อิมามมะฮ์ดี (อ.) กับจุดจบของชาวยิว

อิมามมะฮ์ดี (อ.) กับจุดจบของชาวยิว

 

หนึ่งในศัตรูตัวฉกาจที่สุดของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) และบรรดาผู้ช่วยเหลือของท่าน ก็คือชาวยิว พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงจำเริญผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสว่า

 

لَتَجِدَنَّ أَشَدَّ النَّاسِ عَدَاوَةً لِلَّذِينَ آمَنُوا الْيَهُودَ وَالَّذِينَ أَشْرَكُوا

 

"แน่นอนยิ่งเจ้าจะพบว่า หมู่ชนที่มีความเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธา คือชาวยิวและบรรดาผู้ตั้งภาคี"

(อัลกุรอานบทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 82)

 

      ดังที่เราได้รับรู้จากบางคำรายงาน (ริวายะฮ์) ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะได้รับการสนับสนุนโดยชาวตะวันตกและชาวยิว โดยพื้นฐานแล้วพวกเขาจะใช้มือของซุฟยานีในการปกป้องพรมแดนต่างๆ ของอิสราเอลและปราบปรามกองกำลังแห่งการปฏิวัติ เพื่อที่จะให้เจ้านายของเขาปลอดภัยจากอันตรายของการโจมตีของกองทัพแห่งคูรอซาน

 

     ในโองการส่วนหนึ่งจากซูเราะฮ์ (บท) อัลอิสรออ์ ได้กล่าวไว้เช่นนี้ว่า

 

وَ قَضَیْنَا إِلَى بَنِی إِسْرَائِیلَ فِی الْکِتَابِ لَتُفْسِدُنَّ فِی الْأَرْضِ مَرَّتَیْنِ وَ لَتَعْلُنَّ عُلُوّاً کَبِیراً

فَإِذَا جَاءَ وَعْدُ أُولاَهُمَا بَعَثْنَا عَلَیْکُمْ عِبَاداً لَنَا أُولِی بَأْسٍ شَدِیدٍ فَجَاسُوا خِلاَلَ الدِّیَارِ وَ کَانَ وَعْداً مَفْعُولاً

ثُمَّ رَدَدْنَا لَکُمُ الْکَرَّةَ عَلَیْهِمْ وَ أَمْدَدْنَاکُمْ بِأَمْوَالٍ وَ بَنِینَ وَ جَعَلْنَاکُمْ أَکْثَرَ نَفِیراً

إِنْ أَحْسَنْتُمْ أَحْسَنْتُمْ لِأَنْفُسِکُمْ وَ إِنْ أَسَأْتُمْ فَلَهَا فَإِذَا جَاءَ وَعْدُ الْآخِرَةِ لِیَسُوءُوا وُجُوهَکُمْ

وَ لِیَدْخُلُوا الْمَسْجِدَ کَمَا دَخَلُوهُ أَوَّلَ مَرَّةٍ وَ لِیُتَبِّرُوا مَا عَلَوْا تَتْبِیراً

 

“และเราได้แจ้งแก่วงศ์วานของอิสรออีล ไว้ในคัมภีร์ (ของพวกเขา) ว่า แน่นอนยิ่งพวกเจ้าจะก่อความเสียหายในแผ่นดินสองครั้ง และแน่นอนยิ่ง พวกเจ้าจะกำเริบเสิบสานอย่างใหญ่หลวงดังนั้นเมื่อสัญญา (การลงโทษ) ครั้งแรกจากทั้งสองครั้งมาถึง เราได้ส่งบรรดาบ่าวของเราผู้มีพลังอำนาจเข้มแข็งมาจัดการกับพวกเจ้า โดยที่พวกเขาได้บุกตะลุยเข้าค้นตามบ้านเรือน (ของพวกเจ้า เพื่อสังหารและแย่งชิงทรัพย์สินของพวกเจ้า) และนั่นเป็นสัญญาที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ต่อมาเราได้ให้พวกเจ้ากลับมีอำนาจเหนือพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง และเราได้ช่วยให้พวกเจ้ามีทรัพย์สินและบุตรหลานจำนวนมาก และเราได้ทำให้พวกเจ้ามีรี้พลมากมายกว่าเดิม หากพวกเจ้าทำความดี พวกเจ้าก็ทำดีแก่ตัวของเจ้าเอง และหากว่าพวกเจ้าทำความชั่ว นั่นก็แก่ตัวพวกเจ้าเอง ต่อมาเมื่อสัญญาครั้งสุดท้ายมาถึง (พวกเขาจะมา) เพื่อทำให้ใบหน้าของพวกเจ้าพบกับความเศร้าโศก และเพื่อพวกเขาจะเข้าไปในมัสยิดเหมือนเช่นที่พวกเขาได้เข้าไปแล้วในครั้งแรก และเพื่อทำลายสิ่งที่พวกเขาได้ครอบครองไว้ให้หมดสิ้น” (1)

 

     ในการอรรถาธิบายประโยคที่ว่า “เราได้ส่งบรรดาบ่าวของเราผู้มีพลังอำนาจเข้มแข็งมาจัดการกับพวกเจ้า” ท่านกล่าวว่า

 

      “พวกเขาเป็นกลุ่มชนซึ่งพระผู้เป็นเจ้า จะทรงส่งพวกเขามาก่อนการมาของกออิม และพวกเขาจะไม่เรียกหาศัตรูคนใดจากวงศ์วานของมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) นอกจากเพื่อที่จะฆ่าเขา” (2)

 

      ในการอรรถาธิบายโองการนี้ อัยยาชี ได้อ้างอิงคำรายงานจากฮุมรอน โดยที่เขาได้เล่าว่า ท่านอิมามบากิร (อ.) ได้อ่านโองการนี้ คือ

 

بَعَثْنَا عَلَیْکُمْ عِبَاداً لَنَا أُولِی بَأْسٍ شَدِیدٍ

 

“เราได้ส่งบรรดาบ่าวของเราผู้มีพลังอำนาจที่เข้มแข็งมาจัดการกับพวกเจ้า”

 

     จากนั้น ท่านกล่าวว่า

 

هو القائم واصحابه أولي بأس شديد

 

“เขาคือ อัลกออิม (อิมามมะฮ์ดี) และบรรดาสหายของเขา คือผู้มีพลังอำนาจที่เข้มแข็ง” (3)

 

     มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า สาวกคนหนึ่งของท่านได้เล่าว่า ท่านอิมาม (อ.) อ่านโองการข้างต้น แล้วสาวกของท่านในที่นั้น ได้กล่าวว่า “พวกเราขอพลีเพื่อท่าน! กลุ่มคนเหล่านี้เป็นใครกัน” ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวถึงสามครั้งว่า

 

هم والله أهل قم

 

“ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ พวกเขาคือชาวกุม” (4)

 

      ตามรูปการจากบรรดาคำรายงาน (ริวายะฮ์) ที่มีอยู่ในหนังสืออ้างอิงทั้งของชีอะฮ์และของซุนนี จุดประสงค์ของการต่อสู้ของชาวมุสลิมกับชาวยิวในยุคสุดท้าย (อาคิรุซซะมาน) ก็คือการต่อสู้ครั้งนี้ ดั่งที่มีรายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า

 

لا تقوم الساعة حتى يقاتل المسلمون اليهود فيقتلهم المسلمون حتى يختبئ اليهودي من وراء الحجر والشجر فيقول الحجر أو الشجر يا مسلم يا عبد الله هذا يهودي خلفي فتعال فاقتله

 

“วันสิ้นโลกจะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าชาวมุสลิมจะต่อสู้กับชาวยิว และชาวมุสลิมจะสังหารพวกเขา กระทั่งว่าชาวยิว (นักรบ) จะไปซ่อนตัวอยู่หลังโขดหินหรือต้นไม้ หินและต้นไม้นั้นก็จะกล่าวว่า โอ้ชาวมุสลิม โอ้บ่าวของอัลลอฮ์! ชาวยิว (นักรบ) ผู้หนึ่งหลบซ่อนอยู่ข้างหลังฉันนี้ จงมาฆ่าเขาเถิด!...” (5)

 

      จากคำรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วนั้นสามารถสรุปได้ว่า พระผู้เป็นเจ้าจะทรงจัดเตรียมพื้นฐานการปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) โดยประชาชาติอิหร่าน และการต้านทานของชาวยิวที่มีต่อชาวมุสลิมนั้นจะเกิดขึ้นหลายครั้ง การถูกทำลายล้างขั้นสุดท้ายของพวกเขาจะเกิดขึ้นโดยมือของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.)

 

      การนำเอาคัมภีร์ “เตาร๊อต” (โตราห์) ฉบับดั้งเดิม ออกมาจาก “ถ้ำอันฏอกียะฮ์” (แอนติออก) และภูเขาในแผ่นดิน “ชาม” “ปาเลสไตน์” และ “ทะเลสาบฏ็อบรียะฮ์” (ทิเบเรียส) โดยท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) และการโต้แย้งพิสูจน์เหตุผลของท่านต่อบรรดาชาวยิว ก็เป็นตัวอย่างของการแสดงออกอย่างมีวัฒนธรรม ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการพิสูจน์เหตุผล มีรายงานได้กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า

 

يَسْتَخْرِجُ التَّوْرَاةَ وَالإِنْجِيلَ مِنْ أَرْضٍ يُقَالُ لَهَا : أَنْطَاكِيَةُ

 

“เขาจะนำคัมภีร์เตาร๊อต (โตราห์) และอินญีล (ไบเบิล) ออกมาจากดินแดนที่ถูกเรียกว่า อันฏอกียะฮ์ (แอนติออก)” (6)

 

      และท่านยังได้กล่าวอีกว่า “หีบศักดิ์สิทธิ์จะถูกทำให้ปรากฏขึ้นโดยมือของเขา จากทะเลสาบฏ็อบรียะฮ์ (ทิเบเรียส) มันจะถูกนำไปและวางลงต่อหน้าเขาในบัยตุลมักดิส (เยรูซาเล็ม) และเมื่อชาวยิวเห็นมัน พวกเขาจำนวนมากจะเข้ารับอิสลาม ซึ่งประมาณสามหมื่นคน” (7)

 

“อันฏอกียะฮ์” (แอนติออก) เป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของดินแดนชาม ตามคำพูดของนักวิชาการบางคน เมืองนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงสามร้อยปีก่อนคริสตกาล ในยุคโบราณเมืองนี้ในด้านของความมั่งคั่ง วิทยาการและการค้า นับว่าเป็นหนึ่งในสามเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจักรวรรดิโรมัน (8)

 

      เมืองอันฏอกียะฮ์ (แอนติออก) ตั้งอยู่ห่างจากเมือง “ฮะลับ” (อาเลปโป) ไม่ถึงหนึ่งร้อยกิโลเมตร และห่างจาก “อิสกันดารียะฮ์” (อะเล็กซานเดรีย) ออกไปประมาณ 60 กิโลเมตร เมืองนี้ถูกพิชิตโดย “อะบูอุบัยดะฮ์ ญัรรอฆ์” ในสมัยของค่อลีฟะฮ์ (กาหลิบ) ที่ 2 จึงหลุดพ้นออกจากอำนาจของชาวโรมัน ประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์ยอมจ่ายส่วยให้และยังคงสภาพอยู่บนศาสนาเดิมของตน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เมืองนี้ถูกครอบครองโดยฝรั่งเศส และฝรั่งเศสต้องการที่จะปลดปล่อยแผ่นดินชาม (ซีเรีย) และมอบมันให้แก่ตุรกี เพื่อไม่ต้องการที่จะให้วิกฤตความวุ่นวายและอันตรายต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้เกิดขึ้นชาวคริสเตียน

 

เมืองอันฏอกียะฮ์ (แอนติออก) ในปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศตุรกี

 

       คำรายงานอื่นๆ : เมืองอันฏอกียะฮ์ (แอนติออก) ในปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศตุรกี บนฝั่งแม่น้ำออรอนตีสหรือแม่น้ำอัลอาซีย์ (อาซี) อยู่ระหว่างชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนประมาณ 22 กิโลเมตร และครอบครอง (ทำลาย) เพียงส่วนเล็กๆ ของอันฏอกียะฮ์ (แอนติออก) โบราณเพียงเท่านั้น ส่วนร่องรอยของเมืองเก่า อย่างเช่น ป้อมปราการ กำแพง โรงละครและปราสาทยังคงเหลืออยู่ ในการขุดเจาะวิจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในที่แห่งนั้นและบริเวณต่างๆ โดยรอบ ได้ค้นพบโมเสกชั้นเยี่ยมในศตวรรษที่ 6 ของคริสต์ศักราช จอกใหญ่แห่งแอนติออก ซึ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1910 ตามความเชื่อของบางคนมันคือ “จอกศักดิ์สิทธิ์” (Holy Grail) นั่นเอง (9)

 

เมือง “อันฏอกียะฮ์” (แอนติออก)

 

      เมือง “อันฏอกียะฮ์” (แอนติออก) สำหรับชาวคริสต์นั้นเหมือนกับเมือง “มะดีนะฮ์” ของชาวมุสลิม เมืองนี้เป็นเมืองศาสนาที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองมาจาก “บัยตุ้ลมักดิส” (กรุงเยรูซาเล็ม) เนื่องจากท่านศาสดาอีซา (พระเยซู) ได้เริ่มต้นการประกาศศาสนาและการเรียกร้องเชิญชวนของท่านจาก “บัยตุ้ลมักดิส” (กรุงเยรูซาเล็ม) และต่อมาประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ศรัทธามั่นต่อท่านได้อพยพหลบหนีไปยังเมืองอันฏอกียะฮ์ (แอนติออก) “นักบุญเปาโล” (พอล) และนักบุญ “บาร์นาบัส” ได้เดินทางไปที่เมืองนี้และประกาศเชิญชวนผู้คนมาสู่ศาสนานี้ จากนั้นเองศาสนาของท่านศาสดาอีซา (อ.) (หรือศาสนาคริสต์) จึงได้รับการแพร่ขยายอย่างกว้างขวาง บางที่การกล่าวถึงเมืองอันฏอกียะฮ์ (แอนติออก) ไว้ในคำรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ เกี่ยวกับท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) และท่านศาสดาอีซา (อ.) (พระเยซู) (10)

 

เชิงอรรถ :

 

(1) อัลกุรอานบทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 83

(2) ตัฟซีร นูรุษษะกอลัยน์, เล่มที่ 3, หน้าที่ 138

(3) แหล่งอ้างอิงเดิม

(4) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 60, หน้าที่ 216

(5) มุสนัด อะห์มัด อิบนิฮันบัล, เล่มที่ 2, หน้าที่ 417 ; มุอ์ญะมุ อะฮาดีษิ อัลอิมามิลมะฮ์ดี, เล่มที่ 1, หน้าที่ 312

(6) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 51, หน้าที่ 25

(7) มุอ์ญะมุ อะฮาดีษิ อัลอิมามิลมะฮ์ดี, เล่มที่ 1, หน้าที่ 344 ; อัลมะลาฮิม วัลฟิตัน, หน้าที่ 69

(8) ดูเพิ่มเติมจากหนังสือ “มุอ์ญะมุลบุลดาน” เล่มที่ 1 หน้าที่ 182 และ 266

(9) คูรชีด มัฆริบ เชิงอรรถ หน้าที่ 295

(10) ฟัรฮังก์ นอเมฮ์ มะฮ์ดะวียัต, โคดา มุร๊อด ซุไลมานี หน้าที่ 66 แหล่งที่มาของบทความ : นิตยสาร “เมาอูด นอเมฮ์” (ฟัรฮังก์ อะลีฟบาอีย์ มะฮ์ดะวียัต), มุจญ์ตะบา ตูเนฮ์อี หน้าที่ 136

 

แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ