เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความสำคัญของความสะอาดและสุขอนามัย

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

  ความสำคัญของความสะอาดและสุขอนามัย

 

บทที่ ๕ ความสะอาดและสุขอนามัย


๑.ความสำคัญของความสะอาดและสุขอนามัย

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า:
1.  “อิสลามคือความสะอาด ดังนั้นจงทำตัวให้สะอาด เพราะไม่มีผู้ใดเข้าสวรรค์ได้ นอกจากผู้ที่สะอาดเท่านั้น”[1]
2. “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของศรัทธา และศรัทธาจะอยู่กับเจ้าของในสวรรค์”[2]
3. “อย่ากวาดเศษฝุ่นไปทิ้งไว้หลังประตู เพราะนั่นเป็นที่อยู่อาศัยของชัยฏอน (มลภาวะ)”[3]
4. “บ่าวที่เลวที่สุดคือผู้ที่สกปรก”[4]
5. “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเกลียดความสกปรกและความยุ่งเหยิง”[5]
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า:
6. “จงทำความสะอาดบ้านจากใยแมงมุม เพราะการปล่อยให้มีใยแมงมุมในบ้านจะนำไปสู่ความยากจน”[6]
ท่านอิมามศอดิก (อ.) กล่าวไว้ในฮะดีษว่า:
7. “การรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของศีลธรรมของบรรดาศาสนทูต”[7]
8. หนึ่งในงานของท่านอิมามอะลี (อ.) ในครอบครัวคือการกวาดบ้าน[8]
9. เมื่อใดที่อัลลอฮ์ผู้ทรงเกียรติและอำนาจประทานความโปรดปรานแก่บ่าวของพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์ที่จะเห็นผลของความโปรดปรานนั้นปรากฏอยู่บนตัวของบ่าว ท่านศาสดาถูกถามว่า "อย่างไร?" ท่านตอบว่า: "ให้เขารักษาเสื้อผ้าให้สะอาด มีกลิ่นหอม ทาสีบ้านให้สะอาด และกวาดลานบ้านของเขา"[9]
10. การมีห้องน้ำ [ที่สะอาด] ถือเป็นส่วนหนึ่งของความสุขของมนุษย์[10]
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า:
11. : “โอ้อะนัส! รักษาความสะอาดให้มาก แล้วอัลลอฮ์จะเพิ่มอายุขัยให้แก่ท่าน”[11]
ตัวบท
[1] إنّ الإِسْلام نَظِیفٌ فتَنَظَّفُوا ، فإنهُ لا یَدْخُلُ الجَنَّةَ إلَّا نَظِیفٌ ( تاریخ بغداد ، ج5 ، ص351 ) .
[2] لنَّظَافَةُ مِنَ الإِیمَانِ وَ الإِیمَانُ مَعَ صَاحِبِهِ فِی الْجَنَّةِ ( طب النبی ( صلی الله علیه وآله وسلم ) ، ص21؛ بحار الأنوار ، ج59 ، ص291 )
[3] لا تُؤْوُوا التُّرَابَ خَلْفَ الْبَابِ ، فَإِنَّهُ مَأْوَی الشَّیَاطِینِ ( علل الشرائع ، ص583
[4] بِئْسَ الْعَبْدُ الْقَاذُورَةُ ( الکافی ، ج6 ، ص439 ) .
[5] إِنَّ اللهَ یُبْغِضُ الْوَسَخَ وَالشَّعَثَ ( کنز العمال ، ج6 ، ص641 ) .
[6] نَظِّفُوا بُیُوتَکُمْ مِنْ حَوْکِ الْعَنْکَبُوتِ ، فَإِنَّ تَرْکَهُ فِی الْبَیْتِ یُورِثُ الْفَقْرَ ( قرب الإسناد ، ص51 ) .
[7] مِنْ أَخْلاقِ الْأَنْبِیَاءِ التَّنَظُّف ( تحف العقول ، ص442 ) .
[8] کَانَ أَمِیرُ الْمُؤْمِنِینَ ( علیه السلام ) . . . یَکْنُسُ . . . ( الفقیه ، ج3 ، ص169
[9] إِنَّ اللهَ تَعَالَی إِذَا أَنْعَمَ عَلَی عَبْدٍ نِعْمَةً أَحَبَّ أَنْ یَر َی عَلَیْهِ أَثَرَهَا . قِیلَ : وَ کَیْفَ ذَلِکَ؟ قَالَ : یُنَظِّفُ ثَوْبَهُ وَ یُطَیِّبُ رِیحَهُ وَ یُجَصِّصُ دَارَهُ وَ یَکْنُسُ أَفْنِیَتَهُ . . . ( مکارم الأخلاق ، ص41 )
[10] مِنْ سَعَادَةِ الْمَرْءِ . . . نَظَافَةُ مُتَوَضَّاهُ ( مکارم الأخلاق ، ص126 ) .
[11] یَا أَنَسُ! أَکْثِرْ مِنَ الطَّهُورِ ، یَزِدِ اللهُ فِی عُمُرِکَ ( الأمالی ، مفید ، ص60؛ مکارم الأخلاق ، ص40 ) .

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม