ศาสนากับโลก (ตอนที่ ๔) ตรรกวิทยาแห่งพระมหาคัมภีร์กุรอาน

 

ข้อความจากพระมหาคัมภีร์กุรอาน ก็คือ ความปรารถนาและความรักที่มีต่อโลกนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งเลวทราม พระมหาคัมภีร์กุรอานไม่เคยวางแนวทางใดๆ ที่จะนำความสุขมาให้ด้วยการตัดหรือทำลายความปรารถนาตามธรรมชาติ และความติดใจของเราลงไปเลย

 

สิ่งที่พระมหาคัมภีร์กุรอานวิจารณ์และตำหนิ ก็คือ ความรักที่มากมายล้นเหลือเกินไป หมายความถึง การที่ขึ้นอยู่กับโลกของวัตถุด้วยความพึงพอใจ และแน่ใจอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียว พระมหาคัมภีร์กุรอานบอกเราว่า

 

“อันทรัพย์สมบัติและบรรดาลูกๆ นั้น เป็นเพียงสิ่งประดับในชีวิตทางโลกนี้เท่านั้นแต่การกระทำที่ดีย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ตายและย่อมประเสริฐกว่าในทรรศนะขององค์ผู้อภิบาลของเจ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบแทนและความหวัง ( ๑๘:๔๖)

 

และคำว่า “ความหวัง” ในตอนท้ายของโองการนี้ ทำให้เราเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าโองการนี้เกี่ยวกับจุดหมายและอุดมคติของมนุษย์

 

พระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์กล่าวถึงผู้คนที่ชอบทางโลกด้วยคำต่อไปนี้ คือ

 

“…แท้จริงบรรดาผู้ไม่มุ่งหวังที่จะพบกับเรา และมีความพึงพอใจในชีวิตทางโลกนี้และได้พบความสงบในชีวิตเช่นนั้น คนเหล่านี้ คือ ผู้ละเลยต่อสัญลักษณ์ต่างๆ ของเรา ” (๑๐:๗)

 

โองการนี้ตำหนิการที่มนุษย์มีความสุขและพอใจอยู่แต่เฉพาะวัตถุ ไม่เหลือความคิดใด ๆ ได้เลยสาหรับโลกหน้าหรือสำหรับพระผู้เป็นเจ้า และหาความสงบจากชีวิตทางวัตถุเท่านั้น ดังนั้น เหล่านี้จึงเป็นลักษณะของผู้ที่มุ่งทางโลก ในความหมายที่น่าติเตียน

 

ในตอนอื่นของพระมหาคัมภีร์กุรอาน เราได้รับการบอกเล่าว่า

 

“ดังนั้นเจ้าจงหันออกจากบุคคลที่หันเหจากคำตักเตือนของเราเถิด และเขามิได้มุ่งหมายสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากชีวิตทางโลกนี้เท่านั้น นั่นแหละ คือ ขอบเขตแห่งความรู้ของพวกเขา” (๕๓: ๒๙-๓๐)

 

อีกครั้งหนึ่งที่มีการกล่าวถึงมนุษย์ และตาหนิบรรดาผู้ซึ่งไม่ปรารถนา และไม่มีจุดหมายใดมากไปกว่าโลกทางวัตถุ และบรรดาผู้ที่ความคิดของเขามิได้ไปไกลเกินกว่านี้

 

หรืออีกแห่งว่า

 

“ความลุ่มหลงในความใคร่ต่างๆ คือ ความลุ่มหลงในสตรี บุตร ในเงินและทองซึ่งมีอยู่ในทรัพย์สมบัติที่สะสมไว้ในม้าฝีเท้าจัด ในปศุสัตว์และไร่นา เหล่านี้คือ สิ่งซึ่งอำนวยความสุขในชีวิตทางโลก แต่จุดหมายที่ดีที่สุด คือการมุ่งไปสู่พระผู้เป็นเจ้า ” (๓:๑๔)

 

โองการนี้ ก็เช่นกันมิได้ตำหนิเฉพาะความปรารถนาตามธรรมชาติและความรักเท่านั้น แต่ได้ตำหนิไปถึงเรื่องที่ว่า ความรักที่มีต่อสิ่งของที่ปรารถนานั้นถูกทำให้สวยงามตามทัศนะของคนบางคนและถูกถือว่าเป็นสิ่งยิ่งใหญ่และสวยงามมากกว่าที่มันเป็นอยู่จริง

 

กลายเป็นความคิดในอุดมคติแต่อย่างเดียวของพวกเขาเหล่านั้น ในทำนองเดียวกัน เราได้รับการบอกเล่าว่า “เจ้าพอใจกับชีวิตในโลกนี้ แทนที่จะพอใจกับชีวิตในโลกหน้าเช่นนั้นหรือ? ส่วนของชีวิตในโลกนี้

 

เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตในโลกหน้านั้นมิได้เป็นสิ่งใดเลยนอกจากสิ่งน้อยนิด ”

 

ความมุ่งหมายของโองการเหล่านี้ก็เพื่อจะวิจารณ์ตำหนิติเตียน ความพึงใจและการหลงเสน่ห์ทางโลกแต่อย่างเดียว

 

ความรักที่มีต่อทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน ส่วนประกอบอื่นๆ แห่งชีวิตทางโลกนั้น แตกต่างจากความพึงพอใจในสิ่งเหล่านั้นแต่อย่างเดียว และถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นศูนย์กลางแห่งความหวัง และความปรารถนาของตน

 

เมื่อจุดหมายมันมีไว้เพื่อป้องกันมนุษย์จากการถูกผูกขาดโดยความปรารถนาทางโลกทางแก้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การตำหนิติเตียน โจมตีหรือพยายามที่จะถอนรากถอนโคนธรรมชาติทั้งหลายออกไป ตรงกันข้าม ทางแก้ปัญหาอยู่ที่การรอดพ้นและการได้รับประโยชน์จากห่วงโซ่แห่งการเป็นอิสระ ความปรารถนาทางธรรมชาติ ซึ่งปรากฏขึ้นมา หลังจากความปรารถนาทางวัตถุซึ่งจาเป็นต้องนำมันมาสู่ชีวิตและส่งเสริมมัน

 

ดังนั้น ความมุ่งหมายของคำสอนทางศาสนา จะต้องเป็นไปเพื่อปลุกความรู้สึกอันสูงส่งเหล่านี้ของมนุษย์ให้ตื่นขึ้น อันเป็นความรู้สึกที่สูงส่งและมีเกียรติ มีกำเนิดมาจากแหล่งที่สูงส่ง ความรู้สึกทางวัตถุ และจำเป็นต้องปลุกขึ้นมา ความรู้สึกเหล่านี้คือความรู้สึกทางวัตถุและจำเป็นต้องปลุกขึ้นมา ความรู้สึกเหล่านี้ คือ ความรู้สึกทางด้านจิตวิญญาณและการกระตุ้น ปลุกเร้าที่จำเป็นนั้นจะต้องได้มาจากศาสนา

 

ในความรัก ความชอบแต่ละอันและทุกอัน เปรียบเสมือนน้ำพุที่ไหลมาจากดวงวิญญาณ ความมุ่งหมายของศาสนานั้นไม่ต้องการกีดขวางกระแสแห่งความดึงดูดทางวัตถุ ความมุ่งหมายทางศาสนา ก็คือ การเปิด และทำให้น้ำพุอื่นๆ ที่ไหลอยู่กลายเป็นน้ำพุในด้านจิตวิญญาณ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งศาสนานั้นจะต้องไม่จำกัดและลดพลังทางความรู้สึกทางเพศซึ่งถูกสร้างขึ้นมาคู่กับการสร้างอื่นๆ นอกจากนี้ ด้วยความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ศาสนาจะต้องทำ ก็คือ เป็นอิสระจากห่วงโซ่ที่แตกต่างกันทางพลังจิตวิญญาณ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการปลดปล่อย

 

เรื่องนี้สามารถทำให้เข้าใจชัดเจน โดยตัวอย่างง่ายๆ : สมมติว่า ชายคนหนึ่งมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาต้องส่งบุตรชายคนนั้นไปโรงเรียน และหลังจากนั้น เขาเห็นว่า ความสนใจทั้งสิ้นของบุตรอยู่กับการเล่นและการกินเท่านั้น ในกรณีนี้

 

 

จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า ชายผู้นั้นย่อมไม่มีความสุขและจะไม่พูดกับบุตรอย่างดี เขาจะตำหนิติเตียนบุตรชายและบางทีอาจเรียกเขาว่าเป็นคนตะกละตะกรามไร้ประโยชน์ก็ได้ เขาทำเช่นนี้ก็เพราะเขาต้องการให้บุตรชายสนใจในบทเรียนและหนังสือ สนใจในการอ่านการเขียนและอื่นๆ และตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ความสนใจในสิ่งเหล่านี้จะปรากฏขึ้นในเด็กๆ หลังความสนใจในการเล่นและการกิน

 

ยิ่งกว่านั้น ความสนใจที่สูงกว่านี้จำเป็นจะต้องได้รับการกระตุ้นและการส่งเสริม สัญชาติญาณความปรารถนาในความรู้นั้นมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกผู้ทุกคน แต่จะสงบนิ่งอยู่อย่างช่วยไม่ได้จนกว่ามันจะถูกปลุกเร้า

 

อย่างไรก็ตาม ไม่มีเหตุผลใดที่จะคิดว่า บิดาต้องการที่จะให้บุตรชายหยุดเล่นหรือหยุดกิน หากวันหนึ่งเขาได้พบว่าบุตรชายของเขาหมดความสนใจในการเล่นและในอาหารแล้ว เขาก็จะรู้สึกลำบากใจทันที และอาจทึกทักเอาว่าเป็นขั้นตอนของความป่วยไข้ที่แสดงออกมาและอาจส่งบุตรไปหาหมอก็ได้ บิดารู้ว่าในขณะที่บุตรชายของเขาแข็งแรงขึ้นนั้น เขาจะต้องสนใจในการไปโรงเรียนและในหนังสือ แต่จะต้องมีความสุข มีการเล่นการกินในเวลาที่เหมาะสมด้วย

 

เขียนโดย ชะฮีดมุเฏาะฮะรี

แปล จรัญ มะลูลีม