ศาสนากับโลก (ตอนที่ ๗) การเคารพสิทธิและความรังเกียจโลก

 

จากเนื้อหาแห่งกฎเกณฑ์ของอิสลามในเรื่องความยุติธรรมและความภักดีของบุคคลที่มีต่อกันและกันในเรื่องความยุติธรรมและหน้ที่ของบรรดาผู้นำและเจ้าหน้าที่ ในเรื่องการตัดสินและหน้าที่อื่นๆของผู้บริหารและผู้พิพากษา และปัญหาที่เกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขาและในเรื่องพยานนั้น

 

เป็นที่กระจ่างชัดว่า ในศาสนานี้สิทธิของบุคคลได้รับความเคารพในขอบเขตใดและการปฏิบัติของเขาถือว่าเป็นข้องบังคับในขอบเขตใดบ้าง

 

สิ่งนี้กระตุ้นให้เกิดคำถามและข้อสงสัยว่า สิทธิ์เหล่านี้จะได้รับการเคารพอย่างไรในอิสลาม เมื่อทฤษฎีทั้งหมดของอิสลามนั้นขึ้นอยู่อย่างชัดเจนกับความรังเกียจโลกและความน่าหลงใหลของมัน สิทธิของผู้คนที่มีต่อกันและกันนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของชีวิตในโลก ตัวอย่างเช่น คนๆ หนึ่งไม่ควรหยิบฉวย และใช้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นใด เมื่อบุคคลผู้หนึ่งเห็นว่าสิ่งใดๆ ไม่มีค่า เขาก็ย่อมเห็นว่าสิ่งอื่นๆ ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นก็ย่อมไม่มีค่าไปด้วย ดังนั้น เมื่อทรรศนะของอิสลามเห็นว่าตัวของโลกเองและชีวิตทางโลกนั้นไร้ค่า อิสลามจะถือว่าสิทธิที่เกี่ยวข้องกับโลกและชีวิตทางโลกมีความสำคัญและมีค่าควรแก่การเคารพได้อย่างไรได้ ?


เขียนโดย ชะฮีดมุเฏาะฮะรี
แปล จรัญ มะลูลีม