ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์
ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์
ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ (ภาษาอาหรับ سَلْمانُ مِنّا أهلَ البيت) ถือเป็นฮะดีษซึ่งถูกเป็นที่รู้จัก ระดับมุตะวาติรและมีสายรายงานที่ถูกต้อง (เศาะฮีห์) ฮะดีษนี้ได้รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)แห่งอิสลาม เกี่ยวกับความสูงส่งและสถานภาพของ ซัลมาน อัลฟารซีย์ บรรดาอิมามของชีอะฮ์บางคน เช่น อิมามอะลี (อ.) อิมามซัจญาด (อ.)และอิมามบากิร (อ.) ยังได้รายงานฮะดีษนี้อย่างเป็นเอกเทศหรือมีการรายงานจากศาสนทูตของอัลลอฮ์ (อ.)
เหตุการณ์การขุดสนามเพลาะ ในสงครามอะห์ซาบ และคำพูดของอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบเกี่ยวกับการที่ไม่ใช่ชาวอาหรับของซัลมาน ถือเป็นเหตุการณ์บางส่วนที่ได้รับรายงานเกี่ยวกับเหตุผลของฮะดีษนี้ที่รายงานจากศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ)
เชคศอดูก เชคฏูซี เชคมุฟีด จากบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ และอิบนุซะอ์ด และอิบนุฮิชาม จากบรรดานักวิชาการอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ได้บันทึกฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือของพวกเขา
บางคนกล่าวว่า ความหมายของศาสนทูตของอัลลอฮ์ในฮะดีษ ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ หมายถึง ซัลมานนั้น อยู่ในศาสนาของเรา บางคนถือว่า ฮะดีษนี้ยังอธิบายถึงสถานภาพของซัลมาน ทั้งในแง่ของความใกล้ชิดทางหลักศรัทธา จริยธรรมและศีลธรรม และการมีปฏิสัมพันธ์ของเขากับศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)
ในปี 1413 ฮ.ศ. มุฮัมมัดอะลี อัสบัร ได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อ ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ ณ กรุงเบรุต เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับชีวประวัติของซัลมาน อัลฟารซีย์ และสภาพต่างๆของเขา รวมทั้งฮะดีษ ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ อีกด้วย
การแนะนำและสถานภาพ
ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ เป็นฮะดีษที่นักวิจัยชีอะฮ์ กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่มาจากศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) [1] ตามแหล่งข้อมูลด้านฮะดีษ อิมามของชีอะฮ์บางคนได้กล่าวถึงอย่างเป็นเอกเทศหรือมีการรายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [2] ตัวอย่างเช่น อิมามอะลี (อ.) ในการตอบคำถามเกี่ยวกับซัลมาน เขาได้กล่าวว่า ซัลมาน มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) [3] ในหนังสืออัลกาฟีย์ เขียนโดยกุลัยนี (เสียชีวิต: 329 ฮ.ศ.) ฮะดีษนี้ยังได้รายงานจากอิมามซัจญาด ด้วยการใช้คำที่มีความแตกต่างกัน ถือว่า ซัลมาน มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ [4] นอกจากนี้ ตามรายงานจากหนังสือ เราเฎาะตุลวาอิซีน เขียนโดยฟัตตาล นีชาบูรี ระบุว่า มีการพูดคุยต่อหน้าอิมามบากิร (อ.) เกี่ยวกับซัลมาน อัลฟาร์ซีย์ (อ.) อิมามจึงเชิญชวนให้พวกเขานิ่งเงียบและบอกให้เรียกว่า ซัลมาน มุฮัมมะดีย์ เพราะว่า เขานั้นมาจากอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) [5]ในหนังสือริญาล กัชชี บันทึกไว้ว่า อิมามศอดิก (อ.)รายงานในริวายะฮ์ว่า ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) [6]
แหล่งที่มาของฮะดีษ
เกี่ยวกับการเกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่ การรายงานฮะดีษนี้ มีความเห็นที่แตกต่างในแหล่งที่มา [7] เฏาะบัรซี นักตัฟซีรชีอะฮ์และอิบนุ ซะอ์ด นักเขียนชีวประวัติของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กำหนดขอบเขตสำหรับบรรดามุสลิมจากการขุดสนามเพลาะในสงครามอะห์ซาบ ชาวมุฮาญิรและอันศอรต่างก็ไม่เห็นด้วยกับซัลมาน ซึ่งเป็นชายที่มีความแข็งแกร่ง และทั้งสองคนต่างก็ต้องการให้ซัลมานเป็นของตัวเอง ซึ่งศาสดาแห่งอิสลามได้เรียกเขาว่า เป็นหนึ่งในอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) พร้อมประโยคที่ว่า ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ [8]
เชคมุฟีด เขียนไว้ในรายงานว่า เมื่อศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ยินคำพูดของอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ เกี่ยวกับการที่ไม่ใช่ชาวอาหรับของซัลมาน เขาได้ขึ้นไปที่ธรรมาสน์และในขณะที่กล่าวเทศนาธรรมอธิบายว่า มนุษย์ไม่มีความเหนือกว่ากัน อันเนื่องจากเชื้อชาติและสีผิว เว้นแต่ด้วยความยำเกรง เขาถือว่า ซัลมาน เป็นมหาสมุทรที่ไม่มีวันหมดสิ้นและเป็นขุมสมบัติที่ไม่มีที่สิ้นสุด (9) ในหนังสือ ซุลัยม์ บิน ก็อยส์ ยังรายงานริวายะฮ์จากศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) โดยเขาได้ให้บุคคลที่ไม่เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ออกนอกมัจญ์ลิซ ขณะที่ซัลมานกำลังจะออกไป ศาสดาได้ขอร้องให้เขาอยู่ เพราะว่า เขานั้นมาจากอะฮ์ลุลบัยต์ (10)
ความถูกต้องของฮะดีษและแหล่งที่มา
ฮะดีษ ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ เป็นหนึ่งในฮะดีษซึ่งถูกเป็นที่รู้จัก มีความเชื่อถือได้ [11]และอยู่ในระดับขั้นมุตะวาติร[12]นักวิจัยบางคน ถือว่า ฮะดีษนี้ มีสายรายงานที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ไม่ใช่ฮะดีษเดียว แต่เป็นส่วนหนึ่งของฮะดีษในหลายบท [13] ของศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) [14]
เชคศอดูก ในหนังสือ อุยูนุอัคบารุรริฎอ (15) เชคฏูซี ในหนังสือ อัตติยานและมิศบาฮุลมุตะฮัจญิด(16) เชคมุฟีด ในหนังสือ อัลอิคติศอซ (17) อิบนุ ชะฮ์ร ออชูบ ในหนังสือ มะนากิบ อาลิอะบีฏอลิบ (18) อะห์มัด บิน อะลี เฏาะบัรซี ในหนังสือ อัลอิห์ติญาจ (19) และนอกเหนือจากนี้ ซุลัยม์ บิน ก็อยส์ (20) และนักวิชาการชีอะฮ์บางคนที่รายงานฮะดีษนี้ อิบนุ ซะอ์ด ในหนังสือ อัตเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ [21]และ อิบนุ ฮิชาม ในหนังสือ อัซซีเราะตุลนะบะวียะฮ์ [22] นักวิชาการซุนนีบางส่วนยังได้รายงานฮะดีษนี้ด้วยเช่นกัน
การตีความฮะดีษที่แตกต่างกัน
นักวิชาการมุสลิม มีการตีความฮะดีษ ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ ที่แตกต่างกัน :
ฟัฎล์ บิน ฮะซัน เฏาะบัรซีและเชคฏูซี กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของศาสนทูตของพระเจ้า หมายความว่า ซัลมานอยู่ในศาสนาของเรา [23]บางคน เขียนว่า ฮะดีษนี้ได้แสดงให้เห็นถึงสถานภาพของซัลมาน ทั้งในแง่ความศรัทธา จริยธรรมและศีลธรรม และการกระทำที่ใกล้ชิดกับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [24]
อิบนุ อะรอบี หนึ่งในอาริฟชาวมุสลิม ถือว่า ประโยคนี้ เป็นคำยืนยันของศาสดา เกี่ยวกับระดับขั้นของความสะอาด การปกป้องจากพระเจ้า และความบริสุทธิ์ของซัลมาน ด้วยเหตุผลที่ว่า ในโองการตัฏฮีร พระผู้เป็นเจ้าได้ชำระให้ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) สะอาดบริสุทธิ์ เพราะว่า พวกเขาเป็นบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระองค์ และทุกคนที่มีลักษณะคล้ายกับพวกเขา ก็จะเข้าร่วมกับศาสดาและอะฮ์ลุลบัยต์ด้วย ด้วยวิธีนี้ ยังได้รวมถึงซัลมานด้วย [25] อย่างไรก็ตาม มุลลา ฮะซันฟัยฎ์ กาชานี ได้ปฏิเสธเนื้อหาของอิบนุ อะรอบี และโองการตัฏฮีรรวมถึงซัลมานและบุคคลอื่นๆ ที่นอกเหนือจากอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) และแม้แต่ยังไม่อนุญาตให้พูดถึงด้วยซ้ำ [26]
ขณะที่นักวิจัยกลุ่มหนึ่ง ถือว่า ความรู้ไปยังสถานะที่แท้จริงของอะฮ์ลุลบัยต์ (27) และกลุ่มหนึ่ง ถือว่า คุณลักษณะพิเศษอื่นๆ ที่ซัลมานมีนั้น [28] ในฐานะความลี้ลับของซัลมานที่ไปถึงสถานภาพซึ่งศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวถึงเขา
ผลงานประพันธ์
ในปี ฮ.ศ. 1413 มุฮัมมัดอะลี อัสบัร ได้เขียนหนังสือชื่อ ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ เป็นภาษาอาหรับ ซึ่งมีการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ดารุลอิสลามียะฮ์ ณ กรุงเบรุต จำนวน 354 หน้า หนังสือเล่มนี้เขียนเกี่ยวกับชีวประวัติของซัลมาน อัลฟาร์ซี สถานภาพต่างๆของเขา รวมทั้งฮะดีษ ซัลมาน มาจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ อีกด้วย (29)