ชีวประวัติอิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ตอนที่หก
ชีวประวัติอิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ตอนที่หก
สงครามและสันติภาพกับมุอาวียะฮ์
เหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในชีวิตของฮะซัน บิน อะลี (อ.) คือ การทำสงครามกับมุอาวิยะฮ์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยสันติภาพสงบศึก (๑๐๖) ในเวลาเดียวกันกับที่ประชาชนชาวอิรักได้ให้สัตยาบันกับฮะซัน บิน อะลี (อ.) และได้รับการยืนยันโดยปริยายจาก ชาวเมืองฮิญาซ เยเมน และเปอร์เซีย [๑๐๗] ชาวซีเรียในการให้สัตยาบันกับมุอาวียะฮ์ [๑๐๘] มุอาวียะฮ์ ในการปราศรัยของเขาและเขียนจหมายถึงอิมามฮะซัน (อ.) โดยเขาเน้นย้ำถึงการตัดสินใจอย่างจริงจังของเขาที่จะไม่ยอมรับคำสัตยานี้ (๑๐๙) เขาเตรียมตัวที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ นับตั้งแต่การเสียชีวิตของอุษมาน [๑๑๐] เขาได้เคลื่อนทัพไปยังอิรัก [๑๑๑] ตามบางรายงานระบุว่า อิมามฮะซัน (อ.) ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในด้านสงครามหรือสันติภาพ จนกระทั่ง ประมาณห้าสิบวัน หลังจากการเป็นชะฮีดของบิดาของเขา (๑๑๒) เมื่อเขาทราบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกองทัพซีเรีย เขาก็เดินทางออกจากเมืองกูฟะฮ์พร้อมกับกองทัพของเขา และส่งกองทัพภายใต้การบังคับบัญชาของ อุบัยดิลลาฮ์ บิน อับบาส ไปยังมุอาวียะฮ์ (๑๑๓)
สงครามระหว่างสองกองทัพ
หลังจากที่มีการปะทะกัน ระหว่างทั้งสองกองทัพ และนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของชาวซีเรีย มุอาวียะฮ์จึงได้ส่งข้อความถึงอุบัยดิลลาฮ์ในช่วงตอนกลางคืนว่า ฮะซัน บินอะลี ได้เสนอแนวทางสันติภาพแก่ฉัน และจะมอบตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้ฉัน มุอาวียะฮ์ยังสัญญาว่าจะจ่ายเงินให้เขาหนึ่งล้าน ดิรฮัม และเขาก็เข้าร่วมกับมุอาวียะฮ์ หลังจากนั้น ก็อยซ์ บิน ซะอัด ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพของอิมาม (๑๑๔) รายงานของบะลาซะรี (เสียชีวิตในปี ๒๗๙ ฮ.ศ. ) หลังจากที่อุบัยดิลลาฮ์เข้าร่วมกับกองทัพเมืองชาม มุอาวียะฮ์คิดว่า กองทัพของอิมามฮะซัน (อ.) นั้นมีความอ่อนแอลง และเขาสั่งให้โจมตีพวกเขาอย่างสุดกำลัง แต่กองทัพของ อิมาม ภายใต้การบังคับบัญชาของเกซ พวกเขาได้เอาชนะเหนือชาวซีเรีย มูอาวียะฮ์ จึงพยายามจะกีดกันก็อยซ์ให้สัญญาที่คล้ายคลึงกับที่เขาเคยให้สัญญากับอุบัยดิลลาฮ์ แต่เขาก็ไม่ประสบผลสำเร็จ (๑๑๕)
สถานภาพของอิมามฮะซัน ในเมืองซาบาฏ
ในทางกลับกัน อิมามฮะซัน (อ.) ได้เดินทางไปยังเมืองซาบาฏ พร้อมกับกองทัพของเขา ดั่งที่เชคมูฟีดกล่าวว่า อิมามฮะซัน (อ.) เพื่อทดสอบบรรดาสหายของเขาและเปรียบเทียบการเชื่อฟังของพวกเขา เขาได้กล่าวเทศนาธรรมและกล่าวว่า ความเป็นเอกภาพและความเห็นอกเห็นใจนั้นดีกว่าสำหรับพวกท่าน มากกว่าการแบ่งแยกและการแตกแยก อันที่จริง แผนการที่ฉันคิดว่าสำหรับพวกท่านนั้นดีกว่าแผนการที่พวกท่านมีสำหรับตัวของพวกท่านเอง หลังจากคำกล่าวของเขา ประชาชนก็พูดกันว่า เขาตั้งใจที่จะสร้างสันติภาพกับมุอาวิยะฮ์ และมอบตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้เป็นของเขา บางคนได้บุกโจมตียังกระโจมของเขาและปล้นทรัพย์สินของเขาและแม้กระทั่งมีการดึงผ้าปูนมาซของเขาออกจากใต้เท้าของเขา (๑๑๖) แต่ตามคำบอกเล่าของยะอ์กูบี (เสียชีวิตในปี ๒๙๒ ฮ.ศ.) สาเหตุของเหตุการณ์นี้ ก็คือ มุอาวิยะฮ์ได้ส่งกลุ่มคนจำนวนหนึ่งไปยังฮะซัน บิน อะลี เมื่อพวกเขากลับมาจากเขา พวกเขาจะพูดกันด้วยเสียงอันดังเพื่อให้ผู้คนได้ยินว่า: พระเจ้าทรงช่วยโลหิตของชาวมุสลิมและยุติการปลุกปั่นโดยทางบุตรของท่านศาสนทูตของพระเจ้า เขายอมรับความสงบ เมื่อได้ยินคำพูดเหล่านี้ กองทหารของอิมามก็เริ่มปั่นป่วนและโจมตีกระโจมของเขา [๑๑๗] หลังจากเหตุการณ์นี้ สหายที่ใกล้ชิดของอิมามฮะซัน (อ.) ได้ปกป้องเขา แต่ในความมืดมิดของราตรี มีคอวาริจญ์คนหนึ่งเข้ามาใกล้ (๑๑๘) เขากล่าวว่า โอ้ ฮะซัน เจ้าได้กลายเป็นผู้ตั้งภาคี เฉกเช่นเดียวกับที่บิดาของเจ้าเป็นผู้ตั้งภาคี จากนั้นเขาก็ฟาดมีดที่ต้นขาของฮะซัน และอิมามซึ่งขี่ม้าอยู่ก็ล้มลงกับพื้น (๑๑๙) พวกเขาพาฮะซัน บิน อะลี (อ.) ขึ้นบนเตียงไปยังเมืองมะดาอิน และพาไปยังบ้านของ ซะอัด บิน มัสอูด ษะกอฟี เพื่อรับการรักษาตัว [๑๒๐]
สงครามระหว่างมุอาวิยะฮ์และอิมามฮะซัน (อ.) จึงนำไปสู่การลงนามข้อตกลงสันติภาพในที่สุด ตามคำกล่าวของเราะซูล ญะอ์ฟะรียอน ระบุว่า เหตุผลต่างๆ เช่น ความอ่อนแอของประชาชน สถานการณ์ของยุคสมัย และการปกป้องชีอะฮ์ ทำให้อิมามมุจญ์ตะบาอ์ อ์ (อ.) ต้องยอมรับสันติภาพ [๑๒๑1] ตามข้อตกลงนี้ เคาะลีฟะฮ์จึงถูกต่อถึงมุอาวียะฮ์[๑๒๒]
เหตุการณ์การสงบศึกกับมุอาวิยะฮ์
ในเวลาเดียวกันกับที่กองทัพทั้งสองของอิรักและซีเรียปะทะกัน อิมามฮะซัน (อ.) จึงถูกลอบสังหารและได้รับบาดเจ็บ และเขาเดินทางไปยังเมืองมะดาอิน เพื่อรับการรักษา (๑๒๓) ขณะที่อิมามฮะซันอยู่ในระหว่างการรักษา แกนนำชนเผ่าเมืองกูฟะฮ์กลุ่มหนึ่งได้ส่งจดหมายลับให้มุอาวียะฮ์ และประกาศถึงการเป็นผู้ปกครองของเขา โดยพวกเขาเชิญชวนให้มุอาวียะฮ์ มาหาพวกเขาและสัญญาว่า จะมอบตัวฮะซัน บิน อะลี ให้กับเขา หรือไม่ก็สังหารเขาเสีย [๑๒๔] ตามที่เชคมุฟีด (เสียชีวิต ๔๑๓ ฮ.ศ.) อิมามฮะซัน (อ.) เมื่อได้ยินข่าวนี้และเช่นกันข่าวการเข้าร่วมของอุบัยดิลลาฮ์ บินอับบาส กับมุอาวียะฮ์ และในทางกลับกัน เขาได้สังเกตเห็นถึงความอ่อนแอและความไม่พร้อมของบรรดาผู้ช่วยเหลือของเขา เขาตระหนักด้วยชาวมุสลิมชีอะฮ์ของเขามีเพียงเล็กน้อย เขาไม่สามารถต่อสู้กับกองทัพขนาดใหญ่ของซีเรียได้ (๑๒๕) ซัยด์ บิน วะฮับ ญุฮะนี รายงานว่า ในระหว่างการรักษาของอิมามฮะซันในเมืองมะดาอิน เขากล่าวว่า ฉันขอสาบานต่อพระเจ้าว่า หากฉันต่อสู้กับมุอาวียะฮ์ ชาวอิรักจะตัดคอฉันและมอบฉันให้กับเขา ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า หากฉันทำสันติภาพกับมุอาวียะฮ์ ฉันก็จะได้รับเกียรติยศ เป็นการดีกว่าสำหรับฉันที่จะถูกเขาสังหารแบบเป็นเชลยศึก หรือให้เขามีบุญคุณกับฉันและงดเว้นจากการสังหารฉัน และสำหรับบะนีฮาชิม จะเป็นความอัปยศอดสูในตลอดไป (๑๒๖)
ข้อเสนอสนธิสัญญาสันติภาพโดยมุอาวียะฮ์
จากคำกล่าวของยะอ์กูบี รายงานว่า หนึ่งในกลอุบายของมุอาวียะฮ์ในการนำสงคราม ไปสู่สันติภาพ คือ การที่เขาส่งผู้คนในหมู่กองทัพของอิมามฮะซัน (อ.) เพื่อกระจายข่าวลือว่า ก็อยซ์ บิน สะอัด ได้เข้าร่วมกับมุอาวิยะฮ์ และในทางกลับกัน เขาได้ส่งผู้คนบางส่วนไปในหมู่กองทหารของก็อยส์ เพื่อเผยแพร่ข่าวลือว่า ฮะซัน บิน อะลี ยอมรับสันติภาพแล้ว (๑๒๗) เขายังส่งจดหมายจากชาวกูฟะฮ์ เพื่อประกาศถึงการเป็นผู้ปกครองของเขาให้กับฮะซัน บิน อะลี (อ.) และเสนอแนวทางสันติภาพและกำหนดเงื่อนไขสำหรับตัวเขาเอง ดังที่เชคมุฟีด กล่าวว่า อิมามฮะซัน (อ.) ไม่ไว้วางใจมุอาวิยะฮ์และตระหนักรู้ถึงกลอุบายของเขา ดังนั้นเขาจึงไม่เห็นทางเลือกอื่นใด นอกจากยอมรับสันติภาพ (๑๒๘) บะลาซะรี กล่าวว่ามุอาวิยะฮ์ได้ส่งจดหมายว่างเปล่าและลงนามให้กับฮะซัน บิน อะลี (อ.) เพื่อที่จะเขียนเงื่อนไขใดๆ ก็ตามที่เขานั้นมีความต้องการ [๑๒๙] อิมามฮะซัน (อ.) เห็นสถานการณ์เช่นนี้ จึงได้กล่าวกับประชาชน และขอให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสงครามหรือสันติภาพ ผู้คนร้องขอให้ยอมรับสันติภาพด้วยสโลแกน ที่ว่าอัลบะกียะฮ์ อัลบะกียะฮ์ (หมายถึง เราต้องการมีชีวิตอยู่) [๑๓๐] และด้วยเหตุนี้เอง อิมามฮะซัน (อ.) จึงต้องยอมรับสันติภาพ วันที่สถาปนาสันติภาพถูกบันทึกเป็น วันที่ 25 เราะบีอุลเอาวัล [๑๓๑] และในบางข้อมูล เราะบีอุลอาคิร หรือญะมาดุลเอาวัล [๑๓๒] ในปีฮิจเราะฮ์ที่ ๔๑
บทบัญญัติของข้อตกลงสันติภาพ
มีรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบทบัญญัติของข้อตกลงสันติภาพ (๑๓๓) หนึ่งในบทบัญญัติที่อ้างถึงในแหล่งที่มา คือ ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ จะถูกส่งมอบให้กับมุอาวิยะฮ์ โดยมีเงื่อนไขว่า เขาจะต้องปฏิบัติตามคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้าและซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และแนวทางของคอลีฟะห์รุ่นแรกและไม่ได้แต่งตั้งผู้สืบทอดสำหรับตนเองและประชาชนทุกคนต้องได้รับความปลอดภัย รวมทั้งชีอะฮ์ของอิมามอะลี (อ) (๑๓๔) เชคศอดูก กล่าวว่าเมื่ออิมามฮะซัน (อ.) มอบตำแหน่งคอลีฟะห์ให้กับมุอาวิยะฮ์ โดยมีเงื่อนไขว่า จะไม่เรียกมุอาวิยะฮ์ว่า อะมีรุลมุอ์มินีน [๑๓๕]
ในบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า อิมามฮะซัน (อ.) ตั้งเงื่อนไขว่า เคาะลีฟะฮ์จะถูกส่งมอบให้เขา หลังจากมุอาวิยะฮ์ และนอกจากนี้ มุอาวิยะฮ์จะจ่ายเงินให้เขา จำนวนห้าล้านดิรฮัม (๑๓๖) ตามที่ญะอ์ฟะรี กล่าวว่า ตัวแทนของอิมามฮะซัน (อ.) ได้กำหนดเงื่อนไขทั้งสองนี้ไว้ในสนธิสัญญาสันติภาพ แต่อิมามไม่ยอมรับและเน้นย้ำว่า การแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ต่อจากมุอาวิยะฮ์ ควรเป็นหน้าที่ของสภามุสลิม และเกี่ยวกับเงื่อนไขทางการเงิน เขายังกล่าวอีกว่า มุอาวิยะฮ์ไม่มีสิทธิ์ยึดคลังของชาวมุสลิม [๑๓๗] บางคนยังกล่าวด้วยว่า เงื่อนไขทางการเงินถูกกำหนดโดยตัวของมุอาวิยะฮ์เองหรือตัวแทนของเขา [๑๓๘]
อิมามฮะซัน (อ.) แม้จะถูกปลดจากตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ แต่ก็ยังถือว่า เขาเป็นอิมามของชีอะฮ์ และแม้แต่บรรดาชีอะฮ์ที่คัดค้านสนธิสัญญาสงบศึกของอิมาม ก็ไม่เคยปฏิเสธความเป็นอิมามัตของเขา และเขาเป็นผู้นำและผู้อาวุโสแห่งครอบครัวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไปจนถึงบั้นปลายชีวิต [๑๓๙]
ปฏิกิริยาและผลที่ตามมา
ตามรายงานต่างๆ ระบุว่า หลังจากสนธิสัญญาสงบศึกของอิมามฮะซัน กลุ่มชีอะฮ์กลุ่มหนึ่ง ได้แสดงความเสียใจและความไม่พอใจ [๑๔๐] และแม้แต่บางคนก็ตำหนิอิมามและเรียกเขาว่า มุซิลลุลมุอ์มินีน (ผู้สร้างความอัปยศอดสูของผู้ศรัทธา) [๑๔๑] ในการตอบคำถามและการคัดค้าน อิมามได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการยึดมั่นในการตัดสินใจของอิมาม และเรียกเหตุผลแห่งสันติภาพของเขา เช่นเดียวกับเหตุผลแห่งสันติภาพของฮุดัยบียะฮ์ และวิทยปัญญาของภารกิจนี้ก็มีพื้นฐานมาจากความรอบรู้ในการกระทำของนบีคิฎิร (อ.)ในเรื่องการร่วมเดินทางกับศาสดามูซา (อ.) [๑๔๒]
มีการระบุไว้ในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์หลายแห่งว่า มุอาวิยะฮ์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงสันติภาพ [๑๔๓] และสังหารบรรดาชีอะฮ์ของอิมามอะลีเป็นจำนวนมาก รวมถึงฮุจญ์ บิน อะดี ด้วย [๑๔๔] มีรายงานกล่าวว่า หลังจากสนธิสัญญาสงบศึก มุอาวิยะฮ์เข้าไปในเมืองกูฟะฮ์ และเทศนาแก่ประชาชนและกล่าวว่า: ฉันจะรับคืนทุกเงื่อนไขที่ฉันกระทำไว้ และฉันจะผิดสัญญาในทุกคำที่ฉันกระทำไว้ (๑๔๕) เขายังกล่าวอีกว่า ฉันไม่ได้ต่อสู้กับพวกท่าน เพื่อพวกท่านจะได้ทำการนมาซ ถือศีลอดและทำฮัจญ์ แต่ฉันได้ต่อสู้เพื่อจะได้ปกครองพวกท่าน [๑๔๖]