ศาสนากับโลก (ตอนที่ 11) บทบาทของความยุติธรรมและความถูกต้องทางสังคมในด้านจิตใจ

ประการที่สาม ขอให้เราสมมติว่า ความไร้ค่าของโลก มิได้เป็นไปในเชิงเปรียบเทียบและสัมพัทธ์ ขอให้เราสมมติว่า โลกในทรรศนะของศาสนานั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ไร้คุณสมบัติ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสงสัยอย่างนี้ ก็ยังมีอย่างหนึ่งซึ่งเราไม่อาจสงสัยได้เลย นั่นคือ เหตุผลและจุดหมายซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ส่งบรรดาศาสดามายังเรา ศาสดาทั้งหลายได้มาเพื่อสอนศรัทธาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง “ฉันถูกส่งมาเพื่อทำให้จริยธรรมสมบูรณ์ ”

 

ท่านศาสดากล่าวไว้ดังนี้ ท่านได้สนับสนุนให้ผู้คนประพฤติดีและหยุดยั้งพวกเขาจากการกระทำชั่ว ในทรรศนะของอิสลามสิ่งต่างๆ ในกลุ่มหนึ่งดีและสิ่งต่างๆ ของอีกกลุ่มหนึ่งไม่ดี ท่านศาสดาได้มาเชิญชวนให้มนุษยชาติไปสู่ความดีและให้ขจัดความชั่วออกไป

 

ย่อมเป็นที่กระจ่างแจ้งต่อทุกคนว่าคำสอนของอิสลามมีอยู่สามส่วน คือ ความเชื่อ (อะกออิด) จริยธรรม (อัคลาก) และคำสั่ง (อะห์กาม) ที่เกี่ยวกับการกระทำ ความเชื่อนั้นรวมทั้งความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า และเอกภาพของพระองค์ ความเชื่อในท่านศาสดาและเชื่อในผลรางวัลและการตอบแทนในโลกหน้า ด้วยตัวอย่างเช่น คำสอนทางจริยธรรมได้บอกเราให้เป็นผู้อ่อนน้อม ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า (ตักวา) พอใจในพระผู้เป็นเจ้า กตัญญู อดทน ให้อภัยและกรุณา เป็นผู้รักสัญญาและสมานฉันท์กับคนอื่นๆ

 

มีจิตใจที่บริสุทธิ์พ้นจากความมุ่งร้ายแห่งการอิจฉาริษยา (ฮิซาดัต) เจตนาร้าย หวาดกลัวและตระหนี่ไม่สร้างความอยุติธรรมและมุ่งร้ายและอื่นๆ การสั่งให้กระทำเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดี ข้อกำหนดบางอย่างแบ่งออกเป็นหมู่ภายใต้หัวข้อของการเคารพภักดี (อิบาดัต) ซึ่งมีอยู่ในหลายรูปแบบเช่น การถือบวช ทำฮัจญ์ ญิฮาดและบัญชาให้กระทำสิ่งที่ยอมรับกันว่า เป็นความดีและละเว้นจากสิ่งที่ได้รับการรังเกียจว่า เป็นความชั่ว (อัมริ บิลมะอฺรูฟ วะนาฮีอะนิลมุนกัร) และอื่นๆ มีอีกหลายอย่างที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กันทางสังคม อย่างเช่น ข้อห้ามจากการพูดเท็จ การลอบกัด การด่าทอ การฆาตกรรม การดื่มของมึนเมา การพนัน การกินดอกเบี้ย การเสแสร้งและอื่นๆ

 

ดังนั้น ถ้าหากว่าเราสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องใดแล้ว แนวทางแห่งคำสอนทางศาสนาเหล่านี้ก็จะทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนอย่างแท้จริง ไม่มีใครปฏิเสธว่าจุดสำคัญของอิสลาม ก็คือ การถือว่าสิ่งที่ดีนั้นควรเกิดขึ้นและสิ่งไม่ดีก็ไม่ควรเกิดขึ้น


ทีนี้ ขอให้เราตั้งปัญหากับตัวเองว่า เมื่อมีการรักษาสิทธิของผู้คนไว้ และสังคมมีความถูกต้องไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่มีความขาดแคลนและไม่มีความรู้สึกในหมู่ประชาชนว่าถูกหลอกลวง ความเชื่อที่บริสุทธิ์ จริยธรรม หัวใจและการกระทำจะมีมากขึ้นในสังคมหรือไม่ และพื้นฐานอาชญากรรม จริยธรรมที่ไม่ถูกต้องและความเชื่อที่นอกลู่นอกทางจะลดลงไปไหม ? หรือว่าตรงกันข้าม คือ สังคมที่ไม่ยุติธรรมจะเป็นสถานที่สาหรับชำระล้างดวงวิญญาณให้บริสุทธิ์และทำให้ตัวตนที่ละเอียดอ่อนยิ่งดีขึ้น

 

ยิ่งมีความอยุติธรรมมากที่สุด มีการสูญเสียความไม่ลงรอยกัน และความขัดแย้งกันมากเท่าไรก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้นเช่นนั้นหรือ ? ทรรศนะทั้งสองนี้อันไหนถูกต้อง ? หรือมีความเป็นไปได้ว่า เงื่อนไขของสังคมไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับจริยธรรมของบุคคล และการคำนึงถึงเรื่องจริยธรรมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ?

 

ไม่มีคนมีสติดีคนไหนที่จะกล่าวว่า สังคมยิ่งยุ่งเหยิงมากขึ้นซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากความยุติธรรมและสิทธิ มีมากเท่าไรพื้นฐานสำหรับความบริสุทธิ์ของความศรัทธาและการขัดเกลาตัวเองและการกระทำที่ถูกต้องก็จะยิ่งสมบูรณ์ขึ้น อย่างมากที่สุดที่จะพูดได้ ก็คือ ความมีอยู่และความไม่มีอยู่ของความยุติธรรมในสังคม การรักษาสิทธิและไม่รักษาสิทธิของผู้คน จะไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างต่อจริยธรรมของบุคคลแต่อย่างใด

 

ความคิดของคนเคร่งศาสนาจำนวนมากในปัจจุบันนี้มีอยู่ว่า นี่เป็นขอบเขตสองอย่างที่ต่างกันไม่มีทางที่จะเกี่ยวข้องกันได้เลย


อย่างไรก็ตาม ใครที่คิดในแนวนี้ควรได้รับคาบอกเล่าว่า ขอแสดงความยินดีแก่ความเข้าใจอันคลุมเครือของท่านขอแสดงความยินดีต่อแนวความคิดอันน่าเย้ยหยัน สภาพทั่วไปความมีอยู่และไม่มีอยู่ของความยุติธรรมในสังคมนั้น มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ จริยธรรมของมนุษย์หรือแม้แต่กระทั่งมีผลต่อความคิดและความเชื่อของมนุษย์อย่างแน่นอน สิ่งเหล่านี้มีผลทั้งสามระดับ คือระดับความคิดและความเชื่อระดับคิดเรื่องโชคชะตาที่ปรากฏขึ้นมามีอยู่ไม่มากไปกว่าสองแหล่ง แหล่งหนึ่ง คือ ศาสนา บางครั้ง กวีก็ได้รับการดลใจจากโองการของพระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์และแบบอย่างของท่านศาสดาและของบรรดาอิมามนั้นเราจะไม่พบตอนใดเลยที่พูดถึงเรื่องโชคชะตา แหล่งความดลใจอื่นที่เป็ฯไปได้คือเหตุผลและความรู้ทางปรัชญา แต่กระนั้นก็ดีนับจากสมัยดั้งเดิมมานั้น เมื่อไรก็ตามที่มีการพูดถึงโชคชะตาในวงการเช่นนั้นหรือในหนังสือ ก็จะเป็นการพูดถึงมันในฐานะที่เพียงเรื่องไสยศาสตร์เท่านั้นเอง

 

ถ้าเช่นนั้น ความคิดเกี่ยวกับโชคชะตาและอำนาจที่น่าประหลาดของมันเกิดขึ้นมาจากไหนเล่า ในเมื่อคิดกันว่าอานาจของโชคชะตานั้นมีอยู่เหนือกว่าเหตุผล ความรู้ งาน ความทักษะ อุตสาหกรรม ความเข้มแข็ง และที่จริงแล้วก็คือทุกสิ่งนั่นเอง

 

พื้นฐานแห่งการดลใจสำหรับความคิดแบบของมารร้ายนี้มิใช่อะไรมากไปกว่าความไม่เป็นระเบียบของสังคมเป็นระบบที่คนบางคนมีสิทธิพิเศษและคนส่วนมากขาดสิทธิ เป็นระบบเลือกที่รักมักที่ชังโดยปราศจากความดีงาม เมื่อใดก็ตามที่ความยุติธรรมของสังคมโยกคลอนไป เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีการรักษาคุณงามความดีและสิทธิไว้ เมื่อใดก็ตามที่การถือเอาตัวบุคคลและการยอมรับกลุ่มนั้นกลุ่มนี้มีอิทธิพลสูงกว่าและเหนือกว่าการพิจารณาถึงความสามารถและความดีงาม เมื่อใดก็ตามที่สิ่งนี้เกิดขึ้น ความคิดในเรื่องโชคชะตาและความคิดในทำนองที่แท้จริงของโชคชะตาได้เป็นอย่างดี พวกเขาอาจหาหลักฐานที่จะพิสูจน์ความมีอยู่ของมันหรือคานิยามของมันได้ก็ตาม ก็ยังไม่มีใครสักคนเดียวที่จะตอบได้

 

ผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ได้แต่เพียงสังเกตุภาวะที่คลุมเครือแปลกประหลาด และจากนี้เองความเชื่อในเรื่องโชคชะตาจึงเกิดขึ้นมา อะไรหรือที่พวกเขาสังเกตเห็น พวกเขาอยู่ในสังคมและแลเห็นในทางหนึ่งว่าคนเราใช้ระยะเวลาในช่วงชีวิตของเขาไปในการต่อสู้ดิ้นรน แต่กระนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่กับความสะดวกสบายและความสาเร็จเป็นสิ่งที่ได้รับความนับถือ สิ่งที่พวกเขาเห็นการปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ให้มีความสุขอยู่กับความสะดวกสบายและความสาเร็จเป็นสิ่งที่ได้รับความนับถือ สิ่งที่พวกเขาเห็น ก็คือ ความชั่วร้ายได้รับเกียรติและความมีเหตุผลกลับได้รับการปฏิบัติต่ออย่างดูถูก สิ่งที่พวกเขาได้เห็น ก็คือ ความขาดสมดุลระหว่างการต่อสู้ ทักษะและความชำนาญในด้านหนึ่งและความปลาบปลื้ม กำไรและสิทธิส่วนบุคคลของคน ๆ หนึ่งในอีกด้านหนึ่ง เพราะว่านี่เป็นสิ่งที่เขาได้เห็นในสังคมของพวกเขา ข้อสังเกตเกี่ยวกับสังคมของพวกเขาก็จะค่อย ๆ เข้าสู่แบบของปรัชญา ซึ่งสามารถเรียกกันว่า “ปรัชญาแห่งโชคชะตา ”

 

ชื่อที่คนเหล่านี้มอบให้แก่กรณีของความวุ่นวายจากความยุติธรรม ไม่ว่าพวกเขาจะเข้าใจมันหรือไม่ ก็คือ คำว่าโชคชะตา และบางครั้งก็ยกย่องมันเหมือนกับคนปัญญาอ่อนโชคชะตาความคิดและปรัชญา ไม่มีแหล่งที่มาแต่อย่างใ ดยกเว้นจากความยุ่งเหยิงของส่วนแบ่งที่อยุติธรรม ไม่ถูกต้องในสังคมเท่านั้น

 

เมื่อมองข้ามแหล่งนี้ไป แหล่งแห่งการดลใจสำหรับความจริยธรรมและศีลธรรม กับระดับของพฤติกรรมและจริยธรรม

 


เขียนโดย ชะฮีดมุเฏาะฮะรี
แปล จรัญ มะลูลีม