ความจำเป็นในการมีเอกภาพระหว่างซุนนีกับชีอะฮ์ในอิสลาม

ความจำเป็นในการมีเอกภาพระหว่างซุนนีกับชีอะฮ์ในอิสลาม


ในวันนี้เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะต้องมีการพูดถึงคือ เรื่องเอกภาพของพี่น้องมุสลิม   ท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) จึงใช้ความแตกต่างในวันถือกำเนิดของท่านศาสดามุฮัมมัด(ซล) ในทัศนะของพี่น้องซุนนี ถือเอาวันที่ 12  แต่พี่น้องชีอะฮ์ถือว่าเป็นวันที่ 17 เดือนรอบีอุลเอาวัล  ให้เป็นโอกาสแห่งความสมานฉันท์ระหว่างพี่น้องซุนนีและชีอะฮ์ให้ความแตกต่างระหว่าง 5 วันของวันถือกำเนิดเป็นสัปดาห์แห่งเอกภาพที่จะเฉลิมฉลองวันเมาลิดนี้อย่างอลังการโดยทั่วกัน


ทั้งซุนนีและชีอะฮ์ต่างมีจุดยืนเหมือนกันนั่นคือเทิดทูนสดุดีเกียรติคุณและจริยวัตรอันประเสริฐของท่านศาสดา  


ความเพียรพยายามที่จะสร้างความสมานฉันท์ ให้เกิดขึ้นระหว่างนักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺและซุนนีนั้น ถือได้ว่าเป็นก้าวใหม่แห่งโลกอิสลาม ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นวัคซีนช่วยป้องกันความแตกแยกของประเทศมุสลิม ในครั้งหนึ่งพวกเขาเคยล่มจมและย่อยยับมาแล้วเนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่าง อันเป็นสาเหตุทำให้นักล่าอาณานิคมทั้งจากตะวันออกและตะวันตก ต่างตักตวงผลประโยชน์จากประเทศมุสลิมได้ตามอำเภอใจ และวางแผนการสร้างความแตกแยกภายในสังคมมุสลิม พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากความแตกแยกภายในนั่นเองเป็นเครื่องมือทำร้ายสังคม และปล้นสะดมทรัพย์สินของประเทศมุสลิมไปเป็นจำนวนมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทองคำสีดำ (หมายถึงน้ำมัน) นอกจากนั้นพวกเขายังใช้ประโยชน์จากความโง่เขลา และการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางต่างๆ โดยทำให้พวกเขาโต้เถียงและทะเลาะเบาะแว้งกันบนปัญหาแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ละทิ้งและลืมปัญหาใหญ่อันถือว่าเป็นหลักการร่วมกันระหว่างซุนนีและชีอะฮ์

 

อีกด้านหนึ่งพวกเขาได้ร่วมมือกันสร้างความแตกแยกในสังคมอิสลามซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ความห่างไกลระหว่างมุสลิมนับวันยิ่งจะห่างมากขึ้นและกลายเป็นปัญหาทีลึกซึ้งยากที่จะแก้ไข  แต่เมื่อขบวนการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านได้เริ่มต้น โดยท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) เมื่อปี ค.ศ. 1963 และประสบชัยชนะในปี ค.ศ. 1978  รัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้เริ่มเปิดประเด็นของเอกภาพอีกครั้งระหว่างชีอะฮ์กับซุนนี  เอกภาพระหว่างประเทศมุสลิม อีกด้านหนึ่งท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) เป็นผู้เรียกร้องเอกภาพในหมู่มุสลิมและประเทศอิสลาม


แนวคิดเรื่องเอกภาพและความสมานฉันท์ของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) นอกจากจะเป็นอิบาดะฮฺแล้ว ยังถือเป็นการเมืองระดับโลกซึ่งมีความพิเศษของตัวเองแต่เนื่องจากบทความดังกล่าวนี้ มิได้อยู่ในฐานะที่จะอธิบายถึงความพิเศษเหล่านั้น

 

อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องถามว่า แนวคิดของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) เกี่ยวกับความเป็นเอกภาพคืออะไร?  ท่านมีวัตถุประสงค์อะไร?  และต้องการอะไรจากคำว่าเอกภาพ?

 

คำตอบของเรื่องนี้คือ สามารถกล่าวได้ทันทีว่าเป้าหมายของท่านอิมามคือ ต้องการให้ความเป็นเอกภาพเป็นสื่อหลัก เพื่อปฏิเสธแนวทางและการปกครองของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่มุสลิมที่มีต่อมุสลิมและประเทศอิสลาม ประกอบกับเอกภาพคือรหัสแห่งชัยชนะและทำให้อิสลามธำรงสืบต่อไป

 

สิ่งที่สมควรกล่าว ณ ที่นี้  สำหรับการยืนหยัดของบรรดามุสลิมและบรรดาผู้ยากไร้บนหน้าแผ่นดิน(มุสตัดอาฟีน)  ที่มีต่อบรรดาประจบสอพลอต่อผู้อหังการบนหน้าแผ่นดิน และผู้จ้องที่จะกัดกินโลก สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ อำนาจของบรรดาเผด็จการทั้งหลายมักจะมากับการขู่กรรโชก และการโฆษณาชวนเชื่อตัวเอง หรือไม่ก็ใช้วิธีค่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หรือไม่ก็คว่ำบาตรทางการทหาร เพื่อให้สัมฤทธิ์ตามที่ตนตั้งเป้าหมายเอาไว้ ดังนั้น ถ้ามีประชาชาติใดฉลาดคิดทันพวกเขาร่วมมือกันต่อต้านพวกเขา แน่นอน แผนการของพวกเขาไม่มีวันสัมฤทธิ์ผลอย่างเด็ดขาด


ความจำเป็นในการมีเอกภาพ

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ล่วงรู้ถึงแผนการสร้างความแตกแยกของศัตรูในหมู่มุสลิมได้เป็นอย่างดี และท่านยังทราบเป็นอย่างดีว่า ความเลวร้ายและผลอันน่ารังเกียจ ที่เกิดจากความแตกแยกในหมู่ประชาชาติอิสลาม มีอยู่ในมุมมองที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการทหาร ซึ่งการขจัดให้สิ่งเหล่านี้หมดไปเป็นสิ่งที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ต้องใช้เวลาอย่างยาวนาน ซึ่งมีอยู่วิธีการเดียวที่สามารถป้องกันไม่ให้ความเสียหาย หรือความแตกแยกลุกลามใหญ่โตไปมากกว่านี้ นั่นคือความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม และสิ่งนี้ต้องเกิดบนพื้นฐานตามความเชื่อของอิสลาม ฉะนั้น ในประเด็นปัญหาดังกล่าว เอกภาพคือสิ่งจำเป็นเหนือสิ่งอื่นใด ตามที่อิสลามได้กำชับเอาไว้ เพื่อให้เอกภาพนั้นเป็นตัวชี้นำมนุษย์ไปสู่หนทางอันเที่ยงธรรม

 

สิ่งจำเป็นประการแรกของเอกภาพในทัศนะของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) คือ การยืนหยัดบนหนทางของพระเจ้า เพื่อให้สังคมได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า


قُلْ إِنَّمَا أَعِظُكُم بِوَاحِدَةٍ أَن تَقُومُوا لِلَّهِ مَثْنَى وَفُرَادَى

ความว่า  จงกล่าวเถิด ข้าขอเตือนพวกเจ้าเพียงข้อเดียวว่า พวกเจ้าจงยืนขึ้นเพื่ออัลลอฮ์สองคนและคนเดียว (ซูเราะห์ สะบาอ์ / 46)

 

ความจำเป็นประการที่สองของเอกภาพกล่าวคือ เพื่อป้องกันแผนการร้ายและการสร้างอิทธิพลของกลุ่มเผด็จการและผู้อหังการบนโลกนี้ ซึ่งมีอเมริกาเป็นนายใหญ่พวกเขาร่วมมือกันสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอิสลาม เพื่อให้อาศัยความแตกแยกนี้ก้าวไปสู่เป้าหมายที่พวกเขาตั้งเอาไว้

 

ท่านอิมามโคมัยนี้ (รฎ.) ทราบเป็นอย่างดีว่า “ศัตรูที่แท้จริงของอัล-กุรอาน รอซูลและประชาชาติอิสลามคือ พวกอภิมาหาอำนาจทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลอเมริกา และบิดาผู้ชั่วร้ายของเขาได้แก่อิสราเอล พวกเขามีสายตาอิจฉาริษยาอยากได้ และอยากจะเคี้ยวกินประเทศอิสลามทั้งหลายให้หมดสิ้น ดังนั้น พวกเขาจึงวางแผนการทำให้มุสลิมทะเลาะกันเอง สร้างความแตกแยกในเกิดขึ้น เพื่อว่าพวกเขาจะได้เป็นคนไกล่เกลี่ยและตีกินประเทศเหล่านี้ในภายหลัง

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ประสงค์ที่จะสร้างความเป็นเอกภาพ และความสมานฉันท์ให้เกิดในสังคมอิสลาม สร้างความรักในหมู่มุสลิม ทำให้ประเทศอิสลามทั้งหลายมีอิสรเสรีภาพ ท่านกล่าวว่า มุสลิมจะต้องสร้างความเป็นความอิสระด้วยตัวเอง และจะต้องกำหนดกุญแจแห่งชัยชนะด้วยตัวเอง พวกท่านทั้งหลายจงช่วยเหลือกันสร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นให้ได้ พวกท่านอย่าเปิดโอกาสให้บรรดาผู้อหังการทั้งหลายเข้ามาแทรกแซงหรือมามีบทบาทกับกิจการต่างๆ ในประเทศของท่าน

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่าการที่จะได้มาซึ่งความสงบสันติ และความรื่นรมย์เอกภาพคือ สิ่งจำเป็นมากที่สุด ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีความประสงค์ที่จะอยู่อย่างสันติ และมีความสุขร่วมกับเพื่อนบ้านทั้งหลาย  ในอีกที่หนึ่งท่านกล่าวว่า ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความสันติภาพของโลกต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความเสรี และการไม่แทรกแซงภารกิจของประเทศอื่น และการรักษาพรมแดนของตนเอาไว้เพื่อไม่ให้คนอื่นรุกราน

 

ตามทัศนะของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ความจำเป็นของสันติภาพของโลกคือ การอยู่ร่วมกันโดยสันติของประเทศทั้งหลายบนโลกนี้ ประชาชนและสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีความปรารถนาที่จะเป็นมิตรกับเพื่อนบ้านทุกประเทศ ปรารถนาเป็นมิตรกับพี่น้องร่วมสายธารทุกท่าน ปรารถนาให้มุสลิมบนโลกนี้และประเทศอิสลามมีการเป็นอยู่แบบพี่น้อง ถ้อยทีถ้อยอาศัยมีความรักใคร่และอะลุ่มอล่วยต่อกันและกัน

 

ด้วยเหตุนี้ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านจึงปรารถนาที่จะสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านทั้งหลาย บนพื้นฐานของการให้เกียรติกันและกัน ปรารถนาเป็นมิตรกับต่างประเทศบนพื้นฐานของการให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน ดังนั้น ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเห็นว่าเราไม่ได้ก้มศีรษะให้การกดขี่ ขณะเดียวกันเราก็ไม่กดขี่ฝ่ายใด


เราต้องการเป็นมิตรและเป็นเพื่อนกับทุกประเทศบนโลกนี้ และต้องการเป็นมิตรกับทุกประชาชาติไม่ว่าใครก็ตาม แต่ความเป็นมิตรนั้นต้องวางอยู่บนเงื่อนของการให้เกียรติและการเคารพซึ่งกันและกัน

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) มีความเชื่อว่า รัฐอิสลาม คือรัฐบาลที่มีความอิสระ และมีเสรีภาพเป็นของตนเองความสัมพันธ์ที่มีต่อประเทศตะวันออก และประเทศตะวันตกวางอยู่บนพื้นฐานอันเดียวกัน ถ้าพวกเขามีสัมพันธ์ที่ดี รัฐอิสลามก็จะดีกับพวกเขา และเราขอประกาศว่าจะไม่ยอมให้ต่างประเทศเข้ามามีบทบาทหรือแทรกแซงการร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และภารกิจทั้งหมดในประเทศเรา    ด้วยเหตุนี้ รัฐอิสลามจึงเป็นมิตรที่ดีกับทุกประเทศ และกับทุกชนชาติที่ได้รับการกดขี่ข่มเหงบนโลกนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความเป็นมิตรของเราต้องวางอยู่บนเงื่อนไขของการให้เกียรติและการเคารพสิทธิของกันและกัน

 

ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) นั้นเอาใจใส่ต่อหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านคือ การสร้างความสันติและการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประชาชาติ สร้างความเป็นเอกภาพระหว่างชนชาติที่ได้รับการกดขี่ข่มเหงบนหน้าแผ่นดิน สร้างความสมานฉันท์ในหมู่มุสลิมทั้งหลายบนโลกนี้ และขยายความยุติธรรมทางสังคมให้ขจรขจายไปทั่วโลก พยายามสร้างสันติภาพให้เกิดบนโลกนี้ และมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ท่านพยายามปิดกั้นการแทรกแซงทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ที่มีต่อประเทศอิสลาม

ท่านพยายามฉีกหน้ากากของทาสรับใช้อเมริกาและอิสราเอล พยายามขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอิสลามและไม่ใช่อิสลามบนพื้นฐานของการให้เกียรติและการเคารพสิทธิของอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านพยายามแสดงความหวังดี เช่น การสร้างเอกภาพและความสมานฉันท์ในหมู่มุสลิม ท่านเชื่อมั่นว่านี่แนวทางที่นำประชาชาติไปสู่ชัยชนะ และมันคือความจำเป็นสำหรับประชาชาติที่ได้รับการกดขี่ข่มเหง เนื่องจากเอกภาพคือกุญแจที่จะนำไปสู่ความสัมฤทธิ์ผลและชัยชนะอันมากมายที่รออยู่ข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ประชาชาติทั้งธำรงสืบต่อไป อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามจึงเตือนสำทับเรื่องเอกภาพไว้อย่างมาก และเน้นย้ำว่ามุสลิมทุกคนบนโลกนี้ต้องไม่ลืมมัน


แหล่งอ้างอิง


หนังสือ “อิมามโคมัยนี ศอฮีฟะฮ์ อิงกิลอบ วะซียัตนอเมะฮฺ ซิยาซี”  ผู้สถาปนาการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน พิมพ์ครั้งที่ 4 (เตหะราน) สำนักพิมพ์กระทรวงชี้นำอิสลาม (1368)


ขอขอบคุณเว็บไซต์ abnewstoday