ญิฮาด
ญิฮาด
ญิฮาด (ภาษาอาหรับ الجهاد ) หมายถึง การต่อสู้ในแนวทางของพระเจ้า ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน ในการต่อสู้กับเหล่าผู้ตั้งภาคี(มุชริก) และผู้รุกราน โดยมีจุดประสงค์เพื่อยกระดับศาสนาอิสลามและสร้างสโลแกนของญิฮาด ญิฮาด ถือเป็นหนึ่งในฟุรุอุดดีน (หลักปฏิบัติ) ประการหนึ่งของศาสนาอิสลามและบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟะกีฮ์)ได้กล่าวถึงในบทที่เป็นเอกเทศเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติ (อะห์กาม) ของมัน บรรดานักตัฟซีรอัลกุรอานส่วนใหญ่เชื่อว่า คำสั่งญิฮาด ในอิสลาม ได้รับการรับรองเป็นศาสนบัญญัติครั้งแรก เจ็ดเดือน หลังจาก ฮิจเราะฮ์ (การอพยพ) ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)จากเมืองมักกะฮ์ ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ 8e ในบางโองการของอัลกุรอานและฮะดีษ มีการกล่าวถึงความสูงส่งหลายประการสำหรับการญิฮาดในแนวทางของพระเจ้า นอกเหนือจากนี้ การงานต่างๆ เช่น การสนับสนุนผู้ที่ถูกกดขี่และผู้ด้อยโอกาส ผู้อ่อนแอ การป้องกันการกดขี่ การรุกรานและการละเมิด การต่อสู้กับการตั้งภาคีและการบูชาเจว็ด และความสม่ำเสมอและความมั่นคงของศาสนา ถือเป็นผลลัพท์ต่างๆและยังเป็นเป้าหมายของญิฮาดอีกด้วย
ตามที่บรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟะกีฮ์)กล่าวว่า ญิฮาดได้ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภท กล่าวคือ : ญิฮาดเริ่มต้นและญิฮาดการป้องกัน
ญิฮาดเริ่มต้น หมายถึง การทำสงครามกับเหล่าผู้ตั้งภาคีและผู้ปฏิเสธ เพื่อเชิญชวนพวกเขาให้มานับถือศาสนาอิสลามและนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว
ญิฮาดการป้องกัน หมายถึง การป้องกันดินแดนของอิสลามจากการโจมตีของเหล่าศัตรู
หลักคำสอนญิฮาดในปัจจุบัน (ฮิจเราะห์ศตวรรษที่ 15) ถูกนำมาใช้ในทิศทางที่ผิดโดยกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง เช่น อัลกออิดะห์และกลุ่มไอซิส พฤติกรรมรุนแรงของกลุ่มเหล่านี้นำไปสู่การเบี่ยงเบนของญิฮาด จากเป้าหมายหลักและการสร้างความหวาดกลัวต่ออิสลาม และผลลัพท์ จึงกลายเป็นการโจมตีหลักคำสอนของญิฮาด
ความหมายและสถานภาพ
ญิฮาด เป็นคำศัพท์ทางนิติศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การต่อสู้ในแนวทางของพระเจ้า ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน ในการต่อสู้กับเหล่าผู้ตั้งภาคีและผู้รุกราน โดยมีจุดประสงค์เพื่อยกระดับศาสนาอิสลามและสร้างสโลแกนของญิฮาด [1] ญิฮาด ถือเป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติประการหนึ่งของศาสนาอิสลาม [2] บรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม ได้กล่าวถึงในบทที่เป็นเอกเทศอย่างละเอียดเกี่ยวกับหลักปฏิบัติโดยใช้ชื่อว่า ญิฮาด [3] คำว่า ญิฮาด และคำที่มีรากศัพท์เดียวกัน (มุชตัก) ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน ประมาณ 35 ครั้ง [4]นอกจากนี้ ยังมีฮะดีษเป็นจำนวนมากที่รายงานเกี่ยวกับหลักปฏิบัติและความสูงส่งของญิฮาด จากแหล่งข้อมูลทางด้านริวายะฮ์(การรายงาน) ซึ่งบรรดานักนิติศาสตร์ได้ใช้เพื่อให้ในการวินิจฉัยหลักปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ [5]
ในตำราทางศาสนา ญิฮาด ยังใช้ในความหมายของความพยายามอย่างหนัก (ความหมายเชิงภาษาและทั่วไป) [6] นอกเหนือจาก ความหมายทางนิติศาสตร์และความหมายพิเศษ[7]ในฮะดีษบางบท เพื่อระบุถึงความสำคัญและความยากลำบากของการกระทำบางอย่าง การกระทำเหล่านี้ จึงถูกเรียกว่า เป็นการญิฮาด [8] ยกตัวอย่างเช่น ในริวายะฮ์บางบท มีการแนะนำการต่อสู้ของตนเองกับมารร้ายและอารมณ์ใฝ่ต่ำว่า เป็นการญิฮาดอักบัร (9) นอกเหนือจากนี้ การกระทำต่างๆ เช่น การกำชับให้กระทำความดี และการห้ามปรามมิให้กระทำความชั่ว การประกอบพิธีฮัจญ์ การพูดด้วยความยุติธรรมต่อหน้าผู้ปกครองที่กดขี่ ความพยายามฟื้นฟูขนบประเพณีอันดีงามในสังคม การดูแลสามีอย่างดีของภรรยา และความพยายามของสามี ในการแสวงหาปัจจัยยังชีพแบบฮาลาลสำหรับครอบครัว การถือศีลอดท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ เหล่านี้ ล้วนถือเป็นญิฮาดในวิถีของพระเจ้าทั้งสิ้น [10]
ความกว้างขวางของความหมายของญิฮาด จากทัศนะของอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี
ตามคำกล่าวของซัยยิด อะลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดคนที่สองของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ระบุว่า ญิฮาดไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในสนามรบ แต่ยังรวมถึงในสนามต่างๆ อย่างมากมาย เช่น สนามทางการเมือง วัฒนธรรม แนวคิด เศรษฐกิจ และการโฆษณาชวนเชื่อ [11]ตามความเชื่อของเขา จะเห็นได้ว่า ทุกความพยายามใดๆ ที่มุ่งโจมตีโดยศัตรู คือ การญิฮาด ตัวอย่างเช่น ในการพบปะกับกับบรรดาของผู้ผลิตและนักเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของอิหร่าน เขากล่าวว่า ปัญหาการผลิตและความพยายามในด้านนี้ ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการญิฮาด เพราะว่า ศัตรูของอิหร่านกำลังพยายามที่จะทำให้ญิฮาดอ่อนแอลง [12]
คุณค่าของการญิฮาดในศาสนาอิสลาม
อิมามอะลี(อ.) กล่าวว่า : ญิฮาด เป็นการงานที่มีเกียรติที่สุด หลังจากการเข้ารับอิสลามและเป็นที่มาของความมั่นคงของศาสนานำมาซึ่งเกียรติและอำนาจและได้รับผลรางวัลอันยิ่งใหญ่ ญิฮาดที่มีความยากลำบาก จะได้รับผลรางวัล และหลังจากการเป็นชะฮีดในนั้น ก็มีสัญญาจากสวรรค์ ฮุร อามิลี วะซาอุลุชชีอะฮ์ 1416 ฮ.ศ. เล่มที่ 15 หน้า 94
ในโองการอัลกุรอานและฮะดีษที่เกี่ยวกับความสำคัญของญิฮาด มีการอธิบายถึงความสูงส่งต่างๆมากมาย [13]ในโองการที่ 20 และ21 ของซูเราะฮ์ อัตเตาบะฮ์ ชี้ให้เห็นถึงสถานภาพอันสูงส่งของบุคคลที่ต่อสู้ด้วยชีวิตและทรัพย์สินของตนในแนวทางของพระเจ้า ณ พระองค์ และผู้คนเหล่านี้ ถือเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการแนะนำของพระเจ้าและความเมตตาของพระองค์ ฐานะภาพแห่งความพอพระทัยของพระเจ้า และสวรรค์อันนิรันดร์สำหรับพวกเขา [14]
ตรงตามโองการที่ 95 ของซูเราะฮ์อันนิซาอ์ พระเจ้าได้ทรงยกสถานะของชาวมุสลิม ผู้ญิฮาด เหนือกว่ามุสลิมคนอื่นๆ[15]ในบางริวายะฮ์ รายงานว่า ญิฮาดได้รับการแนะนำว่า เป็นหนึ่งในประตูสวรรค์ที่พระเจ้าได้ทรงเปิดไว้สำหรับเอาลิยาอ์และปวงบ่าวพิเศษของพระองค์ (16) มีริวายะฮ์หนึ่ง รายงานว่า การญิฮาด เป็นการงานที่ดีที่สุด หลังจากข้อบังคับต่างๆและในอีกริวายะฮ์หนึ่ง กล่าวว่า การญิฮาด เป็นการกระทำที่มีเกียรติที่สุด หลังจากการเข้ารับอิสลาม [17] นอกจากนี้ ในริวายะฮ์บางบท ถือว่า ญิฮาด เป็นจุดสูงสุดอันสูงส่งของอิสลาม[18]และในบางฮะดีษ ก็ถือว่า เป็นหนึ่งในเสาหลักแห่งความศรัทธา [19]
ตามคำกล่าวของ มุฮัมมัด ฟาฎิล ลังกะรอนี นักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ระบุว่า ความสำคัญของผลรางวัลและรางวัลตอบแทนของญิฮาด และการถูกสังหารสำหรับพระเจ้า และในแนวทางแห่งการฟื้นฟูศาสนา จะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้หลักการหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ [20]
เป้าหมายและผลของญิฮาด
สำหรับญิฮาด มีการกล่าวถึงผลและเป้าหมาย ซึ่งบางส่วน มีรายละเอียด ดังนี้ : การดับเชื้อเพลิงของการก่อความเสียหาย (ฟิตนะฮ์) [21] การสนับสนุนบรรดาผู้ถูกกดขี่และผู้ด้อยโอกาส [22] การต่อสู้กับการตั้งภาคีและการบูชาเจว็ด [23] การป้องกันการกดขี่และการรุกราน [24] ความสม่ำเสมอและความมั่นคงของศาสนา[25] การอนุรักษ์สถานที่สักการะ[26]
คำสั่งแรกของญิฮาด
มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในบรรดานักตัฟซีรอัลกุรอานว่า โองการใดและในสถานการณ์ใด ที่มีการออกคำสั่งแรกของญิฮาด (27) บรรดานักตัฟซีร เช่น ฟุครุรรอซี และเฏาะบัรซี มีความเห็นว่า โองการที่อนุญาตญิฮาด เป็นคำสั่งแรกและการอนุมัติญิฮาดสำหรับชาวมุสลิม เพื่อต่อต้านเหล่าผู้ตั้งภาคีในเมืองมักกะฮ์ (28) ตามรายงานจากบรรดานักตัฟซีรเหล่านี้ กล่าวว่า เหล่ามุชริกีนเมืองมักกะฮ์เคยรังแกและทุบตีชาวมุสลิม พวกเขาจึงมาหาศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ด้วยศีรษะที่แตกและได้รับบาดเจ็บ และฟ้องร้องและขอให้ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ประกาศคำสั่งญิฮาด ศาสดายังได้เรียกร้องให้พวกเขามีความอดทนและกล่าวว่า คำสั่งของญิฮาดยังไม่มาถึง จนกระทั่งการอพยพเริ่มต้นขึ้น และชาวมุสลิมก็เดินทางจากเมืองมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์และเจ็ดเดือนต่อมา[29]โองการอนุมัติญิฮาดก็ถูกประทานลงมาและคำสั่งญิฮาดแรกได้ถูกประกาศ[30]
มีบางคน กล่าวว่า โองการที่ 190 ของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ (และจงต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮ์ กับบรรดาผู้ที่ต่อสู้กับพวกเจ้า) เป็นอายะฮ์แรกที่มีคำสั่งญิฮาดกับเหล่าศัตรู บางคน ถือว่า โองการที่ 111 ของซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ [หมายเหตุ 1] เป็นอายะฮ์แรกที่ออกคำสั่งญิฮาดตามคำกล่าวของ มะการิม ชีรอซี น้ำเสียงของโองการอนุมัติญิฮาด ซึ่งกล่าวถึงคำว่า การอนุมัติ นั้นเหมาะสมมากกว่ากับหัวข้อบัญญัติคำสั่งแรกสำหรับญิฮาด [32]
นักตัฟซีรอัลกุรอานบางคน อ้างถึงโองการที่ 111 ของซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ ได้กล่าวว่า มีคำสั่งสำหรับญิฮาดในหลักศาสนบัญญัติทั้งหมดที่ผ่านมา [33]
ประเภทของญิฮาด
ญิฮาดในทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ ได้แบ่งออกเป็นสองประเภท : ญิฮาดเริ่มต้น และญิฮาดการป้องกัน : [34]
ญิฮาดเริ่มต้น
ญิฮาดเริ่มต้น หมายถึง การทำสงครามกับเหล่าผู้ตั้งภาคีและผู้ปฏิเสธ เพื่อเชิญชวนพวกเขาให้มานับถือศาสนาอิสลามและนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว [35] ในญิฮาดประเภทนี้ ชาวมุสลิม คือ ผู้ริเริ่มสงคราม (36) ตามฉันทามติของนักนิติศาสตร์อิสลาม ญิฮาดสำหรับการเชิญชวนเข้าสู่อิสลาม เป็น วาญิบกิฟาอีย์ สำหรับทุกคนที่เป็นอิสระและเป็นผู้ชาย และไม่มีอุปสรรคใดๆ เช่น ความเจ็บป่วยหรือวัยชรา ในการต่อต้านกับผู้ปฏิเสธที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนอิสลาม และเหล่าผู้รุกราน (37) ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์อิมามียะฮ์ กล่าวว่า ญิฮาดเริ่มต้น จะต้องกระทำในระหว่างที่อิหม่ามผู้บริสุทธิ์มีชีวิตอยู่และเมื่อได้รับอนุมัติจากเขาหรือตัวแทนพิเศษของเขา [38 ]แน่นอนว่า บางคน ถือว่า ญิฮาดเริ่มต้น ในยุคแห่งการเร้นกายนั้น มีความถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติและเป็นที่อนุญาต [39] อำนาจที่เพียงพอของชาวมุสลิมในการเริ่มสงครามและการเชิญชวนเหล่าผู้ปฏิเสธให้มานับถือศาสนาอิสลามและทำให้ข้อพิสูจน์เสร็จสิ้นกับพวกเขา ก่อนเริ่มสงคราม ถือเป็นหนึ่งในเงื่อนไขประการอื่นๆ ที่บรรดานักนิติศาสตร์ ได้พิจารณาสำหรับการญิฮาดเริ่มต้น[40]
ญิฮาดการป้องกัน
ญิฮาดการป้องกัน เป็นการต่อสู้ที่มุ่งปกป้องอิสลามและดินแดนอิสลามจากศัตรูที่รุกรานดินแดนอิสลาม และตั้งใจที่จะพิชิตและครอบงำดินแดน ตลอดจนเกียรติและทรัพย์สินของชาวมุสลิม หรือการสังหารกลุ่มมุสลิม[41] ตามคำฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ ญิฮาดป้องกัน ถือเป็นวาญิบกิฟาอีย์ สำหรับผู้ชายและผู้หญิง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทาสและอิสระชนผู้ที่มีพลังในการต่อสู้ [42] ญิฮาดป้องกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการปรากฏตัวหรือการอนุญาตของอิมาม (อ.)หรือตัวแทนพิเศษของเขา (43) บางสงครามในช่วงสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เช่น สงครามอะห์ซาบ สงครามอุฮุด สงครามมูตะฮ์ สงครามตะบูกและสงครามฮูนัยน์ ถือเป็นญิฮาดการป้องกันทั้งสิ้น[44]
มุฮัมมัดญะวาด ฟาฎิล ลังกะรอนี อาจารย์สถาบันศาสนาเมืองกุม กล่าวถึง ญิฮาดอีกประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า ญิฮาด ซับบี โดยได้รับจากคำพูดของบรรดานักนิติศาสตร์ [45] เขาเชื่อว่า ญิฮาดซับบี ถือเป็นเพียงการรักษาอิสลามเท่านั้น ดังนั้น หากมีความกลัวต่อการทำลายล้างของอิสลาม เนื่องจากการกดขี่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลก การป้องกันความดินแดนของอิสลา มถือเป็น วาญิบอัยนีย์สำหรับชาวมุสลิมทุกคน[46]
มารยาทและหลักปฏิบัติญิฮาด
บรรดานักนิติศาสตร์ ได้ยกหลักฐานจากโองการของอัลกุรอานและฮะดีษ กล่าวถึงมารยาทสำหรับญิฮาด ซึ่งบางส่วน มีรายละเอียดดังนี้ :
บรรดานักนิติศาสตร์ ยกหลักฐานจากโองการต่างๆ เช่นโองการที่ 217 ของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ และโองการที่ 36 ของซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ กล่าวถึงการห้ามทำญิฮาดในเดือนต้องห้าม (เราะญับ ซุลเกาะอ์ดะฮ์ ซุลฮิจญะฮ์ และมุฮัรรอม) [47 ] [48] แน่นอนว่า บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางคน มีความเห็นว่า กฏการห้ามทำญิฮาดในเดือนต้องห้ามนั้นถูกยกเลิกไปแล้ว ดังนั้น ญิฮาดจึงถือว่า ได้รับอนุญาตในทุกสถานที่และเวลาต่างๆ [49]
เป็นมุสตะฮับ ให้เริ่มสงคราม หลังจากเที่ยงวัน และหลังจากนมาซซุฮ์ริและอัศริ นอกจากนี้ การโจมตีในเวลากลางคืน ยังถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮ์) ยกเว้นในกรณีที่มีความจำเป็น [50]
ตามมติเอกฉันท์ของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ระบุว่า บุคคลที่ถูกสังหารในสงคราม คือ ชะฮีดและหลักปฏิบัติของชะฮีดถูกนำมาใช้กับเขา [51]
เป็นที่อนุญาตให้ทำสงครามกับศัตรูด้วยอาวุธทุกชนิดและด้วยวิธีใดก็ตามที่นำไปสู่ชัยชนะ(52)แต่ทว่า การตัดต้นไม้ การขว้างไฟ และการปล่อยน้ำ เข้าใส่ศัตรู ถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮ์) เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็น [53]
เป็นที่ต้องห้าม การสังหารผู้หญิง เด็ก คนวิกลจริต ตลอดจนผู้ไร้ความสามารถจากสงคราม เช่น คนชรา คนตาบอด และคนมีปัญหา หากความคิดและมุมมองของพวกเขาไม่ได้ใช้ในการทำสงคราม เว้นแต่ในกรณีที่มี่ความจำเป็น เช่น ผู้ปฏิเสธที่ใช้พวกเขาเป็นโล่หรือเอาชนะเหนือศัตรูก็ขึ้นอยู่กับการสังหารพวกเขา [54]
การใช้กลอุบาย สามารถกระทำได้ในสงคราม เว้นแต่ศัตรูจะปลอดภัย [55]
เป็นที่อนุญาตให้รับความช่วยเหลือจากผู้ปฏิเสธในการทำสงครามได้ หากเป็นการสมควรและไม่มีการทรยศหักหลังกัน [56] เป็นวาญิบ ที่บรรดาทหารจะต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา[57]
การละเมิดและการหลบหนีจากสงคราม
การหลบหนีจากสงคราม เป็นสิ่งต้องห้ามและตามคำกล่าวของบรรดานักนิติศาสตร์และนักตัฟซีรอัลกุรอานบางคน กล่าวไว้ว่า การหลบหนีจากสงคราม ถือเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ (58) เว้นแต่จำนวนมุสลิมจะมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกองกำลังของศัตรู ซึ่งในกรณีนี้ การยืนหยัดต่อสู้กับพวกเขา ก็ไม่ถือว่า เป็นวาญิบ(ข้อบังคับ) [59]
การละเมิดญิฮาด ก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกัน(60)ในบางโองการของอัลกุรอาน กล่าวว่า การงานต่างๆ เช่น ความกลัว (61)ความผูกพันต่อโลก(62)ความศรัทธาที่อ่อนแอและการกลับกลอก (63) และความวิกลจริตและบาป (64)ได้ถูกจัดให้เป็นองค์ประกอบของการละเมิดญิฮาด ในอัลกุรอาน มีการกล่าวถึงผลกระทบที่จะตามมาบางประการของการละเมิดญิฮาด ซึ่งรวมถึง: ความตาย (65) การลงโทษทางโลกและปรโลก (66) การลิดรอนความโปรดปรานทั้งทางโลกและปรโลก (67) และการก่อตัวของการก่อความเสียหายและการทุจริตในสังคม [68]
คำฟัตวาที่มีชื่อเสียงของบรรดานักนิติศาสตร์อิสลามชีอะฮ์เกี่ยวกับญิฮาด
คำฟัตวาที่สำคัญที่สุดบางส่วนที่ออกโดยบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม และบรรดามัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความจำเป็นของญิฮาด มีรายละเอียดดังนี้ :
ด้วยการรุกรานรัสเซียในช่วงปี 1241 ถึง 1243 ฮ.ศ. ไปยังประเทศอิหร่านและการยึดครองภูมิภาคนี้ นักวิชาการชีอะฮ์บางคน เช่น ญะอ์ฟัร กาชิฟุลฆิฏออ์ ซัยยิดอะลี เฏาะบาเฏาะบาอี มีรซา กุมมี มุลลา อะห์มัด นะรอกี และซัยยิดมุฮัมมัด มุญาฮิด เนื่องจากให้การสนับสนุนรัฐบาลกอญาร ในการป้องกันชาวมุสลิมในอิหร่าน จึงออกคำฟัตวาญิฮาด เพื่อตอบโต้และป้องกันการรุกรานของกองกำลังรัสเซีย (69) คำฟัตวาเหล่านี้ พร้อมด้วยริซาละฮ์เกี่ยวกับหลักปฏิบัติของญิฮาด ได้รับสั่งจากอับบาส มีรซา บุตรชายและมกุฎราชกุมารของฟัตฮ์อะลี ชาฮ์ และรวบรวมโดย มีรซา อีซา กออิม มะกอม ฟะรอฮานี ในชุดสะสมชื่อ อะห์กามอัลญิฮาดและอัสบาบ อัรเราะชาด [70]
คำฟัตวาของญิฮาดของมุฮัมมัดตะกี ชีรอซี ถือเป็นหนึ่งในคำฟัตวาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อต่อต้านการยึดครองและอิทธิพลของอังกฤษในอิรัก เมื่อวันที่ 20 เดือนรอบีอุลเอาวัล 1337 ฮ.ศ. [71] ใจความของคำฟัตวา มีดังนี้: ถือเป็นวาญิบสำหรับชาวอิรักที่จะเรียกร้องสิทธิของตน และถือเป็นวาญิลสำหรับพวกเขา ในขณะที่ร้องขอ จะต้องปฏิบัติตามสันติภาพและความมั่นคง และหากอังกฤษปฏิเสธที่จะยอมรับคำร้องขอของพวกเขา อนุญาตให้ใช้กองกำลังป้องกันได้ [72]
หลังจากที่กลุ่มไอซิส (ดาอิช) เข้าควบคุมพื้นที่ทางตะวันตกและทางเหนือของอิรักในปี 2014 ค.ศ. และกำลังรุกคืบไปยังภูมิภาคอื่นๆ ซัยยิด อะลี ซีสตานี ได้ออกฟัตวาญิฮาดเพื่อตอบโต้การรุกคืบของกลุ่มไอซิส [73] ตามคำฟัตวานี้ พลเมืองอิรักที่สามารถพกพาอาวุธและต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย เป็นวาญิบกิฟาอีย์ในการปกป้องประเทศ ประชาชาติ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งการเข้าร่วมกับกองกำลังรักษาความปลอดภัย [74]
ทัศนคติของกลุ่มหัวรุนแรงที่มีต่อญิฮาด
ในศตวรรษที่ 14 และ 15 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ปัญหาญิฮาด ได้รับความสนใจจากกลุ่มซะละฟีมุสลิมบางกลุ่ม เช่น อัลกออิดะห์ และกลุ่มไอซิส [75]ซะละฟีญิฮาด ถือว่า ญิฮาดมีความสำคัญมากกว่าหลักปฏิบัติทั้งหมดของศาสนาอิสลาม เช่น นมาซ การถือศีลอด และฮัจญ์ พวกเขาถือว่า มีความสำคัญและล้ำหน้ามากกว่า และพวกเขาเชื่อว่า มุสลิมคนใดก็ตามที่ไม่มีส่วนร่วมในการญิฮาด จะไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ของอิสลาม[76]
กล่าวได้กันว่า กลุ่มหัวรุนแรงบางกลุ่มภายใต้อิทธิพลของซัยยิดกุฏบ์[ 77] เชื่อว่า ดินแดนทั้งหมด หรือเป็นดารุลอิสลามหรือดินแดนของญาฮิลีและดารุลฮัรบ์ ดารุลอิสลาม เป็นดินแดนที่อิสลามปกครองและปฏิบัติตามกฎหมายของพระเจ้าและมีการกำหนดขอบเขตของมัน และสังคมอื่นใด นอกเหนือจากนี้ เป็นดินแดนแห่งสงครามหรือดินแดนแห่งความไม่รู้ ซึ่งในกรณีนี้ มุสลิมมีหน้าที่ต้องต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ในสังคมหรือให้มีสันติภาพและให้ความสงบสุขแก่ผู้อยู่อาศัยในดินแดนเหล่านี้และเก็บภาษีจากพวกเขา [78] พวกซะละฟี ด้วยการเบี่ยงเบนไปจากความหมายของญิฮาดและเผยแพร่แนวความคิดเรื่องการปฏิเสธ [ 79]ในบางประเทศและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ที่มีประชากรมุสลิม พวกเหล่านี้ได้ก่อความรุนแรงและการก่อการร้าย และนำเสนอภาพลักษณ์ที่โหดร้ายของ อิสลามต่อโลก [80]
ในทางตรงกันข้าม บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ เห็นพ้องกันว่า ญิฮาด หมายถึง การป้องกันผู้รุกราน ในช่วงแห่งการเร้นกายของอิมาม ผู้บริสุทธิ์ และนี่ไม่ได้หมายถึง ความรุนแรง และทุกประเทศมีสิทธิ์ที่จะปกป้องตนเองจากการโจมตีของศัตรู (81) นิอ์มะตุลเลาะฮ์ ศอลิฮี นะญัฟออบอดี นักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ กล่าวว่า ญิฮาดในอิสลาม ไม่ได้หมายความว่าศาสนาด้วยสงครามเริ่มต้นและพลังอำนาจของอาวุธ ได้ถูกกำหนดให้กับผู้ที่ไม่ยอมรับอิสลามและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชาวมุสลิม (82) เขายังอ้างถึงโองการที่ 90 ของ ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ ถือว่า สงครามเริ่มต้นกับเหล่าผู้ปฏิเสธที่ไม่เป็นอันตรายนั้น เป็นสิ่งที่ฮะรอม[83] และเชื่อว่า สงครามของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในช่วงตอนต้นของอิสลามมีไว้เพื่อป้องกันการบุกรุกของศัตรูและโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือบรรดาผู้ถูกกดขี่ [84]