เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับศอฮาบะฮฺ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับศอฮาบะฮฺ

 

ทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับศอฮาบะฮฺนั้นเป็นไปตามทัศนะของ อัล-กุรอาน และฮะดีษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มิได้เป็นไปตามความรู้สึก……เหมือนกับที่วะฮาบีกล่าวหา …!

 

ทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับผู้ที่ได้พบเห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ)หรืออยู่ร่วมกับท่านแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน และก่อนที่จะทำการอธิบายถึงกลุ่มเหล่านั้น อันดับแรกควรให้ความหมายของคำว่าศอฮาบะฮฺก่อน

 

การให้ความหมายคำว่า ศอฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยรวมๆ นั้นมีหลายทัศนะด้วยกันแต่จะเลือกเฉพาะทัศนะที่มักคุ้นเท่านั้น อาทิเช่น

 

๑. สะอีด บิน มุซัยยับ พูดว่า ศอฮาบะฮฺ หมายถึงผู้ที่ได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) หนึ่งปี หรือสองปี และได้ออกสงครามร่วมกับท่านศาสดาครั้งหรือสองครั้ง

 

๒. วากิดีย์ พูดว่า บรรดานักปราชญ์ส่วนมากพูดว่าผู้ที่ได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยอมรับอิสลาม พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำสั่งสอน และมีความพอใจกับศาสนาพวกเราถือว่าเขาเป็นศอฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเพียงชั่วโมงเดียวก็ตาม

 

๓. มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บุคอรีย์ พูดว่า มุสลิมคนใดก็ตามได้พบกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และอยู่ร่วมกับท่าน ถือว่าเขาเป็นศอฮาบะฮฺ

 

๔. อหฺมัด บิน ฮัมบัล พูดว่า บุคคลใดก็ตามได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงหนึ่งเดือน หนึ่งวัน หรือหนึ่งชั่วโมงก็ตาม หรือได้พบกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถือว่าเขาเป็นศ่อฮาบะฮฺ

 

ในหมู่นักปราชญ์อหฺลิซซุนนะฮฺอะดาลัต ศ่อฮาบะฮฺถือว่าเป็นที่ยอมรับและเป็นแก่นที่มีสำคัญอย่างยิ่ง หมายถึงบุคคลใดได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับท่านศาสดาถือว่า อาดิลทั้งสิ้น (อาดิล หมายถึงคนดีมีความยุติธรรม และไม่ทำความผิดบาป)

 

สิ่งสำคัญที่จะกล่าวต่อไปคือ ศ่อฮาบะฮฺในความหมายของอัล-กุรอานและในทัศนะของชีอะฮฺ ประวัติศาสตร์ได้บันทึกนามของศ่อฮาบะฮฺเอาไว้ซึ่งมีมากเกินกว่า ๑๒,๐๐๐ ท่าน และในหมู่ของพวกเขามีความแตกต่างกัน ไม่เป็นที่สงสัยสำหรับชนกลุ่มแรกที่อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ย่อมได้รับเกียรติยศที่สูงส่ง และมุสลิมในรุ่นต่อมาต่างให้ความเคารพและให้เกียรติพวกเขา เนื่องจากพวกเขาเป็นมุสลิมรุ่นแรกที่ได้ร่วมก่อร่างสร้างตัว และนำธงชัยแห่งอิสลามปักลง ณ แคว้นอาหรับในสมัยนั้น อัล-กุรอานได้กล่าวยกย่องผู้ที่ปักธงเกียรติยศแห่งอิสลามว่า

 

لَا يَسْتَوِي مِنكُم مَّنْ أَنفَقَ مِن قَبْلِ الْفَتْحِ وَقَاتَلَ أُوْلَئِكَأَعْظَمُ دَرَجَةً مِّنَ الَّذِينَ أَنفَقُوا مِن بَعْدُ وَقَاتَلُوا

 

ไม่เท่าเทียมกันในหมู่พวกเจ้า ผู้บริจาคและได้ต่อสู้บนหนทางของอัลลอฮฺ ก่อนการพิชิต (นครมักกะฮฺ) ชนเหล่านั้นย่อมมีฐานะสูงส่งกว่าบรรดาผู้บริจาคและต่อสู้บนทางของอัลลอฮฺ หลังการพิชิต (นครมักกะฮฺ)

 

ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าการได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นั้นนอกจากจะถือว่าเป็นเกียรติยศแล้ว ยังทำให้จิตวิญญาณของเขาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีความเข็มแข็งและเป็นหลักประกันไปจนตลอดอายุไขของเขา เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้เป็นการดีหากเราจะพิจารณาจากอัล-กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์และเป็นธรรมนูญสูงสุดที่บรรดามุสลิมทั้งหลายต่างยอมรับ

 

ศอฮาบะฮฺในทัศนะอัล-กุรอาน

 

 อัล-กุรอานได้แบ่งกลุ่มชนที่ได้พบและอยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ออกเป็นสองกลุ่มดังนี้

 

กลุ่มที่หนึ่ง

บุคคลที่อัล-กุรอานได้สรรเสริญและยกย่องพวกเขา และถือว่าพวกเขาคือผู้วางรากฐานที่มั่นคงและเปี่ยมล้นไปด้วยพลังแก่อิสลาม ซึ่งขอหยิบยกอัล-กุรอานที่กล่าวถึงศอฮาบะฮฺกลุ่มนั้นไว้ว่า

 

๑. เป็นชนกลุ่มแรกของอิสลาม

 

وَالسَّابِقُونَ الأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالأَنصَارِ وَالَّذِينَاتَّبَعُوهُم بِإِحْسَانٍ رَّضِيَ اللّهُ عَنْهُمْ وَرَضُواْ عَنْهُ وَأَعَدَّلَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

 

บรรดาชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ จากพวกมุฮาญิรีนและอันศัอรฺ และบรรดาผู้ดำเนินรอยตามพวกเขาด้วยการทำความดี อัลลอฮฺทรงพอพระทัยพวกเขา และพวกเขาก็พอใจพระองค์ และพระองค์ทรงเตรียมบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง ไว้สำหรับพวกเขาแล้ว พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาลนั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง[๑๒๔]

 

๒. กลุ่มชนที่ให้บัยอัตใต้ต้นไม้

 

 

لَقَدْ رَضِيَ اللَّهُ عَنِ الْمُؤْمِنِينَ إِذْ يُبَايِعُونَكَ تَحْتَ الشَّجَرَةِفَعَلِمَ مَا فِي قُلُوبِهِمْ فَأَنزَلَ السَّكِينَةَ عَلَيْهِمْ وَأَثَابَهُمْفَتْحًا قَرِيبًا

 

อัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยผู้ศรัทธาที่ให้สัตยาบันกับเจ้าใต้ต้นไม้ พระองค์ทรงล่วงรู้สิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขา ดังนั้นพระองค์ได้ประทานความสงบมั่นแก่พวกเขา และทรงประทานชัยชนะอันใกล้แก่พวกเขา[๑๒๕]

 

๓. กลุ่มผู้อพยพ

 

لِلْفُقَرَاء الْمُهَاجِرِينَ الَّذِينَ أُخْرِجُوا مِن دِيارِهِمْ وَأَمْوَالِهِمْيَبْتَغُونَ فَضْلًا مِّنَ اللَّهِ وَرِضْوَانًا وَيَنصُرُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُأُوْلَئِكَ هُمُ الصَّادِقُونَ

 

เป็นของบรรดาผู้อพยพที่ขัดสนซึ่งถูกขับไล่ออกบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา และได้ทอดทิ้งทรัพย์สินของพวกเขาเพื่อแสวงหาความโปรดปราน และความปราโมทย์จากอัลลอฮฺ พวกเขาได้ช่วยเหลืออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ ชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้สัตย์จริง

 

๔. สหายแห่งการพิชิต

 

مُّحَمَّدٌ رَّسُولُ اللَّهِ وَالَّذِينَ مَعَهُ أَشِدَّاءُ عَلَى الْكُفَّارِرُحَمَاءُ بَيْنَهُمْ تَرَاهُمْ رُكَّعًا سُجَّدًا يَبْتَغُونَ فَضْلًا مِّنَ اللَّهِ وَرِضْوَانًا سِيمَاهُمْ فِي وُجُوهِهِم مِّنْ أَثَرِ السُّجُودِ

 

มุฮัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญเหนือพวกปฏิเสธ เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขา เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้โค้งคารวะ ก้มกราบเพื่อแสวงหาความโปรดปราน และความปราโมทย์จากอัลลอฮฺ เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าของพวกเขาเนื่องจากร่องรอยแห่งการสุญูด

 

กลุ่มที่สอง

 

อีกกลุ่มหนึ่งบุคคลที่ได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แต่เป็นพวกสองหน้า จิตใจของพวกเขาเป็นโรค อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงสภาพของพวกเขาเอาไว้อย่างชัดเจน และทรงปกป้องศาสดาของพระองค์จากพวกเขา ณ ตรงนี้จะขอหยิบยกบางโองการเพื่อความชัดเจน

 

๑. กลุ่มพวกกลับกลอก (มุนาฟิกีน)ที่เป็นที่รู้จัก

 

إِذَا جَاءَكَ الْمُنَافِقُونَ قَالُوا نَشْهَدُ إِنَّكَ لَرَسُولُ اللَّهِ وَاللَّهُ يَعْلَمُ إِنَّكَ لَرَسُولُهُ وَاللَّهُ يَشْهَدُ إِنَّ الْمُنَافِقِينَ لَكَاذِبُونَ

 

เมื่อพวกสับปลับ (มุนาฟิกูน) มาหาเจ้า พวกเขาพูดว่า เราขอปฏิญาณว่า แท้จริงท่านเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงรู้ดีว่า แท้จริงเจ้านั้นเป็นรอซูลของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงยืนยันว่า พวกมุนาฟิกีนนั้นเป็นผู้กล่าวเท็จอย่างแน่นอน

 

๒.กลุ่มพวกกลับกลอก (มุนาฟิกีน) ที่ไม่เป็นที่รู้จัก

 

وَمِمَّنْ حَوْلَكُم مِّنَ الأَعْرَابِ مُنَافِقُونَ وَمِنْ أَهْلِ الْمَدِينَةِمَرَدُواْ عَلَى النِّفَاقِ لاَ تَعْلَمُهُمْ نَحْنُ نَعْلَمُهُمْ سَنُعَذِّبُهُممَّرَّتَيْنِ ثُمَّ يُرَدُّونَ إِلَى عَذَابٍ عَظِيمٍ

 

และส่วนหนึ่งจากอาหรับชนบทผู้ที่พำนักอยู่รอบๆ ท่านนั้น เป็นพวกกลับกลอก และพวกชาวมะดีนะฮ์ (ชาวเมือง) เช่นกันเป็นพวกดื้อรั้นในการฝ่าฝืน เจ้าไม่รู้จักธาตุแท้ของพวกเขา แต่เรารู้จักพวกเขาดี เราจะลงโทษพวกเขาสองครั้ง หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำไปสู่การลงโทษอันยิ่งใหญ่

 

๓. พวกที่จิตใจป่วยไข้

 

وَإِذْ يَقُولُ الْمُنَافِقُونَ وَالَّذِينَ فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٌ مَّا وَعَدَنَااللَّهُ وَرَسُولُهُ إِلَّا غُرُورًا

 

เมื่อพวกมุนาฟิกีนและพวกที่จิตใจของพวกเขาป่วยไข้พูดว่า อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์มิได้สัญญาสิ่งใดแก่เรานอกจากการหลอกลวง

 

๔. ผู้ที่ประพฤติความผิดบาป

 

وَآخَرُونَ اعْتَرَفُواْ بِذُنُوبِهِمْ خَلَطُواْ عَمَلاً صَالِحًا وَآخَرَ سَيِّئًا عَسَى اللّهُ أَن يَتُوبَ عَلَيْهِمْ إِنَّ اللّهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ

 

และมีชนกลุ่มอื่นที่สารภาพความผิดของพวกเขา พวกเขาประกอบความดีปะปนกับความชั่ว โดยหวังว่าอัลลอฮฺจะอภัยโทษแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ

 

นอกจากโองการอัล-กุรอานแล้วยังมีริวายะฮฺอีกเป็นจำนวนมากจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ทำการประณามศ่อฮาบะฮฺบางคน และจะขอกล่าวบางริวายะฮฺเพื่อสร้างความเข้าใจดังนี้

 

๑. อบูหาซิม ได้รายงานจากท่าน สะฮฺล์ บิน สะอัดว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

 

أنا فرطكم علي الحوض من ورد شرب و من شرب لم يظمأ ابدا و ليردنّ علي أقوامٌ أعرفهم و يعرفونني ثمّ يحال بيني و بينهم

 

ฉันจะส่งพวกท่านไปยังสระน้ำ บุคคลใดที่ได้เข้าไปและได้ดื่มน้ำนั้น ผู้ที่ได้ดื่มน้ำเขาจะไม่กระหายน้ำต่อไปตลอดกาล และมีชนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาหาฉันซึ่งฉันรู้จักพวกเขา และพวกเขาก็รู้จักฉันอย่างดี หลังจากนั้นได้ถูกปิดกั้นระหว่างฉันกับพวกเขา

 

อบูหาซิมพูดว่า ขณะที่ฉันกำลังอ่านฮะดีษบทดังกล่าวอยู่ นุอ์มาน บิน อบี อะยาช ได้ยินและพูดว่า ท่านได้ยินสะฮฺล์ พูดเช่นนี้หรือ ? ฉันตอบว่า ใช่ เขาพูดว่า ฉันขอยืนยันว่า ฉันก็ได้ยินท่านอบูสะอีด คุดรีย์ พูดเช่นนี้เหมือนกันและเขายังพูดต่ออีกว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

 

اِنُّهم منّي فيقال انّك لا تدري ما أحدثوا بعدك فأقول سحقا سحقا لمن بدّل بعدي

 

พวกเขามาจากฉัน ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า เจ้าไม่รู้หรอกว่าพวกเขาได้ทำอะไร หลังจากฉันได้จากไป ฉะนั้นฉันขอพูดว่าจงพินาศเถิด จงพินาศเถิด (จงห่างไกลจากความเมตตา) ผู้ที่ได้เปลี่ยนแปลง (อห์กาม) หลังจากฉัน

 

จากประโยคที่ว่า ฉันรู้จักพวกเขา และพวกเขาก็รู้จักฉันอย่างดี กับประโยคที่กล่าวว่า ผู้ที่ได้เปลี่ยนแปลงหลังจากฉัน ทำให้รู้ว่ากลุ่มชนที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กำลังกล่าวถึงนั้นหมายถึง บรรดาศ่อฮาบะฮฺของท่าน ซึ่งพวกเขาได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และฮะดีษดังกล่าวนี้ท่านบุคอรีย์ และท่านมุสลิมได้รายงานได้ด้วยเช่นกัน

 

๒. บุคอรีย์ และมุสลิมได้รายงานจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า

 

يردّ عليّ يوم القيامه رهطُ من اصحابي-أو قال من أمتي-فيحلؤن عن الحوض فأقول يا ربّ أصحابي فيقول انّه لا علم لك بما أحدثوا بعدك انّهم ارتدّوا علي أدبارهم القهقري

 

ในวันกิยามะฮฺจะมีศ่อฮาบะฮฺของฉันกลุ่มหนึ่ง –หรือกล่าวว่าประชาชาติของฉัน-ได้เข้ามาหาฉัน และได้ออกห่างจากสระน้ำ ฉันได้พูดว่า โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน พวกเขาเป็นศ่อฮาบะฮฺของฉัน ดังนั้นพระองค์ตรัสว่า เจ้าไม่รู้หรอกว่าพวกเขาได้ทำอะไรหลังจากเจ้าได้จากไป พวกเขาได้ตกศาสนากลับไปสู่สภาพเดิมสมัยญาฮิลของพวกเขา

 

 

สรุป

 

จากโองการและริวายะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สรุปได้ว่า บรรดาศอฮาบะฮฺ หรือผู้ที่ได้เห็น หรือผู้ที่อยู่ร่วมกับท่านศาสดานั้น ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งมีบางกลุ่มได้รับเกียรติยศ ถูกยกย่องเป็นผู้ยกระดับจิตใจของตนเอง และเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีการรับใช้ของพวกเขาเป็นสาเหตุทำให้อิสลามเจริญ เติบโต และมีความเข็มแข็ง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นพวกกลับกลอก มุนาฟิกีน พวกตีสองหน้า จิตใจเป็นโรค และกระทำความผิดบาปตั้งแต่แรก (เพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้นโปรดศึกษาอัล-กุรอานซูเราะฮฺมุนาฟิกีน)

 

ด้วยเหตุนี้ทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับศอฮาบะฮฺนั้นเป็นไปตามทัศนะของ อัล-กุรอาน และฮะดีษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มิได้เป็นไปตามความรู้สึก……เหมือนกับที่วะฮาบีกล่าวหา …!

 

 ขอขอบคุณเว็บไซต์เลิฟฮูเซน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม