เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความรู้ที่ให้คุณประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ ) ได้กล่าวว่า

 

 

إِنَّمَا الْعِلْمُ ثَلَاثَةٌ آيَةٌ مُحْكَمَةٌ أَوْ فَرِيضَةٌ عَادِلَةٌ أَوْ سُنَّةٌ قَائِمَةٌ

 

 

 

แท้จริงความรู้(ที่ให้คุณประโยชน์ทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์) มี 3 ศาสตร์ คือ

 

1. อายะฮ์ มุฮ์กะมะฮ์ (โองการอันชัดแจ้ง)

2.  ฟะรีเฎาะฮ์ อาดิละฮ์ (สิ่งจำเป็นอันประเสริฐยิ่ง)

3.  ซุนนะฮ์ กออิมะฮ์ (วิถีแห่งการยืนหยัด)

(ที่มา หนังสือ อัลกาฟี เชคกุลัยนี เล่ม 1 : 32 หะดีษที่ 1 และสุนัน อะบีดาวูด หะดีษที่ 2887)

 

คำอธิบาย

 

ศาสตร์ที่ 1 عِلْمُ الْعَقاَئِدِ الصَّحِيْحَةِ อะกีดะฮ์ หมายถึง หลักศรัทธาที่ถูกต้องอันมีที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอ่านที่ชัดเจนและหลักฐานที่ชัดแจ้ง และไม่อนุญาติให้เชื่อตามกันในเรื่องนี้


ศาสตร์ที่ 2 عِلْمُ الْفِـْـقهِ ฟิกฮ์ หมายถึง ศาสนบัญญัติ อันเป็นหลักปฏิบัติเช่นเรื่องวายิบ เรื่องฮะลาลและฮะร่ามทั้งหลายที่เป็นข้อดีและข้อเสียที่มาในรูปแบบคำสั่งใช้และคำสั่งห้าม


ศาสตร์ที่ 3 عِلْمُ الْأَخْلاَقِ อัคลาก หมายถึง จริยศาสตร์ เกี่ยวกับการแสวงหาจรรยามารยาทและการปฏิบัติตามแบบฉบับของศาสดามุฮัมมัดและวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน(อ) การขจัดลักษณะที่น่าตำหนิออกจากตัวตนและจิตใจ และสวมใส่คุณสมบัติที่ดีและแบบฉบับของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)เอาไว้ในตัวและจิตใจ จนกลายเป็นคุณอุปนิสัยประจำตัว

 

มนุษย์ทุกคนนั้น มี สามมิติ อยู่ในตัวเขา คือ

1.อักล์ (สติปัญญา)

2.ญะซัด (ร่างกาย)

และ 3.รูฮ์ (วิญญาณ)

ครูที่ฝึกสติปัญญา คือ หลักศรัทธาที่ถูกต้อง และครูที่ฝึกร่างกาย คือ ศาสนบัญญัติ ส่วนครูที่ฝึกจิตวิญญาณ คือ จริยศาสตร์

 

บทความโดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม