَیْسَ مِنْ أَهْلِ قَرْیَةٍ وَ لا أُنَاسٍ کَانُوا عَلَی طَاعَتِی فَأَصَابَهُمْ فِیهَا سَرَّاءُ فَتَحَوَّلُوا عَمَّا أُحِبُّ إِلَی مَا أَکْرَهُ إِلَّا تَحَوَّلْتُ لَهُمْ عَمَّا یُحِبُّونَ إِلَی مَا یَکْرَهُونَ» .) الكافی: 2/ 268.
[21] «وَ إِنَّ عَمَلَ الشَّرِّ أَسْرَعُ فِی صَاحِبِهِ مِنَ السِّکِّینِ فِی اللَّحْمِ» .) المحاسن: 25.