ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ภาษาอาหรับ : (السيد حسن نصر الله) (1960-2024 ค.ศ.) เป็นเลขาธิการคนที่ 3 ของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอน และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในปี 1982 ค.ศ.
ในช่วงยุคสมัยของเขา ฮิซบุลลอฮ์ กลายเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคและสามารถบังคับให้อิสราเอลถอนตัวออกจากเลบานอนและปล่อยตัวนักโทษชาวเลบานอนในปี 2000 ค.ศ. หลังจากมีปฏิบัติการหลายครั้ง ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เสียชีวิตในเหตุการณ์ทิ้งระเบิดของกองกำลังอิสราเอล เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2024
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ สำเร็จการศึกษาจากสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ เขามีความสัมพันธ์กับซัยยิด มุฮัมมัด บากิร อัศศอดร์ ในเมืองนะญัฟ และซัยยิด อับบาส อัลมูซาวี เป็นสาเหตุทำให้เขาเข้าสู่บรรยากาศการต่อสู้กับการยึดครองของอิสราเอล
การเป็นชะฮีด (มรณสักขี) ของเขา ได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างมากมาย ซัยยิดอะลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน บรรดามัรญิอ์ ตักลีด เช่น ซัยยิดอะลี ซีสตานี นาศิร มะการิม ชีรอซี ฮุเซน นูรีย์ ฮะมะดานี และบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐฯของประเทศต่างๆ และกลุ่มมะกอวะมะฮ์ เช่น ขบวนการฮะมาส กลุ่มญิฮาดอิสลามีย์ปาเลสไตน์ กลุ่มอันศอรุลลอฮ์เยเมน กลุ่มฟัตฮ์ กลุ่มอะศออิบ อะฮ์ลุลฮัก พรรคอมัลเลบานอน ขบวนการฮิกมะฮ์แห่งชาติอิรัก ขบวนการศ็อดร์ในอิรัก ได้มีการออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจในการเป็นชะฮีดของซัยยิดฮะซัน นัศรุลลอฮ์ และประณามการโจมตีของอิสราเอล ทั้งนี้ อิหร่านมีการประกาศไว้อาลัยอย่างเป็นทางการ ถึง 5 วัน ในเลบานอน ซีเรีย อิรัก และเยเมน ประกาศไว้อาลัยเพียง 3 วัน
นัศรุลลอฮ์ ก่อนการเป็นชะฮีดของเขา ได้ถูกลอบสังหารโดยกองกำลังอิสราเอล ในปี 2004 2006 และ 2011 แต่ก็รอดชีวิตมาได้
ซัยยิด ฮาดี บุตรชายของเขาก็เสียชีวิตด้วยเช่นกันในเหตุการณ์ปะทะกับกองกำลังอิสราเอลในปี 1997 ค.ศ.
เลขาธิการฮิซบุลลอฮ์และซัยยิด มุกอวะมะห์
หลังจากการเป็นชะฮีดของซัยยิด อับบาส มูซาวี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1992 ค.ศ. ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอนโดยมติเอกฉันท์ [1] เขาได้ยอมรับการเป็นเลขาธิการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ขณะที่มีอายุ 32 [2]
กล่าวกันว่า ฮิซบุลลอฮ์ในยุคสมัยการเป็นผู้นำของซัยยิด ฮะซัน ได้กลายเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาค [3] และได้รับชัยชนะเหนือระบอบรัฐเถื่อนไซออนิสต์ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือการปลดปล่อยภาคใต้ของเลบานอนในปี 2000 ค.ศ. และสงคราม 33 วันในปี 2006 และ ความพ่ายแพ้ของกลุ่มก่อการร้ายในปี 2017 [4]
ซัยยิด ฮะซัน เนื่องจากบทบาทของเขาและฮิซบุลลอฮ์ในการปลดปล่อยภาคใต้ของเลบานอนในปี 2000 ค.ศ หลังจากอยู่ในการยึดครองของอิสราเอลนานถึง 22 ปี และยังได้รับชัยชนะในสงคราม 33 วันอีกด้วย จนกระทั่งเขาได้รับฉายาว่า ซัยยิด มะกอวะมะห์ [5]
ชีวประวัติและการศึกษา
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ หนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงและโด่งดังของเลบานอน [6] เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1960 ในเขตชุมชนคนยากจน อัลกะรอนตีนา ทางตะวันออกของกรุงเบรุต บิดาของเขา ชื่อ อับดุลกะรีม และมารดาของเขา นาห์ดิยา ซาฟียุดดิน มาจากหมู่บ้านอัล-บาซูรียะห์ ชานเมืองไทรัส ทางภาคใต้ของเลบานอน ซึ่งพวกเขาได้อพยพไปยังกรุงเบรุต [7] ในบางแหล่งข้อมูลรายงานว่า เขาถือกำเนิดที่เมืองอัลบาซูรียะห์ [8] ซัยยิด ฮะซัน มีพี่ชายสามคนและน้องสาวห้าคน[9] และเมื่อขณะที่เขาเป็นวัยรุ่น เขาทำงานกับพี่ชายของเขาในร้านขายผลไม้ของบิดาของพวกเขา[10]
นัศรุลลอฮ์ สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเอกชน อัล-นะญาห์ ในชุมชน อัล-ตัรบะวียะห์ และด้วยการเริ่มต้นสงครามกลางเมืองในเลบานอน เมื่อเดือนเมษายน 1975 ค.ศ. เขาย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่หมู่บ้าน อัล-บาซูรียะห์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของเขา และทำการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเมืองไทรัส[11]
เมื่ออายุได้ 16 ปี (ค.ศ. 1976) ซัยยิด ฮะซัน อพยพไปยังเมืองนะญัฟ เพื่อการศึกษาหาความรู้ทางศาสนาโดยได้รับการสนับสนุนจากซัยยิด มุฮัมมัด ฆ็อรวี อิหม่ามประจำวันศุกร์แห่งเมืองไทรัส และซัยยิด มุฮัมมัด บากิร ศ็อดร์ เพื่อนคนหนึ่งของเขา ซัยยิด มุฮัมมัดได้แนะนำซัยยิด ฮะซัน ให้ชะฮีดศ็อดร์ รู้จักโดยผ่านจดหมาย ชะฮีดศ็อดร์ ยังมอบหมายให้ซัยยิด อับบาส มูซาวี เป็นผู้ดูแลและติดตามสภาพทางวิชาการและตอบสนองความต้องการของ ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ [12] ซัยยิด ฮะซัน สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเบื้องต้นของสถาบันศาสนาในปี 1978 ค.ศ. และหลังจากที่พำนักอยู่ในเมืองนะญัฟ เป็นเวลาสองปี เนื่องจากแรงกดดันของระบอบการปกครองพรรคบาธของอิรัก [13] เขาจึงเดินทางกลับไปยังเลบานอน ด้วยการก่อตั้งโรงเรียนอิมามมุนตะซิร ในเมืองบะอ์ลาบัก ในปี 1979 ค.ศ. เขาจึงเรียนหลักสูตรศาสนาต่อไปและเริ่มทำการสอนไปพร้อมๆ กัน [14] เขาศึกษาที่เมืองกุมเป็นเวลาหนึ่งปี ในปี1989 (15) เหตุผลการกลับของนัศรุลลอฮ์ ไปยังเลบานอน เนื่องจากข่าวลือเกี่ยวกับการต่อต้านของเขากับกลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอน และการเพิ่มขึ้นของการต่อต้านระหว่างกลุ่มฮิซบุลเลาะห์กับขบวนการอะมาล และการยืนกรานของสภาผู้นำ [16]
ในเดือนตุลาคม 1981 ซัยยิด ฮะซัน พร้อมด้วยสมาชิกของขบวนการอะมาล ได้เดินทางเข้าพบปะอิหม่ามโคมัยนี ณ ฮุซัยนียะฮ์ ญะมารอน [17] และเขาได้รับอนุญาตจากอิหม่ามให้เก็บรวบรวมทรัพย์ทางหลักศาสนบัญญัติ [18]
ภรรยาและบุตร นัศรุลลอฮ์สมรสกับฟาฏิมะฮ์ ยาซีนในปี 1978 เมื่ออายุ 18 ปี และผลลัพธ์ คือ บุตรชายทั้งสามคน ชื่อ มุฮัมมัด ฮาดี มุฮัมมัด ญะวาด และมุฮัมมัด อะลี และบุตรสาวหนึ่งคนชื่อ ไซนับ (19) ซัยยิด มุฮัมมัด ฮาดี บุตรชายคนโตของเขา เสียชีวิตในภาคใต้ของเลบานอน ในการปะทะกับนกองกำลังอิสราเอล เมื่อ 12 กันยายน 1997 ศพของเขาตกอยู่ในมือของพวกไซออนิสต์และถูกส่งกลับไปยังเลบานอน ในอีกหนึ่งปีต่อมา ในปฏิบัติการแลกเปลี่ยนระหว่างอิสราเอลและฮิซบุลลอฮ์ ไปยังเลบานอน (20)
การเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เข้าสู่กิจกรรมทางการเมือง ตั้งแต่ปีแรกๆของชีวิต
เขา หลังจากจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 1975 ค.ศ. เขาก็ได้รับตำแหน่งหัวหน้าขบวนการอะมาลในเมือง อัล-บาซูรียะห์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา
เขา หลังจากเดินทางกลับจากเมืองนะญัฟ ในปี 1979 ค.ศ เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของสำนักงานทางการเมืองของขบวนการอะมาล และกลายมาเป็นตัวแทนของขบวนการนี้ในเขตหมู่บ้านบิกออ์ (21)
ในปี 1982 เขาได้แยกตัวออกจากขบวนการอมัลและร่วมก่อตั้งกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอน พร้อมกับกลุ่มนักการศาสนา นักต่อสู้อีกจำนวนหนึ่ง
เขามุ่งความสนใจไปยังการเคลื่อนไหวของเขาในฮิซบุลลอฮ์ตั้งแต่ปี 1982 ถึง 1992 นอกจาก เขาเข้าร่วมในสภากลางของพรรคแล้ว เขายังรับผิดชอบในการเตรียมกองกำลังต่อสู้และการจัดตั้งหน่วยทหารอีกด้วย เขาเป็นรองผู้อำนวยการ อิบรอฮิม อะมีน อัซ-ซัยยิด (เจ้าหน้าที่กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในเบรุต) และเป็นรองผู้บริหารของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์มาช่วงระยะหนึ่งอีกด้วย (22)
การลอบสังหารที่ไม่ประสบความสำเร็จ
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ถูกคุกคามด้วยการก่อการร้ายหลายครั้ง ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ แผนการลอบสังหารบางส่วนได้แก่:
การลอบสังหารด้วยอาหารที่เป็นพิษ (2004 ค.ศ.)
การทิ้งระเบิดอาคารที่อยู่อาศัยของเขาโดยเครื่องบินอิสราเอล (2006 ค.ศ.)
การจับกุมกลุ่มก่อการร้าย โดยมีเป้าหมายคือ การยิงจรวดโจมตีรถยนต์ของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ (2006 ค.ศ.)
การระเบิดของอาคาร ซึ่งเครื่องบินอิสราเอลคาดว่า ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ พักอาศัยอยู่ที่นั้น (2011 ค.ศ.)
เนื่องจากภัยคุกคามทางด้านความปลอดภัย ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ จึงไม่ค่อยปรากฏตัวต่อสาธารณะ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และทีมงานรักษาความปลอดภัยพิเศษก็รับผิดชอบในการปกป้องตัวของเขา[23] อะบูอะลี ญะวาด ลูกเขยของ ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในทีมรักษาความปลอดภัยนี้[24]
การเป็นชะฮีด
ซัยยิดฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ถูกลอบสังหารเสียชีวิต ในวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2024 หลังจากการทิ้งระเบิดในเขตชุมชนชีอะฮ์ อัล-ฏอฮียะห์ ทางภาคใต้ของเลบานอนโดยระบอบรัฐเถื่อนไซออนิสต์ ซึ่งกองทัพของระบอบรัฐเถื่อนนี้อ้างว่า ได้มุ่งเป้าไปที่ศูนย์บัญชาการและสถานที่จัดประชุมของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ [25] หลังจากการโจมตีครั้งนี้ กองทัพอิสราเอลได้ประกาศถึงการถูกสังหารของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ และผู้บัญชาการคนอื่นๆ เช่น อะลี กะรอกี (26) ขณะที่กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ได้ประกาศและยืนยันการเป็นชะฮีดของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ในวันที่ 28 กันยายน 2024 [27] ทั้งนี้ ข่าวการเป็นชะฮีดของเขา ก็ได้มีการประกาศต่อสาธารณะ ณ ฮะรอมของอิมามริฎอ (อ.) ด้วยเช่นกัน (28)
ในคำแถลงการณ์ของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ระบุว่า ซัยยิด มุกอวะมะห์ บ่าวผู้ทรงคุณธรรม ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ในฐานะผู้เป็นชะฮีด ผู้สูงส่ง ผู้นำที่กล้าหาญ ชาญฉลาด มีความเฉียบแหลม และผู้ศรัทธา ได้กลับสู่ความเมตตาของพระเจ้า ร่วมกองคาราวานอันนิรันดร์ของบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลาแล้ว (29)
ตามรายงานของสถานีโทรทัศน์อัลจาซีเราะห์ รายงานจากสื่ออิสราเอล ระบุว่า อิสราเอลใช้ระเบิดทำลายหินประมาณ 85 ลูกหรือหนัก 1 หรือ 2 ตันในการระเบิดครั้งนี้ ในขณะที่อนุสัญญาเจนีวาได้สั่งห้ามการใช้ระเบิดดังกล่าว (30)
ปฏิกิริยาต่างๆ
การเป็นชะฮีดของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างมากมาย ซัยยิด อะลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน [31] และบรรดามัรญิอ์ ตักลีด เช่น ซัยยิด อะลี ซีสตานี [32] นาศิร มะการิม ชีรอซี [33] ฮุเซน นูรี ฮะมะดานี [34] ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน สถาบันเฮาซะฮ์ อิลมียะฮ์ เมืองกุม [35] ] ได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจ
รัฐบาลและหน่วยงานของประเทศต่างๆ เช่น อิหร่าน รัสเซีย อิรัก เยเมน[36] และกลุ่มต่อสู้ เช่น กลุ่มฮามาส ญิฮาดอิสลามีย์ปาเลสไตน์ ขบวนการอันศอรุลเลาะห์ของเยเมน ขบวนการฟาตาห์ กลุ่มอะศออิบ อะห์ลุลฮัก ขบวนการอะมาลของเลบานอน ซัยยิด อัมมาร ฮะกีม ผู้นำขบวนการฮิกมะฮ์แห่งชาติของอิรัก มุกตะดา ศ็อดร์ ผู้นำขบวนการศ็อดร์ ในอิรัก ยังได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อการเป็นชะฮีดของ ซัยยิด ฮะซัน และประณามการโจมตีของอิสราเอล
มีการประกาศไว้อาลัยเป็นเวลาห้าวันในประเทศอิหร่าน[38] และสามวันในเลบานอน[39] ซีเรีย[40] และอิรัก[41] เยเมน[42] สถาบันศาสนาของอิหร่านถูกประกาศปิดในวันอาทิตย์ และนักศึกษาศาสนาและนักการศาสนา จะรวมตัวกันและเดินขบวนเพื่อประณามอาชญากรรมของระบอบรัฐเถื่อนไซออนิสต์ [43] โรงภาพยนตร์และโรงละครทุกแห่งถูกปิดในอิหร่าน (44)
มัซอูด เพเซชกียอน ประธานาธิบดีของอิหร่าน กล่าวแสดงความเสียใจต่อการเป็นชะฮีดของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ และถือว่า สหรัฐฯ เป็นผู้ออกคำสั่งสำหรับการโจมตีของผู้ก่อการร้ายครั้งนี้ และเปิดเผยว่า สหรัฐฯ ไม่สามารถปลดเปลื้องตนเองจากการสมรู้ร่วมคิดกับระบอบรัฐเถื่อนไซออนิสต์ได้ (45)
บรรดาเยาวชนในเขตเวสต์แบงก์และปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง ได้เรียกร้องให้เข้าร่วมในการเดินขบวนแห่งความโกรธแค้น เพื่อประท้วงต่อต้านการโจมตีเลบานอนของอิสราเอลและการประกาศความภักดีต่อซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ (46)
มุมมองต่างๆของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์
ด้วยจิตวิญญาณ ชีวิต ลูกหลาน และทรัพย์สินของเรา เราขอกล่าวแก่ฮุเซน (อ.) ว่า “ลับบัยกะยาฮุเซน” เราจะไม่หันหลังให้กับพันธสัญญาและการเชิญชวนนี้เป็นอันขาด
ถึงเหล่าทรราช ผู้รุกราน ผู้ทุจริต นักฉวยโอกาส และบรรดาผู้ที่มุ่งทำลายเจตจำนง ความมุ่งมั่น และจุดยืนของเรา เราขอกล่าวว่า เราเป็นลูกหลานของอิมามนั้น บุรุษและสตรีเหล่านั้น และพี่น้องของเยาวชนเหล่านั้นที่ยืนหยัดเคียงข้างฮุเซนในวันอาชูรอ และประโยคนี้ของฮุเซน ที่กล่าวประวัติศาสตร์ว่า: เราขอออกห่างจากความต่ำต้อย[47]
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เวลาที่พวกเขาเคยทำให้เราหวาดกลัวอิสราเอลได้จบลงแล้ว อิสราเอลที่น่ากลัวนั้นจบลงแล้ว ไม่ใช่วันนี้ ซึ่งจบไปนานแล้ว...เราในวันอาชูรอและจากที่เดิม เรามีเจตจำนง มุ่งมั่น และยืนกรานที่จะปกป้องประเทศ ประชาชาติ สถานศักดิ์สิทธิ์ และแบกรับความรับผิดชอบอันใหญ่หลวง และเราไม่มีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการได้อยู่เคียงข้างฮุเซน แม้แต่วันเดียว เราเสียสละชีวิต เลือด บุตร เงิน และทุกสิ่งที่มีเกียรติของเรา เสียสละเพื่อเขา และเรายอมรับความสิ้นสุดที่ไม่มีจุดจบ เพราะหลังจากนั้น เราจะอยู่เคียงข้างฮุเซน (อ) ตลอดไป[48]
จากมุมมองของผู้อื่น
อยาตุลลอฮ์ คอเมเนอีในการแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือของซัยยิด อะซีซ: อะไรก็ตามที่สามารถใช้เป็นที่มาของการรู้จักและความเคารพต่อซัยยิด อะซีซนั้น เป็นการกระทำที่ดีและเป็นสิ่งที่น่าพอใจสำหรับฉัน[49]
หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เดลี เทเลกราฟ : นัศรุลลอฮ์เป็นหนึ่งในผู้นำที่น่าประหลาดใจในตะวันออกกลาง [50]
หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ไทมส์ : ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ คือ บุรุษแห่งช่วงเวลานี้ ซึ่งดวงดาวแห่งโชคชะตาของเขาส่องประกายอยู่บนซากปรักหักพังของอาคารที่ถูกทำลายด้วยระเบิดของอิสราเอล (51)
หนังสือพิมพ์อเมริกัน วอชิงตันโพสต์ : นัศรุลลอฮ์ถือเป็นหนึ่งในความลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฮิซบุลลอฮ์ (52)
ผลงานที่เกี่ยวข้องกับเขา
เกี่ยวกับบุคลิกภาพของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ มีการผลิตผลงานอย่างมากมาย ทั้งหนังสือ ภาพยนตร์ สารคดี และเพลง ผลงานเหล่านี้บางส่วน ได้แก่:
หนังสือประพันธ์
ซัยยิด อะซีซ (อัตชีวประวัติของฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์) โดย ฮะมีด ดาวูด ออบาดี หนังสือเล่มนี้ ถูกจัดพิมพ์ ด้วยคำนิยมของอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี
ออซาด ทะรีน มัรเดญะฮอน (บุรุษแห่งโลกที่มีอิสรภาพมากที่สุด เขียนโดย รอชิด ญะอ์ฟัรพูร
หนังสือ นัศรุลลอฮ์; บทสัมภาษณ์ของมุฮัมมัดริฎอ ซาอิรี กับซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์
หนังสือ ระฮ์บะรี อิงกิลอบี ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ (ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ผู้นำการปฏิวัติ; เขียนโดย ออซีทอา บิดกี กัรเรบอฆ
ภาพยนตร์และสารคดี
สารคดีเจาะลึกชีวิตของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ สารคดีที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องคาบัรของอิหร่าน
สารคดี มุนาดียอน ออซอดี (ตอนหนึ่งเกี่ยวกับซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์) ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องคาบัรของอิหร่าน
สารคดี นัศรุลลอฮ์ในสายตาของเหล่าศัตรู ผลิตโดยสถานีโทรทัศน์ช่องอัล-มะยาดีนได้จัดทำสารคดีความยาว 50 นาทีโดยอ้างอิงจากสุนทรพจน์ของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ และการใช้รูปภาพประกอบ การวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ชาวอิสราเอล
สารคดี ฮิกายะฮ์ ฮะซัน : สารคดีเรื่องนี้ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องอัล-อะรอบียะฮ์และพูดถึงวิธีการของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ในการได้รับอำนาจและความนิยมในเลบานอน สารคดีนี้ผลิตโดยทางสถานีโทรทัศน์ช่องอัล-อะรอบียะฮ์ ด้วยการประท้วงจากเหล่าศัตรูของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ และผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่องอัล-อะรอบียะฮ์ เนื่องจากการออกอากาศสารคดีนี้ เขาจึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง(53)
เพลงและคลิป
เพลง ลิซซัยยิด ร็อบบิ ยะฮ์มีห์ เพลง ยาซัยยิดี ด้วยเสียงร้องโดยบัซซาม ชัมศ์ เพลง อะฮิบบาอี ด้วยเสียงร้องโดย จูเลีย บูทรอส นักร้องคริสเตียนชาวเลบานอน (2006) [54] เพลง ยา นัศร็อลลอฮ์ ด้วยเสียงร้องโดย อะลาอ์ ซิลซาลี นักร้องชาวเลบานอน (2007) มิวสิกวิดีโอ อะมานัตดอเร บอนูเย ดะมิชก์ เป็นผลงานสองภาษาชิ้นแรกโดยสำนักงานใหญ่ของซัรดอรอน ชะฮีด ญะฮอน อิสลอม ด้วยเสียงร้องของ มุจญตะบา มีนูทัน และฮอมิด มะฮ์ศัรนิยอ และบทกวีโดย มัยษัม ฮอทัม และ มุฮ์ซิน ริฎวานี
ความสัมพันธ์กับอิหร่าน
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ได้รับอนุญาตจากอิหม่ามโคมัยนีในปี 1360 สุริยคติอิหร่าน ให้เก็บรวบรวมและใช้จ่ายทรัพย์กิจการของฮิซบียะฮ์และชัรอียะฮ์ [55] และหลังจากนั้น เขาได้เดินทางไปอิหร่านหลายครั้ง [56] และกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมต่างๆ และยังพบปะกับทางการอิหร่านอีกด้วย เขามีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับผู้บัญชาการทหารบางคนของอิหร่าน [57] เขากล่าวถึงการสนับสนุนของอิหร่านต่อฮิซบุลลอฮ์หลายครั้งในการกล่าวสุนทรพจน์และการประชุมของเขา [58] เขาปกป้องอิหร่านในการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาและถือว่า เป็นหน้าที่ตามกฎหมายแห่งความภักดี [59 ]