อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 29 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 29 เดือนรอมฎอน 

 

بسم الله الرحمن الرحيم 

اللَّهُمَّ غَشِّنِي فِیهِ بِالرَّحْمَةِ

وَ ارْزُقْنِي فِیهِ التَّوْفِیقَ وَ الْعِصْمَةَ 

وَ طَهِّرْ قَلْبِي مِنْ غَیَاهِبِ التُّهَمَةِ 

یَا رَحِیماً بِعِبَادِهِ الْمُؤْمِنِین

ความหมาย

 

โอ้ อัลลอฮ์ โปรดห่อหุ้มข้าฯด้วยความเมตตาของพระองค์ 

 โปรดประทานเตาฟิก(ความสำเร็จ)และการปกป้องคุ้มครอง 

และโปรดขจัดความมัวหมองในจิตใจของข้าฯที่เกิดจากการถูกใส่ร้าย โอ้ พระผู้ทรงเมตตาแก่ป่วงบ่าวผู้ศรัทธาทั้งหลาย

 

คำอธิบาย

 

اللَّهُمَّ غَشِّنِي فِیهِ بِالرَّحْمَةِ

 

โอ้ อัลลอฮ์ โปรดห่อหุ้มข้าฯด้วยความเมตตาของพระองค์  

 

คำว่า 

 

غش
(ฆ็อชชา) 

 

หมายถึง การปกปิด การซ่อนเร้น การห่อหุ้ม  การปกปิดและซ่อนข้อตำหนิของสินค้าในการซื้อขาย 

 

ซึ่งตามความหมายเชิงวิชาการแล้ว เรียกว่า การซื้อขาย (มุอามาลาต)ที่หลอกลวงและฉ้อโกง 

 

ฮะดีษรายงานจากท่านศาสดาว่า

 

لَیسَ مِنَّا مَنْ غَشَّ مُسْلِماً

 

ความว่า ผู้ใดที่ฉ้อโกงและหลอกลวงพี่น้องมุสลิม เขาไม่ใช่มาจากฉัน(ไมใช่ประชาชาติของฉัน)  

 

(หนังสือ มันลายะฮ์ฎุรุลฟะกิห์ เล่ม 3 หน้า 273 ) 

 

ผู้ใดที่ผสมน้ำในนมและขายให้กับประชาชน เขาไม่ใช่มุสลิม  ผู้ใดที่ขายสินค้าที่ตำหนิและบกพร่องให้กับลูกค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบ เขาไม่ใช่มุสลิม  บุคคลที่มีคุณลักษณะเช่นนี้จะไม่เจริญและไม่ได้รับบารอกัต  และหากความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์ได้แผ่ถึงเราแล้วก็ย่อมสำเร็จในการประกอบอาชีพและจะพบแต่สิ่งดีๆในชีวิต...


ประโยคถัดมา


 
وَ ارْزُقْنِي فِیهِ التَّوْفِیقَ 

 

โอ้ อัลลอฮ์ โปรดประทานเตาฟิก(ความสำเร็จ)ให้เราด้วยเถิด  

 

เตาฟีกให้เราสามารถนมาซศอลาตุลลัยน์ และอ่านบทดุอาอ์อะบู ฮัมซะฮ์ ษุมาลีย์ และ......

 

“ฮะดีษสามคุณลักษณะของผู้ศรัทธา”

 

ท่านอิมามญะวาด(อ)กล่าวว่า

 

الْمُؤْمِنُ يَحْتَاجُ إِلَى ثَلَاثِ خِصَالٍ

 تَوْفِيقٍ مِنَ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ وَ وَاعِظٍ

 مِنْ نَفْسِهِ وَ قَبُولٍ مِمَّنْ يَنْصَحُهُ

 

ความว่า ผู้ศรัทธาย่อมมีสามประการต่อไปนี้เป็นปัจจัยหลัก

 

ประการแรก เตาฟีก

 

ประการที่สอง  การตักเตือนจิตใจของตนเองอยู่เสมอ เพื่อคงการรำลึกถึงพระองค์อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเรียนรู้บทเรียนต่างๆจากโลกดุนยา  พยายามกล่าวย้ำกับตนเองอยู่เสมอว่า เราจะยังคงละเลยในการรำลึกถึงพระองค์อีกนานเท่าใด  

 

ประการที่สาม ยอมรับในบุคคลที่ให้คำสั่งสอนที่ดีแก่เขา  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนที่ไม่ปฏิบัติด้วยตนเองก็ตาม   

 

เช่น บุคคลที่สูบบุหรี่ กล่าวเตือนกับบุคคลที่ไม่สูบบุหรี่ ว่า ฉันเป็นคนสูบบุหรี่แต่เจ้าอย่าสูบบุหรี่เป็นอันขาดน่ะ  ซึ่งการตักเตือนลักษณะเช่นนี้ก็จะต้องยอมรับฟัง


ประโยคถัดมา

 

وَ الْعِصْمَةَ

 

โอ้ อัลลอฮ์ โปรดประทานการปกป้องคุ้มครองแก่ข้าฯ     

 

โอ้ อัลลอฮ์ โปรดประทานการปกป้องคุ้มครองข้าฯให้รอดพ้นจากการทำบาป

 


ประโยคถัดมา

 

وَ طَهِّرْ قَلْبِي مِنْ غَیاهِبِ التُّهَمَةِ

 

โอ้ อัลลอฮ์โปรดขจัดความมัวหมองในจิตใจของข้าฯที่เกิดจากการถูกใส่ร้ายและความสงสัย  นั้นหมายความว่า โอ้ พระองค์อย่าให้ข้าฯต้องจมปลักอยู่ความสงสัยเลย  บางคนชอบสงสัยในทุกเรื่อง นับจากเรื่องพระเจ้าจนถึงวันกิยามัต  โอ้พระองค์โปรดให้ข้าฯหลุดพ้นจากความสงสัยเหล่านี้ด้วยเถิด

 


คำแนะนำเพื่อขจัดความสงสัย

 

บุคคลที่เป็นคนชอบสงสัย มักจะสงสัยไปหมดทุกเรื่อง  ซึ่งมีคำแนะนำให้เขากล่าวซิกร์ ประโยคนี้ วันละ 100  ครั้ง 

 


 
لا حول و لا قوة الا بالله العلي العظیم 

 

 

ความว่า ไม่มีการเคลื่อนไหวและไม่มีพลังอำนาจอื่นใดนอกจากจะเป็นไปด้วยการอนุมัติจากพระองค์ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงยิ่งใหญ่

 

ท่านนบี(ซ็อลฯ)กล่าวแก่ท่านซัลมาน อัลฟาร์ซี ว่า 

 

أُكْثِرَ مِنْ قَوْلِ لَا حَوْلَ وَ لَا قُوَّةَ إِلَّا

 بِاللَّهِ فَإِنَّهَا كَنْزٌ مِنْ كُنُوزِ الْجَنَّةِ

 

ความว่า  จงหมั่นกล่าวซิกร์นี้  (ลา เฮาลา วะลา กุวะตะ อิลลา บิลลาห์) เพราะซิกร์นี้เป็นคลังสมบัติจากสรวงสวรรค์ 

 

 (หนังสือ วะซาอิลุชชีอะห์ เล่ม 9   หน้า 442 )


ประโยคสุดท้าย

 

یا رَحِیماً بِعِبَادِهِ الْمُؤْمِنِین 

 

โอ้ พระผู้ทรงเมตตาแก่ป่วงบ่าวผู้ศรัทธาทั้งหลาย โปรดตอบรับการวิงวอนขอนี้ด้วยเถิด

 

บทความโดย เชคอิบรอฮีม อาแว