เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

โครงสร้างและเนื้อหาของมะฟาตีฮุลญินาน

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

โครงสร้างและเนื้อหาของมะฟาตีฮุลญินาน


โดยปกติแล้ว ในช่วงเริ่มต้นของมะฟาตีฮุลญินาน จะมีการพิมพ์ซูเราะฮ์ที่ยาวและเล็กของอัลกุรอาน [หมายเหตุ 2] ‎เนื้อหาของมะฟาตีฮุลญินาน ถูกแบ่งออกเป็นหลายบทด้วยกัน :‎

บทที่ 1: บทดุอา

บทนี้รวมถึงบทดุอาหลังนมาซประจำวัน การปฏิบัติอะมั้ลประจำวัน กลางคืน และช่วงวันต่างๆแห่งสัปดาห์ นมาซที่เป็นที่รู้จัก เช่น นมาซของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นมาซของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ) นมาซของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) นมาซญะอ์ฟัร ฏ็อยยาร บทซิยาเราะฮ์ประจำวัน และบางบทดุอาและมุนาญาต:‎ ‎ มุนาญาตค็อมซ์ อะชัร จากอิมามซัจญาด (อ.) มุนาญาตอิมามอะลีในมัสยิดกูฟะฮ์ ดุอาซิมาต ดุอากุเมล ดุอาเญาชันศอฆีร และเญาชันกะบีร ดุอามะการิมอัลอัคลาก และอื่นๆ ‎

บทที่สอง: การปฏิบัติอะมั้ลประจำปี

ในส่วนนี้ อธิบายถึงการปฏิบัติอะมั้ลที่เป็นมุสตะฮับในช่วงหนึ่งปีแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช โดยเริ่มต้นจากเดือนรอญับและด้วยการปฏิบัติอะมั้ลญะมาดุษษานี และจากนั้นก็เป็นการปฏิบัติอะมั้ลของวันเนารูซและสิ้นสุดด้วยเดือนแห่งโรมัน มุนาญาตชะอ์บานียะฮ์ ในการปฏิบัติอะมั้ลของเดือนชะอ์บาน ดุอาอะบูฮัมซะษุมาลี ดุอาอิฟติตาฮ์ ดุอาซะฮัร ‎การปฏิบัติในคืนลัยละตุลก็อดร์ในเดือนรอมฎอน ดุอาของอิมามฮุเซนในวันอะรอฟะฮ์ ในการปฏิบัติอะมั้ลเดือนซุลฮิจญะฮ์ เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นที่รู้จักของมะฟาตีฮุลญินาน

บทที่สาม: บทซิยาเราะฮ์

ในบทนี้ เริ่มต้นด้วยการอธิบายมารยาทในการเดินทางและซิยาเราะฮ์ และคำอ่านที่ขออนุญาตเข้ายังฮะร็อม บทซิยาเราะฮ์แรกๆ บทซิยาเราะฮ์ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซิยาเราะฮ์ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และหลังจากนั้น ซิยาเราะฮ์บรรดาอิมามแห่งบะกีอ์ นอกเหนือจากนี้ ซิยาเราะฮ์อิมามทั้งสิบสอง ในภาคส่วนนี้ รวมถึงบทซิยาเราะฮ์บรรดาอิมามซอเดห์ และบรรดาผู้อาวุโส ผู้สูงส่งและนักวิชาการของชีอะฮ์ เช่น บทซิยาเราะฮ์ท่านฮัมซะฮ์ มุสลิม บินอะกีล ‎ฟาฏิมะฮ์ บินติอะซัด บรรดาชะฮีดแห่งอุฮุด ซัลมาน อัลฟาร์ซีย์ และบุคคลอื่นๆเป็นต้น การปฏิบัติอะมั้ลบางประการที่เป็นที่รู้จัก เช่น มัสยิดกูฟะฮ์ มัสยิดศออ์ศออะฮ์ ก็รวมอยู่ในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน ส่วนที่ยาวที่สุดของบทนี้ เน้นย้ำไปที่บทซิยาเราะฮ์ของอิมามฮุเซน (อ.) โดยเฉพาะ บทซิยาเราะฮ์ของอิมามฮุเซน ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือ บทซิยาเราะฮ์อาชูรอ ซิยาเราะฮ์อัรบะอีน และซิยาเราะฮ์วาริษ ในส่วนนี้ ดุอานุดบะฮ์ ดุอาอะฮ์ด ‎บทซิยาเราะฮ์ญามิอะฮ์ กะบีเราะฮ์ รวมอยู่ในบทซิยาเราะฮ์ที่เกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี ด้วยเช่นกัน หลังจากบทซิยาเราะฮ์อิมามมะฮ์ดี บทซิยาเราะฮ์บรรดาศาสดา บทซิยาเราะฮ์ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ และบทซิยาเราะฮ์ท่านอับดุลอะซีม ฮะซะนี ในส่วนสุดท้ายของบทนี้ ในฉบับเริ่มต้นของมะฟาตีฮ์ ด้วยการซิยาเราะฮ์กุโบร์ของบรรดาผู้ศรัทธาและดุอาที่เกี่ยวข้อง

มุลฮะกอต มะฟาตีฮ์ เชคอับบาส กุมมีได้เพิ่มอีกส่วนหนึ่งด้วยชื่อมุลฮะกอตในหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน ในการตีพิมพ์ครั้งที่สอง (13)ในส่วนนี้ มีแปดบท ซึ่งถือว่า ตามความเชื่อของผู้เขียน ดุอาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนมีความต้องการ ซึ่งดุอาทั้งแปดมีดังต่อไปนี้

ดุอาการอำลาเดือนรอมฎอน
คุฏบะฮ์วันอีดฟิฏร์
บทซิยาเราะฮ์ ญามิอะฮ์อะอิมมะฮ์อัลมุสลิมีน
ดุอาหลังจากการอ่านซิยาเราะฮ์
บทซิยาเราะฮ์การอำลาบรรดาอิมาม
ดุอาของอิมามมะฮ์ดีสำหรับการแสวงหาความต้องการ
ดุอาสำหรับอิมามมะฮ์ดีในช่วงการเร้นกายของท่าน
มารยาทของการซิยาเราะฮ์แบบตัวแทนผู้อื่น
บากิยาตุศศอลิฮาต

บากิยาตุศศอลิฮาต เป็นหนังสือที่ผู้เขียนเพิ่มเติมในมะฟาตีฮุลญินาน (14) เชคอับบาส กุมมี กล่าวว่า การประพันธ์ส่วนนี้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มุฮัรรอม ปี 1345 ฮ.ศ. (15) ในการจัดพิมพ์ต่างๆของมะฟาตีฮุลญินาน มีการเพิ่มส่วนเข้าไปด้วย

หนังสือเล่มนี้ มีทั้งหมดหกบทและถือเป็นมุลฮะกอต ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทที่หนึ่ง การปฏิบัติอะมั้ลประจำวันและคืน ซึ่งบางส่วนเกี่ยวกับมารยาทของการดำเนินชีวิตประจำวันและดุอาในทุกชั่วโมงของวันและวิธีการนมาซศอลาตุลลัยล์
บทที่สอง กล่าวถึงนมาซที่เป็นมุสตะฮับ ซึ่งเป็นนมาซฮะดียะฮ์ให้บรรดามะอ์ศูมีน นมาซลัยละตุน ดะฟั่น นมาซเพื่อขอความต้องการ นมาซอิสติฆอษะฮ์ นมาซประจำวันของสัปดาห์ เชคอับบาส ยังรวมถึง การอิสติคอเราะฮ์และวิธีการอิสติคอเราะฮ์
บทที่สาม บทดุอาต่างๆและดุอาที่ป้องกันภัย ความเจ็บปวดและโรคต่างๆ ซึ่งเป็นดุอาที่เกี่ยวกับการขจัดความเจ็บปวดและโรคต่างๆ
บทที่สี่ ดุอาที่เลือกจากหนังสืออัลกาฟีย์ ส่วนมากของดุอาในส่วนนี้สำหรับการขจัดปัญหาต่างๆ เช่น การไม่พอเพียงในปัจจัยยังชีพ และความต้องการทางโลก
บทที่ห้า กล่าวถึงฮิรซ์ และดุอาที่สั้นจากหนังสือมุฮะญุดดะอะวาต และอัลมุจญ์ตะนา ในบทนี้กล่าวถึงดุอาที่ใช้ในการป้องกันภัยอันตรายต่างๆ (ฮิรซ์) และรวมทั้งบางมุนาญาตและดุอาสำหรับการแสวงหาปัจจัยยังชีพ
บทที่หก อธิบายถึงคุณสมบัติพิเศษของบางซูเราะฮ์และบางโองการ และกล่าวถึงบางดุอาและประเด็นทั่วไป คุณสมบัติบางโองการและซูเราะฮ์สำหรับการแก้ไขปัญหาต่างๆประจำวัน ในส่วนนี้ยังกล่าวถึงดุอาเพื่อฝันเห็นบุคคลหนึ่ง บุคคลใด ดุอาสำหรับการอ่านหนังสือ มารยาทในการทำอะกีเกาะฮ์ และการอิสติคอเราะฮ์ด้วยอัลกุรอาน
แหล่งอ้างอิงของหนังสือ
บางส่วนของแหล่งอ้างอิงที่เชคอับบาส กุมมี ใช้ในการประพันธ์หนังสือมะฟาตีฮุลญินาน และมีการกล่าวถึงชื่อของหนังสือเหล่านี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อิษบาตุลฮุดาห์ เขียนโดย เชคฮุร อามิลี
อัลอิฮ์ติญาจ เขียนโดย อะฮ์มัด บินอะลี ฏอบัรซี
อัลอิคติยาร เขียนโดย อิบนุบากี
อัรบะอะตุ อัยยาม เขียนโดย มีรดามาด
อัลอัซซะรียยะฮ์ รู้จักกันในชื่อ ฮาอียะฮ์ เขียนโดย เชคกาซิม อัซรี
อิอ์ลามุลวะรอ เขียนโดย เชคฏอบัรซี
อัลอิกบาล เขียนโดย ซัยยิด บินฏอวูซ
อัลอะมาลี เขียนโดย เชคฏูซี
อัลอะมาน เขียนโดย ซัยยิด บินฏอวูซ
บิฮารุลอันวาร เขียนโดย อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี
บะละดุลอะมีน เขียนโดย กัฟอะมี
แหล่งอ้างอิงอื่นๆที่เชคอับบาส กุมมี กล่าวไว้ในหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน : ตอรีคอาลัมออรอเยอับบาซี เขียนโดย มีรซา อิสกันดัร บีก มะเนชี ตุฮ์ฟะตุซซาอิร เขียนโดย อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม เชคฏูซี ญะมิอุลอัคบาร ไม่ทราบชื่อผู้เขียน และญะมาลุลอุซบูอ์ เขียนโดย ซัยยิด บินฏอวูซ (16)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม