รัตติกาลแห่งอานุภาพ (ตอนที่ 3)

อิมามอะลี(อ) ประเสริฐกว่านบีมูซา


เศาะศออะฮฺ ก็ได้ถามต่ออีกว่า ระหว่างท่านกับนบีมูซา(อ) ใครประเสริฐกว่ากัน ? เศาะศออะฮ์ ได้เลือกคำถามที่ดีเป็นอย่างมาก โดยเลือกถามถึงบรรดานบีที่เป็น “อูลุล อัศมฺ” แม้ว่า นบีอาดัม (อ) จะไม่ได้เป็น อูลุล อัศมฺ แต่ก็ถือว่าท่านเป็น “อบุล บะชัร” เป็นต้นกำเนิด ของมวลมนุษยชาติ และท่านอิมามก็ได้ตอบเพียงตัวอย่างเดียวในแต่ละ ความประเสริฐ
ท่านอิมาม(อ) ได้กล่าวตอบว่า แน่นอนฉันประเสริฐกว่านบีมูซา  อิมามอะลี(อ) มีความประเสริฐกว่า นบีมูซา(อ) มากมายหลายเรื่อง แต่ท่านได้บอกเพียงเรื่องเดียวพอสังเขป คือ ฉันมีความกล้าหาญกว่านบีมูซา(อ) โดยท่าน อิมาม(อ) ได้ยกโองการ ในซูเราะฮฺ ฏอฮา โองการ 43 ครั้งที่ นบีมูซา (อ) ได้รับคำสั่งแรก ว่า

 

اذْهَبَا إِلَىٰ فِرْعَوْنَ إِنَّهُ طَغَىٰ

 

ความว่า “เจ้าทั้งสองจงไปหาฟิรเอาน์ แท้จริงเขายโสโอหังมาก”

 

ในริวายัต และคำอรรถาธิบายของอัลกุรอานบอกว่า ท่านนบีมูซา(อ) สั่นสะท้าน เกิดความหวั่นขึ้นมาในหัวใจ ว่าท่านจะต้องกลับไปยังอียิปต์ คนเดียวอีกครั้งหนึ่งหรือ หลังจากโดนไล่ล่า และกลับไปพร้อมกับสาสน์ที่ ยิ่งใหญ่ เพื่อโค่นล้มฟิรเอาน์ ผู้ที่ประกาศกับประชาชาติว่า ฉันคือพระเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ตัวท่านนบีมูซา(อ) ก็มีคดีติดตัวแล้ว คดีที่ไปฆ่าชาวอียิปต์ ซึ่งท่านนบีมูซา(อ) เป็นบนีอิสรออีล ถือว่าเป็นชนชั้นทาสในอียิปต์ในยุคนั้น ซึ่งแน่นอนชนชั้นทาสฆ่าคนที่อยู่ในชนชั้นนาย ความผิดคือประหารชีวิต สถานเดียว ท่านถูกไล่ล่ามาเป็นระยะเวลาหนึ่งจึงได้ออกจากเมืองอียิปต์ และเมื่ออัลลอฮฺ (ซบ) ได้ทรงสั่งให้ท่านกลับไปใหม่ ท่านนบีมูซา(อ) ได้วิงวอนรั้งรอ บอกว่าให้ฮารูนไปเถิด ฮารูนไม่มีคดี แต่อัลลอฮฺ(ซบ) บอกว่าเจ้าไปทั้งสองคน เมื่อถูกคำสั่งสำทับ แน่นอนไม่ใช่ว่า นบีกลัวจนไม่ปฏิบัติหน้าที่ ครั้งแรกนบีมูซา (อ) บอกว่าให้ส่งฮารูนไปเถิด กลัวว่าเขาจะฆ่าฉันเสียก่อน จากนั้นท่านอิมามได้บอกกับเศาะศออะฮฺว่า รู้ไหมตอนที่ซูเราะฮฺบารออะฮฺ ถูกประทาน ลงมา (คือซูเราะฮ์เตาบะฮฺ) ซึ่งก่อนหน้านี้ ท่านนบีได้ทำสนธิสัญญา ฮุดัยบียะฮฺสงบศึกกับพวกปฏิเสธ (มุชริกีน)แห่งมักกะฮฺว่า จะไม่มีการรบราฆ่าฟัน จะไม่มีการละเมิดซึ่งกันและกัน แต่หลังจากที่ทำสัญญาแล้ว พวก มุชริกีนได้ละเมิดสัญญาบ่อยครั้ง จนกระทั้งซูเราะฮฺบารออะฮฺ ถูกประทานลงมา

 

“บารออะฮฺ” คือการประกาศยกเลิกสัญญาอันนี้ ซึ่งเมื่อโองการนี้ลงมา เบื้องต้นท่านนบีได้เลือกคนอื่นไปกันเป็นคณะ แต่ อัลลออฮฺ(ซบ) ทรงสั่งให้เปลี่ยนคน แล้ว ก็บอกด้วยว่าใครที่ต้องไปประกาศและกำชับด้วยว่าต้องไปคนเดียว ซึ่งบรรดาอุลามาอฺของเราก็ยืนยันว่า เหตุผลหนึ่งที่ ซูเราะฮฺ บารออะฮฺ ไม่ขึ้นต้นด้วย“บิสมิลละฮฺ” เพราะซูเราะฮฺนี้ซูเราะฮฺเดียวเท่านั้นที่ท่าน อิมามอะลี(อ) เป็นคนประกาศคนแรก เนื่องจากบรรดาอุลามาอฺได้ให้ทัศนะว่า ตัวตนของ “บิสมิลละฮฺ” ต้องเป็นคนไปประกาศเอง

 

ท่านอิมามอะลี(อ) ได้บอกกับ เศาะศออะฮฺว่า เมื่อมีคำสั่งให้ฉันไปประกาศคนเดียว ฉันไปประกาศทันที ฉันเข้าไปในมักกะฮฺคนเดียว ไปประกาศยกเลิกสัญญา ต่อไปนี้เราจะรบราฆ่าฟันกับพวกท่าน ซึ่งท่านอิมามอะลี(อ) ก็ได้บอกต่ออีกว่า ในขณะที่ในมักกะฮฺนั้น มีผู้คนที่โกรธแค้นฉันอยู่เกือบทุกเผ่า เพราะมีหลายสิบสงครามที่หัวหน้าของทุกเผ่านั้นตายด้วยคมดาบของฉัน วัฒนธรรมของอาหรับนั้นการล้างแค้นให้เผ่าพันธุ์ ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

 

อีกหนึ่งคุณลักษณะที่สำคัญของท่านอิมาม(อ) คือความกล้าหาญและไม่กลัวสิ่งใด หนึ่งในความสำเร็จในการนับถือศาสนา และการเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ(ซบ) อย่างแท้จริง ความกล้าหาญในเรื่องของศาสนานั้น เป็นเรื่องที่ทำยากที่สุดซึ่งเราจะพบกับความกล้าหาญลักษณะนี้ในตัวของอิมามอะลี(อ) และชีอะฮฺของอะลีเท่านั้น ทุกยุคทุกสมัย ความเกรงกลัวนั้นนำมาซึ่งความอัปยศต่างๆอย่างมากมาย ดังนั้นบุคคลที่เป็นชีอะฮฺของอะลี อิบนิ อบีฏอลิบ จะต้องฝึกฝนความกล้าหาญอันนี้ แน่นอนระดับอิมามก็ต้องไปให้ถึงความกล้าหาญที่สูงกว่าบรรดาศาสดา ระดับของเราก็ต้องไปให้ถึงความกล้าหาญตามระดับของเราเอง อย่างน้อยต้องไม่ขี่ขลาดหวาดกลัว จนเกิดเป็นชีริกในหัวใจ และความหวาดกลัวบางครั้งทำให้เขาบิดเบือนศาสนา เปลี่ยนแปลงศาสนา บางครั้งทำให้บริบทของศาสนาลดน้อยลง บางครั้งทำให้อำนาจของศาสนาลดน้อยลง บางคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากเขาน้อยลง จากตำแหน่งของเขา เนื่องจากความกลัว ความกลัวเป็นศัตรูกับความศรัทธา ความกลัวเป็นสิ่งขวางกั้นมนุษย์กับอัลลอฮฺ(ซบ) ความกลัวเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์ไม่มีโอกาสได้ ใกล้ชิด กับอัลลอฮฺ(ซบ) ไม่ว่าจะกลัวอะไรก็แล้วแต่ กลัวการค้า จะซบเซา กลัวหลุดจากตำแหน่ง กลัวไม่เป็นสุข ศาสนานี้ต้องการความกล้าหาญโดยเฉพาะยุคนี้ ต้องการความกล้าหาญกว่าทุกยุคทุกสมัย สังเกตเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในทุกวันนี้ เหตุการณ์ในชนวนกาซ่า อิสราเอลก่ออาชญากรรมโดยไม่มีความเกรงใจใดๆต่อสายตามุสลิมโลก เพราะอะไร? เพราะรู้ว่ามุสลิมโลกจำนวนมากนั้นกลัวมัน กลัวในรูปแบบต่างๆ ไม่กล้าที่จะทำอะไรถึงจะแสดงอะไรออกมา ก็รู้ว่าแสดงออกมาจากความกลัว หรือทำในสิ่งที่ศัตรูอยากจะให้ทำ เช่น ชาวกาซ่าโดนถล่ม โดนฆ่า ซึ่งเป็นหน้าที่ของอาหรับที่จะต้องส่งกองกำลัง ส่งอาวุธไปช่วยเหลือ แต่ไม่ทำ  สิ่งนี้คือความกลัว แต่กลับส่งเงินไปแทน เงินก็เข้าไปเยียวยาคนที่ถูกฆ่าไม่ได้ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาใดๆ ส่งเงินห้าร้อยล้านดอลลาร์ ศัตรูก็ไม่ได้โกรธ เพราะไม่ได้มีประโยชน์อันใด ขณะเดียวกันในบาห์เรน พี่น้องชีอะฮฺ ลุกขึ้นมาประท้วงเพราะไม่ได้รับ ความเป็นธรรม ซาอุดิอาระเบียส่งกองทัพอันยิ่งใหญ่ไปปราบปรามพี่น้องมุสลิมในบาห์เรน ในขณะที่ชาวบาห์เรนเป็นมุสลิม เป็นซุนนีเหมือนกับพวกเขา ไม่ได้รับการเหลียวแล

 

ประเทศอียิปต์ไม่ยอมเปิดชายแดนให้พี่น้องกาซ่าหลบหนีจาก ภัยสงคราม ทั้งๆที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน นี่เป็นเพราะกลัวอิสราเอล ทั้งๆที่เขามีความสามารถที่จะทำอะไรได้มากกว่านี้ ในการเคลื่อนไหวที่จะสร้างความหวาดกลัวให้แก่ศัตรู เขากลับไม่ทำ เขาทำสิ่งที่ศัตรูไม่กลัว ถ้าวันนี้ ผู้นำมุสลิมที่เป็นอะฮฺลิลซุนะฮฺ ประกาศในนามของผู้นำในแต่ละประเทศ บอยคอตสินค้าอเมริกา บอยคอตสินค้าอิสราเอล ถ้าออกมาจากบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งผู้นำ แน่นอนมันมีผลในการกดดันศัตรู หรือให้พี่น้องมุสลิม ทั่วประเทศ ออกมาประท้วง ออกมารวมตัวกันหน้าสถานทูตอเมริกา เหล่านี้ คือการออกมาตรการที่ทำให้ศัตรูกลัว สามารถที่จะกดดัน สามารถที่จะหยุดยั้งการกระทำของศัตรูได้ แต่ผู้นำเหล่านั้นไม่ออกมา แต่ก็ต้องแสดงอะไรสักอย่างออกมา เพราะถ้าไม่แสดงเลยก็กลัวว่ามุสลิมจะประณาม ก็ออกคำสั่งให้มุสลิมนมาซฮายัต ขอดุอาอฺ นี่คือความกลัวที่อยู่ในหัวใจของคนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่งผู้นำทางศาสนา บุคคลแบบนี้ไม่ควรมายืนอยู่ในจุดที่ชี้เป็นชี้ตายของมวลพี่น้องมุสลิม

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์  syedsulaiman