เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

โองการที่ 31 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

โองการที่ 31 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์

 

การแจ้งข่าวดีแก่ผู้หลีกเลี่ยงความชั่ว


إِن تجْتَنِبُوا كبَائرَ مَا تُنهَوْنَ عَنْهُ نُكَفِّرْ عَنكُمْ سيِّئَاتِكُمْ وَ نُدْخِلْكم مُّدْخَلاً كَرِيماً (31)

ความหมาย

๓๑. ถ้าสูเจ้าหลีกห่างจากบาปใหญ่ต่าง ๆ ที่ถูกห้ามแก่สูเจ้า เราจะลบล้างจากสูเจ้าความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสูเจ้า และเราจะให้สูเจ้าเข้าไปในสถานที่อันมีเกียรติ

 

คำอธิบาย บาปใหญ่และบาปเล็ก

โองการนี้แจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่หลีกเลี่ยงบาปใหญ่ว่า พระเจ้าจะทรงลบล้างบาปเล็ก ๆ ของพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้เป็นรางวัลสำหรับพวกเขา โองการกล่าวว่า ถ้าสูเจ้าหลีกห่างจากบาปใหญ่ต่าง ๆ ที่ถูกห้ามแก่สูเจ้า เราจะลบล้างจากสูเจ้าความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสูเจ้า และเราจะให้สูเจ้าเข้าไปในสถานที่อันมีเกียรติ

การที่โองการใช้คำว่า กะบาอิร หรือ ซัยยิอาต ซึ่งหมายถึงบาปใหญ่และบาปเล็ก ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่า บาปนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภท แต่ใช้คำที่แตกต่างกัน บางครั้งเรียกว่า กะบีเราะฮฺ (บาปใหญ่) เซาะฆีเราะฮฺ (บาปเล็ก) บางครั้งเรียกว่า กะบีเราะฮฺ และ ซัยยิอะฮฺ (ความชั่ว) และบางครั้งเรียกว่า กะบีเราะฮฺ และ ละมะมะ (เล็ก ๆ น้อย ๆ)

มาตรฐานของการกำหนดบาปใหญ่และบาปเล็กคืออะไร

โองการข้างต้นได้จำแนกบาปทั้งสองประเภทออกจากกัน บางครั้งนำมากล่าวไว้ตรงข้ามกัน และกำชับว่าถ้าห่างไกลจากบาปใหญ่จะทำให้บาปเล็กของเจ้าถูกลบล้าง

แต่ถ้าพิจารณาจากความหมายของศัพท์คำว่า กะบีเราะฮฺ หมายถึงความผิดทั้งหมด ซึ่งอิสลามถือว่าเป็นบาปใหญ่และให้ความสำคัญอย่างยิ่ง สัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นบาปใหญ่คือ สังเกตจากการใช้ของอัล-กุรอาน ถ้ามิได้ห้ามกระทำเพียงอย่างเดียว ทว่าหลังจากห้ามมีการขู่การลงโทษด้วยไฟนรก เช่น การฆ่าตัวตาย ผิดประเวณี กินดอกเบี้ย และอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

อิมามบากิร (อ.) อิมามซอดิก (อ.) และอิมามอะลี ริฎอ (อ.) กล่าวว่า บาปใหญ่หมายถึง บาปที่พระเจ้าทรงกำหนดการลงโทษด้วยไฟนรก

เมื่อใดที่บาปใหญ่จะเปลี่ยนเป็นบาปเล็ก

ประเด็นสำคัญที่ต้องกล่าว ณ ที่นี้คือ บาปเล็กยังคงสภาพเป็นบาปเล็กตลอดไปถ้าไม่มีการกระทำซ้ำ หรือกระทำด้วยความยโสโอหัง ละเมิด และอวดดี เนื่องจากอัล-กุรอาน และรายงานจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) กล่าวว่า มีหลายกรณีที่บาปเล็กจะเปลี่ยนเป็นบาปใหญ่ เช่น

๑.ถ้ากระทำบาปซ้ำกันบ่อยครั้ง ดังที่อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ไม่มีบาปใดที่ซ้ำกันบ่อย ๆ แล้วจะเล็ก
๒.กรณีที่คิดว่านั่นเป็นบาปเล็ก ๆ น้อย ๆ และดูหมิ่น อิมามอะลี (อ.) กล่าวไว้ในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺว่า บาปที่หนักที่สุดได้แก่บาปที่ผู้กระทำคิดว่าเป็นบาปเล็ก ๆ น้อย ๆ

๓. กรณีที่กระทำบาปด้วยความยโสโอหัง เมื่ออยู่ต่อหน้าพระบัญชาของพระเจ้า ดังที่อัล-กุรอาน บทอันนาซิอาต โองการที่ 37 กล่าวว่า ส่วนผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน และเขาได้เลือกเอาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ดังนั้นที่พำนักของเขาคือ ไฟนรก

๔. บางคนที่ฐานะภาพทางสังคมแตกของเขาแตกต่างไปจากบุคคลอื่น เมื่อกระทำความผิดจึงได้รับโทษหนักกว่าคนอื่น ดังที่อัล-กุรอาน บทอันอะฮฺซาบ โองการที่ 30 กล่าวถึงเหล่าบรรดาภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า โอ้ บรรดาภริยาของนบี ผู้ใดในหมู่พวกเธอนำความชั่วอย่างชัดแจ้ง การลงโทษจะถูกเพิ่มเป็นสองเท่าแก่พวกเธอ

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดกระทำความชั่ว ถือว่าเขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบบาปนั้น และบาปทั้งหมดตกเป็นของผู้กระทำ โดยที่ไม่มีสิ่งใดเพิ่มหรือลดแต่อย่างใด

๕. ขณะที่กระทำบาปแสดงความปิติยินดี หรือมีความสนุกสนานถือว่าเป็นเกียรติยศ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามกระทำบาปโดยที่เขามีความภาคภูมิใจ เขาจะถูกจับโยนลงนรกอย่างทั้งคราบน้ำตา

๖. กรณีที่พระเจ้ามิได้ลงโทษอย่างเฉียบพลัน แต่เขากลับถือว่าพระองค์พึงพอพระทัยต่อการกระทำของตน อัล-กุรอาน บทอัลมุญาดะละฮฺ โองการที่ 8 กล่าวว่า พวกเขากล่าวในหมู่พวกเขาว่า ทำไมพระเจ้าจึงไม่ทรงลงโทษเรา หลังจากนั้นอัล-กุรอานกล่าวต่อว่า นรกเพียงพอสำหรับพวกเขา

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม