เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ชีวประวัติอิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ตอนที่แปด

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ชีวประวัติอิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบาอ์  (อ.) ตอนที่แปด

การเป็นชะฮีดและเหตุการณ์พิธีแห่ศพ

มีการระบุไว้ใน แหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ หลายแห่งว่า อิมามฮะซัน (อ.) เสียชีวิต ด้วยการถูกวางยาพิษ [๑๗๐] ตามบางรายงาน กล่าวว่า เขาถูกวางยาพิษหลายครั้ง แต่เขาก็รอดชีวิตมาได้ (๑๗๑) ในกรณีการถูกวางยาพิษ จนเป็นเหตุให้เขาเป็นชะฮีด ตามคำกล่าวของเชคมูฟีด ระบุว่า เมื่อมุอาวิยะฮ์ตัดสินใจที่จะให้ยะซีด ‎บุตรชายของเขาเป็นมกุฏราชกุมาร เขาได้ส่งเงินหนึ่งแสนดิรฮัมให้กับญุอ์ดะฮ์ บินติ อัชอัษ (ภรรยาของอิมามฮะซัน ‎‎(อ.) และให้สัญญากับนางว่า จะให้นางแต่งงานกับยะซีด เพื่อแลกกับการวางยาพิษสามีของเธอ (๑๗๒) ชื่อของญุอ์ดะฮ์ในฐานะฆาตกรฮะซัน บิน อะลี (ซ.ล.) ก็ถูกกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ด้วย [๑๗๓] มาเดลอง ‎เชื่อว่า ปัญหาผู้สืบทอดของมุอาวิยะฮ์และความพยายามของเขาในการให้ยะซีดเป็นมกุฏราชกุมาร เป็นการยืนยันถึงริวายะฮ์เกี่ยวกับการวางยาพิษของอิมามฮะซันจากการยุยงของมุอาวิยะฮ์ และด้วยน้ำมือของญุอ์ดะฮ์ [๑๗๔] ในรายงานอื่นๆ ฮินด์ ภรรยาคนหนึ่งของอิมามฮะซัน (อ.) [๑๗๕] หรือคนรับใช้คนหนึ่งของเขา [๑๗๖ ] เป็นปัจจัยในการวางยาพิษเขา กล่าวกันว่า ฮะซัน บิน อะลี (อ.) เสียชีวิตเป็นมรณสักขี สาม [๑๗๗] หรือ ๔๐ วัน [๑๗๘] หรือสองเดือน‎ [๑๗๙] หลังจากที่ถูกวางยาพิษ

 

มีรายงานว่า หลังจากการเป็นมรณสักขีของอิมามมุจญ์ตะบาอ์ อ์ (อ.) เมืองมะดีนะฮ์ ก็ร้องไห้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับเขา (๑๘๐) ยังมีการกล่าวด้วยว่า ในระหว่างการฝังศพ สุสานบะกีอ์เต็มไปด้วยผู้คนและตลาดก็ปิดทำการ เป็นเวลาเจ็ดวัน ‎(๑๘๑) มีรายงานจากแหล่งข้อมูลชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางแห่ง ระบุว่า ความอัปยศอดสูครั้งแรกสำหรับชาวอาหรับ ‎คือ การเสียชีวิตของฮะซัน บิน อะลี (อ.) [๑๘๒]‎

 

การห้ามฝังศพข้างศาสดามุฮัมมัด ในบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า อิมามฮะซัน (อ.) มอบพินัยกรรมให้น้องชายของเขาเพื่อทำการฝังศพเขา หลังจากการเสียชีวิตของเขา เคียงข้างหลุมศพของตาของเขา ศาสนทูตของพระเจ้า (ศ็อลฯ) (๑๘๓) ตามรายงานยังระบุว่า ฮะซัน ‎บิน อะลี ได้กล่าวความต้องการของเขากับท่านหญิงอาอิชะฮ์ และนางก็ตอบตกลง (๑๘๔) ตามรายงานของหนังสือ ‎อันซาบอัลอัชรอฟ ระบุว่า เมื่อมัรวาน บินฮะกัม รับรู้ถึงพินัยกรรมนี้ เขาได้รายงานเรื่องนี้ต่อมุอาวิยะฮ์และมุอาวิยะฮ์จึงเรียกร้องให้เขาป้องกันสิ่งนี้โดยเคร่งครัด [๑๘๕]‎

 

ตามรายงานของเชค มุฟีด (เสียชีวิตปี ๔๑๓ ฮ.ศ.) ฏอบัรซี (เสียชีวิตปี ๕๔๘ ฮ.ศ. ) และอิบนุชะฮ์ร ออชูบ (เสียชีวิต ปี ๕๘๘ ฮ.ศ.) อิมามมุจญ์ตะบาอ์ อ์ (อ.) ได้มอบพินัยกรรมให้นำโลงศพของเขาไปที่หลุมฝังศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เพื่อให้สัตยาบันอีกครั้ง แล้วให้นำศพของเขาไปฝังข้างหลุมศพของฟาฏิมะฮ์ บินติ อะซัด ผู้เป็นย่าของเขา ‎[๑๘๖] ในรายงานเหล่านี้ ระบุว่า ฮะซัน บิน อะลี สั่งให้หลีกเลี่ยงความขัดแย้งใดๆ ในระหว่างพิธีแห่ศพและการฝังศพของเขา [๑๘๗] เพื่อไม่ให้เกิดการหลั่งเลือด [๑๘๘]‎

 

เมื่อกลุ่มบะนีฮาชิม นำโลงศพของอิมามมุจญ์ตะบาอ์  (อ.) ไปยังหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มัรวาน พร้อมด้วยกลุ่มบะนีอุมัยยะฮ์บางส่วน ก็จับอาวุธและปิดกั้นทางเพื่อห้ามไม่ให้นำร่างของเขาไปฝังข้างหลุมศพของศาสดา ‎‎(๑๘๙) อะบุลฟะร็อจ อิศฟาฮานี (เสียชีวิต ๓๕๖ ฮ.ศ.) กล่าวว่า ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ได้ขี่พาหนะและขอความช่วยเหลือจากมัรวาน และบะนีอุมัยยะฮ์ (๑๙๐) มีการระบุไว้ในรายงานของบะลาซะรี ระบุว่า เมื่อท่านหญิงอาอิชะฮ์ เห็นว่ามีการปะทะกันเกิดขึ้นและกำลังจะนำไปสู่การนองเลือด นางจึงกล่าวว่า บ้านหลังนี้ คือ บ้านของฉัน และฉันจะไม่ยอมให้ผูใดถูกฝังอยู่ในนั้น (๑๙๑ )อิบนุ อับบาส กล่าวกับมัรวาน ซึ่งมีอาวุธและอยู่เพื่อก่อความไม่สงบ ว่า เราไม่ได้ตั้งใจที่จะฝังร่างของอิมามฮะซัน (อ.)ข้างหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หรอก เราเพียงตั้งใจที่จะให้คำสัตยาบันอีกครั้งและกล่าวคำอำลา แต่ถ้าอิมามสั่งให้ฝังเขาไว้ข้างๆ ศาสดา เราจะฝังเขาและไม่มีผู้ใดสามารถที่ห้ามเราได้ ‎หลังจากนั้น อิบนุ อับบาส หลังจากที่ชี้ถึงการปรากฏตัวของท่านหญิงอาอิชะฮ์ในสงครามญะมัล และกล่าววิพากษ์วิจารณ์ต่อนางโดยทางอ้อม [๑๙๒]‎

 

 

มีรายงานด้วยว่า มัรวาน กล่าวว่า เราไม่ยอมรับว่า อุษมานถูกฝังอยู่ที่ปลายสุดของเมือง แต่ทว่าฮะซัน บิน อะลีถูกฝังข้างศาสดา (๑๙๓) เกือบจะเกิดความปะทะกันระหว่างบะนี ฮาชิม และบะนี อุมัยยะฮ์ (๑๙๔) แต่อิมามฮุเซน (อ.)ด้วยคำสั่งเสียของพี่ชายของเขา ได้ขัดขวางการปะทะกัน แล้วร่างของฮะซัน บิน อะลี จึงถูกนำฝังไป ณ สุสานบะกีอ์ ข้างหลุมศพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บินติ อะซัด [๑๙๕]‎

 

ในรายงานจากอิบนุ ชะฮ์ร ออชูบ กล่าวว่า พวกบะนีอุมัยยะฮ์ได้ยิงธนูเข้าใส่ศพของอิมามมุจญ์ตะบาอ์  (อ.) ตามคำกล่าวนี้ ลูกธนู 70 ลูกถูกดึงออกจากร่างของฮะซัน บิน อะลี (อ) [๑๙๖]‎

 

วันที่การเป็นชะฮีด แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ได้กล่าวถึงปีแห่งการเป็นชะฮีด (มรณะสักขี) ของอิมามฮะซัน (อ.) ว่า คือ ปีที่ ๔๙ หรือ ๕๐ หรือ ๕๑ ฮ.ศ. [๑๙๗] ยังมีรายงานอื่นๆอีก [๑๙๘] นักค้นคว้าวิจัยบางคน ถือว่า ปี ๕๐ ฮ.ศ. นั้นถูกต้อง โดยอ้างอิงจากหลักฐาน [๑๙๙]‎

 

เกี่ยวกับเดือนที่เกิดขึ้น (๒๐๐) แหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ได้รายงานว่า เดือนซอฟัร (๒๐๑) และแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ส่วนใหญ่ รายงานว่า เดือนเราะบีอุลเอาวัล [๒๐๒] วันแห่งการเป็นชะฮีด (๒๐๓) ยังถูกรายงานในแหล่งอ้างอิงต่างๆ ของชีอะฮ์ด้วย เช่น เชคมุฟีด [๒๐๔ ]และเชคฏูซี [๒๐๕ (เสียชีวิต ๔๖๐ ฮ.ศ.) ฏอบัรซี [๒๐๖] (เสียชีวิต ฮ.ศ. ๕๔๘) และอิบนุ ‎ชะฮ์ร ออชูบ [๒๐๗ ] (เสียชีวิต ฮ.ศ. ๕๘๘) คือ วันที่ ๒๘ ซอฟัร ชะฮีดเอาวัล (เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. ๗๘๖) กล่าวว่า คือ ‎วันที่ ๗ ของเดือนซอฟัร [๒๐๘] และกุลัยนี [๒๐๙] กล่าวว่า คือ วันสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร ยะดุลลอฮ์ มุก็อดดะซี ถือว่า ‎วันที่ ๒๘ ซอฟัรนั้นถูกต้องโดยหลักฐานจากคำพูดต่างๆ [๒๑๐] ‎

 

ในอิหร่านวันที่ ๒๘ ซอฟัร เป็นวันหยุดอย่างเป็นทางการ เนื่องมาจากการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และการเป็นมรณสักขีของอิมามมุจญ์ตะบาอ์  (อ.) และผู้คนต่างไว้อาลัย แต่ในบางประเทศ รวมถึงในอิรัก คือวันที่ ๗ ซอฟัร เป็นการไว้อาลัยให้อิมามฮะซัน (อ)[๒๑๑] ในสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ ถือว่า วันที่ ๗ ซอฟัร เป็นวันแห่งการมรณสักขี และในสถาบันศาสนาเมืองกุม ตั้งแต่ช่วงสมัยของเชคอับดุลกะรีม ฮาอิรี ถือว่า วันนี้ เป็นวันหยุดสำหรับการไว้อาลัย [๒๑๒]‎

 

เนื่องจากความแตกต่างในวันมรณสักขีของฮะซัน บิน อะลี (อ.) อายุของเขา ณ เวลามรณสักขี จึงถือเป็น ๔๖ ‎‎[๒๑๓] หรือ ๔๗ [๒๑๔ ]หรือ ๔๘ [๒๑๕ ]ปี

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม