ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี 0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 166

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 166
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 30070
ดาวน์โหลด: 3169

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามอะลี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 166 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 30070 / ดาวน์โหลด: 3169
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ท่านอะลี(อ)กล่าวว่า “ถ้าหากท่านเป็นคนโกหก ขอให้อัลลอฮ์ลงโทษท่าน ให้เป็นโรคเรื้อนปรากฏโดยที่ผ้าโพกศีรษะปกปิดไม่มิด”

ต่อมาไม่นานนัก ปรากฏว่ามีโรคเรื้อนปรากฏที่ใบหน้าของท่านอะนัสและหลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า

“คำวิงวอนขอของบ่าวผู้มีคุณธรรม ได้ประจักษ์แก่ฉันแล้ว”(1)

-------------------------------------------------------------------------

(1) อัล-มุรอญิอาต หน้า 209

2. มีข่าวหนึ่งมาถึงท่านอะลี(อ) ว่า บะซัร บินอิรฏอต แม่ทัพของฝ่ายมุอาวียะฮ์ได้บุกโจมตีเมืองยะมันและสังหารผู้บริสุทธิ์ ท่านจึงขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ว่า

 “ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) แท้จริงบะซัร ได้ขายศาสนาของตน และเหยียบย่ำเกียรติยศของพระองค์ และการเชื่อถือปฏิบัติตามเป็นของผู้ถูกสร้างโดย

ก่อกรรมทำชั่วต่อสิทธิ์ของพระองค์เป็นที่ตั้งเพื่อความสำเร็จของตนเอง

ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ขอได้โปรดอย่าให้เขาตายจนกว่าจะทำให้ความคิดของเขาถูกลบเลือน และอย่าให้ความเมตตาของพระองค์มีต่อเขา แม้แต่ชั่วยามเดียวของกลางวัน ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้โปรดสาปแช่งบะซัร อัมร และ

มุอาวิยะฮ์ และโปรดพรั่งพรูความกริ้วของพระองค์ลงมายังพวกเขา และโปรดประทาน การลงโทษของพระองค์ให้แก่พวกเขา และโปรดให้พวกเขาประสบกับภัยพิบัติและการลงโทษที่ไม่มีใครสกัดกั้นให้พ้นจากพวกอาชญากรทางศาสนาได้”

๑๔๑

หลังจากนั้นไม่นานนัก ปรากฏว่า เขามีอาการกระสับกระส่าย สติปัญญาเลอะเลือนไป เขามีดาบประจำตัวอยู่เล่มหนึ่ง แล้วเขาพูดเป็นประจำว่า จงเอาดาบมาให้ข้า ข้าจะฆ่าเขาด้วยดาบ จนถึงกับต้องทำดาบด้วยไม้ธรรมดาให้เขาเล่มหนึ่ง ซึ่งเขาจะถือติดตัวตลอดเวลา และจะฟาดฟันอะไร ๆ

ด้วยดาบเล่มนี้จนกระทั่วถึงแก่ความตาย(2)

3. ส่วนหนึ่งจากคำสนทนาของท่านอะลี(อ) กับฮะซัน อัล-บัศรี ระหว่างทำวุฏอ์ โดยฮะซันเป็นฝ่ายพูดกับท่านว่า

“แต่ก่อนนี้ ฉันเคยสังหาร คนที่กำลังทำวุฏอ์ ไปหลายคน”

ท่านอิมามอะลี(อ) จึงกล่าวว่า “แล้วท่านมีความเสียใจกับเขาเหล่านั้นใช่ไหม?”

เขาตอบว่า “ใช่”

ท่านอะลี(อ)กล่าวว่า “ขอให้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) บันดาลความเศร้าโศกตลอดกาลแก่ท่านเถิด”

ท่านอัยยูบ อัซ-ซัจตานีได้กล่าวว่า “ดังนั้น เราจึงพบเห็นว่า ท่านฮะซัน อยู่ในความเศร้าอย่างเดียว ราวกับคนที่เพิ่งกลับจากฝังคนที่ตนรัก”

ฉันจึงพูดกับเขาในเรื่องนี้ ท่านตอบว่า

“มันเป็นไปตามคำวิงวอนขอของชายผู้มีคุณธรรม”(3)

--------------------------------------------------------------------------

(2) มินะนุร เราะห์มาน หน้า 349

(3)อัล กุนนี วัล อัลกอบ เล่ม 2 หน้า 75

๑๔๒

การบริจาคทานและเสียสละเพื่อการกุศลของอิมามอะลี(อ)

ในทุกแง่มุมแห่งวิถีชีวิตของท่านอิมามอะลี(อ) นั้นเราจะพบว่า มีแต่ความดีงามอันยิ่งใหญ่สุดเหลือประมาณ มีความสูงส่งอย่างเหลือล้น ท่านจึงเป็นสุดยอดของตัวอย่างในด้านการเคารพภักดี

การวิงวอนขอ ความจริงใจ การต่อสู้ จริยธรรมอันดีงาม และความมากมายในเรื่องบริจาค

นอกจากนี้ก็ยังมีความดีงามและเกียรติคุณในด้านอื่นอีกจนนับไม่ถ้วน ในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงงานบริจาคทานของท่านอิมามอะลี(อ) และงานเสียสละเพื่อการกุศลของท่าน ซึ่งอัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้ทรงหยิบยกมาเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งในลักษณะที่พระองค์ตรัสถึงด้วยการให้เกียรติอย่างสูง นั่นคือ กรณีที่ท่านมีเงินสี่ดิรฮัม แล้วท่านบริจาคในยามกลางคืนหนึ่งดิรฮัม บริจาคในยามกลางวันหนึ่งดิรฮัม บริจาคอย่างเป็นความลับหนึ่งดิรฮัม และบริจาคอย่างเปิดเผยอีกหนึ่งดิรฮัม แล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)จึงทรงประทานโองการมาดังมีใจความว่า

“บรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์สินของพวกตนทั้งในยามกลางคืน และยามกลางวัน ทั้งโดยซ่อนเร้น และโดยเปิดเผย”

ท่านคือผู้ที่บริจาคแหวนในขณะที่กำลังโค้ง(รูกูอ์) แล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ประทานโองการมาว่า

“บรรดาผู้ที่ดำรงการนมาซและการส่งมอบเพื่อการขัดเกลา ในขณะที่ตนกำลังโค้งอยู่”(1)

-------------------------------------------------------------------------

(1) โปรดดูเรื่อง “อิมามในทัศนะของอัล-กุรอาน” จากหนังสือเล่มนี้

๑๔๓

นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกในเรื่องที่ท่านบริจาคเสียสละสิ่งของที่มีค่าหลายประการที่เคยเป็นของของท่าน แต่ท่านได้ทำให้สิ่งนั้นๆ เป็นทาน

ท่านเคยกล่าวว่า

“แน่นอนท่านจะเห็นว่า ฉันจะต้องผูกท้องของฉันไว้กับก้อนหินเพราะความหิวโหย แต่การบริจาคของฉันในวันนี้ จะต้องมากถึงสี่หมื่นดีนาร”(2)

ท่านมุฮัมมัด บินฮิชาม กล่าวว่า “ท่านฮุเซน (อ) มีหนี้สินจำนวนหนึ่งแล้วมุอาวิยะฮ์ได้เสนอซื้อของมีค่าชิ้นหนึ่งซึ่งมีราคาสองแสนดีนาร แต่ท่านปฏิเสธที่จะขายโดยกล่าวว่า

“อันที่จริง มันเป็นของที่บิดาของฉันได้บริจาคไปเพื่อปกป้องใบหน้าของเขาให้พ้นจากความร้อนของไฟนรก ฉันจะไม่ขายมัน”(3)

------------------------------------------------------------------------

(2) อะซะดุล-ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 23

 (3) อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3 กอฟ 2 / 77

๑๔๔

เราจะขอเสนอเรื่องนี้เรื่องเดียวมาเป็นตัวอย่างในหัวข้อการบริจาคทานของท่าน อิมามอะลี(อ)

ซึ่งท่านเป็นผู้ครอบครองสิ่งของที่มีค่าชิ้นสองชิ้นที่เลื่องลือ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นของที่แสนรักแสนหวงของอะบู นัยซัร แต่เขาได้มอบให้ท่านอะลี(อ)ด้วยความรัก ท่าน(อ)ได้ถนอมของมีค่าชิ้นนี้มาก

แต่ได้กล่าวในทันทีที่ได้รับว่า “แน่นอนฉันจะต้องบริจาคของชิ้นนี้” (4)

ท่านได้เขียนจารึกไว้ที่ของที่ท่านบริจาคว่า

“ด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์ นี่คือสิ่งที่อะลี อะมีรุลมุมีนีน ได้บริจาคของอันมีค่าอันเป็นที่เลื่องลือสองประการ สำหรับคนยากจนแห่งมะดีนะฮ์และแก่คนเดินทาง เพื่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)จะได้ทรงปกป้องใบหน้าของเขาให้พ้นจากไฟนรกในวันฟื้นคืนชีพ จะไม่มีการติดตามทวงคืน นอกจากมอบให้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงรับมรดกในของสองสิ่งนี้ และพระองค์คือผู้สืบมรดกที่ประเสริฐที่สุด นอกจากกรณีที่ฮะซัน และฮุเซนต้องการของทั้งสองนี้ กล่าวคือ สองคนนี้มีสิทธิครอบครองมันได้ และไม่มีใครอื่นอีก”(5)

-------------------------------------------------------------------------

(4) อับศอรุลอัยน์ ของอัซ ซะมาวี หน้า 62

(5) อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3 กอฟ 2 / 77

๑๔๕

ขอให้ความสันติสุข พึงมีแด่ท่านเถิด ข้าแต่อะมีรุลมุมีนีน แน่นอนที่สุด ท่านได้ฝากบทเรียนไว้ในวิถีการดำเนินชีวิตทุกแง่ทุกมุมแล้ว ถ้าหากเราได้ปฏิบัติ เราก็จะได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า เราจะเป็นประชาชาติที่ประเสริฐที่สุดในหน้าแผ่นดิน แต่ทว่าเราทั้งหลายบั่นทอนตัวของเราเอง ศัตรูของเราจึงสามารถเอาชนะเราได้ อัลลอฮ์(ซ.บ.) เท่านั้นคือ

ผู้ทรงไว้ซึ่งความช่วยเหลือ

 วจนะจากบรรดาสาวกและรุ่นที่ถัดมา

คงจะเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ ในการที่เราเสนอหลักฐานการยกย่องเกียรติคุณของอิมามอะลีบินอะบีฏอลิบ(อ) โดยถ้อยคำของบรรดาสาวกและถ้อยคำของคนในรุ่นที่ถัดมา เพราะถ้าหากไม่เป็นเพราะว่า ท่านเป็นผู้มีผลงานในด้านการต่อสู้ และในด้านอื่น ๆ แล้ว แน่นอนพวกเขาคงจะลืมท่านไปเสียแล้วก็ได้ จะมีคุณค่าอะไรในการกล่าวถึงท่านอีก ในเมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้กล่าวถึงในเรื่องตัวของท่านว่า

“อะลีเอ๋ย ไม่มีใครรู้จักเจ้าได้ดี นอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)และข้ากับข้อนี้เองที่ว่าเกียรติยศ และความยิ่งใหญ่ เป็นของเจ้าจนถึงที่สุด”

ถูกแล้ว จุดประสงค์ในคำพูดต่าง ๆ ของบรรดาผู้มีความรู้เหล่านี้ช่วยให้เราได้มีภาพพจน์ขึ้นมาประการหนึ่งสำหรับความยิ่งใหญ่ในแง่มุมต่างๆ ของท่านอิมามอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักที่พวกเขามีต่อท่าน และการปกป้องเกียรติยศที่คนเหล่านั้นมีต่อท่าน

คำพูดของบรรดาสาวกและคนรุ่นถัดมานั้น เรามีมากมายจนเหลือเฟือ คือไม่ว่าจะเป็นตำราประวัติศาสตร์อิสลามเล่มใด ไม่แคล้วที่ต้องมีการเอ่ยถึงชื่อของท่านอิมามอะลี(อ)ในเล่มนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคใดภาคหนึ่ง

ท่านอิมามอะลี(อ) จะต้องเป็นบุคคลแรกที่ถูกนำชื่อมาเอ่ยถึงเสมอ

๑๔๖

เราจะเสนอคำพูดของบุคคลเหล่านั้น ณ บัดนี้

1. ท่านอะบูบักร์ ได้กล่าวถึงท่าน อะมีรุลมุมีนีน(อ) ว่า

“บุตรของอะบีฏอลิบเอ๋ย ท่านเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงทุกคน”(1)

(1) อัล-ฟุตูหาต อัล-อิสลามียะฮ์ เล่ม 2 หน้า 470 เป็นคำพูดที่ท่านกล่าวขึ้น หลังจากที่ท่านนบี (ศ) กล่าวว่า “ฉันเป็นผู้ปกครองของใคร อะลีย่อมเป็นผู้ปกครองของคนนั้น”

2. ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบได้กล่าวว่า

“หากไม่มีอะลี อุมัรต้องหายนะแน่”(2)

“อย่าให้ฉันมีชีวิตอยู่ จนพบกับปัญหาที่ยุ่งยากใด ๆ ในยามที่ไม่มีบิดาของฮะซันด้วยเลย”(3)

 “ไม่ว่าใครก็อย่าวิจารณ์อันใดเป็นอันขาด ในขณะที่อะลีมาถึง”(4)

“บุคคลใดอย่างได้ออกความเห็นเลย ขณะท่านอะลีอยู่”(5)

--------------------------------------------------------------

(2) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 6 และตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 87

(3) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 6 และอะขะดุล-ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 220 และตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ เล่ม 7 หน้า 337

 (4), (5) อ้างเล่มเดิม

๑๔๗

“ขอให้อัลลอฮ์(ซ.บ.) อย่าให้ฉันมีชีวิตอยู่ภายหลังบุตรของอะบีฏอลิบเลย”(6)

และว่า “อะลี คือผู้ตัดสินที่ดีที่สุดของพวกเรา” (7)

3. ท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ได้กล่าวว่า “หากไม่มีอะลี อุษมานต้องหายนะแน่” (8)

4. ท่านอับดุลลอฮ์ บินมัสอูด กล่าวว่า “พวกเราพูดกันว่า ผู้พิพากษาแห่งนครมะดีนะฮ์ต้องเป็นอะลี บินอะบีฏอลิบ” (9)

5. ท่านสะอีด บินมุซีบกล่าวว่า “ในหมู่มนุษย์จะไม่มีใครสามารถพูดคำว่า “จงถามฉันเถิด”ได้เลยนอกจากอะลี บินอะบีฏอลิบ” (10)

------------------------------------------------

(6) ตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 88

(7) ตะฮ์ซีบุต-ตะซีบ เล่ม 7 หน้า 337

(8) อัล-ฆอดีร เล่ม 7 หน้า 214

(9) อะซะดุล-ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 22

(10) เล่มเดิม

๑๔๘

6. ท่านสะอัด บินอะบีวักก๊อซพูดกับมุอาวิยะฮ์ว่า “ฉันขอบอกว่าที่ฉันไม่อาจด่าประณามเขา (อิมามอะลี) ได้ ก็เพราะเหตุผล 3 กรณี ที่ท่านศาสนทูต (ศ) เคยพูดถึงไว้ ซึ่งถ้าหากฉันมีโอกาสได้มาเพียงประการเดียว ฉันจะยินดีมากกว่าได้อูฐสีแดง ฉันเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวแก่ท่านอะลี (อ) หลังจากที่ท่านมอบหมายให้เขาอยู่ในหน้าที่ปกครองเมืองแทนการออกไปทำสงครามในครั้งหนึ่งซึ่งท่านอะลี (อ) พูดกับท่าน (ศ) ว่า

“ข้าแต่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ท่านจะให้ฉันอยู่ข้างหลังกับบรรดาสตรีและเด็กๆกระนั้นหรือ ?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ได้กล่าวตอบว่า “เจ้ายังไม่พอใจดอกหรืออะลี ที่ฐานะของเจ้ากับฉัน เหมือนกับฐานะของฮารูนกับมูซา เพียงแต่จะไม่มีตำแหน่งนบีภายหลังจากฉันอีกแล้วเท่านั้น”

ในสงครามค็อยบัร ท่านได้พูดถึงเขาว่า “ฉันจะมอบธงให้แก่บุรุษที่รักในอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์ และอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และ

ศาสนทูตของพระองค์ก็รักเขา”

พวกเราต่างตั้งความหวังในเรื่องนี้กัน

แต่ท่านกล่าวว่า “จงเรียกอะลีเถิด”

แล้วเขาก็มาหาท่านในอาการเจ็บตา ท่านได้ใช้น้ำลายแตะที่ดวงตาทั้งสองของเขาและมอบธงให้เขาไป แล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ทรงประทานชัยชนะให้แก่เขาและยังมีอีกโองการหนึ่งถูกประทานมาว่า

“จงกล่าวเถิด ท่านทั้งหลายจงมาซิ แล้วเราจะเรียกบรรดาลูกของเราและบันดาลูกของพวกท่าน และสตรีของเราและสตรีของพวกท่าน และ

ตัวของเรา และตัวของพวกท่าน”

๑๔๙

ปรากฏว่า ท่านศาสนทูตได้เรียก อะลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน และฮุเซน

พลางกล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)บุคคลเหล่านี้ คือสมาชิกครอบครัวของข้า”(11)

7. ท่านชัยด์ บินอัรก็อม กล่าวว่า “คนแรกที่นมาซกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) คือ อะลีบินอะบีฏอลิบ”(12)

8. หลังจากท่านอิมามอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)ได้วายชนม์แล้ว ท่านอิมามฮะซัน(อ)ผู้เป็นบุตร กล่าวคำปราศรัยมีใจความตอนหนึ่งว่า

“เมื่อคืนนี้บุรุษหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีคุณงามความดีล้ำหน้าคนทั้งปวง ทั้งยุคก่อนหน้า และยุคหลังอย่างไม่มีใครเสมอเหมือนได้วายชนม์แล้ว แน่นอนที่สุดเขาเคยต่อสู้ร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) โดยเอาตัวเองเป็นเกราะกำบังให้ท่าน ซึ่งท่านศาสนทูต(ศ)ได้มอบธงให้เขาถือ ญิบรออีลได้มาขนาบตัวเขาทางด้านขวา มีกาอีลมาขนาบตัวเขาทางด้านซ้าย เขาไม่เคยกลับจากสมรภูมิรบใดที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ไม่ให้ชัยชนะแก่เขา”(13)

9. ท่านหญิงอาอิชะฮ์ได้กล่าวว่า

“ฉันไม่เคยเห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)รักบุรุษคนใดมากกว่าเขา”(14)

------------------------------------------------------------

(11) เล่มเดิม

(12) อัล-อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล-อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 32

(13) มะกอติล อัฏฏอลิบีน หน้า 35

(14) อัล อักดุลฟะรีด เล่ม 2 หน้า 216

๑๕๐

“เขาคือคนที่รู้เรื่องชุนนะฮ์มากกว่ามนุษย์ทั้งหลาย”(15)

10. ท่านอะบูซะอีด อัลคุดรีกล่าวว่า “พวกเรารู้จักคนที่กลับกลอก

 (มุนาฟิก) ได้ ตรงที่สังเกตว่าใครโกรธท่านอิมามอะลี(อ)” (16)

11. ท่านกันซ์ บินซะอัด บินอุบาดะฮ์ได้กล่าวแก่ มุอาวิยะฮ์ บิน

อะบีซุฟยานว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงแต่งตั้งท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)มาเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก

พระองค์ทรงแต่งตั้งท่านมายังมนุษย์ทั้งมวล ทั้งในหมู่ญินและมนุษย์

ไม่ว่าจะเป็นผิวแดง ดำ หรือขาว พระองค์ทรงคัดเลือกท่านมาให้ดำรงตำแหน่งนบี และมอบคัมภีร์เล่มหนึ่งมาให้ท่าน ปรากฏว่าคนแรกที่ศรัทธาในตัวท่านคือ อะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) บุตรแห่งผู้เป็นลุงของท่านเองในขณะที่อะบูฏอลิบทัดทานและยับยั้งเขาอยู่ เขาดำเนินการเคลื่อนไหวท่ามกลาง พวกมิจฉาทิฐิแห่งตระกูลกุเรช และท่ามกลางผู้คนซึ่งมีทั้งที่ปกป้องท่านและให้ร้ายท่าน ภารกิจของท่านคือเผยแผ่สาส์นแห่ง

พระผู้อภิบาลของท่าน ท่ามกลางเสียงคัดค้านและการให้ร้ายต่างๆนั้น อะบูฏอลิบผู้เป็นลุงของท่านก็ได้เสียชีวิตไป และเขาได้สั่งให้บุตรชายของตนสนับสนุนท่านรอซูล(ศ) ซึ่งเขาก็ได้ช่วยเหลือและสนับสนุนท่านโดยเอาตัวเองเข้าไปแลกกับภัยอันตรายทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อน หรืออุปสรรคที่น่าหวาดกลัวสักเพียงใดก็ตาม ในเหตุการณ์เช่นนี้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงเจาะจงที่จะให้มีอะลี(อ) ขึ้นมาท่ามกลางพวกกุเรช ให้เขามีเกียรติท่ามกลาง

ชาวอาหรับ และคนที่มิใช่ชาวอาหรับ”

------------------------------------------------

 (15) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 40

(16) อัล อะอิมมะตุล อิซนาอะซัร ของอิบนุฏลูน หน้า 56

๑๕๑

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) เคยเรียกบรรดาลูกหลานของ

อับดุลมุฏฏอลิบมาชุมนุม ในจำนวนนั้น มีทั้งอะบูฏอลิบ และอะบูละฮับ ซึ่งมีด้วยกันในวันนั้น 40 คน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ได้เรียกคนเหล่านั้น รวมทั้งอะลี (อ) ผู้รับใช้ของท่าน โดยที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) นั่งอยู่ต่อหน้าของลุงของท่านเอง ท่านกล่าวว่า

“ในหมู่พวกท่าน จะมีใครบ้างที่ประสงค์ในความเป็นพี่น้องกับฉัน เป็นผู้ร่วมภารกิจ เป็นทายาท และเป็นผู้สืบอำนาจ(คอลีฟะฮ์)แทนฉันในหมู่ประชาชาติของฉัน และเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทุกคนภายหลังจากฉัน ?”

คนทั้งหลายต่างพากันนิ่งเงียบแม้ว่าท่านจะกล่าวย้ำถึง 3 ครั้ง แต่ทุกครั้ง

ท่านอิมามอะลี(อ)กล่าวว่า “ข้าแต่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ฉันจะอยู่กับท่านเอง”

แล้วท่านก็เอาศีรษะของท่านอิมามอะลี(อ) วางลงในตักของท่านแล้วกล่าวว่า “ข้าแต่อัลลอฮ (ซ.บ.) ขอได้โปรดประทานวิชาความรู้ ความเข้าใจและวิทยปัญญา ให้มีอยู่ในตัวเขาอย่างเต็มเปี่ยม”

ต่อจากนั้น ท่านได้กล่าวแก่อะบูฏอลิบว่า

“โอ้ท่านอะบูฏอลิบ บัดนี้จงเชื่อฟังบุตรของท่าน และจงปฏิบัติตามเถิด แน่นอนที่สุด

อัลลอฮ์(ซ.บ.)แต่งตั้งเขาให้อยู่ในตำแหน่งของฮารูนที่เคยมีต่อมูซาและทรงประทานความเป็นพี่น้องระหว่างอะลี(อ)กับตัวของศาสนทูตของพระองค์แล้ว”(17)

----------------------------------------------------------

(17) อัล เฆาะดีร เล่ม 2 หน้า 107

๑๕๒

12. ท่านอับดุลลอฮ์ บินอับบาส ได้กล่าวแก่คนกลุ่มหนึ่งที่กล่าวหาท่านอะลี(อ)ว่า “ความวิบัติจะมีแก่พวกท่านทั้งหลาย จำไม่ได้หรือ เขาคือคนที่ได้ยินเสียงการมาของญิบรออีล (อ) ที่มายังบ้านของเขา แน่นอนที่สุดอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เคยมีโองการตำหนิสาวกของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ไว้

ในอัล กุรอานทั้งนั้นแต่ไม่เคยกล่าวถึงเขาเลย นอกจากในแง่ดี”(18)

“ท่านอิมามอะลี(อ)ได้มีวิชาความรู้มากถึงเก้าสิบหมวดหมู่ แต่ขอสาบาน ด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ว่าความรู้ของพวกท่านที่มีอยู่รวมด้วยกันคือ สิบหมวดหมู่ที่เหลือนั่นเอง”(19)

“ท่านอิมามอะลี(อ)มีคุณสมบัติพิเศษ 4 ประการ ซึ่งไม่มีใครได้รับคุณสมบัติดังกล่าวนี้

นอกจากเขาคนเดียวนั่นคือเขาเป็นคนแรก ไม่ว่าจะเป็นคนในหมู่

ชาวอาหรับ หรือไม่ใช่อาหรับที่ยืนนมาซร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)เขาคือคนที่ถือธงประจำกองรบ ในการทำสงครามทุกครั้ง เขาคือคนที่อดทนในการยืนเคียงข้างท่านนบี ในยามที่คนอื่น ๆ วิ่งหนี เขาคือคนที่อาบน้ำให้

และนำร่างของท่านลงในสุสาน”(20)

-----------------------------------------------------------------

 (18) ตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 90 และอัล-อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3หน้า 40

(19) อัล อะอิมมะตุล อิซนาอะซัร ของอิบนุฏอลูน หน้า 52

(20) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 27

๑๕๓

13. ท่านอับดุลลอฮ์ บินอุมัร ได้กล่าวแก่ท่านนาฟิอ์ บินอัซร็อก เมื่อครั้งที่ท่านนาฟิอ์ กล่าวว่า “ฉันเกลียดชังอะลี” ว่า

“อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะประทานความเกลียดชังแก่ท่าน ท่านจะเกลียดชังคนที่มีความดีเด่นที่สุดเหนือกว่าคนทั้งหลาย และสิ่งทั้งมวลที่มีอยู่ในโลกนี้กระนั้นหรือ ?”(21)

ท่านกล่าวอีกว่า “ไม่มีอะไรที่ฉันรู้สึกว่า น่าเสียใจที่สุดเท่ากับการที่ฉันมิได้ออกทำการต่อสู้กลุ่มชนที่ละเมิดร่วมกับท่านอิมามอะลี (อ)” (22)

14. ท่านสะอีด บินอ๊าศกล่าวว่า “สิ่งที่ฉันภูมิใจที่สุดคือขออย่าให้คนที่ฆ่าบิดาของฉันต้องเป็นอะลี บินอะบีฏอลิบบุตรชายแห่งผู้เป็นลุงของท่านเลย” (23)

15. มุอาวิยะฮ์ได้กล่าวเมื่อครั้งที่ได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของท่านอิมามอะลี(อ)ว่า

“ความรู้ทางศาสนาและวิชาการต่าง ๆ ได้สูญสลายไปพร้อมกับการตายของบุตรอะบีฏอลิบ”(24)

ท่านอุตบะฮ์ผู้เป็นพี่ชายได้กล่าวทันทีว่า “จงอย่าให้พวกซีเรียได้ยินคำพูดคำนี้ของเจ้า”

เขาตอบไปว่า “เรื่องของฉัน เจ้าไม่เกี่ยว” (25)

-------------------------------------------------------------

(21) อัล มะนากิบ เล่ม 1 หน้า 240

(22) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 2 หน้า 53

(23) อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3 กอฟ 1 / 36

(24) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 45

(25) เล่มเดิม

๑๕๔

16. ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อัล อันศอรี ได้กล่าวว่า

“เราไม่สามารถรู้จักเลยว่าใครเป็นพวกกลับกลอก(มุนาฟิก) นอกจากสังเกตกับคนที่เกลียดชังท่านอิมามอะลี บินอะบีฎอลิบ(อ)” (26)

17. ท่านฎิร็อร บินฎ็อมเราะฮ์ อัลกะนานี ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของท่านอิมามอะลี(อ)

เมื่อตอนที่มุอาวิยะฮ์ขอร้องให้เขาพรรณนาให้ฟัง ดังนี้

 “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาคือคนที่มีพละกำลังยอดเยี่ยมสุดเหลือ

ประมาณ พูดจาอย่างเชี่ยวชาญ ตัดสินอย่างยุติธรรม วิชาความรู้กระจายออกมาจากตัวของเขารอบด้าน มีวาจาที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญา เป็นคนที่มีชีวิตอยู่บนโลก และบนความสุนทรีย์ของมันอย่างถือสันโดษ เป็นคนที่ชินกับกลางคืนและความโดดเดี่ยว เป็นคนที่หลั่งน้ำตาเสมอ ครุ่นคิดใคร่ครวญ

ตลอดเวลา เป็นคนที่ไม่แบมือรับ และสั่งสอนตัวเอง ชอบสวมใส่เสื้อผ้าหยาบ ๆ และเรียบง่าย ชอบอาหารแบบธรรมดาสามัญ เขาอยู่กับเราเหมือนอย่างพวกเราได้ เขาเข้ามาหาเราเมื่อเราเข้าหาเขา เขาตอบเราเมื่อเราถาม เขาจะมาทันทีที่เราเรียก เขาจะบอกเราเมื่อเราขอร้องให้บอก ขอสาบานด้วยพระ

นามของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ว่าพวกเราได้ใกล้ชิดกับเขามาก แต่เขาใกล้ชิดกับเรามากกว่านั้น เราแทบจะพูดถึงความดีงามของเขาไม่หมด เมื่อเขายิ้ม ฟันของเขาจะเรียงรายเป็นระเบียบราวไข่มุก เขาให้เกียรติคนเคร่งศาสนา เขาใกล้ชิดกับคนยากจน คนที่เข้มแข็ง ไม่อาจฉกฉวยข้อผิดพลาดในตัวเขาได้

คนอ่อนแอก็ไม่เคยผิดหวังจากความยุติธรรมของเขา

----------------------------------------------------------------

(26) เล่มเดิม

๑๕๕

 ฉันเคยเห็นเขายืนอยู่โดดเดี่ยวในยามค่ำคืน

ท่ามกลางแสงระยิบระยับของดวงดาว เขาจับเคราของตัวเอง แล้วคลี่ไปมา เขาร้องไห้ด้วยความโศกเศร้า ฉันยังจำคำพูดในตอนนั้นของเขาได้จนบัดนี้ว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาล ข้าแต่พระผู้อภิบาล ซึ่งเขาถ่อมตนต่อพระองค์ที่สุด”

เขากล่าวอีกว่า “โอ้โลกเอ๋ย จงหลอกลวงบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ฉันเถิด กับฉันเจ้าจงผินหลังให้เสียเถิด หรือว่าเจ้าปรารถนาต่อฉัน จงไปให้ห่างไกลเสียเถิด จงไปให้ห่างไกลเสียเถิด แท้จริงฉันได้สลัดเจ้าทิ้งถึงสามครั้งแล้วซึ่งไม่อาจจะกลับคืนมาได้อีก อายุของเจ้าสั้นก็จริง แต่พิษสงของเจ้า มันช่างใหญ่หลวงนัก หนทางชีวิตของเจ้ามันอันตราย โอ้ ผู้ที่มีเสบียงเพียงเล็กน้อย แต่หนทางเดินยังยาวไกล และต้องโดดเดี่ยวในหนทางนั้นอย่างน่าสพึงกลัว”

มุอาวิยะฮ์ถึงกับร้องไห้ จนไม่สามารถสกัดกั้นหยาดน้ำตาที่หยดลงบนเคราของตนได้ เขากล่าวว่า

“ขอให้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ประทานความเมตตาแก่บิดาของฮะซัน

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แล้วเจ้าเสียใจอะไรหรือฎิร็อร?”

เขากล่าวว่า “ความเสียใจของผู้หญิงที่บุตรของตนถูกเชือดให้ตายคาตักนั้น ย่อมไม่มีอะไรหยุดยั้งได้” (27)

----------------------------------------------------------

(27) ศิฟะตุศ ศอฟวะฮ์ เล่ม 1 หน้า 122 และตัชกิเราะตุล เคาะวาศ หน้า 70 อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3กอฟ 1 / 25

๑๕๖

18. ท่านกอกออ์ บินซิรอเราะฮ์ ได้ยืนที่สุสานของท่านอิมามอะลี(อ)แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่ท่านอะมีรุลมุมินีน ขอให้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ประทานความปีติชื่นชมแก่ท่าน ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ว่า ชีวิตของท่านคือกุญแจที่ไขความดีงาม และถ้าหากประชาชนทั้งหลายให้การยอมรับท่าน แน่นอนพวกเขาจะได้บริโภคความดีงามทั้งที่อยู่เบื้องบน และที่อยู่เบื้องล่าง แต่ทว่าพวกเขาเนรคุณต่อความโปรดปราน และลุ่มหลงกับโลกนี้”(28)

19. ท่านฮะซัน บัศรี ได้กล่าวว่า

“ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาเป็นธนูที่แม่นฉมังของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ที่พุ่งไปต้องแก่ศัตรูของพระองค์ เขาเป็นจอมปราชญ์แห่งประชาชาตินี้ เป็นความภาคภูมิใจ เป็นความประเสริฐสำหรับประชาชาตินี้ เป็นผู้ที่ใกล้ชิดที่สุดของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ในประชาชาตินี้ เขาไม่เคยเผลอใผลในคำสั่งของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาไม่เคยอาทรต่อศาสนาของอัลลอฮ์(ซ.บ.) และไม่เคยฉกฉวยทรัพย์สินของอัลลอฮ์(ซ.บ.) อัล กุรอานได้ยกย่องในเกียรติภูมิของเขา เขาคือ อะลี บินอะบีฎอลิบ”(29)

----------------------------------------------------------

 (28) ตารีค ยะอ์กูบี เล่ม 2 หน้า 191

(29) อักดุล ฟะรีด เล่ม 2 หน้า 271 และอัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 47

๑๕๗

20. ท่านอะฏออ์เคยถูกตั้งคำถามว่า “ในบรรดาสาวกของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) มีใครสักคนไหมที่มีความรู้มากกว่าอะลี?”

ท่านตอบว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ว่า ไม่มีคนที่รู้มากกว่าเขา” (30)

21. ท่านอับดุลลอฮ์ บินอิยาช บินอะบีรอบีอะฮ์ ได้กล่าวแก่ สะอีด บินอัมร์ บินสะอีด บินอาศ

เมื่อสะอีดถามว่า “โอ้ลุงเอ๋ย ทำไมคนทั้งหลายถึงต้องเอาแบบอย่างตามคุณลักษณะของอะลี (อ)?”

เขาจึงกล่าวว่า “ลูกของน้องชายเอ๋ย เพราะว่า อะลีมีสิ่งที่เจ้าต้องการอยู่ในตัวเขา อันได้แก่วิชาความรู้ที่เที่ยงแท้ที่สุด เขาคือเครือญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของท่านนบีและเป็นบุคคลแรกในอิสลาม

เป็นเขยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) เป็นผู้มีความรอบรู้ในซุนนะฮ์ เป็นนักต่อสู้ที่ฉกาจในสนามรบและเป็นคนเอื้ออารีต่อคนขัดสน”(31)

------------------------------------------------

(30) อะซะดุล ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 22

(31) ตะอ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ เล่ม 7 หน้า 338 และอะซะดุล ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 22

๑๕๘

22. ท่านอามิร บินอับดุลลอฮ์ บินซุบัยร์ ได้กล่าวกับลูกของตนที่ลบหลู่ท่านอะลี(อ)ว่า

“ลูกเอ๋ย เจ้าจงระวัง และจงกลับคำพูดเสีย เพราะแท้จริงบนีมัรวานสาปแช่งเขามาเป็นเวลาถึง 60 ปี แต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)มิได้ให้อะไรแก่เขาเลยนอกจากยกย่องเขาตลอดมา แท้จริงไม่ว่าศาสนาจะสร้างอะไรขึ้นมา โลกนี้จะต้องทำลายสิ่งนั้น ๆ เสมอ และโลกนี้ก็ไม่สามารถจะสร้างอะไรขึ้นมา

ได้ นอกจากจะต้องย้อนกลับไปหาสิ่งที่ตนทำลายลงไปเมื่อคราวก่อน”(32)

23. ท่านมุฮัมมัด บุตรของท่านอะบูบักร์ บินกุฮาฟะฮ์ เขียนหนังสือถึง มุอาวิยะฮ์มีใจความตอนหนึ่งว่า

“คนแรกที่ตอบรับและศรัทธาและเชื่อมั่น และยอมรับโดยดุษณีย์คือผู้มีศักดิ์เป็นพี่ชายของท่านศาสดา(ศ)ผู้เป็นบุตรแห่งลุงของท่านศาสดา(ศ)นั่นคือ อะลี บินอะบีฎอลิบ เขาเชื่อมั่นต่อท่านศาสดา(ศ)ในสิ่งเร้นลับพ้นญาณวิสัย เขาเจริญรอยตามท่านศาสดาเหนือกว่าญาติอันเป็นที่รักทุกคน

เขาเอาตัวเองเป็นโล่ห์กำบังให้ท่านศาสดา(ศ)ปลอดภัยทุกครั้งคราว เขาร่วมทำสงครามกับท่านศาสดา(ศ) เขามีความสุขเมื่อท่านศาสดา(ศ)มีความสุข เขามีแต่เสียสละเพื่อท่านศาสดา(ศ) ทั้งยามกลางวันและกลางคืน ทั้งในยามที่น่าหวาดกลัว และน่าประหวั่นพรั่นพรึง จนกระทั่งมีชัยชนะใน

ด้านความดีงาม จนไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ในบรรดาผู้ที่เชื่อถือตามท่านศาสดาไม่มีใครเคยมีผลงานที่ใกล้เคียงกับเขาเลย แน่นอนฉันก็รู้ว่าเจ้าก็สูงส่ง แต่เจ้าก็คือเจ้า ส่วนเขาก็คือเขา เขาเป็นคนมีเจตนารมณ์ที่ซื่อสัตย์ที่สุด เขาเป็นคนมาจากเชื้อสายที่ดีที่สุด เขาเป็นคนที่มีภรรยาที่ประเสริฐที่สุด

-----------------------------------------------

(32) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 55

๑๕๙

เขาเป็นลูกของลุงที่ดีที่สุด ลุงของเขาคือ ประมุขของบรรดาวีรชน ผู้พลีชีพเพื่ออิสลาม บิดาของเขาคือผู้ปกป้องศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)

 ความหายนะจะประสบแก่เจ้า ที่เจ้าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับอะลี(อ) ในขณะที่เขาคือทายาทของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) และเป็นบิดาของคนที่อยู่ในฐานะบุตรของท่าน เป็นคนแรกที่เชื่อถือตามท่านศาสดา(ศ) และใกล้ชิดกับท่านศาสดา(ศ)มากที่สุด ในอัน

ที่จะรับข้อผูกพันต่าง ๆ เขาคือคนที่ท่านศาสดาบอกความลับด้วย และเป็นคนประกาศคำสั่งของ

ท่าน”(33)

24. ท่านชุอ์บีกล่าวว่า

“ท่านอะลี บินอะบีฎอลิบกับประชาชาตินี้ เสมือนหนึ่งท่านมะซี้ห์ (ท่านนบีอีซา) บุตรของมัรยัมในหมู่ชาวบนีอิสรออีล ประการหนึ่ง นั่นคือคนพวกหนึ่งรักเขาแต่ต้องปกปิดความรักนั้น คนพวกหนึ่งเกลียดชังเขาแต่ต้องปกปิดความเกลียดชังนั้น ท่านเป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อมากที่สุดในหมู่ประชาชนที่พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงรัก เพราะท่านไม่เคยตอบปฏิเสธผู้ที่ร้องขอเลย แม้แต่เพียงครั้งเดียว”(34)

25. ท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ ได้กล่าวว่า

“เราไม่เคยรับรู้อีกเลยว่า ในประชาชาตินี้ หลังจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)แล้ว ยังจะมีใครอีกที่สมถะมากกว่าอะลี บินอะบีฎอลิบ”(35)

--------------------------------------------------------------

(33) มุรูญซ ซะฮับ เล่ม 2 หน้า 43

(34) อัล อักดุล ฟะรีด เล่ม 2 หน้า 216

(35) อะซะดุล ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 24 และตัชกิเราะตุเคาะวาศ หน้า 64

๑๖๐