เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อรรถาธิบายดุอา ประจำวันที่ 6 เดือนรอมฎอน

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อรรถาธิบายดุอา ประจำวันที่ 6 เดือนรอมฎอน

بسم الله الرحمن الرحيم


اَللّهُمَّ لا تَخْذُلْني فیهِ لِتَعَرُّضِ مَعْصِیَتِك


وَلاتَضْرِبْني بِسِیاطِ نَقِمَتِك وَزَحْزِحْني فیهِ مِنْ مُوجِباتِ سَخَطِك

بِمَنِّکك وَاَیادیك یا مُنْتَهی رَغْبَةِ الرّاغِبینَ


ความหมาย :

 

โอ้ อัลลอฮ์ โปรดอย่าทอดทิ้งข้าฯ เนื่องจากการฝ่าฝืนต่อบัญชาของพระองค์ โปรดอย่าทุบตีข้าฯ เพื่อเป็นการแก้แค้นของพระองค์ ขอให้ข้าฯห่างไกลจากสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้พระองค์ทรงกริ้ว ด้วยความดีและความโปรดปรานของพระองค์ โอ้พระผู้ทรงเป็นที่สิ้นสุดของผู้ที่มีความหวังทั้งหลาย

 


คำธิบาย :

 


ท่านอยาตุลลอฮ์ มุจญตะบา เตะห์รานี ได้ทำการอรรถาธิบายดุอาประจำวันที่ 6 ของเดือนรอมฎอน ดังนี้ :

 


اَللّهُمَّ لا تَخْذُلْني فیهِ لِتَعَرُّضِ مَعْصِیَتِك


โอ้อัลลอฮ์ โปรดอย่าทอดทิ้งข้าฯ เนื่องจากการฝ่าฝืนต่อบัญชาของพระองค์

 


เมื่อมนุษย์ทุกคนได้ทำการฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์(ทำมะอ์ศียัต) และเมื่อได้ยืนกรานถึงความผิดบาปของเขาก็จะพบกับความต่ำต้อยและความอับอายขายหน้า เนื่องจากการทำมะอ์ศียัตนั้นเป็นการลุกขึ้นต่อสู้กับพระองค์ ในขณะที่พระองค์ทรงบัญชาสั่งให้ปฏิบัติสิ่งๆหนึ่งแต่ในทางตรงกันข้ามบ่าวของพระองค์กลับฝ่าฝืนและกระทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม ในที่สุดบ่าวก็จะพบกับความต่ำต้อยและอัปยศต่อหน้าพระผู้อภิบาลผู้ทรงรอบรู้ แต่ด้วยความเมตตาและความปรานีของพระองค์ที่ล้นเหลือ พระองค์จะทรงอภัยแก่บ่าวของพระองค์อย่างรวดเร็ว


เหมือนดั่งในดุอาอ์ อะบู ฮัมซะห์ ษุมาลี ที่ได้กล่าวว่า พระองค์คือพระผู้อภิบาลของข้าฯ ความโปรดปรานและความเมตตาของพระองค์ทรงแผ่ไพศาล ความขันติและความอดทนของพระองค์นั้นทรงยิ่งใหญ่เกินว่าความผิดบาปและการละเมิดที่ข้าฯได้กระทำไป โปรดทรงอภัยโทษให้กับข้าฯด้วยเถิด

 


ดังนั้น ในวันนี้เราจึงวิงวอนขอจากพระองค์ให้อภัยความผิดบาปทั้งหมดที่เราได้กระทำไปในทุกวินาทีของการดำเนินชีวิตที่เราได้สร้างความต่ำต้อยและความอัปยศให้กับตนเอง


พึงตระหนักว่า คนที่ทำความผิดบาปแม้ว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับสูงแค่ไหน จะสวมใส่เสื้อผ้าราคาแพงมากสักขนาดไหนก็ตาม ก็ยังถือเป็นบุคคลที่ต่ำต้อยและอัปยศในสายตาของพระองค์


ส่วนบุคคลที่เคารพภักดีพระองค์นอกเหนือจากเป็นที่โปรดปรานของพระองค์แล้ว เขาก็จะได้รับความรักและความเมตตาจากบุคคลอื่นๆอย่างทั่วหน้า


อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า :

 


إِنَّ الَّذِینَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ سَیَجْعَلُ لَهُمُ الرَّحْمَنُ وُدًّا


แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบคุณงามความดีทั้งหลายนั้น พระผู้ทรงกรุณาปรานีจะทรงโปรดปรานความรักใคร่แก่พวกเขา

 


ประโยคถัดมา :

 


وَلاتَضْرِبْني بِسِیاطِ نَقِمَتِك


โปรดอย่าทุบตีข้าฯ เพื่อเป็นการแก้แค้นของพระองค์

 


ความกริ้วโกรธของพระองค์จะทรงบังเกิดขึ้นกับมนุษย์เมื่อไหร่ ?

 

พระองค์อัลลอฮ์ทรงสูงส่งยิ่งเกินกว่าที่เราสามารถอรรถาธิบายถึงคุณลักษณะของพระองค์ได้ แต่สิ่งที่พึงรู้ไว้คือ เมื่อมนุษย์และบ่าวของพระองค์ได้ตกอยู่ในสภาพของผู้กระทำบาปเป็นประจำแล้ว เขาก็จะตกอยู่ภายใต้ความกริ้วโกรธของพระองค์ทันที และสิ่งที่เราต้องรู้อีกประการหนึ่งคือพระองค์ไม่มีความจำเป็นต่อการทำอิบาดะห์และการอิตออัตของเรา เพราะพระองค์ไม่ทรงพึงพาและต้องการสิ่งใด

 

الله الصمد

ส่วนความกริ้วโกรธของพระองค์นั้นเพื่อให้มนุษย์รู้จักตัวเองมากขึ้น เพื่อการพัฒนาตนเองไปสู่จุดที่สมบูรณ์ เนื่องจากว่าหากพระองค์ทรงปล่อยขว้างมนุษย์มีความอิสรเสรี จะทำสิ่งใดก็สามารถทำใดตามความต้องการแล้ว ก็จะไม่มีมนุษย์คนใดที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ที่มีความเป็นมนุษย์

 


หากไม่มีความโปรดปรานของพระองค์ที่มายังบ่าวของพระองค์แล้วไซร้ แน่นอนพวกเราย่อมเป็นกลุ่มชนที่ขาดทุน

 


เราต้องจำอยู่เสมอว่า พระองค์มิได้สร้างเรามาเพื่อให้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ แต่พระองค์ทรงสร้างเรามาเพื่อทำการเคารพภักดีพระองค์ ดังอัลกุรอานกล่าวว่า :

 


وما خلقت الجن والانس الا لیعبدون


ความว่า เรามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใด เว้นแต่การเคารพภักดีพระองค์

 


ด้วยเหตุนี้ ในวันนี้เราจึงวิงวอนขอจากพระองค์ให้ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้พระองค์ทรงกริ้วโกรธ นั้นหมายถึง โปรดทำให้เราเป็นหนึ่งในหมู่ผู้ภักดีพระองค์ เชื่อฟังพระองค์ หาใช่ผู้ฝ่าฝืนบัญชาของพระองค์

 


ประโยคถัดมา :

 


وَزَحْزِحْني فیهِ مِنْ مُوجِباتِ سَخَطِك


โอ้ อัลลอฮ์ โปรดให้ข้าฯให้ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้พระองค์ทรงกริ้วโกรธ

 


มีบางฮะดิษ รายงานว่า การทำความผิดบาปบางอย่างจะนำมาซึ่งความโกรธกริ้วจากพระองค์ จากนั้นพระองค์จะสาบานว่า จากนี้ไปพระองค์จะไม่ทรงอภัยโทษแก่พวกเขาเป็นอันขาด


ริวายะห์ กล่าวว่า พระองค์จะทรงอภัยบาปของคนญาฮิล(โง่เขลา)เจ็ดสิบอย่าง ก่อนที่พระองค์จะทรงอภัยโทษบาปของผู้รู้หนึ่งบาป


ในซูเราะห์ฮัมด์ พระองค์ตรัสว่า

 

اهدنا الصراط المستقیم

ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง

 


صراط الذین انعمت علیهم غیر المغضوب علیهم ولضالین


(คือ) ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปราณแก่พวกเขา มิใช่ในทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ทางของพวกที่หลงผิด

 


انعمت علیهم  คือใคร ?

สามารถหาคำตอบได้ในโองการเดียวที่สรุปคำตอบไว้ทั้งหมด


و من يطع الله و الرسول فاولئك مع الذين انعم الله عليهم من النبيين و الصديقين و الشهداء و الصالحين و حسن اولئك رفيقا


และผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ และรอซูลแล้วชนเหล่านี้จะอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงกรุณาเมตตาแก่พวกเขา อันได้แก่บรรดานบี บรรดาผู้ที่เชื่อโดยดุษณี บรรดาผู้ที่เสียชีวิตในสงคราม และบรรดาผู้ที่ประพฤติดี และชนเหล่านี้แหละเป็นเพื่อนที่ดี

 


مغضوب علیهم و ضالین  คือใคร ?

บุคคลที่พระองค์โกรธกริ้วคือบุคคลที่ปฏิบัติตามชัยฏอน โดยที่พระองค์ทรงกล่าวเกี่ยวกับชัยฏอน ว่า


لعنه الله و قال لا تخذن من عبادك نصیبا مفروضا


อัลลอฮ์ได้ทรงละอ์นัตมันแล้ว และมันได้กล่าวว่า แน่นอนยิ่งข้าพระองค์จะเอาจากปวงบ่าวขององค์ให้ได้ ซึ่งส่วนที่ถูกกำหนดไว้


และแน่นอนยิ่งข้าพระองค์จะทำให้พวกเขาหลงผิด และแน่นอนยิ่งข้าพระองค์จะทำให้พวกเขาเพ้อฝัน และแน่นอนยิ่งข้าพระองค์จะใช้พวกเขา แล้วแน่นอนพวกเขาก็จะผ่าหูปศุสัตว์ และแน่นอนยิ่งข้าพระองค์จะใช้พวกเขา แล้วแน่นอนพวกเขาก็จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้าง และผู้ใดที่ยึดเอาชัยฏอนเป็นผู้ช่วยเหลือแล้ว แน่นอนเขาก็ขาดทุนอย่างชัดเจน


ดังนั้นบุคคลที่ปฏิบัติตามชัยฎอน เขาจะตกอยู่ในหมู่บุคคลที่ได้รับความโกรธกริ้วจากพระองค์


أُولَٰئِكَ مَأْوَاهُمْ جَهَنَّمُ وَلَا يَجِدُونَ عَنْهَا مَحِيصًا


ชนเหล่านี้แหละที่อยู่ของพวกเขาก็คือนรกญะฮันนัม และพวกเขาจะไม่พบทางหนีใด ๆ ให้พ้นจากมันไปได้


ดังนั้นในวันนี้เราจึงวิงวอนจากพระองค์ให้ห่างไกลจากสิ่งที่นำมาซึ่งความโกรธกริ้วของพระองค์ (ห่างไกลจากการเชื่อฟังชัยฏอน)


ยาอัลลอฮ์ เราขอวิงวอนจากพระองค์ให้เรานั้นห่างไกลจากสิ่งที่นำมาซึ่งความโกรธกร้ิวของพระองค์ ด้วยเถิด......

 

บทความโดย เชคอิบรอฮีม อาแว

 

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม