เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

4 ประการที่ควรรับรู้ 4 ประการที่ควรหลีกเลี่ยง

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

4 ประการที่ควรรับรู้ 4 ประการที่ควรหลีกเลี่ยง


ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวกับท่านอิมามฮะซัน (อ.) บุตรชายของท่านว่า “โอ้ลูกรักของพ่อ! จงจดจำจากพ่อสี่ประการพร้อมกับอีกสี่ประการ หากเจ้าปฏิบัติตามสี่ประการนี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดแก่ตัวเจ้า

 

สิ่งที่ควรรู้ 4 ประการ

 

    แท้จริงความมั่งมีที่สุด คือ การมีสติปัญญา


    ความยากจนที่เลวร้ายที่สุด คือ ความโง่เขลา


    ความเดียวดายที่น่ากลัวที่สุด คือ การหลงตนเอง


    ความมีเกียรติที่สุดของวงศ์ตระกูล คือ ความมีมารยาทที่งดงาม

 

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 4 ประการ

 

    โอ้ลูกรักของพ่อ! จงหลีกเลี่ยงจากการเป็นมิตรกับคนโง่เขลา เนื่องจากในขณะที่เขาต้องการจะทำประโยชน์ให้แก่เจ้า เขากลับยังอันตรายต่อเจ้า


    จงหลีกเลี่ยงจากการเป็นมิตรกับคนตระหนี่ถี่เหนียว เนื่องจากเขาจะทอดทิ้งเจ้าในยามที่เจ้ามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อ (การช่วยเหลือของ) เขา


    จงหลีกเลี่ยงจากการเป็นมิตรกับคนชั่ว เนื่องจากเขาจะขายเจ้าด้วยราคาเพียงน้อยนิด


    และจงหลีกเลี่ยงจากการเป็นมิตรกับคนโกหก เนื่องจากคนโกหกนั้นเหมือนกับภาพลวงตา (มิราจ) ที่จะทำให้เจ้ามองเห็นสิ่งอยู่ไกลว่าใกล้ และสิ่งอยู่ใกล้ว่าไกลตัว

 

ตัวบท :

 

قال (عليه السلام) لابنه الحسن (عليه السلام) : يَا بُنَيَّ، احْفَظْ عَنِّي أَرْبَعاً وَأَرْبَعاً، لاَ يَضُرَّكَ مَا عَمِلْتَ مَعَهُنَّ: إِنَّ أَغْنَى الْغِنَىُ الْعَقْلُ، وَأَكْبَرَ الْفَقْرِ الْحُمْقُ، وَأَوحَشَ الْوَحْشَةِ الْعُجْبُ ، وَأَكْرَمَ الْحَسَبَ حُسْنُ الْخُلُقِ. يَا بُنَيَّ، إِيَّاكَ وَمُصَادَقَةَ الاَْحْمَقِ، فَإِنَّهُ يُريِدُ أَنْ يَنْفَعَكَ فَيَضُرَّكَ. وَإِيَّاكَ وَمُصَادَقَةَ الْبَخِيلِ، فَإِنَّهُ يَقْعُدُ عَنْكَ أَحْوَجَ مَا تَكُونُ إِلَيْهِ. وَإِيَّاكَ وَمُصَادَقَةَ الْفَاجِرِ، فَإِنَّهُ يَبِيعُكَ بِالتَّافِهِ . وَإِيَّاكَ وَمُصَادَقَةَ الْكَذَّابِ، فَإِنَّهُ كَالسَّرَابِ : يُقَرِّبُ عَلَيْكَ الْبَعِيدَ، وَيُبَعِّدُ عَلَيْكَ الْقَرِيبَ.

 

ที่มา : นะฮ์ญุลบาลาเฆาะฮ์ สุนทโรวาทของอิมามอะลี (อ.)

 

บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม