เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทเรียนอัลกุรอานจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ โองการที่ 115-116 บทอัตเตาบะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทเรียนอัลกุรอานจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ โองการที่ 115-116 บทอัตเตาบะฮ์

 

กลุ่มโองการจากบทอัตเตาบะฮ์ กล่าวปฏิเสธการลงโทษก่อนที่จะรู้แจ้ง และกล่าวถึงอำนาจการปกครองของพระเจ้า และความ อำนาจวิลายะฮ์อันเฉพาะเจาะจงสำหรับพระองค์ โดยกล่าวว่า :

 

 

وَ ما كانَ اللّهُ لِيُضِلَّ قَوْماً بَعْدَ إِذْ هَداهُمْ حَتّى يُبَيِّنَ لَهُمْ ما يَتَّقُونَ إِنَّ اللّهَ بِكُلِّ شَيْء عَليمٌ

 

اللّهَ لَهُ مُلْكُ السَّماواتِ وَ الأَرْضِ يُحْيي وَ يُميتُ وَ ما لَكُمْ مِنْ دُونِ اللّهِ مِنْ وَلِيّ وَ لا نَصير

 

คำแปล :

 

115.  อัลลอฮ์ จะไม่ทรงให้กลุ่มชนใดหลงผิดหลังจากที่พระองค์ได้ทรงชี้ทางที่ถูกต้องให้แก่พวกเขาแล้ว นอกจากจะเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขาจะต้องหลีกเลี่ยง แท้จริง อัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง

 

116. แท้จริงอำนาจแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ พระองค์ทรงให้เป็น ทรงให้ตาย และนอกจากอัลลอฮฺแล้วก็ไม่มีผู้คุ้มครองและผู้ช่วยเหลือใด ๆ สำหรับพวกท่าน

 

สาเหตุแห่งการประทานลงมา :

 

เรื่องราวของการประทานโองการมีคำกล่าวไว้ 2 ลักษณะกล่าวคือ หนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มของชาวมุสลิมที่ได้เสียชีวิตไปก่อนที่ข้อบังคับ (วาญิบต่างๆ) จะถูกประทานลงมา และกลุ่มหนึ่งมีความคิดเห็นว่าบางทีพวกเขาอาจจะได้รับการลงโทษจากพระเจ้า,โองการข้างต้นจึงประทานลงมาเพื่อปฏิเสธความเข้าใจของพวกเขา[34] "และอีกสาเหตุหนึ่งกล่าวว่า ก่อนที่โองการจะถูกประทานลงมา ชาวมุสลิมได้วิงวอนขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหลาย (มุชริก) และพวกเขามีความกังวลใจเกี่ยวกับการกระทำในอดีตของเขา โองการข้างต้นจึงได้ประทานลงมา เพื่อสร้างความมั่นใจแก่พวกเขาว่า การกระทำที่ผ่านมาโดยไม่รู้ตัวนั้นจะไม่ถูกลงโทษอย่างแน่นอน[35]

 

อย่างไรก็ตามสาเหตุแห่งการประทานลงมา ของทั้งสองรายงานถือว่าถูกต้อง เนื่องจากสามารถรวมกันได้หมายถึงโองการได้ถูกประทานลงมาบนเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความใกล้เคียงกัน

 

คำอธิบาย :

 

การลงโทษหลังคำอธิบาย

 

1. จุดประสงค์ของคำว่า หลงผิด (ยุฎิลลุ) โดยหลักแล้วหมายถึง การทำให้หลงผิด หรืออยู่ในกฎของการหลงทาง ดังที่นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้แสดงความคิดเห็นเอาไว้ (ประหนึ่งการสมดุลหรือการฝ่าฝืน โดยความหมายของกฎแล้วหมายถึงความยุติธรรมและการฝ่าฝืน

 

หรือจุดประสงค์ของการหลงผิด ก็เป็นดังเช่นที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านั้น กล่าวคือหมายถึงการถอดถอนความโปรดปรานและความสำเร็จ และการปล่อยให้มนุษย์อยู่ไปตามสภาพของตน ซึ่งผลของมันก็คือการหลงผิดและการระหกระเหินไปจากแนวทางแห่งการชี้นำ

 

ซึ่งการตีความนี้ได้บ่งชี้ให้เห็นความละเอียดของความจริงดังกล่าวที่ว่า บาปกรรมคือแหล่งที่มาของการหลงทางและการออกห่างจากทางนำโดยแท้จริง

 

2. โองการดังกล่าวได้ระบุให้เห็นกฎเกณฑ์บางอย่างที่เข้ากันได้กับสติปัญญา และปัญญาก็ให้การรับรองเอาไว้กล่าวคือ เป็นเหตุผลและกฎเกณฑ์ที่สติปัญญาให้การสนับสนุนและยอมรับ ซึ่งสิ่งนั้นคือ ตราบที่ผู้วางกฎเกณฑ์ (อัลลอฮ์) ยังไม่ได้อธิบายกฎเกณฑ์ หรือยังไม่ได้อธิบายเงื่อนไขต่างๆ จะไม่มีผู้ใดได้รับการลงโทษอย่างแน่นอน อีกนัยหนึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบจะเกิดขึ้นหลังจากที่บทบัญญัติได้ถูกประทานลงมา ซึ่งสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่กล่าวไว้ในวิชา อุซูล ด้วยกฎที่ว่า “กุบฮ์ อิกอบ บิลา บะยาน” การลงโทษโดยปราศจากการอธิบาย ซึ่งโดยหลักการแล้วได้สอนให้เรารู้จักหลัก บะรออัต หมายถึง ตราบที่ไม่มีเหตุผลสำหรับการเป็นวาญิบ หรือการปล่อยวางแล้วละก็ เราไม่มีหน้าที่ปฏิบัติแต่อย่างใด เพื่อว่าเราจะต้องได้รับโทษทัณฑ์

 

3. ตัฟซีรโองการดังกล่าว ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า อัลลอฮ์ จะไม่ทรงลงโทษผู้ใด จนกว่าพระองค์จะอธิบายและสร้างความเข้าใจแก่เขาเสียก่อน หรือจะกล่าวกับพวกเขาว่าสิ่งใดพระองค์พึงพอพระทัยและสิ่งใดที่พระองค์ไม่ทรงพึงพอพระทัย[36]

 

นักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ได้นำเอาฮะดีษบทดังกล่าว และการตีความโองการเป็นเหตุผลที่ว่า โองการดังกล่าวนั้น ไม่ได้ครอบคลุมการอธิบายอิสระด้านสติปัญญา เช่นที่กล่าวว่า การกดขี่ไม่ดี ส่วนความยุติธรรมนั้นดี เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มิใช่ประเด็นที่มีความคลางแคลงใจแต่อย่างใด เพื่อว่าจะได้ต้องการคำอธิยาย

 

4. โองการได้กล่าวถึง ความรอบรู้อันไม่มีขอบเขตจำกัดของพระเจ้า กล่าวคือประเด็นดังกล่าวนี้ได้เกิดมาจากแหล่งแห่งความรอบรู้ของพระเจ้า และความรอบรู้ของพระองค์ได้จำกัดความไว้ว่า ตราบที่พระองค์ยังมิได้อธิบายกฎเกณฑ์ใดแก่ประชาชาติ พระองค์จะไม่ทรงลงโทษผู้ใดทั้งสิ้นเนื่องจากกฎเกณฑ์นั้น

 

5. ฮิดายะฮ์(การชี้นำ) และการหลงผิดของมวลมนุษย์ที่มาจากอัลลอฮ์ (ซบ.) นั้นไม่ได้หมายถึง การบีบบังคับ ทว่าหมายถึงพระองค์ได้ตระเตรียมหรืออธิบายถึงประเด็นอันเป็นปฐมบทของการหลงทาง หรือการชี้นำทางสำหรับมนุษย์ และพระองค์ยังได้อธิบายถึงปัจจัยในการปกปักรักษาตนเอง และตัวการที่นำสู่ความหายนะเพื่อให้ข้อพิสูจน์ของพระองค์สมบูรณ์ มนุษย์นั่นเองที่มีหน้าที่ตัดสินใจว่าจะเลือกแนวทางใด แต่เนื่องจากปฐมบทดังกล่าวมาจากพระองค์ การชี้นำและการหลงทางจึงถูกสัมพันธ์ไปยังพระองค์

 

โองการถัดมาได้เน้นย้ำถึงประเด็นดังกล่าวว่า “แท้จริงอำนาจแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์”

 

ซึ่งตามเหตุผลของโองการข้างต้น ประกอบเป็นที่ทราบกันดีว่าบรรดาอำนาจทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนมาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นมนุษย์จึงไม่สมควรที่จะยึดถือหรือพึ่งพิงอำนาจอื่นใดอีกนอกจากพระองค์ หรือสร้างสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า ลงนามการเป็นมิตรภาพต่อกันเพื่อมอบให้คนเหล่านั้นที่พึ่งสำหรับตน

 

จุดประสงค์ของที่กล่าวว่า “นอกจากอัลลอฮ์แล้วก็ไม่มีผู้คุ้มครองและผู้ช่วยเหลือใด ๆ อีก” หมายถึงห้ามมิให้มนุษย์พึงพิงคนอื่นนอกเหนือไปจากพระองค์อย่างเป็นเอกเทศ และก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการห้ามมนุษย์มิให้อาศัยหรือใช้ประโยชน์จากปัจจัยทางธรรมชาติที่มีอยู่บนโลกนี้ เพื่อก้าวไปให้ถึงยังเป้าหมายดังกล่าว

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. การลงโทษของพระเจ้าจะมีขึ้นหลังจากการอธิบาย การทำให้กฎเกณฑ์ดังกล่าวชัดเจน และข้อพิสูจน์ของพระองค์สมบูรณ์แล้ว

 

2.จงอย่าละเลยหรือประพฤติสิ่งขัดแย้งหรือปล่อยความสำรวมตน จนตนเองต้องระหกระเหินและได้รับการลงโทษ

 

3. การมีชีวิตอยู่ และความตายล้วนอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ทั้งสิ้น

 

4.ไม่มีที่พึ่งพิงอื่นใดอีกนอกจากอัลลอฮ์ (ดังนั้น เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เป็นผู้คุ้มครองและให้ความช่วยเหลือ)

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม